ตัวอย่าง การ กล่าว ทักทาย ผู้ ฟัง

ประชุมทีไรเราก็ได้แต่ฟังเขา ไม่ใช่ว่าเราไม่มีเรื่องพูดหรอกนะ แต่ก็ไม่รู้จะนำเสนอแบบไหนดี.. ถ้าหากคุณเป็นแบบนี้ หรือ ต้องพรีเซนท์งานในที่ประชุม แล้วยังไม่รู้ว่าจะทำไง ลองมาอ่านบทความนี้ดูค่ะ

ทุกอย่างเริ่มได้แค่ตั้งใจ แค่คิดว่าจะพูดและเริ่มที่จะฝึก ก็เท่ากับคุณเปิดโอกาสที่จะแสดงตัวตนของคุณให้โลกรู้แล้วนะ

คุณจะพูดอะไร สำหรับมือใหม่ก่อนอื่นก็ต้องมีหัวข้อที่ชัดเจน และก็ต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้ดีเสียก่อน ถ้าอยากจะลองพูดแต่ยังไม่มีหัวข้อที่สนใจก็ลองเริ่มจากอะไรที่เราถนัดดูสิรับรองไหลลื่น

เตรียมพร้อมร่างกาย ร่างกายดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะถ้ามีอาการป่วยเช่น ไอ น้ำมูกไหล พูดไปหยุดไปนี่ก็ไม่ต้องไปต่อแล้วหละ อย่าคิดว่าอุปสรรคเล็กน้อยเหล่านี้ไม่สำคัญนะ มันอาจทำให้การพูดของคุณล่มได้เลยหละ

ปรับนิสัยการพูด นอกจากเรื่องทางกายภาพของร่างกายที่ต้องดูแลแล้ว เราก็ยังต้องสังเกตนิสัยการพูดของเราเพิ่มด้วย เช่น เป็นคนพูดเร็วหรือช้าไป การออกเสียงคำไหนยังไม่ชัดเจนหรือเปล่า มีนิสัยการพูดที่ติดคำเอื้อนหรือคำซ้ำเช่น อืม.. เอิ่ม.. ยาวไปหรือไม่ หากมีความเคยชินไหนที่ทำให้การพูดของเราสะดุด ก็ลองหาทางปรับมันเสียจะช่วยให้เรามีความมั่นใจเพิ่มขึ้นค่ะ

ร่างบทพูด เดี๋ยวก่อนๆ อันนี้ไม่ได้จะให้เขียนหรอกนะว่าจะพูดว่า “สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึง … ” แต่ว่าจะให้ร่างรายการหัวข้อของเรื่องที่จะพูด เราอาจจะเขียนในกระดาษ หรือทำ powerpoint ประกอบ เพื่อช่วยให้เรากำหนดช่วงเวลาที่พูดเนื้อหาต่างๆ และทำให้เราจัดสโคปเนื้อหาได้ง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ

จะร่างใน doc หรือจะเขียนก็ได้หมด

จดจำเนื้อหาต่างๆ หลังจากร่างบทพูดแล้วก็เริ่มจดจำค่ะ ซึ่งมีวิธีอยู่มากมายเช่น จำแล้วเขียนหรือพูดออกมา หรือ อาจจะใช้ภาพเป็นตัวช่วยด้วย แต่พยายามอย่าท่องจำขอให้จำด้วยความเข้าใจจะทำให้คุณไม่ลืมมันง่ายๆ ค่ะ ส่วนวิธีการจำของแต่ละคนไม่เหมือนกันดังนั้นข้อนี้คุณอาจจะต้องลองหาเทคนิคเฉพาะตัวเอาดูนะคะ

พูดให้ใครฟัง รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งคำเขาก็มี ดังนั้นเราจะต้องรู้ก่อนว่าผู้ฟังของเราเป็นใคร มีจำนวนเท่าไร เพื่อเตรียมวิธีการหรือสำนวนในการพูดให้เหมาะสม น่าสนใจ และไม่ยืดเยื้อจนเกินไปนั่นเอง

ตัวอย่างเหล่าผู้ฟังที่น่ารัก 0

ฝึกพูดเสมือนจริง แน่นอนหละว่าต้องมีการฝึกพูดเองอยู่แล้ว แต่นั่นมันอาจจะไม่พอค่ะ ถ้าหากคุณต้องการความมั่นใจเต็มร้อย คุณควรไปทำความรู้จักกับสถานที่ที่คุณจะพูดจริงถ้าเป็นไปได้ ตรวจดูอุปกรณ์ที่เราจะต้องใช้ให้เรียบร้อย แล้วถ้าซ้อมพูดได้ก็ทำเลยค่ะ โดยเราจะพูดคนเดียวหรือมีคนมาช่วยฟังก่อนที่จะพูดก็ได้นะ

ก่อนพูดจริง ไม่ต้องถึงกับต้องท่องถึงที่หน้าห้องสอบค่ะ ควรจิบน้ำซักหน่อย แล้วตัดเรื่องอื่นออกไปให้หมดค่ะ คุณเตรียมตัวมาพอแล้วเพราะงั้นไปลุยกันเลย

ทักทายผู้ฟัง จริงจังแต่เป็นกันเอง เริ่มทักทายกันก่อนเพื่อความผ่อนคลาย ช่วงทักทายนี้ยังเป็นเวลาอันดีที่เราจะสำรวจผู้ฟังของเราได้คร่าวๆ อีกด้วยนะคะ

ท่าทางระหว่างพูด ถ้าเรานั่งก็ขอให้เรานั่งตรงและเป็นท่าที่ทะมัดทะแมงค่ะ แต่ส่วนมากแล้วนั่งมันจะไม่ถนัดเท่ายืนนะคะ เพราะงั้นถ้าคุณได้ยืนพูดสิ่งที่สำคัญคือเราต้องรู้สึกมั่นใจและสะดวกต่อการหยิบจับอะไรมาอธิบาย ส่วนมือเราประสานกันไว้ด้านหน้าเหนือสะดือหน่อยหากเราไม่มีอุปกรณ์เช่น ไมค์ หรือ ปากกา pointer เพราะจากที่เคยฟังคอร์สปรับบุคลิกภาพ เขาบอกว่าการวางท่าที่ถูกจะทำให้เรามีพลังในการเปล่งเสียงมากขึ้น

การพูดในห้องประชุมที่ Meeting Room — Charles Darwin Tencent Thailand

คำถามแทรกระหว่างพูด อย่าตกใจไปค่ะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เมื่อผู้ฟังสงสัย (แสดงว่าตั้งใจฟังนะเนี่ย😁) และส่วนมากจะมีโอกาสแทรกคำถามมาระหว่างที่เราพูดค่ะ เทคนิคคือถ้าคุณยังไม่แน่ใจขอให้ถามคำถามนั้นซ้ำกลับไปค่ะเพื่อที่เราจะได้มีเวลาคิดว่าควรจะตอบอย่างไร แต่ถ้ามันเป็นเรื่องที่คุณไม่รู้จริงๆ แนะนำว่าไม่ต้องตอบกลับในทันทีก็ได้ค่ะ เราอาจจะบอกว่าเราจะไปหาคำตอบมาให้ภายหลังเพื่อเป็นการปิดคำถามและไปต่อได้ค่ะ

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าการพูดในห้องประชุมมันไม่ยากอย่างที่คิด และ Tencent เราก็เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีลิมิต เพราะงั้นอย่ารอช้าค่ะกดจองห้องประชุมแล้วนัดทีมมาฟังกันได้เลย

สุดท้ายแล้วการสื่อสารที่ดี เริ่มจากเราเข้าใจและอยากจะสื่อออกไปให้คนอื่นได้เข้าใจด้วย ดังนั้นขอแค่คุณมีใจที่จะพูดและทำ เราเชื่อว่าคุณจะเป็นนักพูดที่ดีได้อย่างแน่นอน

ในวันนี้เรามีประโยคพรีเซนต์สำหรับคนทำงานธุรกิจมาฝากกันค่ะ เผื่อว่าคุณต้องมีการพรีเซนต์สินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าต่างชาติ แล้วอยากให้การพรีเซนต์รของคุณนั้นให้น่าสนใจหรือดูเป็น Professional มากขึ้นนั่นเอง

รับรองว่าอ่านแล้วจะพรีเซนต์ภาษาอังกฤษได้อย่างมืออาชีพ รวมถึงช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

Greeting your audience การทักทายผู้ฟัง

เริ่มแรกคุณควรที่จะยืนอยู่ด้านหน้าทุกคน และก่อนที่คุณจะเริ่มการ Presentation ให้เริ่มการทักทาย รวมถึงกล่าวคำต้อนรับ และแนะนำตัวเองเพื่อเป็นการเพิ่มความ Professional ให้กับตัวคุณด้วยค่ะ

Good morning/afternoon/evening, everyone.

สวัสดีตอนเช้า/บ่าย/เย็น นะครับ/ค่ะ ทุกๆคน

Welcome to (name of event).

ขอต้อนรับสู่ (ชื่องาน/ชื่อกิจกรรม)

First, let me introduce myself. I am (name) from (company).

ก่อนอื่นเลย ผม/ดิฉันต้องขอแนะนำตัวเองก่อน ผม/ดิฉัน (ชื่อ) มาจาก (บริษัท)

Beginning your presentation เริ่มต้นการพรีเซนต์

โดยหลังจากที่คุณแนะนำตัวเองแล้ว คุณต้องเตรียมพร้อมเพื่อเริ่มต้นพูดเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องต้น ในเรื่องที่คุณจะนำเสนอก่อนค่ะ

Let me start by giving you some background information.

ผม/ดิฉันขอเริ่มด้วยข้อมูล/ความเป็นมาคร่าวๆก่อนละกันนะครับ/ค่ะ

As you’re aware, …

อย่างที่ทราบกันดีว่า…

Transitioning to the next topic การเปลี่ยนหัวข้อเรื่องที่คุย

ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนหัวข้อการพูดคุย คุณควรที่จะมั่นใจก่อนว่าผู้ฟังหรือกลุ่มลูกค้าของคุณนั้นพร้อมที่จะเปลี่ยนเรื่องราวถัดไปหรือยัง โดยคุณควรทำให้ผู้ฟังทราบว่า เรากำลังจะเปลี่ยนเรื่องแล้วนะ ซึ่งเป็นการแบ่งความต่างของหัวข้อ รวมถึงเป็นการสื่อความหมายโดยนัยว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องราวอีกเรื่องแล้วนั่นเองค่ะ

Let’s move on to…

ไปต่อกันที่… กันดีกว่า

Turning our attention now to…

ตอนนี้เรามาดู (เรื่อง) กันบ้างนะครับ/คะ

Providing More Details การให้ข้อมูลต่าง ๆ

แน่นอนว่าคุณควรที่จะอธิบายและบอกข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้ฟังหรือกลุ่มลูกค้าของคุณ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะช่วยให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจต่อเรื่องราวที่คุณต้องการจะสื่อสารได้มากขึ้น ผ่านการอธิบายเพิ่มเติมและการขยายความนั่นเองค่ะ

I’d like to expand on…

ผม/ดิฉันขอขยายความเกี่ยวกับ (เรื่อง)

Let me elaborate further.

เดี๋ยวขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ (เรื่อง)

Linking to Another Topic การเชื่อมโยงไปหัวข้ออื่น ๆ

เมื่อคุณพูดถึงจุดหลักของหัวข้อที่ต้องการสื่อสารแล้วนั้น คุณต้องเตือนตัวเองไว้เสมอว่าคุณกำลังสื่อสารสิ่งใดกับผู้ฟัง หรือกลุ่มลุกค้าของคุณอยู่ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องถัดไป และนำสิ่งนี้มาเชื่อมโยงในลำดับถัดไปค่ะ

As I said at the beginning, …

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น (เรื่องเดิม) + (เรื่องอื่น)

This relates to what I was saying earlier.

อันนี้จะเกี่ยวกับที่ผม/ดิฉันได้พูดถึงก่อนหน้านี้ (เรื่อง)

This ties in with…

อันนี้จะเชื่อมโยงกับ (เรื่อง)

Emphasizing a point การเน้นย้ำจุดสำคัญ

คุณสามารถลองใช้คำพูดที่สื่อสารถึงจุดสำคัญ เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้ผู้ฟังหรือกลุ่มลูกค้าของคุณนั้นได้เข้าใจและจดจำมันได้นั่นเองค่ะ โดยสิ่งนี้เป็นส่วนช่วยให้คุณนั้นมีความ Professional มากขึ้นอีกด้วยนะคะ

The significance of this is…

ความสำคัญของ (เรื่อง) ก็คือ...

This is important because…

สิ่งนี้สำคัญเพราะว่า...

We have to remember that …

เราต้องจำไว้เสมอว่า…

Making reference to information การอ้างอิงข้อมูล

เรื่องนี้คือจุดสำคัญมาก ซึ่งคุณสามารถนำมาใช้ได้บ่อย ๆ เลยนะคะ คุณควรนำสิ่งที่จะสามารถสนับสนุนสินค้าหรือเรื่องที่คุณกำลังพูดอยู่มาเป็นการอ้างอิงกับการนำเสนอของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณได้สืบค้นมา ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขต่าง ๆ หรือจะเป็นพวกรายงานก็ได้เช่นกันค่ะ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ