ประโยชน์ แค ล เซี่ ยม แอ ม เว ย์

นิวทริแพลนท์ แคลเซียม-โบรอน (Nutriplant Calcium-Boron)

นิวทริแพลนท์ แคลเซียม-โบรอน เป็นปุ๋ยเคมีธาตุอาหารรอง-ธาตุอาหารเสริม สำหรับพืชผลทางการเกษตร รูปแบบน้ำชนิด ฉีดพ่นทางใบ ประกอบด้วยธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นต่อพืช ได้แก่ แคลเซียม (Ca) และโบรอน (B) นิวทริ แพลนท์ แคลเซียม-โบรอน ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักผล ช่วยยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพให้พืชสามารถใช้สารอาหารได้อย่างเต็มที่เพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์สูงสุด ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพืชทุกชนิด อีกทั้งยังช่วยทำให้ขั้วดอกและขั้วผลเหนียว ลดปัญหาการหลุดร่วงของดอกและผล

คุณสมบัติเด่นของนิวทริแพลนท์ แคลเซียม-โบรอน

• ธาตุอาหารหลักและสารอินทรีย์ต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ปุ๋ย อยู่ในรูปของลิแกนด์ธรรมชาติซึ่งพืชสามารถดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย • นอกเหนือจากธาตุอาหารรองแคลเซียม (CaO) 12% และธาตุอาหารเสริม โบรอน (B) 0.75% ในนิวทริแพลนท์ แคลเซียม-โบรอน ยังประกอบไปด้วยสารอินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อพืช • ช่วยแก้ไขอาการขาดธาตุแคลเซียมและธาตุโบรอนในพืชได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน • ช่วยให้การติดผล การติดเมล็ด การติดฝักของพืชแต่ละชนิดดีขึ้น ทำให้ผลผลิตสูง ผลไม้ ผักสด และเมล็ดพืชมีคุณภาพดีขึ้น • ช่วยให้มะเขือเทศ พริก แตง และพืชอื่นๆ ไม่มีอาการก้นผลเน่า • ผลไม้ที่ใช้นิวทริแพลนท์ แคลเซียม-โบรอน จะมีรูปทรงดี ไม่มีผลที่รูปร่างบิดเบี้ยว จึงเป็นที่ต้องการของตลาด • คุณภาพของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวดีขึ้น • ลดความสูญเสียระหว่างการเก็บรักษาและการขนส่ง

เนื่องจากนิวทริแพลนท์ แคลเซียม-โบรอน จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ดังนั้นนักธุรกิจ แอมเวย์สามารถซื้อเพื่อการใช้เองได้ โดย “ไม่” สามารถนำไปขายต่อได้ ยกเว้นมีใบอนุญาตจำหน่ายปุ๋ย หากฝ่าฝืนจะได้รับโทษทางกฎหมาย

รหัส 238109 ขนาด 1 ลิตร PV334 BV960 ราคาสมาชิก 960 บาท ราคาขายปลีก 1,200 บาท

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายและมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพที่แข็งแรง โดยเฉพาะสุขภาพกระดูกและฟัน อย่างไรก็ตาม สารอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงนั้นไม่ได้ขึ้นกับแคลเซียมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด ได้แก่ วิตามินดี ทั้งที่ได้จากอาหารและร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเองจากแสงแดด แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี แมงกานีส เป็นต้น

แหล่งของแคลเซียมที่ดีที่สุดควรได้จากอาหาร เพราะนอกจากแคลเซียมแล้ว เรายังสามารถได้รับประโยชน์จากวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารอื่นๆ ที่มีในอาหารนั้นๆ อีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ นม ชีส โยเกิร์ต ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูกและผักใบสีเขียวเข้ม เช่น บร็อคโคลี คะน้า กวางตุ้ง ถั่ว และเมล็ดพืชบางชนิด เช่น อัลมอนด์และงา เป็นต้น แต่เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมที่กินเข้าไปได้ประมาณ 30 - 40% เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากแคลเซียม เราจึงควรทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย เพราะมีหลายพฤติกรรมคาดไม่ถึงที่อาจทำให้คุณได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

ปัจจัยที่ลดการดูดซึมแคลเซียม

  • การกินอาหารที่มีโซเดียมสูง โปรตีนสูง จะเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า มากเกินกว่า 300 มก. หรือประมาณ 3 - 4 ถ้วยต่อวัน จะลดการดูดซึมและเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
  • การดื่มแอลกอฮอล์ จะลดการดูดซึมแคลเซียม และลดการทำงานของเอนไซม์ในตับที่ใช้ในการเปลี่ยนให้วิตามินดีอยู่ในรูปที่ร่างกายนำไปใช้งานได้
  • การกินยาบางชนิดมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม เช่น ยารักษาไทรอยด์ และยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • การขาดวิตามินดีทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง เพราะวิตามินดีเป็นตัวช่วยกระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมผ่านทางลำไส้และเร่งการสะสมของแคลเซียมที่กระดูก

ร่างกายใช้กระดูกเป็นแหล่งสำรองของแคลเซียม มีกลไกควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมในกระดูกและในเลือด เมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะมีการสลายกระดูกเพื่อปลดปล่อยแคลเซียมออกมาในกระแสเลือด การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเป็นเวลานานจึงส่งผลในระยะยาวให้กระดูกบางลงและเปราะ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ในอนาคต การได้รับแคลเซียม วิตามินดี และแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างเพียงพอในทุกวันและทุกวัยจึงเป็นเหมือนเกราะป้องกันให้เรามีกระดูกที่แข็งแรงได้อย่างยาวนาน

แคลเซียม (Calcium) คือ สารช่วยให้มวลกระดูกหนาแน่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีส่วนในการควบคุมหลอดเลือด กล้ามเนื้อ และหัวใจได้อีกด้วย แน่นอนว่าถ้าร่างกายขาดแคลเซียมจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายๆ อย่างเลยทีเดียว

ประโยชน์ของแคลเซียมมีอะไรบ้าง?1

  • แคลเซียมบำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง และที่สำคัญยังสามารถเสริมสร้างฟันให้แข็งแรงขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
  • ช่วยในการควบคุมการทำงานของหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข็งตัว หยุดการไหลของเลือด และลดการสูญเสียเลือดได้อีกด้วย
  • ลดโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ช่วยให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น
  • ช่วยให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ
  • ช่วยเผาผลาญธาตุเหล็กและควบคุมน้ำหนัก
  • ช่วยให้การส่งต่อสัญญาณของระบบประสาทดีขึ้น

ร่างกายสามารถผลิตแคลเซียมได้เองหรือไม่?

ร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงต้องเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเหมาะและสามารถกักเก็บไว้สำหรับใช้บำรุงส่วนต่างๆ ไดัอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะดูดซึมผ่านบริเวณลำไส้เล็ก โดยจะสามารถดูดซึมได้เพียง 20-25% และที่เหลือจะถูกขับออกไป ผ่านทางอุจจาระนั้นเอง2

อาหารที่มีแคลเซียมมีอะไรบ้าง?3

นม เป็นหนึ่งในอาหารที่มีแคลเซียมสูง แต่นอกจากนมและผลิตภัณฑ์จากนมแล้ว ยังมีอาหารประเภทอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายได้เช่นกัน หากใครกำลังมองหาอาหารที่ช่วยเพิ่มแคลเซียม บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงแล้ว ก็สามารถเลือกทานอาหารเแคลเซียมสูงได้ดังนี้

นมและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนม

อย่างที่บอกไปแล้วว่า นม หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง และเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็กๆ ในขณะผู้ใหญ่ ก็สามารถดื่มนมเพื่อช่วยบำรุงให้ฟันและกระดูกแข็งแรงได้

แต่ในนมโคพร้อมดื่มทั่วๆ ไป มักมีปริมาณไขมันสูงเกินกว่าความต้องการของผู้ใหญ่ จึงควรเลือกรับประทานนมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำ ไม่เกิน 2 กล่องต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเหมาะ โดยไม่บริโภคไขมันมากเกินความต้องการของร่างกาย

  • แคลเซียมในนมโคและเนยนม: 300 mg. / 1 cup
  • คอทเทจชีส: 65 mg. / 1 cup
  • เนยหมัก: 250 mg. / 1 cup
  • นมถั่วเหลือง: 200 - 400 mg. / 1 cup
  • โยเกิร์ต: 450 mg. / 1 cup
  • โกโก้ร้อน: 320 mg. / 1 packet
  • นมผงปราศจากไขมัน: 300 mg. / 5 Tbsp
  • ชีสบรี (Brie): 50 mg. / 1 oz
  • ชีสแข็งและมอซซาเรลลา: 200 mg. / 1 oz

เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย

ข้อควรระวัง: มีไขมันสูง ไม่เหมาะกับผู้แพ้แลคโตส

ถั่วและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว

อีกหนึ่งอาหารแคลเซียมสูงที่หลายๆ คนมองข้าม และยังเหมาะกับผู้ที่แพ้แลคโตสในนมอีกด้วย โดยสามารถเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่ว เช่น เต้าหู้แข็ง ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน

  • นมถั่วเหลือง: 200-400 mg. / 1 cup
  • ถั่วลูกไก่: 80 mg. / 0.5 cup
  • พืชตระกูลถั่วทั่วไปปรุงสุก: 15-50 mg. / 0.5 cup
  • ถั่วปินโตปรุงสุก: 75 mg. / 1 cup
  • ถั่วแระต้ม: 100 mg. / 0.5 cup
  • เทมเป้: 75 mg. / 0.5 cup
  • เต้าหู้แข็ง: 250 - 750 mg. / 4 oz
  • เต้าหู้อ่อน: 120 - 390 mg. / 4 oz
  • ถั่วขาวต้ม: 75 mg. / 0.5 cup

เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย

ข้อควรระวัง: มีผลต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะในผู้หญิงและเด็ก14

ปลาและสัตว์เล็ก

ถ้าหากใครที่ชื่นชอบการกินปลาอยู่แล้ว บอกเลยว่าปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ ที่สามารถกินได้ทั้งตัว เป็นอาหารแคลเซียมสูงที่ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไปบำรุงกระดูกอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกลุ่ม ปลาซิว ปลาซาร์ดีน กุ้งฝอย และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่อาจต้องระวังเรื่องของไขมันและโซเดียม เพราะกรรมวิธีการปรุง จำเป็นต้องนำไปทอดแบบ Deep Fried เพื่อให้มีความกรอบจนสามารถรับประทานได้ทั้งตัวพร้อมก้างนั่นเอง

  • ปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ: 1700 mg. / 1 cup
  • ปลาแมคเคอเรลบรรจุกระป๋อง: 250 mg. / 3 oz.
  • ปลาแซลมอนกระป๋องพร้อมกระดูก: 170 - 210 mg. / 3 oz.
  • ปลาซาร์ดีน: 370 mg. / 3 oz.

เหมาะสำหรับ: เด็กโต-วัยผู้ใหญ่

ข้อควรระวัง: มีไขมัน และโซเดียมสูง

ผักใบเขียวและผลไม้

สายมังสวิรัติ ก็สามารถรับประทานอาหารแคลเซียมสูงจากพืชได้เช่นเดียวกัน เพราะในผลไม้และผักใบเขียวอย่าง กีวี่ ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ก็เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน แต่จะต้องกินในปริมาณมาก เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอต่อความต้องการ

  • ผักคะน้า: 55 mg. / 1 cup
  • ฟักทอง: 90 mg. / 1 cup
  • ผักร็อคเก็ต: 125 mg. / 1 cup
  • ผักกวางตุ้ง: 40 mg. / 1 cup
  • บรอกโคลี: 180 mg. / 1 cup
  • กระเจี๊ยบเขียว: 100 mg. / 1 cup
  • ผักชิโครี่: 40 mg. / 1 cup
  • คอลลาร์ด กรีนส์: 50 mg. / 1 cup
  • ข้าวโพด: 10 mg. / 1 cup
  • ผักเคล: 55 mg. / 1 cup
  • สาหร่ายทะเล: 60 mg. / 1 cup
  • ผักกาดเขียว: 40 mg. / 1 cup
  • ผักโขมสุก: 240 mg. / 1 cup
  • มะเดื่อแห้งดิบ: 300 mg. / 1 cup
  • กีวีดิบ: 50 mg. / 1 cup
  • น้ำส้ม: 300 mg. / 8 oz.

เหมาะสำหรับ: ทุกเพศทุกวัย

ข้อควรระวัง: ยาฆ่าแมลงและสารเคมีจากการปลูกที่อาจตกค้างอยู่

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัย16

เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมเองได้ การกินอาหารที่มีแคลเซียมจึงนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ละช่วงวัยก็ต้องการปริมาณแคลเซียมที่แตกต่างกัน โดยหากยึดข้อมูลจาก National Institutes of Health (Office of Dietary Supplements) ก็จะแนะนำปริมาณที่ควรกินในแต่ละช่วงวัยดังนี้

วัยเด็ก

ในวัยเด็กการได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการเจริญเติบโต ในเรื่องของกระดูกและฟัน ที่จะเสริมสร้างโครงสร้างร่างกายขึ้นมา เพราะหากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้โครงสร้างร่างกายไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นได้ โดยวัยเด็กควรได้รับปริมาณดังนี้

  • แรกเกิด - 2 ปี : 200 มิลลิกรัม (ควรดื่มนมแม่)
  • ระหว่าง 7 เดือน - 1 ปี : 260 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 3-4 กล่อง
  • อายุ 1-3 ปี : 700 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 3-4 กล่อง
  • อายุ 4-8 ปี : 1000 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 2 กล่อง และทานอาหารที่มีแคลเซียม

วัยรุ่น

ในวัยรุ่น (9 - 18 ปี) การบริโภคแคลเซียมนับว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะเป็นการเพิ่มกระดูกหรือเพิ่มโครงสร้างร่างกายให้ใหญ่ขึ้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรขาดเลยทีเดียว เพราะไม่อย่างนั้นจะส่งผลให้มีปัญหากระดูกหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูกและกล้ามเนื้อได้

  • ชายและหญิง : 1300 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 2 กล่อง และทานอาหารที่มีแคลเซียม

วัยผู้ใหญ่

ในวัยผู้ใหญ่ (19 - 50 ปี) นับว่าเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยกระดูกและฟันก็จะถดถอยลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นการกินแคลเซียมในวัยผู้ใหญ่เองก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง อีกทั้งยังชะลอความเสื่อมถอย และป้องกันการเกิดโรคได้อีกด้วย

  • เพศชายและหญิง : 1200 มิลลิกรัม ควรดื่มนมวันละ 1-2 กล่อง และทานอาหารที่มีแคลเซียม*
  • ตั้งครรภ์และให้นมบุตร : 1300 มิลลิกรัม15 ควรดื่มนมวันละ 2 แก้ว และทานอาหารที่มีแคลเซียม*

สูงวัย

วัยสูงอายุ (51 - 70 ปี) จะเป็นช่วงวัยที่การทำงานต่างๆ ของร่างกายประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน กับกระดูกและฟัน ซึ่งจะต้องรับมากกว่าวัยผู้ใหญ่ เพราะร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ที่อาจส่งผลให้เกิดผลโรคกระดูกพรุน หรือโรคกระดูกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้

  • อายุ 51-70 ปี : 1000 มิลลิกรัม ควรดื่มวันละ 1 แก้ว และทานอาหารที่มีแคลเซียม*
  • อายุ 70 ปีขึ้นไป : 1200 มิลลิกรัม ควรดื่มวันละ 1 แก้ว และทานอาหารที่มีแคลเซียม*

*อาจเลือกดื่มเป็นนมพร่องมันเนย เพื่อป้องกันการได้รับไขมันจากนมมากจนเกินไป

ถ้าหากได้รับแคลเซียมมากหรือน้อยเกินไปจะเป็นอย่างไร?

ในส่วนก่อนหน้านี้ก็ได้ระบุว่าแต่ละช่วงวัยควรรับแคลเซียมในปริมาณเท่าไหร่บ้าง แต่ทั้งนี้จะต้องบริโภคแคลเซียมไม่น้อยเกินไป หรือมากจนเกินไป เพราะจะเกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

ผลเสียจากการได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป

การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และอาการดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีเหมือนเก่า หรือไม่สามารถดูดซึมได้อีกแล้ว ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน และภาวะกระดูกบางซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ แก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนการกินมาเน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ชีส นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต ผักใบเขียวบางชนิด เป็นต้น

ทั้งนี้หากกินอาหารที่มีแคลเซียมสูงแล้ว แต่ร่างกายยังดูดซึมแคลเซียมได้ไม่มากพอ ควรหาอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มระดับแคลเซียมหรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม เพื่อให้แคลเซียมอยู่ในภาวะปกติ และการเดินรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า งดการสูบบุหรี่ควบคู่ไปด้วยก็จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้นได้10

ผลเสียจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป

การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดนิ่วในไต หลอดเลือดตีบตัน รวมทั้งยังสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้8 เพราะแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมกลายเป็นหินปูน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ จึงต้องระมัดระวังการกินแคลเซียมเสริม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่รู้ปริมาณส่วนผสมอย่างชัดเจน มีอย. รับรอง และตรวจสอบแหล่งที่มาได้

แคลเซียมต้องกินตอนไหนถึงจะดี?

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินแคลเซียม คือการกินพร้อมมื้อเย็น เพราะช่วงกลางคืนร่างกายจะขับแคลเซียมออก จนทำให้ปริมาณแคลเซียมลดต่ำ การกินแคลเซียมเสริมในตอนเย็น จึงช่วยทำให้สมดุลของแคลเซียมคงที่ สามารถเข้าไปบำรุงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ8

แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียม

เคล็ดลับที่จะช่วยให้รับแคลเซียมที่ดีที่สุด ก็คือการกินอาหารที่มีแคลเซียมบํารุงกระดูก ทั้งนี้หากไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เน้นเรื่องของการบำรุงกระดูกและฟัน ก็เป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน

นอกจากการกินแคลเซียมเสริมแล้ว ในผู้ที่มีภาวะดูดซึมแคลเซียมได้ไม่ดีนัก ควรเสริมสารอาหารอย่าง แมกนีเซียมและวิตามินดี เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น

หากเลือกอาหารเสริมที่มีครบทั้ง 3 ส่วนในเม็ดเดียว ก็จะช่วยให้สะดวก และทานง่ายเหมาะกับผู้สูงวัยหรือเด็กที่มีปัญหาเรื่องการกลืนเป็นอย่างมาก ซึ่งสารอาหารแต่ละชนิด มีคุณประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • แคลเซียม : เพิ่มความแข็งแรงของฟันและกระดูกให้เป็นปกติ และช่วยทำให้เลือดแข็งตัวได้ตามมาตรฐาน
  • แมกนีเซียม : ช่วยควบคุมการขนส่งและดูดซึมแคลเซียม
  • วิตามินดี : ช่วยในการดูดซับแคลเซียมและฟอสฟอรัสอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

แคลเซียม นับว่าเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกและฟัน ซึ่งสำคัญตั้งแต่ช่วงแรกเกิดจนไปถึงช่วงสูงวัยเลยทีเดียว นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ทุกคนควรบริโภคเสมอๆ ถ้าหากไม่มั่นใจว่าจะได้ครบหรือไม่ การบริโภค แคลเซียมบํารุงกระดูก สามารถช่วยได้ โดยในการกินนั้น ต้องดูปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งกินในเวลาที่เหมาะสมเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม ก็จะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงได้เป็นอย่างดี

แคลเซียม แอมเวย์ควรกินตอนไหน

วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร ทานได้ถึง 4 เดือนเลย ถือว่าคุ้มค่ากับราคาค่ะ วิธีเก็บรักษา : หลังเปิดใช้แล้วปิดฝาให้สนิทแล้วแช่ในตู้เย็นนะคะ

แคลเซียมแอมเวย์กินวันละกี่เม็ด

ใน 1 เม็ดประกอบด้วย : สารสกัดจากถั่วขาว 183 มก. (32 %) สารสกัดจากถั่วเหลือง 110 มก. (19 %) พาร์สลีย์เข้มข้น 10 มก. (1.7 %) วิธีบริโภค : รับประทานวันละ 2 เม็ด พร้อมมื้ออาหาร คําเตือน : อ่านค าเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค

ใครไม่ควรกินแคลเซียม

**ไม่ควรกินแคลเซียมคู่กับ ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม (Tetracycline, Quinolone) ยาลดความดันบางกลุ่ม (Thiazide Diuretics, Calcium Channel Blockereg Nifedipine, Diltiazem, Verpamil) แคลเซียมจะเข้าไปยับยั้งการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้

ควรกินแคลเซียมวันละกี่มิลลิกรัม

- เพศชายและเพศหญิง อายุ 9-18 ปี ต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน - เพศชายและเพศหญิง อายุ 19-50 ปี ต้องการแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน - ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน - เพศชายและเพศหญิง อายุมากกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ