2024 เพระราชฐานช นหน าของพระบรมมาหาราชว งม ไว ทำไม

เรียกได้ว่าบ้านเราแทบจะเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวเลยทีเดียว Trip.com ขอแนะนำ 50 สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในประเทศไทย

บทนำต่อไปนี้ พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

อีกหนึ่งสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองประเทศไทย มีความสำคัญสำหรับราชวงศ์ และเป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีกรรม หรือกิจต่าง ๆ ของเชื้อพระวงศ์ แต่เราชาวไทยทุกคน สามารถแวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมความสวยงามได้ แต่ถ้าวันไหนมีกิจพิเศษ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเวลาการให้บริการเข้าชมนะคะ

พระบรมมหาราชวัง ประวัติความเป็นมา

หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย ประกอบด้วยสถานที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ทั้งใช้ในการประกอบพิธีกรรม ใช้อยู่อาศัย และใช้สักการะ นั่นก็คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดอารามหลวงที่สร้างอยู่ในเขตของพระบรมมหาราชวัง

ยิ่งไปกว่านั้น ยังล้อมรอบด้วยสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับท้องสนามหลวง
  • ทิศตะวันออก ติดกับกระทรวงกลาโหม
  • ทิศใต้ ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
  • ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

พระบรมมหาราชวัง เขตพระราชฐาน

พระบรมมหาราชวังสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและเขตพระราชฐานอันเป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่ประทับและบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ โดยเขตพระราชฐานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

เริ่มตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีถึงประตูพิมานไชยศรีเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ และที่ทำการของทหารรักษาพระราชวัง เช่น สำนักพระราชวัง กรมราชเลขานุการในพระองค์

เป็นที่ประดิษฐานของ พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท

เริ่มตั้งแต่ประตูพิมานไชยศรีถึงประตูสนามราชกิจ เป็นที่ตั้งของ ปราสาทราชมณเฑียรทั้งสถาปัตยกรรมไทยและตะวันตก ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล

เริ่มนับตั้งแต่ประตูสนามราชกิจจนถึงแถวเต๊งทางทิศใต้ เป็นเขตสำหรับผู้หญิงล้วน ผู้ชายที่อายุ 13 ปีขึ้นไปห้ามเข้า (ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์)

เขตพระราชฐานชั้นใน หรือที่บางคนเรียกว่า “ฝ่ายใน” นั้น เป็นคําที่ใช้เรียกพื้นที่ส่วนหนึ่ง ในพระบรมมหาราชวัง มีบริเวณอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง อันเป็นที่ประทับสําหรับ พระมเหสี พระราชเทวี พระชายา พระราชธิดาและเป็นที่อยู่ของเจ้าจอมมารดา เจ้าจอม เหล่าข้าราชบริพารและข้าราชการฝ่ายใน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่สาหรับผู้หญิงล้วนและห้ามผู้ชายที่มีอายุเกิน ๑๓ ปีเข้าไป เว้นแต่พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะประทับในเขตพระราชฐานชั้นในได้ หากผู้ชายมีความจําเป็นจะต้องเข้าไปทําธุระในเขตพระราชฐานชั้นใน จะต้องมีโขลนคอยกํากับ ควบคุมและดูแลโดยตลอด .jpg)

การพระราชพิธีต่าง ๆ นับแต่โบราณ เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าจะต้องมีวงดนตรีต่าง ๆ เข้าไปประโคมเพื่อประกอบพระอิสริยยศอยู่ด้วย โดยงานพระราชพิธีที่จัดขึ้นนั้นมีทั้งงานที่จัดขึ้นนอกพระบรมมหาราชวังและงานที่จัดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ถ้าหากงานพระราชพิธีนั้นจัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง ของพระบรมมหาราชวังหรือจัดขึ้น นอกพระบรมมหาราชวัง นักดนตรีที่บรรเลงในงานพระราชพิธีนั้นโดยมากจะนิยมใช้ผู้ชาย แต่ถ้าหากงานพระราชพิธีนั้นจัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน อันเป็นเขตพื้นที่หวงห้ามสาหรับบุรุษเพศแล้ว ย่อมเป็นที่แน่นอนว่านักดนตรีที่บรรเลงในงานพระราชพิธีดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นผู้หญิง ดังที่ นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ได้กล่าวถึง การประโคมดุริยางคดนตรีในพระราชพิธีที่จัดขึ้น ในเขตพระราชฐานชั้นใน ไว้ในหนังสือการบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี ความว่า “..อนึ่ง งานที่ประกอบขึ้น ณ พระราชฐานชั้นใน อันมีแต่ข้าราชการ และเจ้านายฝ่ายในนั้น การประโคมใช้วงปี่พาทย์ผู้หญิง ซึ่งแต่ก่อนมีประจําอยู่วงหนึ่ง ผู้บรรเลงเป็นสตรีล้วน...” (มนตรี ตราโมท, ๒๕๐๑: ๔) จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า นักดนตรีที่ทําหน้าที่ประโคมดุริยางคดนตรีในงานพระราชพิธีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในแต่โบราณนั้นเป็นนักดนตรีที่เป็นผู้หญิงล้วน ซึ่งข้อมูลสําคัญ อีกประการที่แสดงให้เห็นว่างานพระราชพิธีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน มีการใช้วงดนตรีที่มีผู้บรรเลงเป็นผู้หญิงล้วนในการประโคมก็คือ ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ที่สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ถึงเรื่อง “การประโคมเมื่อเจ้านายประสูติ” ซึ่งเป็นการประโคมดุริยางคดนตรีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน ไว้ว่า “...ปี่พาทย์ประโคมเมื่อพระเจ้าลูกเธอประสูตินั้น ผู้หญิงทําทั้งปี่พาทย์และแตรสังข์...” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ๒๕๕๒: ๒๔๐) ถึงแม้ว่าปี่พาทย์พิธีและแตรสังข์ที่ใช้ประโคมในเขตพระราชฐานชั้นในจะใช้ผู้หญิงล้วนในการบรรเลงเครื่องดนตรี แต่สาหรับ “ฆ้องชัย” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่อยู่ในแตรสังข์ของงานเครื่องสูงนั้น ยังคงใช้ผู้ชายเข้าไปทําหน้าที่อยู่ โดยจะใช้พนักงานผู้ชายคุมเข้าไปคอยอยู่กับปี่พาทย์พิธี ที่บรรเลงด้วยผู้หญิงล้วนเพื่อทาหน้าที่ลั่นฆ้องชัย สาหรับสาเหตุที่ฆ้องชัยไม่ใช้ผู้หญิงลั่นนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จ ความว่า “...ในการที่เอาผู้ชายไปตีฆ้องชัยนั้น สันนิษฐานว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วผู้หญิงจับไม่ได้ ที่ปี่พาทย์ผู้หญิงไม่มีฆ้องชัยก็เพราะถ้ามี ก็ไม่เป็นชัย ไปได้ ด้วยผู้หญิงถูกต้องฆ้องนั้น...” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์, ๒๕๕๒: ๒๔๑) นอกจากนี้นางเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ บุตรีพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ผู้เคยถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗ และได้อยู่งานฉลองพระเดชพระคุณเป็นนักร้องประจําวงมโหรีของพระราชสํานัก ยังได้บรรยายถึงบรรยากาศการฝึกซ้อมดนตรีและการบรรเลงดนตรีในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้อย่างน่าสนใจ ความว่า .jpg)

“...ข้าพเจ้าจะเล่าถึงงานหลวงที่ได้ปฏิบัติมาตลอดรัชกาลที่ ๗ งานเฉลิม พระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วงมโหรีหลวงต้องเข้าไปบรรเลงในพระราชวังชั้นในซึ่งไม่มีผู้ชายเข้าได้ ข้าพเจ้าเป็นคนระนาดทอง วันเฉลิมพระชนมพรรษามีพระราชพิธี ๓ วัน เช้า – เย็น มโหรีต้องทํารับพระ – ส่งพระ งานฉัตรมงคลก็เช่นเดียวกัน และตอนเย็นของวันสุดท้าย จะมีงานราชอุทยานสโมสร ที่สวนศิวาลัย หลังพระที่นั่งบรมพิมาน จะมีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงและคณะทูตานุทูตประเทศต่าง ๆ มาถวายพระพร มีมโหรีพวกเราบรรเลงทุกปีที่เสด็จอยู่...งานหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่ตลอด การทํางานของเราก็คล้ายกรมศิลปากรเดี๋ยวนี้ แต่เล็กกว่า แสดงแต่เฉพาะของพระเจ้าอยู่หัวและแล้วแต่จะทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ส่งไปช่วย...” (เจริญใจ สุนทรวาทิน, ๒๕๕๕: ๑๓๒-๑๓๓) จากข้อมูลของนางเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ จะเห็นได้ว่า ในอดีตงานพระราชพิธี ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในนั้น นอกจากจะมีการใช้วงปี่พาทย์ผู้หญิงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในข้างต้น การประโคมดุริยางคดนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีการใช้วงมโหรีผู้หญิงล้วนสําหรับบรรเลงในงานพระราชพิธีสําคัญต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในอีกด้วย หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพุทธศักราช ๒๔๗๕ ชีวิตนักดนตรีผู้หญิง ในพระราชสํานักก็เปลี่ยนไป บางท่านย้ายกลับภูมิลําเนาเดิมของตนเอง บางท่านย้ายสังกัดมาขึ้นตรงกับกรมศิลปากร ที่แผนกดุริยางค์ไทย ซึ่งปัจจุบันคือกลุ่มดุริยางค์ไทย สํานักการสังคีต กรมศิลปากร

.jpg)

ปัจจุบันถึงแม้ว่าจะไม่มีวงดนตรีที่บรรเลงด้วยผู้หญิงล้วนเข้าไปประโคมฉลองพระเดชพระคุณในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในเช่นแต่ก่อน แต่ทว่าหากมีงานพระราชพิธี ที่จัดขึ้นในเขตพระราชชั้นในครั้งใด อย่างไรเสียก็ยังคงต้องมีวงดนตรีเข้าไปทําหน้าที่ประโคมดังเดิม เช่น พระราชพิธีสรงมูรธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ที่จัดขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นประจําทุกปี ฯลฯ ซึ่งพระราชพิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็น พระราชพิธีที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในทั้งสิ้นและในการพระราชพิธีดังกล่าวยังคงมีปี่พาทย์พิธี ซึ่งบรรเลงโดยดุริยางคศิลปิน จากกลุ่มดุริยางค์ไทย สํานักการสังคีต กรมศิลปากร เข้าไปประโคม อยู่ด้วยทุกครั้ง ทั้งนี้ข้อกาหนดเรื่องเพศของผู้บรรเลงนั้นไม่ได้เคร่งครัดเช่นแต่ก่อน มีการใช้ผู้บรรเลงทั้งชายและหญิงเข้าไปฉลองพระเดชพระคุณในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นในทุกครั้ง

.jpg)

.jpg)

.jpg)

---------- ผู้เขียน : นายธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สํานักการสังคีต กรมศิลปากร ---------- รายการอ้างอิง เจริญใจ สุนทรวาทิน, ข้าพเจ้าภูมิใจที่เกิดเป็นนักดนตรีไทย. ใน จารุวรรณ ชลประเสริฐ และ พรทิพย์ จันทิวโรทัย, บรรณานุสรณ์ เจริญใจ สุนทรวาทิน, หน้า ๑๓๒-๑๓๓. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), ๒๕๕๕. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา และนริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. ประโคมเจ้านายประสูติ. ใน พูนพิศ อมาตยกุล, เพลง ดนตรี และนาฏศิลป์ จากสาส์นสมเด็จ, หน้า ๒๔๐-๒๔๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้ว การพิมพ์, ๒๕๕๒. มนตรี ตราโมท, การบรรเลงปี่พาทย์ในงานพระราชพิธี. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบํารุงจิตรเจริญ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๑. ม.ป.ท., ๒๕๐๑.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ