อาคาร จี เอ็ ม เอ็ ม แก รม มี่ เพลส

โครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส เป็นโครงการประเภท Commercial ตั้งอยู่ในทำเลพื้นที่ คลองเตยเหนือ, กรุงเทพมหานคร และได้สร้างเสร็จแล้วเมื่อ ม.ค. 2530 โดยมีทั้งหมด 43 ชั้น รวมทั้งสิ้น 4 ยูนิต

ยูนิตมือสองและให้เช่า

  • ทั้งหมด
  • สตูดิโอ

สร้างการแจ้งเตือนเมื่อมีประกาศใหม่เพิ่มเข้ามาในโครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส

ดูทั้งหมด (4)

สิ่งอำนวยความสะดวก และ แบบแปลนพื้น

สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ

ด้านความสะดวก

ร้านอาหารในโครงการ

ลานจอดรถ

แผนกต้อนรับ

ร้านค้า

ระบบสำรองไฟ

ไปสถานี BTS/MRT ได้

ด้านความปลอดภัย

รปภ. 24ชั่วโมง

กล้องวงจรปิด

เข้าออกด้วยคีย์การ์ด

การบริหารจัดการ

คำถามที่พบบ่อย

โครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงใดๆเข้ามา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตโดยนิติบุคคลของโครงการ ซึ่งมีข้อยกเว้นให้สำหรับสุนัขนำทางของผู้พิการเท่านั้นที่ไม่ต้องขออนุญาตใดๆ

MRT สุขุมวิท เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานคร MRTที่ใกล้ที่สุด โดยห่างจากโครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ไปประมาณ 0.4 กม.

รีวิวโครงการ

คุณรู้จักโครงการนี้หรือไม่?อยากรีวิวเป็นคนแรกมั้ย?

+ เขียนรีวิว

กรุงเทพมหานคร

คลองเตยเหนือ

เรื่องควรรู้ รอบๆโครงการนี้

  • ราคาขาย $110K AUD - $25.1M AUD
  • ค่าเช่า $331 AUD - $62.7K AUD

สถานที่ใกล้เคียงที่ควรทราบ

โครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส อยู่ห่างจาก 7-Eleven สาขา อาคารเสริมมิตร เพียงแค่ 150 เมตรเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาเดินไปเพียง 2 นาที

และยังมีร้านต่างๆ ที่อยู่ใกล้กับโครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ซึ่ง 3 ร้านที่ใกล้ที่สุด คือ - Thanon Asok Montri อยู่ห่างไปเพียง 290 เมตร (เดินแค่ประมาณ 4 นาที) - MidTown Asok อยู่ห่างแค่ 470 เมตรเท่านั้น (ใช้เวลาเดินประมาณ 6 นาที) - Shopfest Thailand (ช้อปเฟสท์ ประเทศไทย) อยู่ห่างออกไปประมาณ 420 เมตร (สามารถเดินไปประมาณ 5 นาที)

ร้านอาหารที่ใกล้กับโครงการ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส นั้นมีให้เลือกมากมาย เราขอเสนอร้านที่ใกล้ที่สุด ดังนี้ - zensho thailand นั้นอยู่ใกล้กับโครงการเพียง 0 เมตร (ซึ่งคุณสามารถเดินไปที่ร้านได้ ในเวลาประมาณ 1 นาที เท่านั้น) - ก๋วยเตี๋ยว อยู่ห่างจากโครงการเพียง 0 เมตร (คุณแค่เดินไปประมาณ 1 นาที ก็ถึงแล้ว) - โฮมเสบียง นั้นอยู่ห่างไปประมาณ 0 เมตร (เดินไปที่ร้านใช้เวลาประมาณ 1 นาที)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพมหานคร เป็นสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งห่างจากโครงการไป 330 เมตร (ซึ่งหากเดินไป ก็จะใช้เวลาประมาณ 4 นาที)

หากจะมองหาสถานศึกษาหรือแหล่งเรียนรู้ใกล้ๆกับโครงการ นี่คือสถานที่ที่เราแนะนำ - Science Buddies Thailand อยู่ห่างไปเพียง 20 เมตรเท่านั้น (เดินไปแค่ 1 นาที เท่านั้นเอง) - โรงเรียนการบินญี่ปุ่น อยู่ห่างแค่ 150 เมตรเท่านั้น (หากจะเดินไป ก็ใช้เวลาประมาณ 2 นาที) - Sis Musik Studio Bangkok อยู่ห่างไปประมาณ 460 เมตรเท่านั้นเอง (สามารถเดินเพียง 6 นาที ก็ถึง)

Suvarnabhumi Airport นั้นอยู่ห่างจากโครงการ 31.4 กม. ซึ่งหากขับรถไปจะใช้เวลาโดยประมาณ 30 นาที หรือหากจะเดินทางด้วยแท๊กซี่ ก็ขึ้นอยู่กับการจราจร ณ ช่วงเวลานั้นๆ

บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส (ตึกแกรมมี่) ย่านสุขุมวิท 21 (ถนนอโศกมนตรี)

ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด

การซื้อขาย

SET:GRAMMYอุตสาหกรรมการบันเทิงก่อตั้ง11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 (40 ปี)ผู้ก่อตั้งเรวัต พุทธินันทน์ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรมสำนักงานใหญ่อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส เลขที่ 50 ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

บุคลากรหลัก

  • ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม (ประธานกรรมการ)
  • บุษบา ดาวเรือง (รองประธานกรรมการ/ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม)
  • ภาวิต จิตรกร (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจเพลง)
  • กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ (รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจสินค้า)
  • ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม (รักษาการประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน)
  • จรรย์จิรา พนิตพล (ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน)

ผลิตภัณฑ์สื่อบันเทิง ดนตรี เพลง คอนเสิร์ต โชว์บิซ งานการแสดง อีเวนท์ ละครเวที สตูดิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ และ สถานีโทรทัศน์รายได้6,984 ล้านบาท (รายได้รวมปี พ.ศ. 2561) บริษัทในเครือ

  • จีเอ็มเอ็ม มิวสิค
  • เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ (กิจการร่วมค้า)
  • จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง

เว็บไซต์www.gmmgrammy.com

บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ : GMM Grammy Public Company Limited) เป็นบริษัทสื่อบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และเรวัต พุทธินันทน์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ในชื่อ บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

ในระยะแรก แกรมมี่ประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ผลงานเพลงไทยสากลเป็นหลัก โดยออกอัลบั้มชุดแรก คือ นิยายรักจากก้อนเมฆ ของแพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ และผลิตรายการทีวี 3 รายการ จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการไปสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ บริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจบันเทิงอื่น ๆ เช่น วิทยุ, ภาพยนตร์, การจัดคอนเสิร์ต, การศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจร้านค้าปลีกเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ เช่น เทป ซีดีเพลง และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ การขยายธุรกิจดังกล่าวส่งให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในปี พ.ศ. 2544

ในปี พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจเป็นการถือหุ้นโดยบริษัทอื่น โดยดำเนินงานผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจหลักจำนวน 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจเพลง ผ่านบริษัทย่อย บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด, ธุรกิจสื่อ ผ่านกิจการร่วมค้า บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) และธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง ผ่านบริษัทย่อย บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสริม เช่น ภาพยนตร์ สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และการลงทุนในบริษัทอื่น ๆ

ศิลปินที่มีชื่อเสียงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แก่ เบิร์ด ธงไชย, บอดี้สแลม, โลโซ, ต่าย อรทัย, บี้ สุกฤษฎิ์, โปเตโต้, ทาทา ยัง, มอส ปฏิภาณ, เก็ตสึโนวา, โจอี้ บอย, นิว จิ๋ว เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

โลโก้ แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (ปี 2531 - พฤศจิกายน 2544)

พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2529[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2526 ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม นำเงินที่สะสมไว้ราว 4-5 แสนบาท มาร่วมหุ้นกับ เต๋อ - เรวัต พุทธินันทน์ นักดนตรีซึ่งมีชื่อเสียงในยุคนั้น ที่ไพบูลย์ได้รู้จักผ่านทางบุษบา ดาวเรือง รวมถึงกลุ่มเพื่อนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตงานดนตรีแล้วบันทึกเพื่อจำหน่าย มีสถานะเป็นค่ายเพลง และผลิตศิลปินนักดนตรีเป็นหลัก ซึ่งผลงานลิขสิทธิ์ชิ้นแรกของแกรมมี่ คือการผลิตเพลงชุดมหาดุริยางค์ไทย ที่ประพันธ์โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) โดยในระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงานเพลงไทยสากล โดยมีศิลปินคนแรกคือ แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ โดยออกอัลบั้มชุดแรก นิยายรักจากก้อนเมฆ และต่อมาแกรมมี่ได้ผลิตรายการทีวี 3 รายการ ได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว และ เสียงติดดาว

ในปี พ.ศ. 2527 แกรมมี่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการออกอัลบั้ม เต๋อ 1 ของเต๋อ และพร้อมทั้งคาราบาว ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ 5 ของวงที่แกรมมี่ส่งเสริมการตลาดอยู่ โดยทำยอดขายได้ถึง 5 ล้านตลับ เป็นสถิติยอดจำหน่ายอัลบั้มเพลงของศิลปินไทยที่สูงที่สุดของไทยไม่มีใครทำลายได้มาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2529 มีการออกอัลบั้มแรกของเบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์ อัลบั้ม หาดทราย สายลม สองเรา ออกวางตลาด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง พร้อมทั้งเพิ่มการผลิตเพลงร็อค ได้แก่วงไมโคร ในอัลบั้มแรก ร็อค เล็ก เล็ก ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเช่นกัน จากเพลง รักปอนปอน หลังจากนั้นมีผลงานต่อมาคือ หมื่นฟาเรนไฮต์ ซึ่งมีเพลงดังคือ เอาไปเลย ที่ต่อมากลายเป็นเพลงประจำคอนเสิร์ตมือขวาสามัคคี และ เต็มถัง ซึ่งมีเพลงดังคือ ส้มหล่น

พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2536[แก้]

ในปี พ.ศ. 2531 จัดตั้งบริษัท เอ็มจีเอ จำกัด (Music Generating Administration) เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายเทปเพลงและสินค้าบันเทิงต่าง ๆ จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการไปสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ

ในปี พ.ศ. 2532 ได้ขยายธุรกิจวิทยุ โดยจัดตั้ง บริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด ควบคุมโดย ฉอด - สายทิพย์ ประภาษานนท์ โดยออกอากาศ 2 สถานีแรกคือ กรีนเวฟ และฮอตเวฟ

ในปี พ.ศ. 2534 จัดตั้งบริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด โดยผลิตรายการและละครโทรทัศน์ ควบคุมโดย บอย - ถกลเกียรติ วีรวรรณ และเริ่มออกอากาศละครซิทคอม เรื่อง "3 หนุ่ม 3 มุม" และในปีเดียวกัน ได้จัดสร้างบริษัท เอ็กซ์ทรอกาไนเซอร์ จำกัด เป็นธุรกิจการแสดงและคอนเสิร์ต ทำให้บริษัทมีความเจริญเติบโตมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2536 บริษัทเริ่มต้นเข้าสู่ยุคแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์และภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงและผลงานบันเทิง และเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2537 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการทำธุรกิจดนตรี และสื่อควบคู่กันเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นบริษัทที่ครองตลาดเพลงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยมีรายได้จากธุรกิจดนตรีไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ในปีเดียวกันเริ่มมีธุรกิจภาพยนตร์โดยชื่อว่า แกรมมี่ภาพยนตร์ หรือ แกรมมี่ ฟิล์ม และเมื่อปี พ.ศ. 2539 เริ่มขยายเข้าสู่ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ โดยการเข้าลงทุนในนิตยสารอิมเมจ

พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2547[แก้]

แล้วจากนั้นก็เริ่มขยายไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเปิดบริษัทในไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2540 และในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการจัดตั้งสถาบันดนตรี โรงเรียนมีฟ้า แล้วปีถัดไปในปี พ.ศ. 2543 จัดตั้งหน่วยธุรกิจ E - Business

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กรครั้งใหญ่ โดยแบ่งการดำเนินธุรกิจเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (ก่อนหน้านี้ประกาศชื่อใหม่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ต่อมาเปลี่ยนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544) และก่อตั้งบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ควบคุมโดย สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เพื่อดำเนินธุรกิจสื่อทุกประเภท โดยนำทั้งสองบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท โดยมีการโอนขายบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจวิทยุ ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ และธุรกิจสิ่งพิมพ์ จำนวน 8 บริษัท โดยคำว่า "GMM" ย่อมาจาก "Global Music & Media"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 กลุ่มบริษัทมีกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจภาพยนตร์ ภายในปีเดียวกันมีภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน โดย 365 ฟิล์ม โดยมอบหมายให้ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ร่วมทุนสร้างกับ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ หับ โห้ หิ้น เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุดจากการฉายสูงสุดในปีนั้น ด้วยมูลค่าถึง 137.7 ล้านบาท และในปีเดียวกัน ภาพยนตร์เรื่อง บิวตี้ฟูล บ๊อกเซอร์ ยังได้รับความสนใจจากต่างประเทศอย่างมาก กำกับโดย เอกชัย เอื้อครองธรรม ซึ่งในเวลาต่อมาทั้ง 3 บริษัทได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีรายได้และกำไรสูงที่สุดนับแต่ก่อตั้ง เป็นจำนวนกว่า 6,671 ล้านบาท และเป็นผลให้มูลค่าตลาดของ กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีมูลค่ากว่า 11,025 ล้านบาท และในปีเดียวกันบริษัทตั้งเป้าหมายสู่การเป็น "King of content" โดยการร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ดีทอล์ค จำกัด เป็นธุรกิจโทรทัศน์, บริษัท สยามอินฟินินิท จำกัด ให้บริการเกมออนไลน์, บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด ธุรกิจภาพยนตร์ และบริษัท นินจา รีเทิร์นส์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด รับจัดกิจกรรมและคอนเสิร์ต

พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549[แก้]

ในช่วงปี พ.ศ. 2548 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีเหตุการณ์สำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เดือนเมษายน ได้ขยายเข้าสู่ธุรกิจอีเวนท์ โดยเข้าลงทุน 50% ในบริษัท อินเด็กซ์ อีเวนต์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) (Index Event) ผ่านบริษัทย่อย บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย ในเดือนเดียวกัน ได้รับผลโหวตให้เป็น "Best Small Cap" ของประเทศไทย และได้อันดับสองในการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ซึ่งจัดโดยนิตยสารไฟแนนซ์เอเชีย
  • เดือนมิถุนายน เข้าลงทุนใน บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจ เช่น ช่องทางการจำหน่ายสินค้า
  • เดือนกรกฎาคม เข้าร่วมทุนในบริษัท คลีน คาราโอเกะ จำกัด เพื่อให้บริหารจัดการเรื่องลิขสิทธิ์เพลง การจัดการเรียกเก็บเงิน จากตู้คาราโอเกะ โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท
  • เดือนกันยายน ลงทุนผ่านบมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย เพื่อขยายเข้าสู่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ โดยลงทุนในมติชนในสัดส่วน 20% และบางกอกโพสต์ในสัดส่วน 23.6%

ในปี พ.ศ. 2549 เข้าร่วมทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม ฟิตเนส คลับ จำกัด เพื่อให้บริการด้านสถานออกกำลังกาย โดยบริษัทถือหุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน จำนวน 40 ล้านบาท ในปีเดียวกัน เข้าร่วมทุนในบริษัท ลักษ์มิวสิก 999 จำกัด เพื่อขยายธุรกิจด้านผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเพลงโดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท

พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555[แก้]

ในปีต่อมา พ.ศ. 2550 บริษัทซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ทรี-อาร์ดี จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 จำนวน 2.63 ล้านบาท ในปีเดียวกัน บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของแชนแนลวี ไทยแลนด์ มิวสิก ในสัดส่วนร้อยละ 25 จำนวน 16.65 ล้านบาท

จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีการปรับโครงสร้างธุรกิจและองค์กรขนาดใหญ่อีกครั้ง โดยเพิกถอนจีเอ็มเอ็ม มีเดีย ออกจากตลาดหลักทรัพย์ และให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้าถือหุ้นทั้งหมด เพื่อควบรวมกิจการ โดยให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นบริษัทแม่ของกลุ่ม ส่งผลให้มีรายได้กำไรสุทธิในปีนั้น เป็นจำนวน 7,834 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดอีกครั้งนับแต่ก่อตั้ง

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 กลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ร่วมถือหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสัดส่วน 50% ผ่านบริษัทแฟมิลี่ โนฮาว จำกัด โดย บมจ.จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียมขึ้นจำนวน 4 ช่องสัญญาณ ด้วยเงินลงทุนจำนวน 500 ล้านบาท เพื่อนำเสนอในรูปแบบสถานีโทรทัศน์บันเทิง ซึ่งใช้เวลาออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง

ในปี พ.ศ. 2553 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีรายได้รวมสูงสุดกว่า 8,863 ล้านบาท ในปีเดียวกัน ได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด และ บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมเพื่อดำเนินการก่อสร้างสตูดิโอขนาดใหญ่ โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านบาท และในปีเดียวกัน เข้าร่วมลงทุนในบริษัท ลักษ์ แซทเทิลไลท์ จำกัด เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ออกอากาศผ่านดาวเทียม โดยถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท

ในปี พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมทุนกับบริษัท ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทโฮมช้อปปิ้งอันดับ 1 ของสาธารณรัฐเกาหลี ก่อตั้งบริษัท จีเอ็มเอ็ม ซีเจ โอ ช้อปปิ้ง จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด) เพื่อประกอบธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง โดยบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด 540 ล้านบาท

และในปี พ.ศ. 2555 เข้าลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เพื่อให้บริการแพลตฟอร์มโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม โดยถือหุ้นทั้งหมดของทุนจดทะเบียนซึ่งมีจำนวน 100 ล้านบาท และจีเอ็มเอ็ม แซท ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด เพื่อให้บริการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบเสียค่ารับชม (เพย์ ทีวี) โดยถือหุ้นทั้งหมดของทุนจดทะเบียนซึ่งมีจำนวน 1 ล้านบาท

พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน[แก้]

ในปี พ.ศ. 2556 ในเดือนมีนาคม จีเอ็มเอ็ม ไท หับ นำภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง ออกสู่สายตาประชาชน และทำรายได้ Box Office สูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยที่ 567 ล้านบาท

เดือนพฤษภาคม จีเอ็มเอ็ม ไท หับ เปิดตัวซีรีส์เรื่อง ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น จำนวนทั้งหมด 13 ตอน ออกฉายผ่านทางช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม จีเอ็มเอ็มวัน และผ่านช่องทางยูทูบ ซึ่งได้กลายเป็นซีรีส์ยอดนิยมระดับประเทศ สามารถทำยอดผู้ชมในยูทูบได้กว่า 80 ล้านผู้ชม

เดือนกันยายน ทางบริษัทได้เพิ่มทุนเพื่อนำไปลงทุนใน Strategic Investment ด้วยอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ในราคาหุ้นละ 10 บาท จำนวน 106,052,989 หุ้น ส่งผลให้สามารถระดมเงินทุนคิดเป็นจำนวน 1 พันล้านบาท จำนวนหุ้นจดทะเบียนรวมทั้งหมด 636,317,936 หุ้น จำนวน 636,317,936 บาท และเดือนธันวาคม ทางบริษัทได้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ และชนะการประมูล 2 ช่องได้แก่ ช่องทั่วไปความคมชัดสูง (วาไรตี้ เอชดี) ซึ่งต่อมาคือช่องวัน 31 และช่องทั่วไปความคมชัดมาตรฐาน (วาไรตี้ เอสดี) ซึ่งต่อมาคือจีเอ็มเอ็ม 25

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ช่องยูทูบของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ สามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นช่องแรกในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10,000,000 คน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ร่วมมือกับวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ ก่อตั้งวายจีเอ็มเอ็ม (YG”MM) เพื่อพัฒนาศิลปินไทยให้เป็นศิลปินมืออาชีพระดับโลก และยกระดับคุณภาพของอุตสาหกรรมเพลงไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ปีเดียวกัน ผู้ถือหุ้นตระกูลดำรงชัยธรรม ได้โอนหุ้นทั้งหมดที่ตนถือในจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ให้บริษัท ฟ้า ดำรงชัยธรรม จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นแทน ในสัดส่วนร้อยละ 52.05% โดยเป็นการปรับโครงสร้างของกลุ่มดำรงชัยธรรม เนื่องจากตัวไพบูลย์มีอายุมาก และต้องการจัดสรรทรัพย์สินส่วนตนให้เป็นกองกลางของครอบครัว รวมถึงตั้งธรรมนูญครอบครัวเพื่อแบ่งหน้าที่การบริหารของสมาชิกครอบครัวดำรงชัยธรรมในจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อย่างชัดเจน ทั้งนี้ไพบูลย์ยังคงมีเสียงส่วนใหญ่ใน บจ.ฟ้า ดำรงชัยธรรม ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 99% ส่วนอีก 1% ไพบูลย์ให้บุตรธิดาทั้ง 4 คนถือเท่ากันที่คนละ 0.25%

จากนั้นในปี พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้จับมือกับอาร์เอสกรุ๊ป ค่ายเพลงชื่อดังของไทยอีกรายหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ จดทะเบียนจัดตั้งกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ภายใต้ชื่อ อะครอสเดอะยูนิเวิร์ส (Across The Universe) และดำเนินการจัดคอนเสิร์ตร่วมระหว่างศิลปินทั้ง 2 ค่าย ในชื่อ แกรมมี่ อาร์เอส คอนเสิร์ตส

และตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ โดยได้แยกธุรกิจเพลง การจัดคอนเสิร์ต และการบริหารศิลปิน ไปอยู่ในการดูแลของบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งต่อมามีการประกาศแจ้งชื่อบริษัทย่อยดังกล่าวว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 เมษายน และเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติให้นำจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ซึ่งเป็นบริษัทเรือธงในธุรกิจเพลงของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับ อาร์เอส มิวสิค ของค่ายคู่แข่งซึ่งวางแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้แจ้งว่า ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงเรียบร้อยแล้ว โดยดำเนินการโอนกิจการเพลง ซึ่งประกอบด้วยทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพันต่าง ๆ และบุคลากรในกิจการเพลง และหุ้นสามัญจดทะเบียนในส่วนที่ตนถือหุ้นอยู่ในบริษัทย่อยด้านธุรกิจเพลง คือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พับลิชชิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (สัดส่วน 100%), บริษัท จีสองร้อยเอ็ม จำกัด (สัดส่วน 100%), บริษัท จีอาร์ โวคอล สตูดิโอ จำกัด (สัดส่วน 65%) และบริษัท วายจีเอ็มเอ็ม จำกัด (สัดส่วน 51%) ให้แก่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ดังนั้นจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จึงปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตนจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจทั่วไป เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นบริษัทอื่นแทน และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน คณะกรรมการของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้กำหนดให้จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน แต่หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการระดมทุนสาธารณะผ่านการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกของจีเอ็มเอ็ม มิวสิคแล้ว จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะกำหนดให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม โอ ช้อปปิ้ง จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนแทน

กลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือ[แก้]

รายชื่อศิลปินในสังกัด[แก้]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

  • อันดากับฟ้าใส
  • รักออกแบบไม่ได้
  • ยุวชนทหาร เปิดเทอมไปรบ
  • 15 ค่ำ เดือน 11
  • กุมภาพันธ์
  • ผีเสื้อร้อนรัก
  • ไอ้ฟัก
  • พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว
  • ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (สร้างร่วมกับ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ และ PHENOMENA)

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ (GTH)[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ

  • ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ (สร้างร่วมกับ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ และ PHENOMENA)
  • มหา'ลัย เหมืองแร่
  • วัยอลวน 4 ตั้ม โอ๋ รีเทิร์น (ร่วมทุนสร้างกับ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น)
  • Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
  • เก๋า เก๋า
  • Final Score 365 วัน ตามติดชีวิตเด็กเอ็นท์
  • แฝด
  • ตั๊ดสู้ฟุด
  • สายลับจับบ้านเล็ก
  • ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น
  • สี่แพร่ง
  • รัก/สาม/เศร้า
  • ห้าแพร่ง
  • รถไฟฟ้า มาหานะเธอ
  • บ้านฉัน..ตลกไว้ก่อน (พ่อสอนไว้)
  • กวน มึน โฮ
  • Suck Seed ห่วยขั้นเทพ
  • ลัดดาแลนด์
  • Top Secret วัยรุ่นพันล้าน
  • ATM เออรัก เออเร่อ
  • รัก 7 ปี ดี 7 หน
  • เคาท์ดาวน์
  • พี่มาก..พระโขนง
  • คิดถึงวิทยา
  • ฝากไว้..ในกายเธอ
  • ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้
  • ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ
  • เมย์ไหน..ไฟแรงเฟร่อ

จีดีเอช ห้าห้าเก้า (GDH 559)[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีดีเอช ห้าห้าเก้า

  • แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว เข้าฉาย 1 กันยายน 2559
  • พรจากฟ้า เข้าฉาย 1 ธันวาคม 2559
  • ฉลาดเกมส์โกง เข้าฉาย 3 พฤษภาคม 2560
  • เพื่อน..ที่ระลึก เข้าฉาย 7 กันยายน 2560
  • น้อง.พี่.ที่รัก เข้าฉาย 10 พฤษภาคม 2561
  • BNK48: Girls Don't Cry (รับจัดจำหน่ายให้เท่านั้น) เข้าฉาย 16 สิงหาคม 2561
  • 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว เข้าฉาย 6-16 กันยายน 2561 เท่านั้น
  • โฮมสเตย์ เข้าฉาย 25 ตุลาคม 2561
  • เฟรนด์โซน เข้าฉาย 14 กุมภาพันธ์ 2562
  • ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค เข้าฉาย 5 ธันวาคม 2562
  • ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ เข้าฉาย 26 ธันวาคม 2562

จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์

  • คู่กรรม

จีเอ็มเอ็มทีวี[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็มทีวี

  • My Precious รักแรกโคตรลืมยาก

ผลงานละครโทรทัศน์[แก้]

ช่องวัน[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ ช่องวัน 31

  • สงครามนางงาม
  • ทายาทพันธุ์ข้าวเหนียว
  • ภูผาผีคุ้ม
  • เคหาสน์ดาว
  • เงาใจ
  • เล่ห์รตี
  • สื่อริษยา
  • 2 รัก 2 วิญญาณ
  • บัลลังก์เมฆ
  • ร้อยเล่ห์เสน่ห์ร้าย
  • จัดรัก..วิวาห์ลวง
  • หัวใจมีเงา
  • ทอฝันกับมาวิน
  • เพื่อเธอ
  • เรือนร้อยรัก
  • ขอโทษที่รักเธอ
  • กรุงเทพ..มหานครซ้อนรัก
  • เพชฌฆาตดาวโจร
  • สงครามนางงาม 2
  • รักฝุ่นตลบ
  • เสน่หาข้ามเส้น
  • กระเช้าสีดา
  • เพื่อแม่แพ้บ่ได้
  • คุณชาย
  • บอดี้การ์ดหมอลํา
  • ใต้หล้า
  • พิษสวาท
  • มณีพยาบาท
  • วิมานทราย
  • ซิ่นลายโส้
  • ข้าวเหนียวทองคํา
  • รักนี้ต้องเจียระไน

เอ็กแซ็กท์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ เอ็กแซ็กท์

  • เซน...สื่อรักสื่อวิญญาณ
  • หัวใจศิลา
  • อุบัติเหตุหัวใจ
  • ฝันเฟื่อง
  • กุหลาบซาตาน

ซีเนริโอ[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ ซีเนริโอ

  • นารีสโมสร
  • กุหลาบซาตาน
  • ทาสรักทระนง
  • ลิขิตฟ้าชะตาดิน
  • ลิเก๊..ลิเก
  • รอยอดีตแห่งรัก
  • มายาพิศวาส
  • บ้านเราจงเจริญ
  • อีสา ระวีช่วงโชติ
  • หัวใจเรือพ่วง
  • ฝันเฟื่อง
  • เสือ
  • เมื่อวันฟ้าเปลี่ยนสี

เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์

  • เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์
  • ชิงรัก ริษยา
  • ราชินีหมอลำ
  • แต่ปางก่อน
  • ชีวิตเพื่อฆ่า หัวใจเพื่อเธอ
  • เกมมายา
  • เสน่หา Diary ตอน กับดักเสน่หา
  • เสน่หา Diary ตอน บ่วงเสน่หา
  • A Love To Kill รักซ่อนแค้น
  • เสน่หา Diary ตอน แสบเสน่หา
  • ดอกแก้วกาหลง
  • เธอคือพรหมลิขิต
  • ภารกิจลิขิตหัวใจ
  • ชายไม่จริง หญิงแท้
  • ล่า
  • เรือนเบญจพิษ
  • กาหลมหรทึก
  • ดาวจรัสฟ้า
  • สายรัก สายสวาท
  • บางกอกนฤมิต
  • เมีย 2018 รักเลือกได้
  • วิมานจอเงิน
  • เนตรนาคิน
  • บาปรัก
  • พรหมไม่ได้ลิขิต
  • นางสาวไม่จำกัดนามสกุล
  • สงครามนักปั้น

จีเอ็มเอ็ม 25[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม 25

  • Club Friday To Be Continued ตอน มิ้นต์กับมิว
  • มิติสยอง
  • GPA สถาบันพันธุ์แสบ
  • I Wanna Be Sup'Tar วันหนึ่งจะเป็นซุปตาร์
  • Devil Lover เผลอใจ..ให้นายปีศาจ
  • ปริศนาอาฆาต
  • Love Songs Love Stories
  • ขวัญผวา
  • Club Friday To Be Continued ตอน สัญญาใจ
  • Love Songs Love Series
  • Club Friday To Be Continued ตอน เพื่อนรัก เพื่อนร้าย
  • ลายหงส์
  • มิติสยอง 13 เขตสยอง
  • สงครามแย่งผู้ To Be Continued
  • ปีกทอง
  • Club Friday To Be Continued ตอน เธอเปลี่ยนไป
  • รัก-ออกแบบไม่ได้
  • ป่ากามเทพ
  • Love Songs Love Series To Be Continued ตอน พรหมลิขิต
  • Love Songs Love Series 2
  • Love Songs Love Series To Be Continued ตอน ขอบคุณที่รักกัน
  • ละครคน
  • Love Songs Love Series To Be Continued ตอน เพื่อนสนิท
  • มิติสยอง เชื่อเป็น..ไม่เชื่อตาย
  • Home Stay หนีรัก ไปพักใจ
  • Club Friday Celeb Stories
  • Club Friday To Be Continued ตอน รักลองใจ
  • หลงไฟ
  • Love Books Love Series เรื่อง Mister Daddy พ่อ(คุณ)ตัวดี
  • Love Books Love Series เรื่อง Secret & Summer เผลอใจให้รักเธอ
  • Love Books Love Series เรื่อง The Seven Year Itch 7 ปี รักโดนใจ
  • Love Books Love Series เรื่อง Dark Fairy Tale ยัยตัวร้ายกับนายซาตาน
  • ความรักครั้งสุดท้าย
  • แหวนดอกไม้
  • Ways To Protect Relationship
  • แนวสุดท้าย
  • ขวัญผวา 2 (เมืองฅนรฦกชาติ)
  • Love Songs Love Series 3
  • ทีมล่าทรชน
  • รูปทอง
  • สัมผัสรัตติกาล
  • ไร้เสน่หา
  • ปาก
  • คุณพ่อจอมซ่าส์
  • เงา
  • ยุทธการปราบนางมาร

จีเอ็มเอ็ม มีเดีย[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย

  • เกิร์ลแก๊งแมลงซ่า

จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์

  • เป็ดIdol
  • Bangkok รัก Stories
  • นางสาวก้นครัว
  • Bangkok Buddies ใจกลางเมือง
  • Sleepless Society The Series
  • แม่มดเจ้าเสน่ห์
  • เคว้ง

เอไทม์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ เอไทม์ มีเดีย

  • Club Friday the Series 1
  • Club Friday the Series 2
  • Club Friday the Series 3 สามรักสามชีวิต
  • Club Friday the Series 4 หรือรักแท้จะแพ้ความต้องการั
  • Club Friday the Series 5 ความรักกับความลับ
  • Club Friday the Series 6 ความรักไม่ผิด
  • Club Friday the Series 7 เหตุเกิดจากความรัก
  • Club Friday the Series 8 รักแท้..มีหรือไม่มีจริง
  • Club Friday the Series 9 รักครั้งหนึ่ง ที่ไม่ถึงตาย
  • Club Friday the Series 10 รักนอกใจ
  • Club Friday the Series 11 รักที่ไม่ได้ออกอากาศ
  • อังคารคลุมโปง เดอะซีรีส์

จีเอ็มเอ็ม ไท หับ[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็ม ไท หับ

  • เนื้อคู่ประตูถัดไป
  • สายลับเดอะซีรีส์ กับ 24 คดีสุดห้ามใจ
  • เนื้อคู่อยากรู้ว่าใคร
  • หมวดโอภาส ยอดมือปราบคดีพิศวง
  • หมวดโอภาส เดอะซีรีส์ ปี 2
  • Hormones วัยว้าวุ่น
  • จีทีเอช ไซด์ สตอรี่
  • ATM 2 คู่เวอร์ เออเร่อ เออรัก
  • เนื้อคู่ The Final Answer
  • Hormones วัยว้าวุ่น Season 2
  • เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน
  • STAY ซากะ..ฉันจะคิดถึงเธอ
  • น้ำตากามเทพ
  • มาลี เพื่อนรัก..พลังพิสดาร
  • Hormones 3 The Final Season

จีดีเอช ห้าห้าเก้า[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีดีเอช ห้าห้าเก้า

  • ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะซีรีส์
  • แก๊สโซฮัก..รักเต็มถัง
  • อยู่ที่เรา
  • I See You พยาบาลพิเศษ..เคสพิศวง
  • I Hate You, I Love You
  • ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์ เดอะซีรีส์ 2
  • โปรเจกต์ เอส เดอะซีรีส์
  • เลือดข้นคนจาง
  • Great Men Academy สุภาพบุรุษสุดที่เลิฟ
  • One Year 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ
  • My Ambulance รักฉุดใจนายฉุกเฉิน
  • ฉลาดเกมส์โกง เดอะซีรีส์

จีเอ็มเอ็มทีวี[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่ จีเอ็มเอ็มทีวี

  • รูมอะโลน 401-410
  • ไวไฟ โซไซตี้
  • Ugly Duckling รักนะเป็ดโง่
  • อัศจรรย์คุณครูเทวดา
  • Love Flight รักสุดท้ายที่ปลายฟ้า
  • รูมอะโลน 2
  • Kiss the Series รักต้องจูบ
  • รุ่นพี่ Secret Love
  • U-Prince Series
  • Lovey Dovey แผนร้ายนายเจ้าเล่ห์
  • Addicted ร้ายนัก รักเสพติด
  • SOTUS The Series พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง
  • Little Big Dream ความฝันอันสูงสุด
  • รุ่นพี่ Secret Love My Lil Boy 2 น้อง ม.4 พี่ปี 1
  • รุ่นพี่ Secret Love Puppy Honey 2 สแกนหัวใจ นายหมอหมา
  • Water Boyy the Series
  • Slam Dance ทุ่มฝันสนั่นฟลอร์
  • My Dear Loser รักไม่เอาถ่าน
  • คุณแม่วัยใส The Series
  • Secret Seven เธอคนเหงากับเขาทั้งเจ็ด
  • 30 กำลังแจ๋ว The Series
  • SOTUS S The Series
  • Love Bipolar เลิฟนะคะ รักนะครับ
  • Wake Up ชะนี The Series
  • Kiss Me Again จูบให้ได้ถ้านายแน่จริง
  • YOUniverse จักรวาลเธอ
  • อาตี๋ของผม
  • Mint To Be นายนั่นแหละ… คู่แท้ของฉัน
  • THE GIFTED นักเรียนพลังกิฟต์
  • มารร้ายคู่หมายรัก Love At First Hate
  • Happy Birthday วันเกิดของนาย วันตายของฉัน
  • Friend Zone เอา ให้ ชัด
  • Our Skyy อยากเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างวันนั้น
  • Wolf เกมล่าเธอ
  • เขามาเชงเม้งข้างๆ หลุมผมครับ
  • Boy for Rent ผู้ชายให้เช่า
  • Love Beyond Frontier อุบัติรักข้ามขอบฟ้า
  • Theory of Love ทฤษฎีจีบเธอ
  • 3 Will Be Free สามเราต้องรอด
  • รักหมดใจ Endless Love
  • เจ้าหญิงเม็ดทราย
  • Dark Blue Kiss จูบสุดท้ายเพื่อนายคนเดียว
  • Blacklist นักเรียนลับ บัญชีดำ
  • ของขวัญเพื่อคนที่คุณเกลียด
  • One Night Steal แผนรักสลับดวง
  • Angel Beside Me เทวดาท่าจะรัก
  • Turn Left Turn Right สมองเลี้ยวซ้าย หัวใจเลี้ยวขวา
  • Who Are You เธอคนนั้นคือฉันอีกคน
  • The Shipper จิ้นนายกลายเป็นฉัน
  • Oh My Boss นายคะ..อย่ามาอ่อย
  • Friend Zone 2: Dangerous Area
  • สาวออฟฟิศ 2000 ปี
  • นิทานพันดาว
  • THE GIFTED GRADUATION
  • Girl Next Room หอนี้ชะนีแจ่ม
  • Wake Up ชะนี: Very Complicated
  • 2gether The Series เพราะเราคู่กัน
  • ขออภัยรัก Sorry love The Series

ช่องโทรทัศน์[แก้]

  • แฟนทีวี (1 ตุลาคม 2551 - 31 มกราคม 2564) ปี พ.ศ. 2551 เปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม แฟนทีวี ที่ออกอากาศครั้งแรกผ่านกล่องดาวเทียมและเคเบิลทีวีทั่วประเทศ เป็นช่องรายการเพลงและเพลงลูกทุ่งสมัยใหม่จากค่ายลูกทุ่ง เปิดเพลงลูกทุ่ง และลูกทุ่งคาราโอเกะในเครือแกรมมี่ เริ่มออกอากาศเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ต่อมาเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ได้พัฒนาระบบโทรทัศน์ความคมชัดละเอียดสูง (High Definition) เป็นช่องแรกของเมืองไทย ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ได้มีช่วงเพลงไทยสากลสมัยใหม่จากช่องจีเอ็มเอ็ม มิวสิค มาผนึกในช่องแฟนทีวีด้วย ในเวลา 19.00 น. - 01.00 น. ของทุกวัน
  • ช่องวัน 31 (1 ธันวาคม 2554 - ปัจจุบัน) ปี พ.ศ. 2554 บริษัท จีเอ็มเอ็ม บรอดแคสติง จำกัด เปิดสถานีโทรทัศน์ทีวีดาวเทียม วันสกาย-วัน ผ่านกล่องดาวเทียมวันสกาย เป็นช่องรายการวาไรตี้คุณภาพจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น จีเอ็มเอ็มแซตฮิตส์ และ จีเอ็มเอ็มวัน ตามลำดับ ต่อมาได้โอนย้ายกิจการเป็นของ บริษัท จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี จำกัด เพื่อเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทีวี ช่องวัน ที่ออกอากาศทางกล่องทีวีดิจิตอลและเสาอากาศดิจิตอล ช่อง 31 รวมถึงทางจานดาวเทียมและเคเบิลทีวี ช่อง 41 และตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2558 ออกอากาศที่ช่องหมายเลข 31 เพียงช่องเดียว ทุกแพลตฟอร์ม ในชื่อ ช่องวัน 31
  • จีเอ็มเอ็ม 25 (25 พฤษภาคม 2557 - ปัจจุบัน) ปี พ.ศ. 2557 บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด เปิดสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทีวี จีเอ็มเอ็ม 25 ที่ออกอากาศทางกล่องทีวีดิจิตอลและเสาอากาศดิจิตอล ช่อง 25 รวมถึงทางจานดาวเทียมและเคเบิลทีวี ช่อง 35 และตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2558 จะออกอากาศที่ช่องหมายเลข 25 เพียงช่องเดียว ทุกแพลตฟอร์ม

รางวัลที่บริษัทได้รับ[แก้]

  • รางวัลบริษัทที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และบริหารยอดเยี่ยม อันดับ 1 ของเอเชีย จาก นิตยสารฟาร์อีสเทอร์น นิตยสารธุรกิจชั้นนำของโลก (ปี 2005)
  • "Asia's Best Under A Billion" หนึ่งในบริษัทชั้นนำของเอเชีย ซึ่งได้รับการจัดอันดับจาก นิตยสารฟอร์บส์ให้เป็น 1 ในบริษัทสุดยอดแห่งเอเชีย
  • รางวัลบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลดีเด่น (Good Corporate Governance) ปี (2005-2007)
  • รางวัลองค์กรยอดนิยมของประเทศไทยประจำปี 2550

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รายชื่อกลุ่มบริษัทและธุรกิจในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • จีเอ็มเอ็มวัน ทีวี
  • จีเอ็มเอ็ม มีเดีย
  • จีเอ็มเอ็มไทหับ
  • จีเอ็มเอ็มทีวี
  • จีดีเอช ห้าห้าเก้า
  • รายชื่อศิลปินจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
  • รายชื่อคอนเสิร์ตจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

อ้างอิง[แก้]

  • "รายได้บริษัท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-02-21.
  • "ข้อมูลบริษัท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-14.
  • Jason Tan (27 March 2018). "'Thai wave' in showbiz poised for big splash in China". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020. GMM Grammy – the largest media conglomerate on the Stock Exchange of Thailand
  • Nanat Suchiva (22 July 2017). "Mr Expo reflects on the big event". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020. Soon after, Mr Kriengkrai agreed to sell a 50% stake in Index to GMM Grammy Plc, Thailand's largest entertainment company.
  • Sarah Newell (24 March 2016). "This Thailand Tycoon's Private Palace Is a Pool-Filled Oasis". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020. Paiboon, the 66-year-old chairman of GMM Grammy, Thailand’s largest media company...
  • ↑ "สิ่งทีส่งมาด้วย : สารสนเทศเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป (Operating Company) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) การกำหนดธุรกิจหลัก และการกำหนดบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: 3–13. 15 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2023.
  • "ธงไชย แมคอินไตย์ อัลบั้ม หาดทราย สายลม สองเรา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-27.
  • "ไมโคร อัลบั้ม ร็อค เล็ก เล็ก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-14.
  • ไมโคร อัลบั้ม หมื่นฟาเรนไฮต์[ลิงก์เสีย]
  • "ไมโคร อัลบั้ม เต็มถัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-07.
  • ผู้ครองตลาดเพลงอันดับ1ของไทย หน้า 4[ลิงก์เสีย]
  • "GMM" ย่อมาจาก "Global Music & Media"[ลิงก์เสีย]
  • "การเติบโตธุรกิจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-14.
  • "แกรมมี่ ร่วมถือหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสัดส่วน 50%". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-20. สืบค้นเมื่อ 2012-03-09. ขอขอบคุณแฟนๆทุกคน ที่ทำให้ GMM GRAMMY OFFICIAL มีผู้ติดตาม 10 ล้าน Subscribers เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากเฟซบุ๊ก

ใครเป็นเจ้าของตึกGMM

จีเอ็มเอ็ม 25.

ตึกแกรมมี่ มีอะไรบ้าง

อาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส เป็นที่ตั้งของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) ซึ่งทำธุรกิจทางด้านดนตรี สื่อ ภาพยนตร์ ดิจิตอล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ เป็นต้น ดังนั้นภายในอาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส จึงมีการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง จุดเด่นของ อาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส ...

บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ (มหาชน) จำกัด มีการจัดโครงสร้างองค์กรธุรกิจแบบใด

ในปี พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจเป็นการถือหุ้นโดยบริษัทอื่น โดยดำเนินงานผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ประกอบธุรกิจหลักจำนวน 3 กลุ่ม คือ ธุรกิจเพลง ผ่านบริษัทย่อย บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด, ธุรกิจสื่อ ผ่านกิจการร่วมค้า บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) และธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง ...

ตึก GMM ชั้น 30 เปิด กี่โมง

อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00-18.00. น. (เว้น เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) Available for grabs now on GMMTV SHOP and. GMMTV, 30th Fl. GMM GRAMMY PLACE, Mon-Fri 9:00.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ