เป้าหมายระยะสั้นระยะยาว ตัวอย่าง

บ่อยครั้งกับเรื่อง “เป้าหมาย” ที่บทความหรืออะไรที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองมักเน้นเสมอ และอาจได้ยินบ่อย ๆ ว่า เป้าหมายที่ดีต้อง หลายคนอาจเริ่มเบื่อ หลายคนเริ่มสงสัยว่าสำคัญขนาดนั้นหรือ หลายคนเริ่มเข้าใจ แต่สุดท้ายไม่ว่าจะเป้าหมายแบบไหน ก็มักคล้ายก่อกองทรายที่ไม่นานก็พังทลายลง เพราะบางทีเป้าหมายระยะสั้นอาจจำเป็นกว่า

ขอยกตัวอย่างแบบกระชับ “อยากมีเงินเก็บ 1 ล้านไหม?” สำหรับคนที่ยังติดลบ, เดือนชนเดือน หรือแต่ละเดือนเหลือไม่กี่ร้อย คงตอบว่า “อยาก.. (แบบถอนหายใจ)” เพราะมันสะท้อนถึงความรู้สึกไกลเกินจริง นี่คืออุปสรรคแรก ทันทีที่เรามองปัจจุบัน ก็ประเมินได้ว่า “อย่าดีกว่า” กับเป้าหมายนั้น ซึ่งก็ใช่ อะไรที่เกินตัวมันดูเพ้อฝัน

ครั้นพอบอกว่า “อยากมีเงินเก็บ 5 พันไหม?” เราคนเดิมก็ส่ายหัว เพราะรู้สึกเสียเวลา แค่นี้แป๊บเดียวก็หาได้ ซึ่งก็ใช่… แต่เอ๊ะ!! มันย้อนแย้งไหม? ในเมื่อเดิมแต่ละเดือนเหลือไม่เท่าไรแล้วทำไม 5 พันคิดว่าทำได้ คำตอบในหัวอาจมีหลากหลาย แต่อย่างหนึ่งที่คงแอบคิดในใจคือ “ก็มันไม่มากเท่าไร..”

คำถามที่อยากชวนคิดต่อ แล้วก่อนจะไป 1 ล้านเราต้องผ่าน 5 พันก่อนไหม?.. ใช่มันต้องผ่าน!

อีกคำถามต่อเนื่อง แล้ว 200 ล่ะมากไหม?.. เทียบกับ 1 ล้าน หรือ 5 พัน มันก็ไม่มากอะไร

งั้น.. คิดดูนะ 5 พัน 200 ครั้ง มันก็ได้ 1 ล้านแล้ว…

ถึงตรงนี้ หลายคนอาจใจพองขึ้นมา หลายคนฉุกคิด หลายคนพยักหน้า สรุปเลยแล้วกันว่า อย่าเพิ่งไปคิด 1 ล้าน คิดเก็บทีละ 5,000 ไปให้ได้สักพักก็ใกล้เคียงความจริงได้แล้ว ความเป็นไปได้ชัดเจนขึ้นไหม?

เป้าหมายระยะสั้น และ ระยะยาว

จากตัวอย่างคงพอเห็นได้ว่า เป้าหมายแท้จริงมักยาว, ไกล, และยิ่งใหญ่เสมอ เพราะถ้ามันเป็นเรื่องเล็กเรื่องง่าย เราก็ไม่อยากนับมันว่าเป็นเป้าหมายคล้ายกับ 5 พัน และนั่นเอง คือสิ่งที่หลงลืมไป เพราะแท้ที่จริงแล้วสำหรับหลายคน ก่อนจะ 5 พันมันก็ต้อง 5 ร้อยมาก่อน เราจะเดิน 10 กิโล ก็ต้องมีก้าวแรกมาก่อน จะว่าไปเรื่องนี้ใคร ๆ ก็รู้ แต่มันสำคัญตรง “ทัศนคติ” และมุมมองต่อเป้าหมาย ที่ไม่ต้องอาศัยเรื่อง S.M.A.R.T. ก็ได้ด้วยซ้ำ

ถ้าเป้าหมายระยะยาวมันอยู่ไกล เสมือนเห็นทางไกลแล้วท้อ ก็อย่าเพิ่งไปเพ่ง ไปมองมากนัก แต่ต้องมีไว้ มิเช่นนั้นเราก็ไม่สามารถแบ่งมันออกมาตั้งเป็น “เป้าหมายระยะสั้น” ที่พอให้เรามองเห็นได้, ตั้งใจ และทำได้ อาจเป็นเหมือนหลักกิโลที่สะสมระยะทาง ซึ่งการสะสมใด ๆ สิ่งที่ยากคือความสม่ำเสมอ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ก็คือการสะสมของทุกความสำเร็จเล็กน้อยเข้าด้วยกันจนมากขึ้น…

การพัฒนาตนเองก็เริ่มจากการทำสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ.. แต่ต้องทำให้สำเร็จ ไม่ใช่แค่ได้ทำ “แผนงาน-แผนการ” (Plan) บางทีจึงไม่สำคัญเท่า “รายการที่ต้องทำ (To-do lists)” แค่ในวันนี้ แล้วทำให้สำเร็จเสียก่อน

ยิ่งชีวิตสับสน ปัจจัยมาก จะอ้างอย่างไรก็ได้ ก็แค่ให้รู้ว่าเป้าหมายระยะสั้นตอนนี้มีอะไร ทำไปทีละเรื่อง ทีละอย่าง อย่างไรก็พัฒนา แต่หากมีเป้าหมายระยะยาวประเภทคาดหวังว่าพรุ่งนี้โลกจะต้องเปลี่ยนไป ก็ไม่ต่างกับการฝันถึงเงินล้านวันพรุ่งนี้ให้ได้ ในขณะที่ทั้งเดือน 5 พันยังลำบาก เช่นนี้ไม่มีใครหลอกเรา เราหลอกตัวเอง ไม่มีใครทำให้เราท้อ เราบั่นทอนตัวเอง..

และหรือที่จริงเป้าหมายระยะไหนก็ไม่สำคัญ อยู่ที่ใจเรามองมันอย่างไร ว่าชีวิตต้องการอะไร แล้ววันนี้เราทำอะไร…

*การกำหนดเป้าหมายแบบ S.M.A.R.T. (SMART Goal) (บทเสริม)

การกำหนดเป้าหมายที่ดีมีหลักการหนึ่งคือ การกำหนดเป้าหมายแบบ S.M.A.R.T. หรือ SMART goal กล่าวคือต้องประกอบไปด้วย

S: Specific = จำเพาะเจาะจง มีความชัดเจนเข้าใจได้ว่า เรื่องอะไร หรือจะไปไหน ได้แค่ไหน เรื่องใด สิ่งใด ไม่เช่นนั้นก็จะคลุมเครือ เข้าใจยาก สับสน เช่น มีเป้าหมายหลายเรื่องรวมกัน ปัจจัยมาก ควบคุมยาก ทำจริงก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้

M: Measurable = วัดผลได้ เพราะการตั้งเป้าหมายที่วัดไม่ได้ก็เลื่อนลอย เช่น อยากรวย แค่ไหนคือคือรวย? อยากเดินทางไกล ไกลคือกี่กิโล? เมื่อไม่รู้จำนวน ตอนลงมือทำจริงก็จะยาก เพราะวางแผนไม่ได้ หาเส้นชัยไม่เจอ

A: Achievable = ทำได้จริง ก็ต้องไม่ลืมดูศักยภาพกับสิ่งที่มีอยู่ ว่าเหมาะสมกับเป้าหมายนั้นไหม ฝันใหญ่เป็นเรื่องดี แต่บางทีก็มีเส้นบาง ๆ ระหว่างฝันไกล กับฝันเฟื่อง

R: Relevant = สมเหตุสมผล หรือเชื่อมโยง แม้ว่าจะทำได้จริง วัดผลได้ แต่บางเป้าหมายก็ไม่จำเป็น ไม่เหมาะสม หรือดีต่อเราจริงในระยะยาว พูดง่าย ๆ ก็แค่ชวนให้ทบทวนว่าเป้าหมายนี้คือสิ่งที่เราต้องการแท้จริงหรือไม่

T: Time-bound = เงื่อนเวลา ที่จะมาเป็นกรอบชี้ให้เราเห็นว่าเป้าหมายนี้จะเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใดตั้งแต่ตั้งเป้าหมาย ไปจนถึงพิจารณาได้ทันทีว่าขาดพร่องหรือต้องเติมเรื่องใดเพื่อให้เป้าหมายเป็นจริงได้ เพราะหากไม่มีเวลากำกับ ก็ลำดับความสำคัญไม่ได้ มันก็ผ่านไปเหมือนกับเป้าหมายไม่เคยมีอยู่ดี

จากทั้งหมดจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกัน การตั้งเป้าหมายให้ SMART เป็นการตั้งเป้าหมายที่ดีมาก เพราะอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงในทุกด้าน คนที่วางแผนบ่อย ๆ ไม่จำเป็นต้องมานั่งไล่เรียงสิ่งเหล่านี้ เพราะจะมีอยู่ในหัวอยู่แล้วเหมือนทักษะติดตัว (Passive skill) แต่คนที่ไม่เคย ไม่เข้าใจ อาจต้องค่อย ๆ ดูไปทีละข้อ เพียงแต่..

สำหรับหลายคนที่ง่าย ๆ กับชีวิตมานาน จะเปลี่ยนไปวางแผนเป็นขั้นเป็นตอน คิด วิเคราะห์ไกลให้ทำก็คงไม่ชอบ ไม่อยาก ไม่ถนัด (ไม่งั้นคงไม่เป็นเช่นนี้) เอาเป็นว่าวางแผนใกล้ ๆ พรุ่งนี้ควรทำอะไรให้สำเร็จสักอย่างเป็นใช้ได้ สำเร็จทุกวันไม่ก้าวหน้าให้รู้ไป จึงเป็นเหตุให้เป้าหมายระยะสั้น อาจสำคัญกว่า S.M.A.R.T.

สิ่งแรกที่เราควรทำในการวางแผนทางการเงิน คือ “การกำหนดเป้าหมายหรือกำหนดสิ่งที่เราต้องการก่อน” โดยแบ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น และเป้าหมายระยะยาว

เป้าหมายระยะสั้น คือ การวางแผนสั้นๆ ไม่เกิน 1 ปี เพราะถ้าวางแผนเฉพาะระยะยาวเพียงอย่างเดียว อาจเกิดอาการท้อขึ้นมาได้ ดังนั้นการตั้งเป้าหมายระยะสั้นเป็นเหมือนการให้รางวัลชิ้นเล็กๆ เพื่อให้มีกำลังใจที่จะทำตามแผนต่อไป

เป้าหมายระยะยาว คือ การวางแผนระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เป้าหมายระยะยาวถือเป็นเป้าหมายหลักที่ทำให้ต้องลงมือวางแผนทางการเงิน

เมื่อตั้งเป้าหมายได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวแล้ว จะพบว่ารายการไหนที่ต้องการทำก่อนหลัง โดยมีขั้นตอนการวางแผนทางการเงินให้ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. สิ่งที่จะต้องทำและต้องยอมรับให้ได้เป็นอันดับแรกก็คือ การยอมรับตัวเอง การรู้จักนิสัยทางการเงินของตัวเอง แล้วนำมาปรับใช้ในการวางแผนการเงิน

2. กำหนดระยะเวลาและเป้าหมายที่แน่นอน ควรกำหนดสิ่งที่สามารถเป็นจริงได้ เพราะการกำหนดเป้าหมายที่ไม่สามารถเป็นไปได้ จะทำให้เป้าหมายของเราล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น

3. สิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดสัดส่วนรายได้และรายจ่ายให้เหมาะสม ควรกันเงินไว้ให้ค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็นก่อน ส่วนรายจ่ายเพื่อความสุขนั้นเอาไว้ทีหลังก็ได้

ข้อใดเป็นเป้าหมายชีวิตระยะสั้น

1. เป้าหมายระยะสั้น (Short-term Goal) คือเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการทำให้สำเร็จใน 1 ปี เช่น ต้องการออมเงินเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ราคา 15,000 บาท ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

เป้าหมายระยะกลาง มีอะไรบ้าง

เป้าหมายระยะกลาง (Intermediate - term goal) คือเป้าหมายในการลงทุนที่คุณต้องการทำให้สำเร็จภายใน 1 - 5 ปี เช่น ต้องการลงทุนในหุ้นให้มีเงินออมสะสม 2 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 4 ปี เพื่อเอาไปเป็นทุนในการเรียนต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ

วางแผนการออมทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง

1ตั้งเป้าหมายชีวิตในการสร้างความมั่งคั่ง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว.

ระยะสั้น : เก็บออมให้ได้ 10% ของเงินเดือน เช่น เงินเดือน 15,000 บาท หักเงินออมทันที 1,500 บาท พอครบ 1 ปี ก็จะมีเงินออม 18,000 บาท.

ระยะยาว : มีเงินออม 5 ล้านบาท เมื่ออายุ 60 ปี เพื่อใช้ในยามเกษียณ ก็ควร วางแผนออมเงินให้ชัดเจน เช่นถ้าตอนนี้อายุ 30 ปี จะ.

เป้าหมายทางการเงินระยะยาวมีลักษณะอย่างไร

เป้าหมายระยะยาว มาถึงขั้นตอนที่อาจจะยากที่สุด คือเป้าหมายทางการเงินระยะยาว ซึ่งเป็นการวางแผน การเงินใน 6 ปี ไปจนถึง 20 ปี ข้างหน้า แบ่งเป็นช่วง 6-10 ปีแรก มักเป็นการสร้างความั่นคงให้ ชีวิต เช่น การมีบ้าน การลงทุนเพื่อทำธุรกิจ ช่วงที่สองคือเป้าหมายระยะยาว 10-20 ปี ข้างหน้า เป็นแผนการเงินที่เกี่ยวกับอนาคตและคนในครอบครัว ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ