โครงการแจกเงินของรัฐบาลทั้งหมด

โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการแจกเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนแล้ว

ยังมีวาระซ่อนเร้นอีกเรื่องหนึ่ง คือการตามเก็บภาษีที่ควรจะเก็บได้ ซึ่งหากทำได้ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นกว่า 1.3 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว

ทำไมโครงการแจกเงินเหล่านี้ ถึงจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าล้านล้านบาท ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ภาวะเงินเฟ้อ ตลาดผันผวนแบบนี้ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
╚═══════════╝
วาระซ่อนเร้นที่ว่า ก็คือ การนำธุรกิจต่าง ๆ เข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีนั่นเอง

สังเกตได้จากโครงการรัฐหลายโครงการ ที่ร้านค้าจะต้องสมัครเข้าร่วม เช่น คนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องรับเงินจากลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน ถุงเงิน ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของรัฐบาล

รวมไปถึงโครงการช้อปดีมีคืน ที่ทำให้ร้านค้าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT เพื่อออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้านำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้

สิ่งนี้เองที่ทำให้รายได้ของร้านค้าต่าง ๆ ที่เคยเป็นความลับ จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป เพราะทุกรายการซื้อขายที่เกิดขึ้น จะสามารถตรวจสอบได้

ซึ่งฐานข้อมูลรายได้ หรือเงินที่วิ่งเข้าออกจากบัญชีเหล่านี้เอง ที่จะทำให้ภาครัฐสามารถนำไปอ้างอิง และตามเก็บภาษีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น หรือบางรายการอาจเป็นภาษีที่ไม่เคยเก็บได้มาก่อน

ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าจำนวนมาก ออกมาโวยวายว่าโดนเรียกเก็บภาษีหลังเข้าร่วมโครงการรัฐ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง และมีบางร้านที่ยกเลิกไม่เข้าร่วมโครงการอีกต่อไป เพราะกลัวว่าจะโดนตรวจสอบรายได้ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

แล้วทำไมรัฐบาลถึงต้องพยายามนำธุรกิจต่าง ๆ เข้าสู่ระบบภาษี ซึ่งบางคนอาจมองว่า เป็นการขูดรีดกับธุรกิจรายย่อย

คำตอบของเรื่องนี้คือ การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนในประเทศ ซึ่งถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเสียมาก เสียน้อย หรือไม่เสียเลย ก็ต้องอยู่ในระบบการจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ

แต่ประเด็นคือ ยังมีคนไทยจำนวนมากที่ยังระบุไม่ได้ด้วยซ้ำว่ามีรายได้เท่าไร และต้องเสียภาษีมากน้อยขนาดไหน

เพราะจากข้อมูลของธนาคารโลก พบว่า ประเทศไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบ สูงถึง 45% ของ GDP ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 8 ของโลก

และหากเราสามารถดึงให้กลุ่มธุรกิจนอกระบบเหล่านี้ เข้ามาอยู่ในระบบได้ ประเทศไทยจะมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ถึง 26 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่าทั้งสวีเดน และเบลเยียมเลยทีเดียว

และเศรษฐกิจนอกระบบนี้เอง ที่ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้จากภาษีไปถึง 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สามารถนำไปพัฒนาโครงการต่าง ๆ ได้มากมาย

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมรัฐบาลถึงได้พยายามอย่างมากกับการดึงเอาธุรกิจนอกระบบ เข้าสู่ระบบภาษี ด้วยการออกนโยบายต่าง ๆ นานา

เพราะถึงแม้จะต้องลงทุนแจกเงินให้ประชาชน จนหมดเงินไปเป็นแสนล้านบาท แต่ก็เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

นกตัวแรกคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ประกาศไว้ในแต่ละโครงการ ไม่ว่าจะกระตุ้นการใช้จ่าย หรือสนับสนุนการท่องเที่ยว

หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 เกิดขึ้น จนล่าสุดนี้ก็เข้าสู่ระลอก 3 หลายคนประสบปัญหาทางการเงินอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมาก็มีโครงการรัฐบาลแจกเงินพื่อช่วยเหลือพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กัน (มาตรการช่วยเหลือ) แต่ถึงกระนั้นโครงการแจกเงินของรัฐบาลล่าสุดในปี 2565 (2022) นี้ก็มีผุดใหม่เหมือนกันจนหลายคนสับสนอยากรู้อย่างเจาะลึกเรื่องรัฐแจกเงิน โครงการแจกเงินของรัฐบาลมีอะไรบ้าง?

รัฐแจกเงินโครงการ “คนละครึ่ง เฟส 3” 

เริ่นต้นกับโครงการที่รัฐบาลแจกเงินแรก คนละครึ่ง เฟส 3 ที่พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่จับจ่ายใช้สอยและพ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการรายย่อย หาบเร่ แผงลอย ประเภทเครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป อาหาร บริการ ฯลฯ โดยกำหนดวงเงินให้ 3000 บาท แบ่งเป็น 2 รอบ รอบละ 1500 บาท ใช้ต่อวัน 300 บาท ประชาชนออก 150 บาท และรัฐบาลให้เงินเยียวยา 150 บาท ผ่านร้านค้าที่ร่วมรายการแบบโอนจ่ายจบ ครบแบบไม่ต้องไม่ยืมเงินด่วนออนไลน์

รัฐแจกเงินโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” 

รัฐแจกเงินต่อมาเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ผู้มีกำลังซื้อ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT สามารถใช้เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม ค่าบริการนวด สปา สินค้าทั่วไป ทำเล็บ ฯลฯ โดยจะมาในรูปแบบบัตรกำนัล e – Voucher สะสมวันละไม่เกิน 5000 บาท ต่อคนไม่เกิน 7000 บาท และจะได้รับ e-Voucher 15% ของยอดใช้จ่าย แต่ต่อคนไม่เกิน 3,000 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายจริง 41,000 – 60,000 บาท 

รัฐแจกเงินโครงการ “เพิ่มกำลังซื้อใหผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ”

โครงการแจกเงินของรัฐบาลนี้เป็นของผู้พิการ หรือผู้ที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นออนไลน์ได้เหมือนเราไม่ทิ้งกันรอบใหม่ 2565 ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่มีมือถือ ฯลฯ โดยจะเป็นการจ่ายให้ร้านค้าธงฟ้า และร้านที่ร่วมโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 แบ่งเป็น 6 เดือน เดือนละ 200 บาท รวม 1200 บาท ทั้งนี้ หากต้องการเปลี่ยนไปใช้โครงการรัฐแจกเงินคนละครึ่งเฟส 3 หรือยิ่งใช้ยิ่งได้แทน (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ต้องยื่นความประสงค์ผ่านแอพเป๋าตัง

รัฐแจกเงินโครงการ “เพิ่มกำลังซื้อบัตรคนจน”

โครงการแจกเงินของรัฐบาลทั้งหมดสุดท้ายในปี 2565 (2022) เป็นเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรคนจน หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 3 จำนวนเงิน 200 บาท นาน 6 เดือน รวม 1200 บาท (เท่าผู้พิการ) ซึ่งสามารถใช้จ่ายกับร้านค้าที่ร่วมรายการเดียวกับโครงการคนละครึ่ง เฟส 3  หวังว่าจะหมดความสงสัยรัฐแจกเงินอะไรบ้างไม่มากก็น้อย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ