การต ดเช อซ ฟ ล ส แต ไม ม อาการ

ท้องอืด เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาจทำให้รู้สึกแน่น จุกเสียด ปวดท้อง อิ่มเร็ว ท้องแข็ง รวมถึงมีอาการเรอ ผายลมและท้องร้องโครกครากหลังรับประทานอาหาร บางรายอาจมีท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย อาการนี้ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากมีแก๊สหรือลมอยู่ในทางเดินอาหารเป็นจำนวนมาก สาเหตุอาจเกิดจากอาหารดูดซึมได้ไม่หมดหรือทางเดินอาหารบีบตัวผิดปกติ ในบางกรณีผู้ป่วยอาจไม่มีแก๊สหรือลมอยู่ในทางเดินอาหารมากเกินปกติแต่เกิดจากระบบประสาทที่ไวเกิน ทำให้รู้สึกแน่นท้องได้ง่ายมากกว่าคนทั่วไป

สาเหตุของท้องอืดมีอะไรบ้าง

อาการท้องอืดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มักมีเหตุกระตุ้นจากอาหารที่รับประทาน ความเครียด การใช้ชีวิตและอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคต่าง ๆ ดังนี้

  • โรคลำไส้แปรปรวน
  • ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ
  • ย่อยสารอาหารคาร์โบไฮเดรตบางชนิดไม่ได้
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • ก้อนเนื้องอกและมะเร็งในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร ตับ รังไข่
  • มีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุต่างๆ เช่น ตับแข็ง การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง
  • กลุ่มอาการก่อนเป็นประจำเดือน
  • โรคอื่นๆ เช่น ลำไส้อุดตันเทียม

เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์

บ่อยครั้งที่อาการท้องอืดเกิดจากการบริโภคอาหาร เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมาก อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ความเครียด แต่ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อใดก็ตามที่มีอาการผิดปกติดังนี้

  • อาเจียนบ่อยหรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปวดท้องรุนแรง
  • ถ่ายเหลวเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ประจำเดือนผิดปกติ

จะรักษาและป้องกันท้องอืดได้อย่างไร

การป้องกันและรักษาอาการท้องอืดขึ้นอยู่กับสาเหตุ ทั้งนี้หากไม่ได้มีสาเหตุจากโรคที่รุนแรง ส่วนใหญ่มักเกิดจากมีแก๊สหรือลมอยู่ในทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถป้องกันอาการท้องอืดได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานจัด โซดา น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมกรณีที่สังเกตได้ว่ามีอาการมากขึ้นหลังบริโภค และรับประทานอาหารผัก ผลไม้ ในปริมาณที่พอเหมาะ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ หรือเร็วจนเกินไป หลีกเลี่ยงการนั่งเฉยๆ หรือนอนทันทีหลังรับประทานอาหารเสร็จ
  • รับประทานอาหารสุก สะอาด ไม่มีไขมันสูงเกินไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  • ออกกำลังกาย เพื่อช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารและขับถ่าย
  • จัดการกับความเครียด เช่น ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น โยคะ ฝึกหายใจ ทำสมาธิ
  • ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหาร

หากคุณมีปัญหาท้องอืดเรื้อรังหรือมีอาการอื่นๆที่ผิดปกติร่วมด้วย ศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยินดีให้คำปรึกษา วินิจฉัยและรักษาโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคของระบบทางเดินอาหารอย่างครอบคลุม

เรื่องของการผายลมหรือ ตด นั้น หลายคนสงสัยหรือมีคำถามว่า ถ้าเรามีกลิ่นเหม็น หรือบ่อย จะเป็นอันตรายหรือไม่ ?

โดยปกติแล้วคนเราจะผายลมประมาณ 10-20 ครั้งต่อวัน และมักเกิดขึ้นหลังจากทานอาหาร โดยไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายใด ๆแต่ถ้าผายลมบ่อยมากกว่านี้อาจเป็นสัญญาณบอกโรคต่างๆ ได้ เช่น ท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวน กระเพาะอาหารอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี โรคตับอ่อนอักเสบ และ มะเร็งลำไส้ใหญ่

นักบอลสวีเดนโดนใบแดงเพราะผายลม

ส่วนเรื่องผายลมแล้วมีกลิ่นเหม็น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งความรุนแรงของกลิ่นจะขึ้นอยู่กับอาหารที่เราทานเข้าไป เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ชีส นม และถั่ว ของพวกนี้จะทำให้กลิ่นที่ผายลมออกมามีกลิ่นเหม็น

วิธีป้องกันการตดหรือผายลมที่มีกลิ่นเหม็นนั้นหลีกเลี่ยงได้โดยพยายามลดการรับประทานอาหารที่มีสารซัลเฟอร์ ซึ่งก่อให้เกิดแก๊สที่มีกลิ่น เช่น หัวหอม กระเทียม หน่อไม่ฝรั่ง ไข่ นม แป้งข้าวโพด ผักกาดหอม มะเขือเทศ ถั่วเหลือง และปลาบางชนิดเช่นแซลมอน

ส่วนวิธีป้องกันการผายลมบ่อยอาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่มักทำให้เกิดการสะสมแก๊สเป็นจำนวนมาก เช่นลดอาหารที่มีเส้นใยอาหาร น้ำตาลธรรมชาติ แป้งที่ย่อยยาก ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊สในระบบย่อยอาหารขึ้นมาก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ แตงกวา พริกหยวก หัวหอม ถั่วลันเตา มันดิบ หัวผักกาดแดง และ ผลไม้บางชนิด เช่น แอปริคอท แอปเปิลแดง แอปเปิลเขียว กล้วย แตงโม ลูกพรุน ลูกท้อ ลูกแพร์ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ข้าวโอ๊ต ถั่วบางชนิด เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เครื่องดื่มน้ำอัดลมต่างๆ รวมถึงน้ำผลไม้ เบียร์ ไวน์ และควร เลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ต้องกลืนอากาศเข้าไป เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือดื่มน้ำจากหลอด

แต่ทางที่ดีควรสังเกตปัจจัยต่างๆ ที่น่าจะเป็นสาเหตุให้มีแก๊สสะสมในระบบย่อยอาหาร โดยลองจดบันทึกว่า มีอาการรู้สึกอึดอัดท้อง เรอ หรือผายลมหลังจากการรับประทานอาหาร ยารักษาโรค หรือการทำกิจกรรมใดๆ หรือไม่ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรมที่น่าจะเป็นตัวการกระตุ้นการผายลม แต่ถ้าคุณไม่ค่อยผายลม นั่นก็เป็นเพราะ จุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณไม่ได้รับสารอาหารที่พวกเขาต้องการ นั่นหมายความว่าคุณต้องกินคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้น เช่น ถั่ว เมล็ดธัญพืช กะหล่ำปลี หัวหอม เป็นต้น และอยู่ในวัยใกล้วัยหมดประจำเดือน คาดว่าความถี่ในการผายลมจะเพิ่มขึ้น การทานอาหารจำพวกโปรไบโอติกเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะรักษาลำไส้ ให้คุณมีสุขภาพดีในระยะยาวได้

ฟังทางนี้!! อาการท้องผูก รักษาได้อย่างไร ?

ติดตามข้อมูลดีๆ จาก เมย์ เอ๋ โอ๋ Mama’s talk ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 10.30 น. ทาง PPTV HD ช่อง 36 ชมรายการย้อนหลัง //pptv36.tv/uat และ ทาง LINETV

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ