Omeprazole ก น หล ง อาหาร ได ม ย

หมายเหตุ ยาบางประเภท อาจมีวิธีรับประทานยานอกเหนือไปจากยาโดยทั่วๆ ไปข้างต้น รวมทั้งยาบางประเภทอาจรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แล้วแต่สะดวก เนื่องจากยาอาจมีการออกฤทธิ์ที่พิเศษหรือมีผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ส่งมอบยาเหล่านี้จะอธิบายวิธีการรับประทานเป็นกรณีๆ ไป

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Larry AB, editors. Applied clinical pharmacokinetics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill Medical; 2008.
  2. Joseph TD, editors. Concepts in clinical pharmacokinetics. 5th ed. American Society of Health-System Pharmacists; 2010.

ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:

บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

omeprazole เป็นยาตัวหนึ่งในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs) มีคุณสมบัติเป็นด่าง ไม่ทนต่อสภาวะกรด และตัวยาละลายในภาวะที่เป็นด่าง จึงจำเป็นต้องรับประทานยากลุ่มนี้ก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อทำให้ตัวยาละลายก่อนที่จะเกิดการดูดซึมต่อไป นอกจากนี้ในการออกฤทธิ์ของยาคือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ H+/K+-ATPase ที่อยู่ในรูปออกฤทธิ์ (active form) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร ดังนั้นจึงควรรับประทานยากลุ่ม PPIs ก่อนอาหาร 30-60 นาที เพื่อให้ตัวยาพร้อมที่จะออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว การให้ยา ranitidine ก่อน หรือ หลังอาหาร นั้นมีการออกฤทธิ์ที่ไม่แตกต่างกัน อีกทั้งอาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมของ ranitidine จึงสามารถรับประทานยาหลังอาหารได้ ดังนั้นการให้ยา ranitidine แก่ผู้ป่วยอาจจะคำนึงถึงช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยๆ เช่น หากผู้ป่วยมีอาการหลังรับประทานอาหาร ก็อาจจะให้ยา ranitidine ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อหวังผลลดกรดที่หลั่งออกมามากเกินไปในช่วงของการรับประทานอาหาร Keywords: omeprazole, ranitidine, proton pump inhibitors, PPIs, H+/K+-ATPase

Reference: 1. Brunton LL, Lazo JS, Parker KL, eds. The Pharmacological Basis of Therapeutics, 11th ed. New York: McGraw-Hill, 2006 and 11e (online edition). 2. สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. Acid-suppression therapy: a focus on proton pump inhibitors. ใน: สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, เนติ สุขสมบูรณ์, บรรณาธิการ. Advance in Pharmaceutical Care and Pharmacotherapeutics. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2546. หน้า 197-214. 3. McEvoy G K. Ranitidine hydrochloride. AHFS Drug Information [serial online] 2008;:[42 screens]. Available from:URL://online.statref.com/Document/Document.aspx?DocId=928&FxId=1&Scroll =302&Index=0&SessionId=C61A90CQQMZXVLQO. 4. Dana WJ, Fuller MA, Goldman MP, Golembiewski JA, Gonzales JP, Lowe JF, et al. Drug Information Handbook, 21st ed. Hudson, Ohio, Lexi-Comp, Inc.; 2012: 1080-2.

Keywords: -

ยา Omeprazole ใช้สำหรับรักษาโรคกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เช่น อาการกรดไหลย้อน (Acid reflux) แผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร

ยา Omeprazole เป็นยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors หรือเรียกย่อว่ากลุ่ม PPIs โดยจะออกฤทธิ์ลดการผลิตกรดจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนยอดอก (Heartburn) อาการกลืนลำบาก และอาการไอเรื้อรังได้ ยายังช่วยในการหายของแผลในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลใหม่ และอาจช่วยป้องกันมะเร็งของหลอดอาหารด้วย

หากคุณซื้อยา Omeprazole มารับประทานด้วยตนเองเพื่อรักษาอาการแสบร้อนยอดอกที่มีอาการบ่อยครั้ง (มีอาการตั้งแต่ 2 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไป) อาจต้องใช้เวลา 1-4 วันจึงจะได้ผลจากการใช้ยาเต็มที่ โดยยานี้ไม่สามารถบรรเทาอาการแสบร้อนยอดอกได้ในทันที

ในการซื้อยามารับประทานเอง นอกจากต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรแล้ว ยังต้องอ่านฉลากยาโดยละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่ายานี้เหมาะสมสำหรับคุณ ผลิตภัณฑ์ยาที่มีชื่อการค้าคล้ายๆ กัน อาจมีส่วนประกอบของยาที่แตกต่างกันได้ การรับประทานยาผิดชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายกับคุณได้

วิธีใช้ยา Omeprazole

อ่านคำแนะนำในการใช้ยาที่ได้รับจากเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ และในทุกครั้งที่มารับยาซ้ำ

ให้รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปจะรับประทานวันละ 1 เม็ดก่อนอาหาร หากคุณซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกร และอ่านวิธีใช้ยาบนฉลากยาอย่างละเอียด

ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นกับสภาวะโรคและการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ ในเด็กขนาดยาจะคำนวณตามน้ำหนักตัวเด็ก ห้ามปรับเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยาบ่อยครั้งกว่าที่แพทย์สั่ง หากมีคำถามใดๆ ให้สอบถามจากแพทย์หรือเภสัชกร

ห้ามบด หักแบ่ง หรือเคี้ยวเม็ดยา โดยให้กลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับน้ำ 1 แก้ว

ในบางกรณีที่จำเป็น อาจต้องรับประทานยาลดกรดร่วมกับยา Omeprazole ด้วย และถ้าต้องรับประทานยา Sucralfate ร่วมด้วย ให้รับประทานยา Omeprazole อย่างน้อย 30 นาทีก่อนรับประทานยา Sucralfate

ให้ใช้ยานี้เป็นประจำทุกวันจึงจะได้ประโยชน์จากยาเต็มที่ เพื่อไม่ให้ลืมรับประทานยา แนะนำให้รับประทานยาในเวลาเดียวกันของทุกวัน และให้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนครบระยะเวลาที่แพทย์สั่งแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

หากคุณซื้อยานี้มารับประทานด้วยตนเอง ห้ามรับประทานยานานเกิน 14 วัน ยกเว้นแพทย์สั่ง

ให้แจ้งแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ถ้าคุณซื้อยานี้มารับประทานเองสำหรับรักษาอาการแสบร้อนยอดอก ให้แจ้งแพทย์ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาไปแล้ว 14 วัน หรือเมื่อคุณจำเป็นต้องใช้ยานี้มากกว่า 1 ครั้งในทุกๆ 4 เดือน

ความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นให้สอบถามแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาที่คุณควรรับประทานยา หากคุณคิดว่าตนเองอาจป่วยเป็นโรคที่ร้ายแรง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ผลข้างเคียงของยา Omeprazole

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยา Omeprazole ได้แก่ ปวดศีรษะ หรือปวดท้อง ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที

ถ้าแพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ โปรดจำไว้ว่า แพทย์ได้ประเมินแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากยานี้มากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง ผู้ป่วยหลายรายที่ใช้ยานี้ไม่เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงจากยา

แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง ได้แก่

  • มีอาการของแมกนีเซียมในเลือดต่ำ เช่น หัวใจเต้นเร็ว/หัวใจเต้นผิดจังหวะ/หัวใจเต้นช้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง มีอาการชัก
  • มีอาการของโรคลูปัส (Lupus) เช่น มีผื่นขึ้นที่จมูกและแก้ม มีอาการปวดข้อ หรืออาการปวดข้อที่เป็นอยู่แย่ลง

ยานี้อาจเป็นสาเหตุของโรคทางลำไส้ที่ร้ายแรงแต่พบได้น้อย คือมีอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อ Clostridium Difficile (Clostridium Difficile-Associated Diarrhea) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่ดื้อยา ให้แจ้งแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการเหล่านี้: ท้องเสียต่อเนื่อง ปวดท้อง เกร็งท้อง มีไข้ อุจจาระมีมูก/มูกเลือดปน และอย่าใช้ยาแก้ท้องเสีย หรือยาในกลุ่ม Opioid ถ้าคุณมีอาการดังกล่าว เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงได้

ยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors เช่น Omeprazole อาจเป็นสาเหตุของการขาดวิตามินบี 12 ได้ (พบได้น้อย) โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นถ้าคุณรับประทานยานี้ทุกวันเป็นเวลานาน (3 ปีหรือนานกว่านั้น) ให้แจ้งแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการของการขาดวิตามินบี 12 เช่น อ่อนแรงผิดปกติ เจ็บลิ้น ชาหรือเสียวซ่าที่มือ หรือเท้า

ปฏิกิริยาการแพ้ยานี้ เป็นเรื่องที่พบได้น้อย อย่างไรก็ตามถ้าเกิดอาการใดๆ ของการแพ้ยาให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่ ผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะที่หน้า ลิ้น คอ) เวียนศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก มีอาการของโรคไต เช่น ปริมาณปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป

อาการข้างเคียงที่กล่าวไว้ข้างต้นไม่ใช่อาการข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ข้อควรระวังในการใช้ยา Omeprazole

ถ้าคุณแพ้ยา Omeprazole หรือยาอื่นที่คล้ายๆ กัน เช่น Lansoprazole, Esomeprazole, Pantoprazole หรือแพ้สิ่งอื่นๆ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนได้รับยานี้ ผลิตภัณฑ์ยานี้อาจประกอบด้วยสารไม่ออกฤทธิ์อื่นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนการใช้ยา Omeprazole ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นโรคตับ, โรคลูปัส (Lupus)

อาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง ดังนั้นให้ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการดังนี้

  • แสบร้อนยอดอกร่วมกับอาการเวียนศีรษะ/หน้ามืด/เหงื่อออก
  • ปวดเจ็บที่หน้าอก/ขากรระไกร,แขน,หัวไหล่ (โดยเฉพาะถ้ามีอาการหายใจถี่ เหงื่อออกผิดปกติร่วมด้วย)
  • น้ำหนักลดผิดปกติ

นอกจากนี้ ก่อนที่คุณจะซื้อยา Omeprazole มารับประทานเอง หากมีอาการที่บอกบอกถึงโรคร้ายแรงต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ได้แก่

  • กลืนลำบาก เจ็บขณะกลืนอาหาร
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • อาเจียนคล้ายกากกาแฟ
  • อุจจาระปนเลือด อุจจาระเป็นสีดำ
  • มีอาการแสบร้อนยอดอกมานานกว่า 3 เดือน
  • เจ็บหน้าอกบ่อยครั้ง
  • หายใจลำบากบ่อยครั้ง โดยเฉพาะถ้าเป็นร่วมกับอาการแสบร้อนยอดอก
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง

ยาในกลุ่ม proton pump inhibitors เช่น Omeprazole อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะถ้าใช้ยานี้เป็นเวลานาน ใช้ยาขนาดสูง และเป็นผู้สูงอายุ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีในการป้องกันการสูญเสียกระดูกหรือกระดูกหัก เช่น โดยการรับประทานแคลเซียมและวิตามินดีเสริม

ผู้ป่วยเด็กอาจมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะอาการไข้ ไอ และการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ จมูก ลำคอ

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับรายการยา อาหารเสริม และสมุนไพรทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่

ระหว่างการตั้งครรภ์ ยานี้ควรใช้เฉพาะในกรณีที่ประเมินแล้วว่ามีความจำเป็นจริงๆ โดยให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้รับจากยานี้ขณะตั้งครรภ์

ยา Omeprazole ผ่านไปยังน้ำนมได้ แต่ยังไม่ทราบผลต่อทารกที่ดูดนม จึงให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

การใช้ยา Omeprazole ร่วมกับยาอื่น

การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ข้อมูลที่ระบุนี้ไม่ได้ครอบคลุมการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ดังนั้นคุณต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรทราบทุกครั้งว่าคุณกำลังรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร ใดอยู่ในขณะนี้ อย่าเริ่มยา หยุดยา หรือเปลี่ยนแปลงขนาดยาต่างๆ เอง โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

รายการยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยา Omeprazole:

  • Cilostazol
  • Clopidogrel
  • Methotrexate โดยเฉพาะถ้าได้รับยาในขนาดสูง
  • Rifampicin
  • สมุนไพร St John's wort

ยาบางชนิดจำเป็นต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึม แต่เนื่องจากยา Omeprazole จะลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงอาจทำให้ยาเหล่านั้นออกฤทธิ์ได้ไม่ดี ตัวอย่างยาที่ได้รับผลกระทบ เช่น

  • Atazanavir
  • Erlotinib
  • Nelfinavir
  • Pazopanib
  • Rilpivirine
  • ยาต้านเชื้อรา Azole Antifungals บางรายการ (Itraconazole, Ketoconazole, Posaconazole

ยา Omeprazole คล้ายกับยา Esomeprazole อย่างมาก ดังนั้นห้ามใช้ยาที่มีส่วนประกอบของยา Esomeprazole ระหว่างใช้ยา Omeprazole

ยา Omeprazole อาจรบกวนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้ จึงต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้อยู่

การได้รับยา Omeprazole เกินขนาด

หากมีใครก็ตามที่ได้รับยา Omeprazole เกินขนาด จนทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรง เช่น หมดสติ หรือหายใจลำบาก ให้รีบเรียกรถพยาบาลทันที โทร 1669

อาการของการได้รับยาเกินขนาดอาจได้แก่ สับสน เหงื่อออกผิดปกติ ตาพร่ามัว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หมายเหตุ

ถ้าแพทย์สั่งยานี้ให้กับคุณ ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้

ถ้าแพทย์สั่งให้คุณใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ/หรือ การตรวจทางการแพทย์เป็นระยะเพื่อติดตามอาการและผลข้างเคียงจากยา เช่น การตรวจระดับแมกนีเซียมในเลือด การตรวจระดับวิตามินบี 12 ดังนั้นคุณต้องไปพบแพทย์ตามที่นัดหมาย

หากลืมรับประทานยา Omeprazole

ถ้าคุณลืมรับประทานยานี้ ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ หากนึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไป ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

การเก็บรักษายา Omeprazole

เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำ เก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก

Omeprazole ทานหลังอาหารได้ไหม

ดังนันคําแนะนําของเภสัชกรทีให้กับคนไข้ในการใช้ยาทังสองชนิดนี จึงเปน การ กินยา omeprazole ก่อนมืออาหาร หรือ ตอนท้องว่าง (หลังจากมืออาหารไป แล้วอย่างน้อย 2 ชัวโมง) และ การกิน antacid หลังมืออาหารนันเอง

ยา omeprazole ห้ามกินกับอะไร

เนื่องจากยาโอเมพราโซล (omeprazole) ทำให้ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลง จึงอาจมีผลต่อยาหรือวิตามินบางกลุ่มที่ดูดซึมได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด เช่น ยาต้านเชื้อรา,ยาต้านไวรัส, ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, วิตามินบี 12 เป็นต้น อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาดังกล่าวลดลง จึงควรแยกรับประทานห่างกันคนละเวลา และแจ้งแพทย์และเภสัชกรให้ทราบหากมี ...

โอมีแมน แคปซูล กินตอนไหน

การใช้ยา Omeprazole ยาเม็ดควรรับประทานโดยกลืนลงไปทั้งเม็ด อย่ากัดหรือเคี้ยวก่อนกลืน ส่วนยาแคปซูลควรรับประทานก่อนมื้ออาหาร 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง หรือรับประทานตามแพทย์สั่ง ในกรณีที่ใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

Omeprazole 20 mg กินกี่เวลา

ขนาดยาแนะน าเริ่มต้นที่กินครั้งละ 20 มิลลิกรัม (1 แคปซูล) วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ วิธีใช้ยา ให้กลืนยานี้ทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว แบ่ง หรือบดยา 3.2 หากลืมกินยา ควรทาอย่างไร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ