Milk 2008 ฮาร ว ย ม ลค ผ ชายฉาวโลก

โดย ณัฐภาณุ นพคุณ [email protected] ผู้เข้าร่วมหลักสูตรนิติธรรมและการพัฒนา (ROLD) สำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 1 สถาบันยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)

ในโลกตะวันตกเดือน มิ.ย.ของทุกปีถือว่าเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มเลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานเซ็กชวล (ข้ามเพศ) หรือที่เรียกย่อๆ ว่ากลุ่ม LGBT โดยเป็นเดือนที่ระลึกถึงเหตุการณ์จลาจลที่ Stonewall นครนิวยอร์ก สหรัฐ เมื่อเดือน มิ.ย. 1969 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นชนวนและจุดเริ่มต้นของขบวนการเพื่อเรียกร้องสิทธิของกลุ่มเกย์ และความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของความเป็นเกย์ (Gay Pride)

ท่านผู้อ่านสามารถชมภาพยนตร์ เรื่อง Stonewall :Where Pride Began (ค.ศ. 2015) หรือเรื่อง Milk : ฮาร์วี่ย์ มิลค์ ผู้ชายฉาวโลก ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติอเมริกันในปี 2008 นำแสดงโดย ฌอน เพนน์ นักแสดงฮอลลีวู้ดชื่อดัง มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักต่อสู้เพื่อสิทธิชาวรัก ร่วมเพศ และเป็นชายที่ประกาศตัวว่าเป็นรักร่วมเพศคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นเทศมนตรีของนครซานฟรานซิสโก เพื่อทราบถึงวิวัฒนาการในเรื่องนี้

วันนี้หากท่านผู้อ่านค้นหาคำภาษาอังกฤษว่า “LGBT” หรือคำภาษาไทย “เกย์” ใน Google จะเห็นว่าผลการค้นหาจะประดับด้วยลายอาร์ตสีสายรุ้ง เพราะบริษัทนี้สนับสนุนเรื่องสิทธิของกลุ่ม LGBT และเป็นที่ทราบกันว่าในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดก็มีผู้สนับสนุนเรื่องสิทธิของกลุ่ม LGBT อย่างเปิดเผย ในเดือนนี้ ทางสถานเอกอัครราชทูตต่างชาติในประเทศไทย เช่น สหรัฐและออสเตรเลีย ก็ต่างจัดงาน Gay Pride เป็นกิจกรรมสำคัญหนึ่ง

อย่างไรก็ดี ความย้อนแย้งไม่เคยห่างไกลจากเรื่องนี้ ซึ่งทุกประเทศและสังคมมีความเห็นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ แม้ว่าขบวนการสนับสนุนกลุ่ม LGBT เริ่มมีพลังมากขึ้นในทศวรรษ ค.ศ. 1990 ในสหรัฐ แต่ขณะเดียวกันยังคงมีความแตกต่างทางความคิดแบบสุดขั้วแม้ในระดับที่สูงสุดของรัฐบาล โดยขณะที่รัฐบาลของประธานาธิบดีคลินตันและโอบามาออกมาสนับสนุนเดือน มิ.ย. ให้เป็นGay Pride Month แต่รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับไม่ให้การสนับสนุนแบบที่เท่ากัน

ในหลายมุมของโลกมีแนวคิดเกี่ยวกับครอบครัวในรูปแบบดั้งเดิม (Traditional Family) และสนับสนุนค่านิยมครอบครัว (Family Values) ที่คุ้นเคย คือครอบครัวต้องประกอบด้วยพ่อ ซึ่งเป็นเพศชายและแม่ ซึ่งเป็นเพศหญิงเท่านั้น

บางประเทศมองว่า LGBT เป็นบ่อนทำลายสังคมและมีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นทางการ หรือการกดขี่ทางสังคม แม้จะมีการยอมรับและอดกลั้น แต่ปัญหาคือนอกจากบางประเทศมองว่าการเป็น LGBT เป็นความผิดทางสังคมหรือตามกฎหมายแล้ว ในสังคมที่มีประชาชนที่มีการศึกษาต่ำและมีการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอจะเสี่ยงต่อการเกิดการกลั่นแกล้งกลุ่มเปราะบางที่ถูกมองว่าอ่อนแอด้วย ทั้งๆ ที่กลุ่มดังกล่าวมิได้เปราะบางตั้งแต่ต้น เพียงแต่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง

นอกจากนี้ ในเวทีระหว่างประเทศ เรื่อง LGBT เป็นเรื่องที่ทำให้นักการทูตของหลายประเทศแบ่งพรรคพวกเป็นสองขั้ว และในการโต้วาทีหรือผลักดันความพยายามที่จะมีแนวร่วม จะไม่ยอมซึ่งกันและกันเอาซะเลย

ประเทศไทยเองอาจถือว่ายังอยู่ในสายกลาง เป็นสังคมที่เปิดกว้าง แต่ก็ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยมีการยอมรับเรื่องสิทธิของ LGBT แต่เป็นการยอมรับแบบมีเงื่อนไข ยังคงมีการเสี่ยงต่อการดูถูก ล้อเลียน หรือแม้กระทั่งละเมิดสิทธิ คล้ายกับความเสี่ยงที่เด็กผิวคล้ำหรือเด็กอ้วนจะถูกเพื่อนๆ แกล้ง

อย่างไรก็ดี สังคมไทยน่าจะมีพื้นที่ปลอดภัยที่เพียงพอในสังคมเพื่อการยอมรับบุคคลต่างอัตลักษณ์

ผู้เขียนขอเล่าว่าได้เก็บแผ่นพับเก่าๆ มาร่วม 18 ปี เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องหลักธรรมาภิบาล(Good Governance) ปี 2542 ซึ่งระบุว่า หนึ่งในหลักการที่สำคัญคือหลักนิติธรรม (Rule of law) ซึ่งหมายถึงการตรากฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่มีความยุติธรรม ทันสมัย (Timely) และได้รับการยอมรับและปฏิบัติตาม (Accepted and conformed) ในสังคม

ดังนั้น หากยึดหลักการนี้ก็ถือได้ว่าความพยายามเพื่อพัฒนากฎหมายและให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และให้ทันตามยุคสมัย เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แม้ว่ามีพระราชบัญญัติที่ปกป้องสิทธิของคนทุกกลุ่ม ทุกอัตลักษณ์ทางเพศแล้ว แต่หากไม่มีการนำมาปฏิบัติจริงอย่างให้เห็นผลก็จะเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์น้อยมากต่อสังคม

หากมีกฎหมายที่ประชาชนไม่เข้าใจและไม่มีการนำมาใช้เพื่อปกป้องสิทธิของกลุ่มเปราะบางก็จะไม่มีประโยชน์ และความลักลั่นและเข้าใจผิดระหว่างคนในสังคมก็จะขยายขึ้นได้ เพราะสิ่งที่คนเราจะกลัวและรังเกียจมากที่สุดคือกลุ่มคนที่แตกต่างจากเรา และสิ่งที่เราไม่เข้าใจ (People fear what they don’t understand) นั่นเอง

“My name is Harvey Milk and I’m here to include you. I want to include to fight for your democracy, brother and sister you must come out!”

นี่เป็นการจับไมค์ปราศรัยครั้งสุดท้ายของ “ฮาร์วีย์ มิลค์” (Harvey Milk) ที่แสดงโดย ฌอน เพนน์ นักแสดงชื่อดังมากฝีมือแห่งวงการฮอลลีวู้ด

โดยการปราศรัยครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 1978 เกิดขึ้นหลังการเดินพาเหรดเกย์ครั้งใหญ่ ซึ่งก่อนที่ ฮาร์วีย์ มิลค์ จะขึ้นปราศรัยเขาได้รับจดหมายข่มขู่ว่า หากขึ้นจับไมค์ปราศรัยจะต้องถูกลอบสังหารแน่นอน

แต่เขาเองก็ไม่สนใจพร้อมกับให้เหตุผลว่า “ประชาชนรอผมอยู่” ท่อนหนึ่งจากการปราศรัยที่ยกมาข้างต้นนั้นมีใจความว่า “สวัสดี ผมชื่อ ฮาร์วีย์ มิลค์ และผมอยู่ตรงนี้เพื่อให้ขอพวกคุณมาเป็นส่วนเดียวกัน ผมต้องการพลังให้พวกคุณต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพวกคุณเอง พี่น้องทั้งชายและหญิง พวกคุณต้องเปิดเผยตัวตนออกมา!”

ก่อนจะรับเสียงเฮลั่นหน้าสภาเมืองซานฟรานซิสโก และมีธงสีรุ้งขนาดยักษ์ถูกปล่อยลงมา

ภาพ ฮาร์วีย์ มิลค์ (แสดงโดย ฌอน เพนน์) ที่กำลังเดินพาเหรดก่อนขึ้นปราศรัย

ย้อนกลับมาที่ปัจจุบันอาจจะยังมีบางคนที่ไม่รู้จักชื่อของ “ฮาร์วีย์ มิลค์” หรืออาจจะเคยได้ยินมาผ่านๆ ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่าคนคนนี้คือบุคคลยุคแรกๆ หรือถ้านับย้อนไปก็คือในช่วงยุค 70’s คือ นักการเมืองชาวอเมริกันคนแรกที่เปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์ตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่วงการการเมือง

นอกจากนั้นเขายังเป็นนักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวในการเรียกร้องการคุ้มครองสิทธิเกย์ ทั้งในเรื่องสิทธิในการประกอบอาชีพ และสิทธิในการมีที่อยู่อาศัย เรื่องราวเหล่านี้อาจเลือนหายไปตามการเวลา

แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นเมื่อในปี 2008 มีภาพยนตร์ชีวประวัติของ ฮาร์วีย์ มิลค์ เข้าฉายนั่นก็คือ “MILK ผู้ชายฉาวโลก” แสดงโดย ฌอน เพนน์ และพาให้ภาพยนตร์ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 8 สาขา ซึ่งรวมถึงเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย แต่ชนะรางวัลทั้งหมด 2 สาขา ได้แก่ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในบทบาทนำของเพนน์ และสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม

ดังนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนการชุบชีวิตของ “ฮาร์วีย์ มิลค์” ขึ้นมาอีกครั้งให้กลับมาโลดแล่นอยู่บนจอภาพยนตร์ หรือเรียกได้ว่าทำให้ ฮาร์วีย์ มิลค์ กลับมามีชีวิตอีกครั้งเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ว่า

การมีอยู่ของกลุ่ม LGBTQ+ มีการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิ์ต่างๆ มาตั้งแต่ในอดีตและยังเป็นมรดกการต่อสู้ที่หลงเหลือมาสู่กลุ่มคนรุ่นหลังให้มีแรงสู้ต่อไปจนกว่าเราจะได้รับในสิทธิ์ที่เราควรได้

ภาพยนตร์เปิดด้วยภาพของ ฮาร์วีย์ มิลค์ กำลังนั่งบันทึกเสียงตัวเองใส่เทปคาสเซตโดยการเริ่มต้นว่า “สวัสดี ผมฮาร์วีย์ มิลค์ หากคุณได้ยินข้อความเหล่านี้เป็นไปได้ว่าผมอาจเสียชีวิตจากการถูกลอบสังหารไปแล้ว..”

ก่อนที่ภาพจะตัดไปในช่วงนี้ฮาร์วีย์ยังเป็นพนักงานบริษัทและได้พบกับคนรักของเขา “สก๊อต” เป็นครั้งแรก ซึ่งนี่ก็คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเขาทั้งคู่ออกเดินทางไปยังซานฟรานซิสโกเริ่มเปิดร้านเพื่อทำธุรกิจขายกล้องเล็กๆ เป็นของตัวเอง

เมื่อคิดภาพตามแล้วก็คงจะเป็นภาพการเริ่มต้นของชีวิตคู่ที่มีความสุข แต่ในตอนนั้นกลับไม่ได้เป็นแบบนั้น เนื่องจากคนที่เป็นเกย์ (ในยุคนั้นยังไม่มีคำว่า LGBTQ+) จำเป็นจะต้องปิดบังตัวตน หรือพบปะสังสรรค์กันได้แค่ในสถานที่ที่เป็นความลับเท่านั้น

เนื่องจากหากตำรวจรู้ว่าคุณเป็นเกย์ ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ คุณอาจจะถูกทำร้ายร่างกายอย่างสาหัส หรือ หายตัวไปอย่างลึกลับโดยที่ไม่มีใครรู้ นั่นเพียงเพราะ คุณเป็นเกย์

ฮาร์วีย์กับสก๊อตใช้ชีวิตปกติเรื่อยมาจนกระทั่งร้านของพวกเขาเริ่มเป็นที่รู้จักของกลุ่มเกย์ในย่านนั้นและทำให้มีการรวมตัวกันเกิดขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นมีข่าวการกวาดล้างเกย์ด้วยความรุนแรง มีนักการเมืองที่พยายามจะพรากสิทธิมนุษยชนไปจากพวกเขา

จึงเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ฮาร์วีย์ว่า ถึงเวลาแล้วที่เขาต้องเริ่มลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อปกป้องกลุ่มคนเหล่านี้หรือที่ฮาร์วีย์เรียกว่า “ชาวเรา” และต่อมาเขาได้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้ถึง 3 ครั้ง

แต่ในที่สุดความพยายามก็สัมฤทธิ์ผล จากแรงโหวตของชาวเราและกลุ่มสนับสนุนอื่นๆ ส่งให้เขาได้เข้าไปนั่งในสภาเมืองในฐานะ “ซุปเปอร์ไวเซอร์” หรือที่ปรึกษาสภาเมือง และไม่ใช่เพียงแค่นั่งอยู่ในห้องอย่างเดียว งานด้านการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศเขาก็ยังคงทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเดินขบวน การออกไปไกล่เกลี่ยระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจด้วยตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดการจลาจล

ภาพการชุมนุมของผู้สนับสนับฮาร์วีย์ มิลค์ จากภาพยนตร์ MILK

และที่สำคัญเขาสามารถต่อรองทางการเมืองกับบุคคลหลายฝ่ายจนทำให้ “กฎหมายคุ้มครองสิทธิเกย์” ผ่านในที่สุดก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงจากการลอบยิง

  • รู้จักกับ ฮาร์วีย์ เบอร์นาร์ด มิลค์

นักการเมืองชาวอเมริกันคนแรกที่เปิดเผยว่าเป็นเกย์ เกิดและโตที่นิวยอร์กแต่ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ซานฟรานซิสโกเปิดร้านขายกล้องถ่ายรูปในย่านแคสโตร กับแฟนหนุ่มสกอตต์ สมิธ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970

หลังจากนั้นลงสมัครชิงเก้าอี้สภาที่ปรึกษาของเมืองและตำแหน่งทางการเมืองอื่นอีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนในปี 1977 เขาได้รับเลือกให้เข้าไปนั่งในสภาที่ปรึกษาแห่งซานฟรานซิสโก ทำให้เขาสามารถออกกฎหมายที่ปกป้องสิทธิของเกย์ได้ในที่สุด

แต่เมื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาได้ไม่นาน เขากลับมีเรื่องบาดหมางกับแดน ไวท์คู่แข่งทางการเมืองที่เกลียดเกย์เข้าไส้ ทำให้ฮาร์วีย์ถูกแดนยิงในระยะเผาขนจนเสียชีวิตในเวลาใกล้เคียงกับนายกเทศมนตรีซานฟรานซิสโก วิกเตอร์ การ์เบอร์ หลังจากฮาร์วีย์เสียชีวิตได้มีการจุดเทียนเดินขบวนเพื่อไว้อาลัยก่อนที่จะนำเถ้ากระดูกของเขาทิ้งลงแม่น้ำเพื่อให้เขาไปสู่อิสระ

ภาพ ฮาร์วีย์ มิลค์ จาก DAZED

  • มรดกทางความหลากหลายที่ ฮาร์วีย์ มิลค์ ฝากไว้

หลังจากที่เขาเสียชีวิต สกอตต์ สมิธ ก็รับหน้าที่ต่อสู้เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของ “ชาวเรา” มาโดยตลอด และกลุ่มคนที่เข้ามาร่วมเป็นชาวเราในร้านขายกล้องของฮาร์วีย์ก็เริ่มมีการเติบโตแตกต่างกันไปในหลายสายอาชีพ เช่น ช่างภาพสารคดี นักธุรกิจ นักเคลื่อนไหวหัวก้าวหน้า

แต่ที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นก็คือ การที่ฮาร์วีย์ประกาศให้ชาวอเมริกาและคนทั้งโลกได้รู้ว่า การที่เป็นเกย์นั้นไม่ต่างอะไรกับชายและหญิง พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ

รวมถึงการที่คนเป็นเกย์นั้นไม่ใช่ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดจากศาสนาใดศาสนาหนึ่ง พวกเขาเป็นคนปกติที่มีรสนิยมทางเพศในอีกแนวทางหนึ่งเท่านั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน ต้องได้รับการปฏิบัติและการดูแลจากภาครัฐเหมือนกันในคนทุกเพศ

ในภาพยนตร์จะเห็นอยู่บ่อยครั้งเมื่อเขาขึ้นปราศรัย เขาจะกล่าวถึงคนรุ่นหลังเสมอเพราะการต่อสู้ในยุคนั้นจะส่งผลให้คนรุ่นหลังมีชีวิตที่เท่าเทียมกันมากขึ้น กล้าที่จะเปิดเผยตัวตนมากขึ้น จนในปัจจุบันเราได้เห็น LGBTQ+ หลายคนที่เปิดเผยตัวตนอย่างภาคภูมิใจ บางคนมีอาชีพการงานที่มั่นคงและกลายเป็นความภาคภูมิใจของครอบครัว

เราได้เห็นการเดินพาเหรดเนื่องในโอกาสเดือน “Pride Month” หรือ เดือน มิ.ย. ของทุกปี ของเหล่าผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างสร้างสรรค์และอลังการในหลากหลายประเทศทั่วโลก

สุดท้ายแล้วความเท่าเทียมทางเพศที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ กลุ่มคนรุ่นหลังหรือลูกหลานของเราจะได้รับสิทธิเหล่านี้เท่าเทียมกับเพศชายและเพศหญิงหรือไม่ และที่สำคัญสำหรับประเทศไทย การสมรสระหว่างบุคคลและบุคคลจะเกิดขึ้นจริงในเร็ววันนี้หรือไม่ เพราะตั้งแต่ช่วงปี 1970 มาจนถึงปัจจุบันรวมแล้ว 50 ทศวรรษ ยังมีอีกหลายข้อเรียกร้องของ LGBTQ+ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากผู้มีอำนาจ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ