เกณฑ์ การ รับ คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ ม. ข

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

           หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2554) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้าน บริหารสาธารณสุข วิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม ระบาดวิทยา โภชนวิทยา สุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ  ชีวสถิติและประชากรศาสตร์ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชา ด้านสาธารณสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและตลาดงานปัจจุบัน    

1.2 วัตถุประสงค์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2554)  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

            1.2.1 มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            1.2.2  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาทางด้านสาธารณสุข ในการแก้ปัญหาการทำงานได้

            1.2.3  มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การค้นคว้า การวิเคราะห์วิจัย การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่

            1.2.4 มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีทักษะความพร้อมด้านสังคมที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต 

            1.2.5  มีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ร่วมกับบุคคลอื่น และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี

2. แผนพัฒนาปรับปรุง

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ

การพัฒนาการเรียนการสอน

1. กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนมีการทำ วิจัยในชั้นเรียน

2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

3. กำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างน้อย 1 หัวข้อต่อ 1 วิชา

4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ E-learning ประกอบการเรียนการสอนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของรายวิชาในหลักสูตรของคณะฯ

5. จัดประสบการณ์การเรียนรู้การแก้ปัญหาสาธารณสุขด้วยวิธีปฏิบัติจริงในชุมชน

6. พัฒนาทักษะการสอนของอาจารย์ที่เน้นการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรมด้านความรู้ ทักษะปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคล ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ

1. มีจำนวนชั่วโมงหรือหัวข้อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

2. มีรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพสาธารณสุข

3. จำนวนรายวิชาที่มีการจัดการเรียนภาษาอังกฤษ

4. จำนวนรายวิชาที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ E-learning

5. จำนวนโครงการที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์

6. จำนวนอาจารย์ที่ได้รับการพัฒนาการสอนการประเมินผลตามการเรียน ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาและร้อยละการได้งานทำของผู้สำเร็จการศึกษา

การพัฒนานักศึกษา

 

จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านศิลปวัฒนธรรมตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

1. ด้านการพัฒนาศักยภาพตนเอง

2. ด้านการสร้างเสริมจิตสำนึกความภาคภูมิใจในสถาบัน

3. ด้านการสร้างเสริมจิตสาธารณะ

4. การธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์และประชาคมโลก

5. ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม

6. ด้านการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น

จำนวนกิจกรรมนักศึกษาที่ผ่านตามเกณฑ์รายปี

 

การเปลี่ยนแปลงจุดเน้นของหลักสูตร

เน้นความเป็นวิชาชีพด้านสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. มีรายวิชาในหมวดวิชาเลือกในวิชาชีพ จำนวน 6 หน่วยกิต

2. มีรายวิชาในหมวดวิชาบังคับ จำนวน 52 หน่วยกิต

การเพิ่มเนื้อหาใหม่ ๆ ที่สำคัญ

เพิ่มประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในชุมชน

มีรายวิชา 510 496 โครงการแก้ปัญหาสาธารณสุข ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในชุมชนต้นแบบของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น

หมวด: เกี่ยวกับหลักสูตร

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

        

                      
                       

รศ.ดร.ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม

ประธานกรรมการ

Email : dariwan@kku.ac.th

 รศ.กาญจนา  นาถะพินธุ

รองประธานกรรมการ

Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 รศ.ยุพา  ถาวรพิทักษ์

กรรมการ

Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

        

 

        

 

        

รศ.ดร.ประจักร  บัวผัน

กรรมการ

Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 อ.ดร.ชนัญญา  จิระพรกุล

กรรมการ

Email : chananya@kku.ac.th

 อ.ดร.รัฐพล  ไกรกลาง

กรรมการ

Email : ratthaphol@kku.ac.th

       
                นางกุศล  รักญาติ

กรรมการและเลขานุการ

EmailThis email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 นางสาวธิรดา  อาษาราช

กรรมการและผู้ช่วยฯ

Email : tirabo@kku.ac.th

  

หมวด: เกี่ยวกับหลักสูตร

ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย     :      สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ :      Bachelor of  Public Health  

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)      :   สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)       :   ส.บ.

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)  :   Bachelor of Public Health

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)   :   B.P.H.   

3. วิชาเอก

ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

120 หน่วยกิต      

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1   รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

5.2   ภาษาที่ใช้

ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา

5.3   การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

5.4   ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

หลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

5.5   การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556  

คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 15/2554  

วันที่ 31 สิงหาคม 2554

สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2556  วันที่ 6  มีนาคม 2556

เปิดสอนภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษาที่ 2556

7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2558

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 นักวิชาการสาธารณสุขประจำหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับ

8.2 เป็นนักวิชาการสาธารณสุขประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9. ชื่อ เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 ที่

ชื่อ-สกุล

เลขประจำตัวประชาชน

ตำแหน่งทางวิชาการ

คุณวุฒิ

1.

นายพงษ์เดช   สารการ

3-3401-00681-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (สถิติประยุกต์)

2.

นางศิริพร   คำสะอาด

3-7202-00033-xx-x

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วท.บ. (พยาบาล)

ส.ม. (ชีวสถิติ)

3.

นางเนาวรัตน์  ตั้งศรีทอง

3-3607-00458-xx-x

อาจารย์

วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์)

วท.ม. (ปรสิตวิทยา)

10. สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น    

11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร

11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนถูกผลักดันให้มีการแข่งขันสูง ลักษณะการทำงานต้องเร่งรีบ เพื่อให้รองรับกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น คนในวัยแรงงานคือรุ่นพ่อแม่ต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดอุบัติเหตุ โรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเครียด นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโครงสร้างครอบครัว จากการที่พ่อแม่หรือลูกหลานต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ ใช้เวลากับการทำงานนอกบ้าน หรือต่างจังหวัด ทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลงและขาดความแข็งแกร่ง กลุ่มเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุได้รับการดูแล เอาใจใส่จากครอบครัวน้อยลง จึงมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพในที่สุด ดังนั้น        การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต้องนำปัญหาสุขภาพของประชาชนมาพิจารณาอย่างรอบด้าน และให้ความสำคัญที่   สุขภาวะของประชาชนด้วย

11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้คนไทยรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และรับวัฒนธรรมจากต่างชาติมากขึ้น  ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและลักษณะโครงสร้างของครอบครัวจากครอบครัวขยายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว การพัฒนาทางสังคมของประเทศไทยยังไม่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชากรทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ทำให้รูปแบบการดำรงชีวิตและบริบทอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย นอกจากนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพ จึงมีคนต่างชาติเข้ามารับบริการสุขภาพมากขึ้นทุกปี   

12. ผลกระทบจากข้อ 11 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

12.1 การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการควบคุมป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มบทบาทของผู้สำเร็จการศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพแก่บุคคลทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก วัยรุ่น และผู้สูงอายุ สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน

บูรณาการพันธกิจด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในทุกรายวิชาทางด้านสาธารณสุขและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหาสุขภาพเฉพาะท้องถิ่น การวิจัยและบริการวิชาการแก่ชุมชนร่วมกับอาจารย์ โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เฉพาะของท้องถิ่นและประเทศซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากลที่มุ่งการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

13. ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่น ที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน

13.1 การบริหารหลักสูตรนี้ 

(1) แต่งตั้งผู้ประสานงานรายวิชาทุกภาควิชา เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาในการพิจารณาข้อกำหนดรายวิชา การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการดำเนินการ

       (2) มอบหมายคณะกรรมการบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักสูตร

13.2 การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ มีคณะ/ภาควิชา/สาขาวิชาอื่นในมหาวิทยาลัยร่วมด้วยหรือไม่อย่างไร

มี 

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เปิดสอนโดยสำนักวิชาศึกษาทั่วไป 10 รายวิชา  

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มภาษา เปิดสอนโดยสถาบันภาษา 4 รายวิชา            

รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาพื้นฐาน เปิดสอนโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์  29  รายวิชา

รายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต เปิดสอนโดยคณะต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกับความสนใจของนักศึกษา

13.3 รายวิชาในหลักสูตรนี้มีผู้เรียนในสาขาอื่นเรียนด้วย ได้แก่ นักศึกษาจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ