รายงานโรคไข เล อดออกจ งหว ดพ งงา 1-29 ม ย 61

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีการระบาดเกือบทั้งปี ด้วยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้นอย่างประเทศไทยยิ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของยุงโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน บ้านไหนที่มีเด็กเล็ก ต้องระมัดระวังโรคไข้เลือดออกเป็นพิเศษ เนื่องจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำขังตามภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

สารบัญ

รู้จักโรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue) มี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 แต่ละสายพันธุ์มีระดับความรุนแรงของโรคต่างกันไป หากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อสายพันธุ์ไหนแล้ว จะไม่เป็นสายพันธุ์นั้นอีก แต่สามารถกลับมาเป็นโรคไข้เลือดออกในสายพันธุ์อื่นๆ แทน

การติดต่อนั้นจะมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน เมื่อยุงลายตัวเมียดูดเลือดจากผู้ป่วยที่มีเชื้อเดงกี่เข้าไป เชื้อไวรัสเดงกี่ในยุงจะเพิ่มจำนวน และกระจายเชื้อเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายของยุง เตรียมพร้อมที่จะปล่อยเชื้อให้กับคนที่ถูกกัดครั้งต่อไปได้ตลอดอายุของยุง ซึ่งอยู่ได้นาน 1-2 เดือน

9 สัญญาณลูกน้อยเสี่ยงไข้เลือดออก

หากมีอาการดังกล่าวแม้ว่าไข้เริ่มจะลดลงแล้วควรต้องไปพบแพทย์ทันที

  1. ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่อาการแย่ลง ยังเบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
  2. คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
  3. ปวดท้องมาก
  4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
  5. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ
  6. กระหายน้ำตลอดเวลา
  7. ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
  8. ตัวเย็น สีผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
  9. ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4- 6 ชั่วโมง

    อาการของไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

สำหรับอาการของคนเป็นไข้เลือดออก มักจะแสดงออกหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 5-8 วัน โดยทั่วไปถ้าเป็นการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ครั้งแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งที่สอง อาจมีอาการรุนแรงเกิดเป็นภาวะไข้เลือดออกได้ โดยอาการของโรคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะไข้สูง เมื่อเริ่มเป็นจะมีไข้สูงถึง 38-40 องศาเซลเซียส แม้กินยาลดไข้ หรือเช็ดตัวแล้วไข้ก็ยังไม่ลด อยู่ 2-7 วัน ตาและใบหน้า มักจะแดงกว่าปกติ เบื่ออาหารและมีอาการซึม บางคนอาจมีผื่นขึ้น หรือพบว่ามีจุดเลือดออกขึ้นตามลำตัว แขน ขา
  2. ระยะวิกฤติ จะเกิดประมาณวันที่ 3-6 หลังจากระยะไข้สูงระยะหนึ่งแล้ว ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่อาการทั่วไปจะดูเพลียมากขึ้น รวมถึงมีอาการปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ในกรณีที่รุนแรงมาก มือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อกได้ ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  3. ระยะฟื้นตัว เป็นระยะหลังไข้ลงโดยไม่มีอาการช็อก โดยเกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ดีขึ้น อาการทั่วไปจะดีขึ้น เริ่มอยากอาหาร ปัสสาวะออกมากขึ้น มีผื่นแดงคันตามตัว

การตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก

นอกจากซักประวัติอาการ และอาการแสดงแล้ว จะมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาช่วยในการวินิจฉัยโรคด้วย เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติเม็ดเลือดขาว ความเข้มข้นเลือดและจำนวนเกล็ดเลือด นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาไวรัสเดงกี่ด้วยวิธี PCR, การตรวจหา NS1 แอนติเจนของไวรัสซึ่งควรตรวจ ในช่วงวันแรกๆ ของไข้ การตรวจดูภูมิคุ้มกัน (แอนตีบอดีย์) ต่อเชื้อไวรัสเดงกี่ มักจะขึ้นหลังมีไข้ 4-5 วัน ปัจจุบันมี Rapid test ซึ่ง อ่านผลเร็วใน 10-15 นาที

โรคไข้เลือดออกดูแลรักษาอย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักษาจึงเป็นไปตามอาการ มีไข้ให้เช็ดตัวและรับประทานยาพาราเซตามอลลดไข้เท่านั้น ห้ามใช้แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เฝ้าสังเกตอาการช็อกหลังจากไข้ลดลง ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาจให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย

ป้องกันไข้เลือดออกในเด็กได้อย่างไร?

สามารถป้องกันได้ โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายใกล้แหล่งที่อยู่อาศัยอย่างสม่ำเสมอ เช่น แหล่งน้ำขังในบ้าน และการป้องกันตัวเองและบุตรหลานไม่ให้ยุงกัด ด้วยการนอนในมุ้ง ทายากันยุง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก และการไปพบแพทย์เมื่อป่วยเป็นไข้ ควรติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ดีต่อเด็กอย่างไร?

การฉีดวัคซีนเปรียบเสมือนเป็นการสร้างเกราะภูมิคุ้มกัน โดยวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเด็งกี่ สามารถป้องกันเชื้อไวรัสเด็งกี่ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในประเทศไทยอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

ระบาดวิทยา

โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมดมาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย สำหรับประเทศไทยเริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 และพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 พบการระบาดใหญ่ที่สุดในปีพ.ศ. 2530 มีรายงานผู้ป่วยสูงถึง 170,000 กว่าราย เสียชีวิต 1,000 กว่าราย หลังจากนั้นประเทศไทยมีแนวโน้มของการพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น โดยในปีที่มีการระบาดใหญ่จะพบผู้ป่วยมากกว่า 100,000 ราย และเสียชีวิต 100 รายขึ้นไป โรคไข้เลือดออกมีลักษณะที่แปรผันตามฤดูกาล (Seasonal variation) โดยจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นในเดือนเมษายนและสูงสุดในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูฝน เดือนกันยายนจะเริ่มมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง แตถ้าหากช่วงปลายปีจำนวนผู้ป่วยไม่ลดลงและยังคงสูงลอย อาจทำให้เกิดการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไปได้

สาเหตุ

โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus: DENV) เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอสายเดี่ยวบวก (single – stranded RNA) อยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae โดยโครงสร้างของไวรัสมีไขมันเป็นเปลือกหุ้ม (lipid envelope) และโครงสร้างภายในประกอบด้วย โปรตีนโครงสร้าง (Structural proteins) และ โปรตีนไม่ใช่โครงสร้าง (Non - structural proteins) ได้แก่ NS1, NS2A, NS2B, NS3, NS4A, NS4B และ NS5 โดยเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะมีการปล่อยโปรตีน NS1 ออกมาในระยะมีไข้เฉียบพลัน จึงทำให้ในปัจจุบันมีการใช้ชุดดตรวจชนิดรวดเร็วในการตรวจหาโปรตีน NS1 เพื่อการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกี ไวรัสเดงกีมี 4 ซีโรทัยป์ (Serotype) ได้แก่ DENV – 1, DENV – 2, DENV – 3 และ DENV – 4 โดยผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อซีโรทัยป์ที่เคยได้รับไปตลอดชีวิต และจะมีภูมิคุ้มกันต่อซีโรทัยป์อื่น ในระยะสั้น ประมาณ 3 – 12 เดือน

วิธีการติดต่อ

การแพร่กระจายของไวรัสเดงกีอาศัยยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นพาหะนำโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยยุงลายเพศเมียดูดเลือดของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีที่อยู่ในระยะที่มีไวรัสในกระแสเลือด (Viremia) โดยทั่วไประยะ viremia จะอยู่ในช่วง 2 วันก่อนถึง 6 วันหลังวันที่เริ่มแสดงอาการ เมื่อยุงลายได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้ระยะเวลาฟักตัว (Extrinsic incubation period; EIP) ประมาณ 8 – 12 วัน ถึงสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนได้ และเมื่ออีกคนได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้เวลาประมาณ 3 – 14 วัน (เฉลี่ย 4 – 7 วัน) (Intrinsic incubation period; IIP) ถึงจะแสดงอาการของโรค ซึ่งบางรายอาจจะไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้

ระยะฟักตัว

ระยะเวลาฟักตัวในยุง (Extrinsic incubation ; EIP) ประมาณ 8 – 12 วัน ถึงสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนได้ ระยะฟักตัวในคน (Intrinsic incubation period; IIP) ใช้เวลาประมาณ 3 – 14 วัน (เฉลี่ย 4 – 7 วัน) ถึงจะแสดงอาการของโรค ซึ่งบางรายอาจจะไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้

ระยะติดต่อ

โรคไข้เลือดออกไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยตรง ต้องอาศัยยุงลายเป็นพาหะนำโรค การติดต่อจึงต้องใช้เวลาในผู้ป่วยและในยุง ระยะที่ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้คือ 2 วันก่อนถึง 6 วันหลังวันที่เริ่มแสดงอาการ และเมื่อยุงได้รับเชื้อไวรัสเดงกีจากผู้ป่วยจะใช้เวลาประมาณ 8 - 12 วันในการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสจนมากพอ จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คนได้

อัดเดตข้อมูล 10 สิงหาคม 2565

กลุ่มอาการทางคลินิก

องค์การอนามัยโลกได้จำแนกกลุ่มอาการโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ตามลักษณะอาการทางคลินิก ดังต่อไปนี้ 1. Undifferntiate fever; UF หรือกลุ่มอาการไวรัส มักพบในทารกหรือเด็กเล็ก มีเพียงอาการไข้ 2 - 3 วัน อาจมีผื่นแบบ Muculopapular rash มีอาการคล้ายกับโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ซึ่งไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการทางคลินิก 2. ไข้เดงกี (Dengue fever; DF) อาจมีอาการไม่รุนแรง มีเพียงไข้ร่วมกับปวดศีรษะ เมื่อยตัว หรือมีอาการแบบ classical DF คือ มีไข้สูงกะทันหัน ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่น อาจมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง สามารถตรวจได้ด้วย tourniquet test ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ และอาจมีเกล็ดเลือดต่ำได้ ในผู้ใหญ่เมื่อหายแล้วจะมีอาการอ่อนเพลียอยู่นาน โดยทั่วไปไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการทางคลินิกได้แน่นอน ต้องอาศัยการตรวจทางน้ำเหลืองหรือตรวจหาเชื้อไวรัส 3. ไข้เลือดออกเดงกี (Dengue heamorrhagic fever; DHF) มีอาการทางคลินิกที่ชัดเจน คือ มีไข้สูงลอย ร่วมกับอาการเลือดออก ตับโต และมีภาวะช็อกในรายที่รุนแรง ในระยะมีไข้มีอาการคล้าย DF และมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกล็ดเลือดต่ำและมีการรั่วของพลาสมา ซึ่งถ้าพลาสมารั่วออกไปมาก จะเกิดภาวะช็อกที่เรียกว่า Dengue shock syndrome; DSS ซึ่งการรั่วของพลาสมาเป็นลักษณะเด่นของ DHF โดยสามารถตรวจพบได้จากระดับความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit) สูงขึ้น และมีน้ำในเยื่อหุ้มปอดและช่องท้อง 4. ไข้เดงกีที่มีอาการแปลกออกไป (Expanded dengue syndrome; EDS) ที่พบส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมอง ตับวาย ไตวาย ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมองส่วนใหญ่เกิดจากภาวะช็อกนานและมีตับวายร่วมด้วย (Hepatic encephalophathy) ส่วนหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อ 2 อย่างร่วมกัน หรือมีโรคประจำตัวอยู่เดิม

อ้างอิงจาก แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี; สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ