ขออน ม ต งบประมาณระบบด บเพล งอ ตโนม ต

“สารพัดสินบน” อย่าปล่อย “นักการเมือง” ลอยนวล

เผยแพร่: 28 ม.ค. 2560 07:11 โดย: MGR Online

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - สำหรับเรื่องสารพัดสินบนที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เริ่มจากโรลส์-รอยซ์ที่เกิดขึ้นกับการบินไทย และ ปตท.และสินบนในการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และบริษัททีโอที โดยบริษัท เจเนอรัล เคเบิล คอร์ปอเรชัน นั้น คงต้องมาบันทึกจารึกไว้บนบัญชีดำเพื่อตอกย้ำกันอีกครั้งว่า ช่วงเวลาที่มีการจ่ายสินบนกันนั้นอยู่ ในช่วงรัฐบาลไหน และมีนักการเมืองหน้าไหน ที่นั่งกุมอำนาจกำกับ กันบ้าง พร้อมกับส่องสปอร์ตไลท์ติดตามดูกันต่อไปว่าผลสอบ ที่ ป.ป.ช. และ สตง. เพลมออกมาแล้วว่า มีรายชื่อที่อยู่ในแฟ้มคดีรับสินบนอยู่ในมือแล้ว รอการยืนยันจากทางอังกฤษ จะโยงมาถึงบรรดา “ขาใหญ่” บ้างหรือไม่

กรณีสินบนการบินไทยนั้น เป็นที่รู้กันชัดเจนว่ามีอยู่ 3 ก้อน คือ ครั้งแรก ในช่วงปี 2534-2535 จ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผ่านนายหน้า 18.8 ล้านดอลลาร์, ครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 จ่ายให้พนักงานการบินไทย 10.38 ล้านดอลลาร์ โดยเบิกล่วงหน้า 2 ล้านดอลลาร์ เพื่อจัดการขั้นตอนทางการเมือง และครั้งที่ 3 ปี 2547-2548 จ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและพนักงานการบินไทย 7.2 ล้านดอลลาร์ เพื่อไปคุยและกินข้าวกับรัฐมนตรีเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติสัญญา รวม 3 ครั้ง รวม 36.38 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1,300 ล้านบาท

ดูๆ แล้วมูลค่าสินบนสูงสุดเกิดในยุครัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร คือคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่ง ป.ป.ช. แพลมออกมาว่า จ่ายกันครั้งแรกคือยุค รสช. นั้นหมดอายุความไปแล้ว ส่วนครั้งที่สองเหลือเวลาอีกไม่นาน

คงมีแต่ลอตสุดท้ายที่อาจโยงใยไปถึงรัฐมนตรีใต้สังกัดนายใหญ่ และ “เจ๊กระบังลม” ที่เห็นเงียบๆ แต่ก็ฟาดเรียบนะจ๊ะ นั่นแหละที่จะตกเป็นเป้าหมายสำคัญในการเอาผิด หรือจะต่อรองอะไรก็แล้วแต่

สำหรับสินบนช่วงแรก มีนายวีระ กิจจาทร เป็นดีดีการบินไทย ปี 2531-2535, พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี ผบ.ทอ. เป็นประธานบอร์ด ปี 2531-2532,พล.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. เป็นประธานบอร์ด ปี 2532-2535

ช่วงที่สอง นายฉัตรชัย บุญญะอนันต์ เป็นดีดีการบินไทย ปี 2535-2536, พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ ผบ.ทอ. เป็นประธานบอร์ด ปี 2535-2536, นายธรรมนูญ หวั่งหลี เป็นดีดีการบินไทย ปี 2536-2543, พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ เป็นประธานบอร์ดการบินไทยตั้งแต่ปี 2536-2539 และนายมหิดล จันทรางกูร ปลัดกระทรวงคมนาคม มาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดการบินไทย ช่วงระหว่างธันวาคม 2539 - พฤศจิกายน 2543

ช่วงที่สาม นายกนก อภิรดี ดีดีการบินไทย ปี 2545-2549, นายทนง พิทยะ ประธานบอร์ด มิถุนายน 2545 - มีนาคม 2548

ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐคือ รัฐมนตรีคมนาคม ในช่วงเวลาดังกล่าวมีใครบ้าง ปรากฏรายชื่อนายนุกูล ประจวบเหมาะ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระหว่าง 2 มีนาคม 2534 - 22 มีนาคม 2535, นายบรรหาร ศิลปอาชา ระหว่าง 7 เมษายน 2535 - 9 มิถุนายน 2535, นายนุกูล ประจวบเหมาะ ระหว่าง 10 มิถุนายน 2535 - 22 กันยายน 2535, พันเอกวินัย สมพงษ์ ระหว่าง 23 กันยายน 2535 - 25 ตุลาคม 2537

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ระหว่าง 25ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 19 พฤษภาคม 2538 , นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ระหว่าง 13 กรกฎาคม 2538 - 24 พฤศจิกายน 2539, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2539 -8 พฤศจิกายน 2540, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ระหว่าง 3 ตุลาคม 2545 - 2 สิงหาคม 2548 และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ระหว่าง 2สิงหาคม 2548 - 19 กันยายน 2549

รายชื่อที่ว่าเวลานี้ทุกคนยังเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องจนกว่าผลสอบจะออกมา

นอกจากนักการเมืองระดับรัฐมนตรีว่าการแล้ว ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ ก็ตกเป็นเป้าถูกตั้งข้อสงสัย ตามรายงานข่าวของไทยพีบีเอส ระบุว่า ในช่วงปี 2547 ในการสั่งซื้อเครื่องยนต์เทรนท์ 800 ของบริษัท โรลส์รอยซ์ นายหน้าคนกลางของบริษัท โรลส์รอยซ์ มีจดหมายภายในของบริษัทฯ ระบุว่า

“การสั่งเครื่องยนต์จากไทยได้รับการพิจารณาแล้ว แต่คนกลางต้องหาเงินชำระค่าคอมมิชชั่นครึ่งหนึ่งของการสั่งเทรนท์ 800 ในวันที่ 17 ธันวาคม 2547 นายหน้าคนกลางได้รับประทานอาหารค่ำกับ “รัฐมนตรีช่วยของไทย” และมีการตัดสินใจอย่างทันทีทันใด ตามคำร้องขอของนายหน้าคนกลางดังกล่าว”

หากพุ่งเป้าไปที่ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ตามการให้การของเจ้าหน้าที่บริษัท โรลส์รอยซ์ จะพบรายชื่อของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 54 ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544-11 มีนาคม 2548 มีนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างๆ 9 คน ประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายนิกร จำนง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, นายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และ นายสุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ในรายชื่อนักการเมืองและผู้บริหารการบินไทยข้างต้น ย่อมมี “ไอ้โม่ง” คนใดคนหนึ่ง ที่รับสินบนตามคำให้การของโรลสรอยซ์ ส่วนจะเป็นใครนั้น ก็ต้องดูว่า หน่วยงานตรวจสอบทุจริตของรัฐ และคณะกรรมการ “ผักชีโรยหน้า” ที่ตั้งๆ กันขึ้นมาเวลานี้ จะมี “น้ำยา” และ “กล้าเปิดชื่อ” และเอาผิดหรือไม่

ถัดจากบินไทยก็ลามต่อมาถึงคิวสินบนโรลสรอยซ์-ปตท. โดยกระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สหรัฐอเมริกา ได้ตรวจสอบพบกรณีบริษัท โรลส์-รอยซ์ เอ็นเนอร์จี ซิสเต็ม อิงค์ ได้ติดสินบนผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) จำกัด (มหาชน) กว่า 11 ล้านดอลลาร์ หรือราว 385 ล้านบาท ในช่วงปี 2543-2556 เพื่อให้ซื้อเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ มาใช้ใน 6 โครงการ

เว็บไซต์กระทรวงยุติธรรม สหรัฐฯ ระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว โรลส์-รอยซ์ ได้จ่ายสินบนให้แก่บุคคลรวมทั้งสิ้น 6 ราย ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 ราย, พนักงาน 3 ราย และนายหน้าอีก 2 ราย เพื่อให้ซื้อเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ใน 6 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการโรงแยกก๊าซที่ 5 โดยมีการจ่ายให้ระหว่างวันที่ 24 ก.ค.2546 - 16 พ.ย.2547 จำนวนเงินประมาณ 2.4 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 87 ล้านบาท 2.โครงการสถานีเพิ่มความดันท่อเส้นที่ 3 ระหว่างวันที่ 19 ม.ค.2549 - 24 ม.ค.2551 จำนวน 1.4 ล้านดอลลาร์ หรือราว 48 ล้านบาท 3.โครงการแหล่งสัมปทานอาทิตย์ในอ่าวไทย ระหว่างวันที่ 19 ม.ค.2549 - 18 ม.ค.2551 จ่ายประมาณ 1 ล้านดอลลาร์ หรือราว 38 ล้านบาท 4.โครงการ PCS ในแหล่งสัมปทานอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.2549 - 11 ก.ย.2551 จ่ายสินบน 2 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 72.5 ล้านบาท 5.โครงการโรงแยกก๊าซอีเทน จ่ายในช่วง 24 พ.ค.2550 - 18 ก.พ.2556 จำนวน 1.9 ล้านดอลลาร์ หรือราว 68 ล้านบาท และ 6.โครงการแยกก๊าซโรงที่ 6 จ่ายสินบนระหว่างวันที่ 28 มี.ค.2551 - 13 พ.ย.2552 จำนวน 2.2 ล้านดอลลาร์ หรือราว 80 ล้านบาท

โดยช่วงเวลาที่ถูกระบุว่าบริษัท โรลส์รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับ ปตท. พบว่า มีนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปี 2546 - 2554 และนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ปี 2554-2558 ซึ่งขณะนี้ ปตท.กำลังตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้โดยด่วนที่สุด และคาดว่าจะรู้ผลภายใน 30 วัน

ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นใครบ้าง มีดังนี้ นายพรหมินทร์ เลิศสุรีย์เดช, นายวิเศษ จูภิบาล, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ, นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล, นายพิชัย นริพทะพันธุ์, นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล

ตามมาติดๆ ด้วยสินบนข้ามชาติ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และบริษัททีโอที โดยบริษัท เจเนอรัล เคเบิล คอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสายเคเบิลและสายไฟฟ้าในรัฐเคนตักกี ยอมจ่ายค่าปรับให้แก่ทางการสหรัฐฯ กว่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อยุติการสอบสวนคดีจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศ เช่น แองโกลา บังกลาเทศ จีน อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายป้องกันการคอร์รัปชันในต่างประเทศ (FCPA) ของสหรัฐฯ

เรื่องนี้ เลสลี อาร์. แคลด์เวลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แผนกคดีอาชญากรรม แถลงเมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2559 ว่า เจเนอรัล เคเบิล ได้จ่ายสินบนเจ้าหน้าที่รัฐในหลายในประเทศ โดยผู้บริหารระดับสูงก็มีส่วนรู้เห็น จนทำกำไรได้มากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก

โดยข้อตกลงยุติคดีความ ระบุถึงแผนจ่ายเงินใต้โต๊ะที่เจรจาผ่านอีเมลอย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนมิ.ย.2555 (2012) พนักงานขายคนหนึ่งในบังกลาเทศได้ส่งอีเมลถึงผู้บริหาร A (ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่ในบริษัท Phelps Dodge International (Thailand) Ltd. หรือ PDTL) โดยแจ้งว่า เงินส่วนหนึ่งที่บริษัทสาขาในไทยจ่ายให้แก่ตน “จะถูกแบ่งให้แก่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายลูกค้า, เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวง และผู้บริหารระดับสูงบางคนที่ร่วมประมูล” ต่อมาในเดือน พ.ค.2013 ผู้บริหาร A ก็ได้อนุมัติจ่ายเงิน 43,700 เหรียญสหรัฐให้แก่พนักงานขายคนดังกล่าว

PDTL ยังได้จ่ายเงินกว่า 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่ผู้กระจายสินค้าในไทยรายหนึ่งในช่วงปี 2012-2013 โดยทราบดีว่าเงินบางส่วนจะถูกนำไปใช้ในทางทุจริตเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่รัฐวิสาหกิจไทย 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ณ วันนี้สารพัดสินบนดังกล่าวยังไม่มีบทสรุป และยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่า เรื่องจะจบอย่างไร โดยเฉพาะ “นักการเมือง” ที่สังคมอยากรู้ว่า จะมีคนใดต้องคดีหรือไม่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ