อาณาจักรโบราณในดินแดนไทย ภาคใต้

บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าอภิปราย หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้ทันที โดยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน ซึ่งเมื่อตรวจสอบและแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออก

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ

ประวัติศาสตร์ไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อาณาจักรมอญ-เขมร อาณาจักรของคนไท หลังกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค แบ่งตามหัวข้อ
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง ~2500 ปีก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ~2000 ปีก่อน พ.ศ.

    • ฟูนาน
    • (611–1093)

    • ทวารวดี
    • (พุทธศตวรรษที่ 12–16)

    • ละโว้
    • (c. 7–1630)

    • จักรวรรดิเขมร
    • (1345–1974)

    • หริภุญไชย
    • (c. 8–1835)

    • ตามพรลิงค์
    • (c. 8–c. 14)

    • กรุงสุโขทัย
    • (1792–1981)

    • ลพบุรี
    • (1648–1931)

    • สุพรรณบุรี
    • (พุทธศตวรรษที่ 18–1952)

    • นครพะเยา
    • (1637–1881)

    • อาณาจักรล้านนา
    • (1835–2101)

    • นครน่าน
    • (พุทธศตวรรษที่ 18–1992)

    • นครศรีธรรมราช
    • (c. 13–2325)

กรุงศรีอยุธยา (1893–2310) 

  • เสียกรุงครั้งที่ 1
  • การปฏิวัติ พ.ศ. 2231
  • เสียกรุงครั้งที่ 2

  • ประเทศราช
    เชียงใหม่
  • (2101–2317)

  • นครศรีธรรมราช
  • (c. 13–2325)

กรุงธนบุรี (2310–25) 

  • สภาพจลาจล

  • นครเชียงใหม่
  • (2317–2437)

  • กรุงรัตนโกสินทร์
    (สมบูรณาญาสิทธิราช)
    (หลัง 2325) 

    • สงครามเก้าทัพ 2328
      อานัมสยามยุทธ 2374–7, 2384–8
      กบฏเจ้าอนุวงศ์ 2369–71
      สนธิสัญญาเบาว์ริง 2398
      วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 2436
      ผนวกนครเชียงใหม่
      สงครามโลกครั้งที่ 1 2461

  • พ.ศ. 2475–2516 

    • กบฏบวรเดช 2476
      รัฐนิยม 2482–5
      สงครามโลกครั้งที่ 2 2484–8
      รัฐประหาร พ.ศ. 2500 2500
      การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ 2508–26
      เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

  • พ.ศ. 2516–2544 

    • เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

  • หลัง พ.ศ. 2544 

    • วิกฤตต้มยำกุ้ง 2540
      วิกฤตการณ์การเมือง 2548–53
      วิกฤตการณ์การเมือง 2556–7
      รัฐประหาร 2557

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พิษณุโลก
  • กรุงเทพมหานคร
  • ปาตานี

  • หน่วยเงิน
  • สงคราม
  • ศาสนาพุทธ
  • ศักดินา
  • ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้
  • พระมหากษัตริย์

สถานีย่อยประเทศไทย

บทความนี้เกี่ยวกับอาณาจักรตามพรลิงค์ก่อตั้งในพุทธศตวรรษที่ 7 สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อาณาจักรตามพรลิงค์ (แก้ความกำกวม)

อาณาจักรตามพรลิงค์

ताम्ब्रलिङ्ग

เมืองหลวงภาษาทั่วไปศาสนา การปกครองกษัตริย์ยุคประวัติศาสตร์

• ก่อตั้งอาณาจักรตามพรลิงค์

• เป็นหนึ่งในรัฐของอาณาจักรศรีวิชัย

• แยกตัวออกจากอาณาจักรศรีวิชัย

• พัฒนาเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช

พุทธศตวรรษที่ 7–พ.ศ. 1830
เมืองตามพรลิงค์(เมืองพระเวียง)
ภาษาไทยถิ่นใต้, ภาษาบาลี/สันสกฤต (ในทางศาสนาและพิธีกรรม)
พุทธเถรวาท
ราชาธิปไตย
 
ปลายยุคโบราณ-ยุคกลาง
พุทธศตวรรษที่ 7
พ.ศ. 1318
พ.ศ. 1773
พ.ศ. 1830
ถัดไป
อาณาจักรนครศรีธรรมราช

อาณาจักรตามพรลิงค์ (สันสกฤต: ตามฺพฺรลิงฺค; ताम्ब्रलिङ्ग) ซึ่งต่อมาได้พัฒนาป็น อาณาจักรนครศรีธรรมราช นั้น เป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่ 7 [1] ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน[2] จากการพบเมืองโบราณและวัตถุโบราน บริเวณบ้านพระเวียง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และศิลาจารึกจากเมืองไชยา ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี[3] มีอาณาเขตทางทิศเหนือถึงบริเวณจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน ทิศใต้คลอบคลุมถึงบางส่วนบริเวณตอนบนของประเทศมาเลเซีย และด้านทิศตะวันออก ตะวันตกจรดทะเลทั้งสองฝั่ง โดยฝั่งทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลนอก ซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน ช่วงยุครุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 จนถึงต้นศตวรรษที่ 14 อาณาจักรตามพรลิงค์ ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่บนคาบสมุทรมลายูและกลายเป็นหนึ่งในรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่โดดเด่นในเวลานั้น[4] จนกระทั่งในปีพ.ศ. 1318 อาณาจักรตามพรลิงค์ถูกควบรวมโดยอาณาจักรศรีวิชัยและกลายเป็นเพียงรัฐหนึ่งในศรีวิชัย จนได้แยกตัวออกมาในปีพ.ศ. 1773 โดยพระเจ้าจันทรภานุ โดยชื่อ ตามพรลิงค์ นั้น ได้มาจากคำว่า "ตามพ" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง ส่วน "ลิงค์" เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บอกเพศ เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Tambalinga หรือ Tanmaling หรือ Tamballinggam จีนเรียก ตันเหมยหลิง อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กับ พระเจ้าจันทรภาณุ

พัฒนาการของการเกิดเมืองสำคัญต่าง ๆ ในอาณาจักรตามพรลิงค์[แก้]

อาณาจักรตามพรลิงค์ มี เมืองรอง ที่สำคัญ อยู่ 2 เมือง เมืองแรกคือ เมืองไชยา ตั้งอยู่ถัดไปทางด้านใต้ ศูนย์กลางอยู่ ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับเมืองตามพรลิงค์ ในระยะแรกต่างเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกัน ต่อมาในยุคหลังเมืองไชยากลับขึ้นกับอาณาจักรตามพรลิงค์ในฐานะเมืองอุปราช และคงจะอยู่ในฐานะดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองที่สอง คือ เมืองสทิง คือ บริเวณโดยรอบทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลาและพัทลุง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมือง นครศรีธรรมราช ในสมัยอยุธยา เมืองบริวาร ได้แก่ เมืองสิบสองนักษัตร ที่ปรากฏในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันตราสิบสองนักษัตร ได้เป็นตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่

ตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

  1. เมืองสายบุรี ปีชวด ถือตราหนู
  2. เมืองปัตตานี ปีฉลู ถือตราวัว
  3. เมืองกะลันตัน ปีขาล ถือตราเสือ
  4. เมืองปะหัง ปีเถาะ ถือตรากระต่าย
  5. เมืองไทรบุรี ปีมะโรง ถือตรางูใหญ่
  6. เมืองพัทลุง ปีมะเส็ง ถือตรางูเล็ก
  7. เมืองตรัง ปีมะเมีย ถือตราม้า
  8. เมืองชุมพร ปีมะแม ถือตราแพะ
  9. เมืองไชยา(บันไทยสมอ) ปีวอก ถือตราลิง
  10. เมืองท่าทอง(สะอุเลา) ปีระกา ถือตราไก่
  11. เมืองตะกั่วป่า-ถลาง ปีจอ ถือตราสุนัข
  12. เมืองกระบุรี [[อำเภอกระบุรี |จังหวัดระนอง] ปีกุน ถือตราหมู

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น[แก้]

อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาใน พ.ศ. 1318 อาณาจักรตามพรลิงค์และเมืองไชยาได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย และพ.ศ. 1568 ได้ถูกอาณาจักรโจฬะยกกองทัพเรือเข้ายึดครอง ในปีพ.ศ. 1658 ได้มีการส่งคณะทูตไปเฝ้าฮ่องเต้ฮุ่ยจงแห่งราชวงศ์ซ้อง ที่เมืองไคฟง

อาณาจักรเขมร[แก้]

อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ส่งไพร่พลไปช่วยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างเมืองนครธม พ.ศ. 1813อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรลังกาสุกะ และ พ.ศ. 1893 เมืองนครศรีธรรมราชได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

เมืองนครศรีธรรมราชในระยะแรก ประกอบด้วยเมืองสำคัญ 12 เมือง คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สงขลา ตะกั่วป่า และครหิหรือกระบุรี ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราประจำเมือง เช่น สายบุรีใช้ตราหนู ปัตตานีใช้ตราวัว กลันตันใช้ตราเสือ ปาหังใช้ตรากระต่าย เรียงลำดับไป สำหรับเมืองบันไทสมอ ซึ่งใช้ตราลิงนั้น นักโบราณคดีบางท่าน เช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี สันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองกระบี่ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อเมืองกระบี่ในปัจจุบัน

จีน[แก้]

ในจดหมายเหตุจีน ระบุว่า นครโฮลิง(ตามพรลิงค์) ส่งทูตไปเฝ้าฮ่องเต้จีน ใน พ.ศ. 1291,1310,1311,1356,1358 และ พ.ศ. 1361

ต่อมาได้มีการเรียกชื่อ อาณาจักรตามพรลิงค์ ใหม่ว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์ทางการฑูตทางด้านวัฒนธรรมและศาสนากับอาณาจักรสุโขทัย จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราช ได้เผยแพร่ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาทที่นับถือกันมากที่สุดไปยังสุโขทัยและอาณาจักรอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อ้างอิง[แก้]

  1. อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)
  2. อาณาจักรตามพรลิงค์ เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย
  3. ศิลาจารึกจากเมืองไชยา[ลิงก์เสีย]
  4. Tambralinga

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • อาณาจักรตามพรลิงค ์หรืออาณาจักรนครศรีธรรมราชArchived 2007-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ประวัติความเป็นมา จังหวัดนครศรีธรรมราชArchived 2013-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ศิลาจารึกจากเมืองไชยา[ลิงก์เสีย]

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ