ระยอง-พ ทยา-บ ร ร มย ร อยเอ ด-ม กดาหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดระยอง

จังหวัด

การถอดเสียงอักษรโรมัน • อักษรโรมันChangwat Rayong

จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : วัดป่าประดู่, อนุสาวรีย์สุนทรภู่, เกาะเสม็ด, อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง, อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด, รูปปั้นพระอภัยมณีและนางเงือก บนเกาะเสม็ด

ธง

ตรา

คำขวัญ:

ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระยองเน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดระยองเน้นสีแดง

ประเทศ

ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ ไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) พื้นที่ • ทั้งหมด3,552.0 ตร.กม. (1,371.4 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 57ประชากร

(พ.ศ. 2564)

• ทั้งหมด751,343 คน • อันดับอันดับที่ 31 • ความหนาแน่น211.53 คน/ตร.กม. (547.9 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 14รหัส ISO 3166TH-21 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้ประดู่ • ดอกไม้ประดู่ • สัตว์น้ำปลาพลวงทองศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดระยอง เลขที่ 999 ถนนสุขุมวิท ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 • โทรศัพท์0 3869 4000 • โทรสาร0 3869 4010เว็บไซต์//www.rayong.go.th/

ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ระยอง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุดในประเทศ และผลิตภัณฑ์รวมจังหวัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมาย และเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการเกษตรกรรม

ชื่อ[แก้]

คำว่าระยองเพี้ยนมาจาก "ราย็อง" เป็นภาษาชอง อาจมีความหมายสองอย่าง คือ เขตแดน หรือ ไม้ประดู่ นอกจากนี้ชื่อสถานที่ในจังหวัดระยองยังมีที่มาจากภาษาชอง เช่นคำว่า เพ, ชะเมา, แกลง

มีการกล่าวอ้างว่าแต่เดิมมีหญิงชราชื่อว่า "ยายยอง" เป็นผู้มาตั้งหลักฐานประกอบอาชีพทำไร่ในแถบนี้ก่อนผู้ใด จึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า "ไร่ยายยอง"” ต่อมาภาษาพูดเพี้ยนไปจนกลายเป็น "ระยอง" อีกข้อสันนิษฐานคือ "ระยอง" มาจาก "แร่นอง" เพี้ยนเป็น "ระนอง" ก่อนที่จะมาเป็น "ระยอง" เพราะเป็นแหล่งพบทรัพยากรแร่ธรรมชาติเป็นอันมาก

ประวัติ[แก้]

สมัยขอม[แก้]

มีข้อสันนิษฐานที่พอเชื่อได้ว่าระยองน่าจะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยขอม ประมาณ พ.ศ. 1500 ซึ่งเป็นสมัยที่ขอมมีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเมืองนครธมเป็นราชธานี สร้างเมืองนครพนมเป็นเมืองหน้าด่านแรก เมืองพิมายเป็นเมืองอุปราชและได้สถาปนาเมืองลพบุรีขึ้นเป็นเมืองสำคัญ ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครธม มีเมืองจันทบูรหรือจันทบุรีในปัจจุบัน เป็นเมืองหน้าด่านเมืองแรก จึงพออนุมานได้ว่าขอมเป็นผู้สร้างเมืองระยอง แต่ไมปรากฏแน่ชัดว่าสร้างสมัยใด

ด้านหลักฐานทางโบราณคดี พบซากหินสลักรูปต่าง ๆ ที่บ้านดอน บ้านหนองเต่า ตำบลเชิงเนิน คูค่ายและซากศิลาแลงบ้านคลองยายล้ำ ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย ซึ่งมีการก่อสร้างแบบขอม ชุมชนที่เก่าที่สุดเท่าที่พบคือ ชุมชมวัดบ้านค่าย เป็นชุมชนคนจีนซึ่งพัฒนาขึ้นมาหลัง พ.ศ. 1700

สมัยกรุงศรีอยุธยา[แก้]

ระยองเริ่มมีชื่อปรากฏในอัยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง เมื่อปี พ.ศ. 1998 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบุเมืองระยองเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีเจ้าเมืองตำแหน่งออกพระราชภักดีสงคราม

และยังปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อ พ.ศ. 2113 ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พระยาละแวกเจ้าเมืองเขมรได้บุกรุกเข้ามาดินแดนไทยแถบหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก แต่ไม่สามารถยึดหัวเมืองได้ จึงกวาดต้อนผู้คนไปยังเขมรรวมถึงชาวเมืองระยองด้วยที่ถูกกวาดต้อนไปไม่น้อย

ในช่วงใกล้เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระยาวชิรปราการหรือพระเจ้าตากสิน แม่ทัพคนสำคัญของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกเกณฑ์ให้มารักษากรุงขณะที่ถูกพม่าล้อมระหว่าง พ.ศ. 2306–2310 จนราวเดือนยี่ ท่านได้พิจารณาเห็นแล้วว่ากรุงศรีอยุธยาคงเสียแก่พม่าเป็นแน่แท้ จึงได้รวบรวมพรรคพวกประมาณ 500 คน ออกไปตั้งหลักที่วัดพิชัย แล้วยกทัพมุ่งไปทางตะวันออก พระเจ้าตากได้พักแรมอยู่ที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล สองคืน จึงได้ตั้งค่ายที่บริเวณนี้ จากนั้นจึงได้ยึดเมืองระยองแล้วโปรดให้พักไพร่พลอยู่ในเมือง 7–8 วัน แล้วจึงเสด็จต่อไปจันทบุรีเพื่อยึดที่ตั้งมั่นต่อไป ก่อนกู้อิสรภาพของชาติคืนจากพม่าต่อไป

สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เป็นหัวเมืองชั้นนอก ขึ้นสังกัดกับกรมท่า หัวเมืองชั้นนอกที่ขึ้นสังกัดกรมท่าในครั้งนั้นมีสามเมืองคือ เมืองระยอง เมืองจันทบูร และเมืองตราด โดยเมื่อปี พ.ศ. 2449 เมืองระยองขึ้นกับมณฑลจันทบุรี จากนั้นเมื่อ พ.ศ. 2451 ได้โอนอำเภอเมืองแกลงจากเมืองจันทบุรีมาขึ้นกับเมืองระยอง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนชื่อเมืองระยองมาเป็นจังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. 2459 โดยยังขึ้นต่อมณฑลจันทบุรี จากนั้นปี พ.ศ. 2474 ยุบมณฑลจันทบุรี จังหวัดระยองย้ายไปขึ้นกับมณฑลปราจีนบุรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2476 เมื่อมีการยกเลิกระบบเทศาภิบาล จังหวัดระยองจึงขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

ต้นกระทิง

  • ตราประจำจังหวัด : ต้นมะพร้าว เกาะเสม็ด และพลับพลาที่ประทับในรัชกาลที่ 5 บนเกาะเสม็ด
  • ธงประจำจังหวัด : ธงพื้นสีแดง-เหลือง-น้ำเงิน แบ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัด
  • คำขวัญประจำจังหวัด : ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก
  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นกระทิงหรือสารภีทะเล (Calophyllum inophyllum)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นประดู่ (Pterocarpus macrocarpus)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกประดู่

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีราชา อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแก่งหางแมวและอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย โดยมีชายฝั่งยาวมากกว่า 100 กิโลเมตร
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสัตหีบและอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 58 ตำบล 442 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองระยอง
  2. อำเภอบ้านฉาง
  3. อำเภอแกลง
  4. อำเภอวังจันทร์
  5. อำเภอบ้านค่าย
  6. อำเภอปลวกแดง
  7. อำเภอเขาชะเมา
  8. อำเภอนิคมพัฒนา

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

เทศบาลนคร[แก้]

มีเทศบาลนคร 1 แห่ง คือ

  1. เทศบาลนครระยอง

เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล[แก้]

มีเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเทศบาลตำบล 27 แห่ง คือ

  1. เทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง/อำเภอนิคมพัฒนา
  2. เทศบาลเมืองบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง
  3. เทศบาลตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง
  4. เทศบาลตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง
  5. เทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง
  6. เทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง
  7. เทศบาลตำบลบ้านเพ อำเภอเมืองระยอง
  8. เทศบาลตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมืองระยอง
  9. เทศบาลตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง
  10. เทศบาลตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง
  11. เทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง
  12. เทศบาลตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา
  13. เทศบาลตำบลมาบข่าพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา
  14. เทศบาลตำบลมะขามคู่ อำเภอนิคมพัฒนา
  15. เทศบาลตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย
  16. เทศบาลตำบลบ้านค่ายพัฒนา อำเภอบ้านค่าย
  17. เทศบาลตำบลชากบก อำเภอบ้านค่าย
  18. เทศบาลตำบลบ้านปลวกแดง อำเภอปลวกแดง
  19. เทศบาลตำบลจอมพลเจ้าพระยา อำเภอปลวกแดง
  20. เทศบาลตำบลเมืองแกลง อำเภอแกลง
  21. เทศบาลตำบลสุนทรภู่ อำเภอแกลง
  22. เทศบาลตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง
  23. เทศบาลตำบลสองสลึง อำเภอแกลง
  24. เทศบาลตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง
  25. เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอแกลง
  26. เทศบาลตำบลกองดิน อำเภอแกลง
  27. เทศบาลตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง
  28. เทศบาลตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์
  29. เทศบาลตำบลซำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา

ประชากร[แก้]

จากสถิติทางการทะเบียนในจังหวัดระยอง พ.ศ. 2561 พบว่าจังหวัดระยอง มีประชากรทั้งสิ้น 723,316 คน ชาย 355,539 คน ร้อยละ 49.15 หญิง 367,777 คน ร้อยละ 50.85 ในด้านแรงงานมีประชากรภาคแรงงาน เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้นจำนวน 585,316 คน จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แรงงานในภาคเกษตร และแรงงานนอกภาคเกษตร ซึ่งแบ่งเป็น แรงงานในภาคเกษตร 112,471 คน ร้อยละ 19.22 และแรงงานนอกภาคเกษตร 472,845 คน ร้อยละ 80.78

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดระยองปีประชากร±% 2553 626,402— 2554 637,736+1.8% 2555 649,275+1.8% 2556 661,220+1.8% 2557 674,393+2.0% 2558 688,999+2.2% 2559 700,223+1.6% 2560 711,236+1.6% 2561 723,316+1.7%อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

การศึกษา[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

  • สถาบันวิทยสิริเมธี (สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงระยอง) สนับสนุนการจัดตั้งโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
  • วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง
  • วิทยาลัยสงฆ์ระยอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดป่าประดู่ ระยอง

สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]

  • วิทยาลัยเทคนิคระยอง อ.เมือง
  • วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง อ.เมือง
  • วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด อ.เมือง
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี อ.เมือง
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง อ.เมือง
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ อ.เมือง
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีพัฒนเวช ระยอง อ.บ้านฉาง
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรบริหารธุรกิจ อ.บ้านฉาง
  • วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย อ.บ้านค่าย
  • วิทยาลัยการอาชีพแกลง อ.แกลง
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีอาเซียนบริหารธุรกิจ อ.แกลง

โรงเรียนมัธยมศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนกวงฮั้ว อ.เมือง
  • โรงเรียนกำเนิดวิทย์ อ.วังจันทร์
  • โรงเรียนแกลง "วิทยสถาวร"อ.แกลง
  • โรงเรียนเขาชะเมาวิทยา อ.เขาชะเมา
  • โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง อ.เมือง
  • โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม อ.เขาชะเมา
  • โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา อ.แกลง
  • โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง อ.เมือง
  • โรงเรียนนครระยองวิทยาคม (วัดโขดใต้) อ.เมือง
  • โรงเรียนนิคมวิทยา อ.นิคมพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านค่าย อ.บ้านค่าย
  • โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อ.บ้านฉาง
  • โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม อ.ปลวกแดง
  • โรงเรียนเพรักษมาตาวิทยา อ.เมือง
  • โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย อ.แกลง
  • โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง อ.เมือง
  • โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร อ.เมือง
  • โรงเรียนระยองวิทยาคม อ.เมือง
  • โรงเรียนวัดป่าประดู่ อ.เมือง
  • โรงเรียนระยองวิทยาคมนิคมอุตสาหกรรม อ.เมือง
  • โรงเรียนระยองวิทยาคมปากน้ำ อ.เมือง
  • โรงเรียนวังจันทร์วิทยา อ.วังจันทร์
  • โรงเรียนสองภาษาระยอง อ.บ้านฉาง
  • โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา อ.แกลง
  • โรงเรียนห้วยยางศึกษา อ.แกลง
  • โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง อ.เมือง

สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง

  • ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
  • ท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด
  • นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
  • นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก
  • นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
  • นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด
  • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้
  • นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด
  • นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
  • นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล
  • นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
  • นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง
  • อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล
  • อ่างเก็บน้ำดอกกราย

ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการเกษตร[แก้]

  • น้ำปลา กะปิ กุ้งแห้ง
  • เงาะ ทุเรียน มังคุด มะม่วง สับปะรด ยางพารา

อาหารพื้นเมือง[แก้]

  • หมูชะมวง
  • แกงส้มหน่อไม้ดองไข่ปลาเรียวเซียว
  • น้ำพริกระกำ
  • แมงกะพรุนจิ้มน้ำจิ้ม
  • แจงลอน
  • แกงป่าปลาเห็ดโคน
  • ขนมนิ่มนวล

การขนส่ง[แก้]

ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ[แก้]

  • อำเภอบ้านค่าย 14 กิโลเมตร
  • อำเภอนิคมพัฒนา 26 กิโลเมตร
  • อำเภอบ้านฉาง 28 กิโลเมตร
  • อำเภอปลวกแดง 44 กิโลเมตร
  • อำเภอวังจันทร์ 46 กิโลเมตร
  • อำเภอแกลง 49 กิโลเมตร
  • อำเภอเขาชะเมา 73 กิโลเมตร

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ[แก้]

อำเภอเมืองระยอง[แก้]

  • เกาะเสม็ด
  • เกาะทะลุ
  • เกาะกุฎี
  • เกาะกรวย เกาะขาม เกาะปลาตีน
  • อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
  • หาดทรายแก้ว
  • หาดแม่รำพึง
  • หาดก้นอ่าว
  • หาดสวนสน
  • สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง
  • ชุมชนบ้านเพ
  • วัดป่าประดู่ข้อความตัวหนา
  • วัดลุ่มมหาชัยชุมพล
  • ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ศาลหลักเมืองระยอง
  • ตลาดเก่าถนนยมจินดา
  • ป่าชายเลนแม่น้ำระยอง
  • หอชมวิววป่าชายเลนแม่น้ำระยอง
  • จุดชมวิวเมืองระยอง เขาโบสถ์
  • ปากน้ำระยอง
  • สตอเบอรี่ทาวน์
  • หาดแสงจันทร์
  • แหลมเจริญ
  • หาดสุชาดา
  • หาดสนกระซิบ
  • สวนศรีเมือง
  • ตลาดน้ำเกาะกลอย
  • พระเจดีย์กลางน้ำ

อำเภอแกลง[แก้]

  • สวนวังแก้ว
  • หาดวังแก้ว
  • อ่าวไข่
  • แหลมแม่พิมพ์
  • อนุสาวรีย์สุนทรภู่
  • เกาะมันนอก
  • เกาะมันกลาง
  • เกาะมันใน
  • วัดสมมติเทพฐาปนาราม
  • วัดตะเคียนงาม
  • ชุมชนบ้านเก่าริมน้ำประแส
  • อนุสรณ์เรือหลวงประแส
  • ทุ่งโปรงทอง
  • สะพานประแสสิน
  • ป่าชายเลนปากน้ำประแส
  • ล่องแพชมหิ่งห้อยแม่น้ำประแส
  • สะพานรักษ์แสม
  • ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต
  • วัดถ้ำเขาระฆังทอง
  • อ่างเก็บน้ำเขาจุก

อำเภอบ้านฉาง[แก้]

  • หาดพลา
  • หาดพยูน
  • หาดน้ำริน
  • เส้นทางชมทิวทัศน์เขาภูดร-ห้วยมะหาด

อำเภอบ้านค่าย[แก้]

  • สวนสุภัทรา
  • สวนมังคุดหนองตะพาน
  • วัดละหารไร่ หลวงปู่ทิม
  • ไร่จ๋าคุณ แหล่งเล่นน้ำคลองหนองปลาไหล
  • ตลาดเก่าไผ่ล้อม100ปี
  • ต้นก้ามปูยักษ์ชากบก

อำเภอเขาชะเมา[แก้]

  • อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง
  • น้ำตกเขาชะเมา
  • น้ำตกคลองปลาก้าง
  • น้ำตกคลองหินเพิง
  • ถ้ำเขาวง
  • ถ้ำเขาประทุน
  • ถ้ำเขาชะอางคร่อมคลอง

อำเภอนิคมพัฒนา[แก้]

  • สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
  • จุดชมวิวเนินขี้หมา
  • ศาลเจ้าหลวงเตี่ย
  • วัดเขาโพธิ์
  • เขาจอมแห
  • วัดหนองผักหนาม
  • วัดมะขามเดี่ยว
  • วัดกระเฉท

อำเภอปลวกแดง[แก้]

  • ทุ่งทานตะวันอ่างเก็บน้ำดอกกราย
  • อ่างเก็บน้ำดอกกราย โครงการในพระราชดำริ ร.9
  • หอชมวิวเฉลิมพระเกียรติ โครงการในพระราชดำริ ร.9
  • อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล
  • อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่
  • ร่มไผ่ไทรย้อย แหล่งเล่นน้ำคลองหนองปลาไหล

อำเภอวังจันทร์[แก้]

  • อ่างเก็บน้ำประแสร์
  • สวนละไม
  • ป่าวังจันทร์
  • น้ำตกธรรมรส

อุทยานแห่งชาติ[แก้]

  • อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
  • อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • เพชรา เชาวราษฎร์ นักแสดง
  • อำพล ลำพูน นักแสดงและนักร้องจากวงไมโคร
  • จิรายุ ละอองมณี นักร้อง นักแสดง
  • จุฑามาศ เมฆเสรี นางงาม
  • สมเกียรติ จันทร์พราหมณ์ พิธีกรและนักแสดง
  • จักรพันธุ์ ยมจินดา อดีตผู้ประกาศข่าว พิธีกร นักการเมือง
  • เรียม ดาราน้อย นักร้อง
  • สมเจตน์ สอาด อดีตนักแสดง, นายแบบ
  • พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล นักฟุตบอล
  • กิตติศักดิ์ ระวังป่า อดีตนักฟุตบอล ตำแหน่งผู้รักษาประตู
  • หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ อำเภอบ้านค่าย
  • สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อวัดในจังหวัดระยอง
  • รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดระยอง
  • รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดระยอง

อ้างอิง[แก้]

ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: //stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 19 มกราคม 2565.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ