เฉลย ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ บท ที่ 2

วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ

รหัสวิชา 3000 1001   หน่วยกิจ 3-0-3

 จุดประสงค์รายวิชา

1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง 

2. เพื่อให้สามารถ นำาภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารงานอาชีพ และการดำเนินชีวิตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 

3. เพื่อให้เห็นคุณค่าความงดงามของภาษาไทย และวรรณกรรมไทย

1. เลือกใช้ถ้อยคำสำนวน ระดับภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์เหมาะสมกับกาลเทศะบุคคลโอกาสและสถานการณ์

2. วิเคราะห์  สังเคราะห์และประเมินผลค่าสารในชีวิตประจำวันและงานอาชีพจากสื่อประเภทต่างๆและนำเสนอข้อมูลตามหลักการ

3. พูดติดต่อธุระ ธุรกิจ และพูดในโอกาสต่างๆ ของสังคมตามหลักการ

4. เขียนติดต่อกิจธุระ ธุระกิจ เเละเขียนรายงานตามหลักการ

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย สื่อสารอย่างมีศิลปะ ถูกต้องตามหลักเกณฑ์กาลเทศะ บุคคลและโอกาส วิเคราะห์ ประเมินค่าสารจากการฟัง การดู การอ่าน การน าเสนอข้อมูลในเชิงให้ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และวิจารณ์อย่างมีเหตุผล การพูดที่ใช้ในงานอาชีพและในโอกาสต่าง ๆ ของสังคม การเขียนจดหมายที่จ าเป็นต่องานอาชีพ การใช้ภาษาไทยในการเขียนประชาสัมพันธ์ และเขียนโฆษณา เขียน รายงาน เขียนโครงการ และบทร้อยกรองเพื่องานอาชีพ ศึกษาวรรณกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และเกิดประโยชน์ในงานอาชีพและการด าเนินชีวิต

เอกสารแสดงเกี่ยวกับสมรรถนะที่ 1

1.เลือกใช้ถ้อยคำสำนวน ระดับภาษาถูกต้องตามหลักเกณฑ์เหมาะสมกับกาลเทศะบุคคลโอกาส  และสถานการณ์

    ถ้อยคำ หมายถึง คำกล่าว เสียงพูดและลายลักษณ์อักษร ที่มนุษย์ใช้ลื่อสารกันทั้ง ในด้านกิจธุรกิจและในด้านกิจการอื่น ๆ มีรูปลักษณ์ต่างกันไป ผู้ที่มีความรู้เรื่องถ้อยคำรู้จักถ้อยคำและเข้าใจความหมายของถ้อยคำได้ดี ก็สามารถเลือกใช้ถ้อยคำมาใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ถ้อยคำ ให้มีประสิทธิผลมีข้อควรคำนึง ดังนี้

1. การออกเสียงให้ถูกต้อง หากออกเสียงไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้ เช่น เขาไม่ชอบปา (ปลา) ห้ามยืนทางฝา (ขวา) ที่นี้มีคูมากหมาย (ครู)

2. การเขียนให้ถูกต้อง หากเขียนสะกดคำผิดอาจจะทำให้ความหมายผิดไปได้ เช่น เมืองอู่ทองไม่เคยเป็นเมืองหน้าด้าน (หน้าด่าน) เธอช่วยขลิบปลอกหมอนสีฟ้าให้ฉันหน่อย (ขริบ) นกเป็ดน้ำใกล้จะสูญพรรณแล้ว (พันธุ์) เป็นต้น

3. ใช้คำให้ถูกต้องตามความหมาย ถ้าใช้คำผิดความหมายก็จะผิดไป และคำบางคำอาจความหมายโดยตรง ความหมายโดยนัย มีหลายความหมาย มีความหมายใกล้เคียงกัน ควรคำนึงถึงบริบทและพิจารณาก่อนใช้ เช่น ขบวนการนี้เป็นภัยแห่งนักศึกษาทั้งหมด (ควรใช้ ต่อ)

บนถนนราชดำเนินมีรถอยู่แออัด (ควรใช้ คับคั่ง) ฉันกลัวเสือมาก/เขาทำตัวเป็นเสือ (ความหมายโดยตรง/โดยนัย) ฉันถูกต่อต่อย/เขาต่อเวลาให้เรา/เธอขอต่อราคาลงอีก/พี่ต่อให้เขาวิ่งไปก่อนห้านาที (คำหลายความหมาย)

4. การใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษา และหน้าที่ของคำ เช่น การใช้คำอาการนาม การใช้ลักษณะนาม การใช้คำบุพบท การใช้คำสันธานเป็นต้น

5. การใช้คำให้เหมาะสมบุคคล เช่น เขามีหมายกำหนดการการอบรมแล้วหรือยัง (ควรใช้ กำหนดการ) เมื่อชาติชายได้ยินก็โกรธกระฟัดกระเฟียดออกไป (ควรใช้ ปึงปัง) แม่เชิญพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป มาที่บ้าน (ควรใช้ นิมนต์) เป็นต้น

6. ใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาส เช่น โอกาสที่เป็นทางการ ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำต่างประเทศ คำหยาบ คำแสลง ภาษาพูด ภาษาหนังสือพิมพ์ คำย่อ คำต่างระดับ และภาษาถิ่น และโอกาสที่ไม่เป็นทางการ ใช้คำระดับ ภาษาปาก และคำระดับภาษากึ่งแบบแผนได้

7. ใช้คำที่ชัดเจนไม่กำกวม ใช้คำที่ผู้รับสารรู้ความหมาย ไม่ใช้คำที่ที่มีความหมายกว้าง และคำที่มีความหมายไม่แน่นอน เพราะอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารได้ เช่น ฉันไม่เคยไปที่บ้านหลังนั้น (ไม่รู้ว่าหลังไหน) น้องซื้อหนังสือ เล่มนี่เพราะดีกว่าเล่มอื่น ๆ ในร้าน (ไม่รู้ว่าดีอย่างไร) ลุงปลูกต้นไม้ 2 ต้น (ไม่รู้ว่าต้นอะไร) บ้านเขาอยู่ใกล้มาก (อีกคนอาจคิดว่าไกล) นิดตกลงมาหรือไม่ (ตกลงใจหรือตกลงมาจากบันได) เป็นต้น

ระดับภาษาการใช้ภาษาที่ถูกต้อง

       ระดับของภาษา หมายถึง ความลดหลั่งของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาส หรือกาลเทศะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร และ ตามเนื้อหาที่สื่อสารการศึกษาเรื่องระดับของภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลที่เป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลแต่ละกลุ่มเข้าใจภาษาของกันและกัน ไม่ให้เกิดปัญหาด้านการสื่อสาร และความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล รวมทั้งยังทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการของภาษาไทยอีกด้วยการศึกษาเรื่องระดับภาษาอาจจะพิจารณาได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น พิจารณาตามฐานะบุคคล ตามเนื้อหาและตามกาลเทศะที่สื่อสารในที่นี้จะกล่าวถึงการพิจารณาระดับภาษา ตามกาลเทศะ / โอกาส ในการใช้ภาษา เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้ภาษา ในสถานการณ์ ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

1. ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาที่ใช้อย่างเป็นทางการมีลักษณะเป็นพิธีการ ถูกต้องตามแบบแผนของการเขียนภาษา แบ่งออกเป็น

   1.1 ภาษาระดับพิธีการ เป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบ รูปประโยคถูกต้องตามหลังไวยากรณ์ มีความประณีต งดงามอาจใช้ประโยคซับซ้อนและใช้คำระดับสูง ภาษาระดับนี้จะใช้ในโอกาส สำคัญ ๆ เช่น ราชพิธี วรรณกรรมชั้นสูง เป็นต้น

   1.2 ภาษาระดับมาตรฐานราชการ หรืออาจเรียกว่าภาษาทางการ / ภาษาราชการ เป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบ รูปประโยคถูกต้องตามไวยากรณ์ เน้นความชัดเจนตรงประเด็นเป็นสำคัญ ใช้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่นหนังสือราชการวิทยานิพนธ์ รายงานทางวิชาการ การกล่าวปราศรัย การกล่าวเปิดงานสำคัญ ๆ เป็นต้น

2. ภาษาแบบไม่เป็นทางการ ภาษาที่ไม่เคร่งครัดตามแบบแผน มักใช้ในการสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน หรือ โอกาสทั่ว ๆ ไปที่ไม่ทางการ เป็นต้น

   2.1 ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ยังคงความสุขภาพแต่ไม่เคร่งครัดแบบภาษาทางการบางครั้งอาจใช้ภาษาระดับสนทนามาปนอยู่ด้วย มันใช้ในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่คุ้นเคย หรือ มีคุณวุฒิ และ วัยวุฒิสูงกว่าหรือการบรรยาย การประชุมต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการเขียนที่ไม่เป็นทางการเพื่อให้การเขียนนั้นดูไม่เครียดจนเกินไป เช่น สารคดี บทวิจารณ์ เกี่ยวกับบันเทิงคดีต่าง ๆ เป็นต้น

    2.2 ภาษาระดับสนทนา เป็นภาษาที่ใช้สนทนาโต้ตอบกับบุคคลที่รู้จักในสถานที่หรือเวลาที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือสนทนากับบุคคลที่ที่ยังไม่คุ้นเคย รวมทั้งใช้เจรจาซื้อขายทั่วไปและการประชุมที่ไม่เป็นทางการ ภาษาที่ใช้มักมีรูปประโยคง่ายๆที่สามารถเข้าใจทันที่ แต่ยังคงความสุภาพ เช่น ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวโทรทัศน์ การเจรจาในเชิงธุรกิจทั่วไป เป็นต้น

    2.3 ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาพูดที่ใช้สนทนากับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยมักใช้สถานที่ส่วนตัว หรือ ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือ การทะเลาะวิวาทภาษาที่ใช้เป็นภาษาพูดที่ไม่เคร่งครัดอาจมีคำตัด คำสแลง คำต่ำคำหยาบปะปน โดยทั่วไปไม่นิยมใช้ในภาษาเขียนยกเว้นงานเขียนประเภท เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ การเขียนบทละคร ฯลฯ การใช้ภาษาผิดระดับย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในสื่อสารผู้รับสารอาจเห็นว่าผู้ส่งสารไม่รู้จักกาลเทศะขาดความจริงใจ เสแสร้ง การแปงภาษาออกเป็นระดับต่าง ๆ นั้นมิได้แปงกันอย่างเด็ดขาด ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล่ำกับภาษาอีกระดับหนึ่ง หรือใช้ปะปนกันได้การพิจารณาระดับภาษาระดับภาษาอาจต้องพิจารณาจากข้อความโดยรวมในการสื่อสารนั้น

ภาษาพูด-ภาษาเขียน

การศึกษาระดับภาษาอาจพิจารณาในด้านรูปแบบของการสื่อสารสามารถแบ่งภาษาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือภาษาพูด และภาษาเขียน

1.ภาษาพูด หมายถึง ภาษาที่มักใช้สื่อสารทางวาจาในชีวิตประจำวัน หรืออาจใช้งานเขียนที่ไม่เป็นทางการ เช่นบทความวิจารณ์ข่าว ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา หรือในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ

  *ภาษาพูดสามารถเลือกใช้ถ้อยถ้อยคำได้หลายระดับขึ้นกับโอกาสที่พูดและฐานะของบุคคลที่สื่อสารด้วยแต่ไม่เคร่งครัดมากนัก

   2.ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน สามารถนำมาอ้างอิงได้ภาษาเขียนที่ใช้ในงานเอกสารที่เป็นทางการและใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐาน (ภาษาทางการ) ยึดหลักการใช้ภาษาที่ถูกต้องอ่านเข้าใจง่าย และไม่นำภาษาพูดมาปะปนผู้เขียนควรขัดเกลาถ้อยคำสำนวนให้ถูกต้องชัดเจนและสมบูรณ์

  *ระดับภาษาที่จัดเป็นภาษาเขียน ได้แก่ ภาษาระดับพิธีการระดับมาตรฐานราชการ

  *ภาษาระดับกึ่งทางการ อาจจัดภาษาเขียนที่ไม่เคร่งครัดนัก หรือจัดเป็นภาษาที่ ค่อนข้างเป็นทางการหรือใช้ในโอกาสสำคัญ

หลักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง

  ภาษาใช้ในการสื่อสารที่เป็นทางการควรใช้ภาษาเขียนในระดับทางการ โดยต้องหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูด และคำนึงถึงความถูกต้องเรื่องความหมาย และแบบแผนการใช้ภาษาทั้งในด้านการใช้คำและประโยค เน้นความถูกต้อง กระชับ ชัดเจน ตรงประเด็น

การใช้คำ การใช้คำต้องพิจารณาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ความหมาย และระดับของคำนั้น ๆ

การใช้ประโยค การใช้ประโยคต้องพิจารณาให้ประโยคที่ใช้นั้นถูกต้อง กะทัดรัด ชัดเจน และสละสลวย และลำดับคำในประโยคถูกต้อง

เอกสารแสดงความรู้สมรรถนะที่ 2

2. วิเคราะห์  สังเคราะห์และประเมินผลค่าสารในชีวิตประจำวันและงานอาชีพจากสื่อประเภทต่างๆและนำเสนอข้อมูลตามหลักการ

คำว่า “วิเคราะห์” และ “สาระ” ไว้ดังนี้“วิเคราะห์” หมายถึง ก.ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์แยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว

“สาร” หมายถึง น.แก่น ,เนื้อแท้ , มักใช้คู่กับคำ แก่นเป็นแก่นสาร , ข้อความ , ถ้อยคำ , เรื่องราว ซึ่งในบริบทนี้น่าจะหมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ คือ เรื่องราวข้อมูลต่าง ๆที่ผู้รับสารได้รับจากการฟังหรือการอ่าน การวิเคราะห์และการสังเคราะห์สาร จึงหมายถึง การที่ผู้รับสารสามารถรับรองอย่างใคร่ครวญไตร่ตรองพินิจพิจารณา สามารถนำสาระสำคัญและความรู้ความคิดที่ได้จากสารนั้นไปใช้ประโยชน์ได้

สารในชีวิตประจำวัน  หมายถึง เรื่องราว ข้อมูลต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้ติดต่อถึงกันในชีวิตประจำวัน  เช่น การพบปะสนทนา การเผยแพร่ความรู้ การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ รวมถึงสารที่มุ่งให้ความบันเทิง

 สารในงานอาชีพ หมายถึง สารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพต่าง ๆผู้รับสารสามารถพิจารณาได้ตามความถนัด ความสนใจในงานอาชีพของตน ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรอบรู้ในงานอาชีพช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถในงานอาชีพให้มีประสิทธิภาพ

หลักการอ่านข่าว บทความ โฆษณาจากสื่อต่าง ๆ

หลักการอ่านข่าว บทความ โฆษณาจากสื่อต่าง ๆ มีดังนี้

๑.กำหนดมุ่งหมายว่าอ่านเพื่ออะไร

   ๑.๑ อ่านเพื่อปฏิบัติภารกิจในหน้าที่การงาน

   ๑.๒ การอ่านเพื่อการวิเคราะห์ก่อนติดใจ

   ๑.๓ การอ่านเพื่อพัฒนาความรู้และพัฒนาอาชีพ

๒.ศึกษาส่วนประกอบตามประเภทของสารที่อ่าน เช่น

   ข่าว ประกอบด้วย พาดหัวข่าว  วรรคนำ  รายละเอียดของข่าว บทความ ประกอบด้วย คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป ข้อความโฆษณา   ประกอบด้วย ข้อความพาดหัว  ข้อความขยายพาดหัว  ข้อความอ้างอิง  ข้อความลงท้าย

๓.ทำใจให้เป็นกลาง ปราศจากอคติ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่เกิดข้อผิดพลาด

๔.อ่านข้อมูลอย่างละเอียด  เพื่อจับประเด็นสำคัญหรือสาระสำคัญของเรื่อง

๕.แยกแยะข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น  ต้องแยกแยะได้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง

๖.ทราบความหมายและจุดมุ่งหมายในการเขียน

 ขั้นตอนในการวิเคราะห์สาร

 ขั้นตอนในการวิเคราะห์สาร คือ การนำสารที่อ่านมาแยกเป็นส่วนๆ โดยพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

๑.รูปแบบการประพันธ์

๒.เนื้อเรื่อง

๓.สำนวนภาษาและการใช้ถ้อยคำ

๔.กลวิธีการนำเสนอ

 ประเภทของสารในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ ได้แก่

๑.สารที่ให้ความรู้ ได้แก่ สารที่เป็นเรื่องราวทางวิชาการและวิชาชีพ

๒.สารที่โน้มน้าวใจ ได้แก่ สารที่นำเสนอในรูปของโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การหาเสียง

๓.สารที่จรรโลงใจ ได้แก่ สารที่นำเสนอเป็นบทสุนทรพจน์ บทเพลง นิทาน เรื่องสั้น สุภาษิต

จุดมุ่งหมายในการรับสารจากสื่อต่าง ๆ

๑.เพื่อฆ่าเวลา

๒.เพื่อความรู้และเพิ่มความคิด

๓.เพื่อสนองความสนใจ

๔.เพื่อกิจธุระหรือผลประโยชน์

๕.เพื่อความเพลิดเพลิน

หลักการรับสารจากสื่อต่าง ๆ

๑.มีจุดมุ่งหมายในการรับสารจากสื่อต่าง ๆ อย่างชัดเจน

๒.มีสมาธิ

๓.ใช้วิจารณญาณในการรับสารจากสื่อต่าง ๆ

๔.มีจรรยามารยาท ไม่กระทำการใด ๆที่เป็นการรบกวนสมาธิผู้ที่ต้องใช้บริการจากห้องสื่อร่วมกัน

๕.ควรบันทึกสาระสำคัญไว้เพื่อเตือนความจำ

ประเภทของสื่อ

สื่อที่ใช้ในการรับสามารถจำแนกได้ ๓ ประเภท คือ

๑.สื่อธรรมชาติ ที่ใช้ในการฟัง การดูและการอ่านได้แก่ อากาศ แสงสว่าง และคลื่นเสียง

๒.สื่อสาธารณะ ที่ใช้ในการฟัง การดูและการอ่านได้แก่ โทรศัพท์ ป้ายโฆษณา แผ่นพับ

๓.สื่อมวลชน ที่ใช้ในการฟัง การดูและการอ่านได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ โทรทัศน์

สรุปสาระสำคัญ

     การวิเคราะห์  การสังเคราะห์ และประเมินค่าสารจากสื่อต่าง ๆเป็นกระบวนการรับสารที่เป็นประโยชน์ต่องานอาชีพและชีวิตประจำวัน

การพิจารณาโดยรอบคอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้จุดมุ่งหมายและสาระสำคัญของเรื่องใดอย่างถูกต้องและสามารถนำความรู้ ความคิดไปใช้ประโยชน์ได้

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสรรถนะที่ 3

3. พูดติดต่อธุระ ธุรกิจ และพูดในโอกาสต่างๆ ของสังคมตามหลักการ

การพูดในงานอาชีพ : การพูดในหน้าที่พิธีกร

บทบาทและหน้าที่ของพิธีกรมีดังนี้

๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนของงานและรายละเอียดของผู้พูดผู้แสดง

๒. พบปะกับผู้พูดผู้แสดงก่อนเริ่มรายการ เพื่อทำความเข้าใจและปรึกษาหารือเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอดำเนินการ  

เพื่อให้การพูดหรือการแสดงเป็นไปอย่างเรียบร้อย

๓. เริ่มพูดด้วยการทักทายผู้ฟังผู้ชม แล้วจึงกล่าวนำเรื่องที่จะพูดหรือจะแสดง กล่าวถึงความเป็นมา ขอบเขต และความสำคัญของการพูดหรือการแสดงในครั้งนั้น

๔. แนะนำผู้พูดหรือผู้แสดง

๕. สร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างผู้พูดผู้แสดงกับผู้ฟังผู้ชม

๖. กล่าวสรุปในตอนท้าย เปิดโอกาสให้ผู้ฟังผู้ชมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามโดยคำนึงถึงเวลาและบรรยากาศของงาน

๗. กล่าวขอบคุณผู้พูดผู้แสดงและผู้มีส่วนช่วยเหลืองานทั้งหมด หากเป็นงานที่ไม่เป็นพิธีการมากมักอาจกล่าวปิดงานด้วยก็ได้

การพูดในงานอาชีพ : การพูดบรรยายสรุป

การพูดบรรยายสรุปมีหลักและข้อควรคำนึงดังนี้

๑. ผู้บรรยายต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้ฟัง เช่น ประวัติ ประสบการณ์

๒. หากต้องใช้อุปกรณ์ประกอบการบรรยายควรตรวจสอบอุปกรณ์และเตรียมไว้ให้พร้อม

๓. ให้เกียรติผู้ฟังและรักษามารยาท แต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ

๔. ใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ ควรใช้ภาษาระดับกึ่งแบบแผน หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะและไม่ใช้คำต่างประเทศโดยไม่จำเป็น

๕. พูดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด ควรใช้เวลาในการพูดบรรยายสรุปประมาณ ๒๐-๓๐ นาที

๖. หากมีการอภิปรายถึงปัญหาของการปฏิบัติงาน ผู้บรรยายควรให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอะแนะโดยยึดความจริงเป็นหลัก 

การพูดในงานอาชีพ : การพูดโฆษณา

หลักเกณฑ์ในการพูดโฆษณา มีดังนี้

๑. พูดให้ลูกค้าเห็นประโยชน์ที่จะได้รับหากซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท

๒. ศึกษาหาข้อมูลของลูกค้า

๓. ควรหาจังหวะเวลาในการพูดที่เหมาะสม

๔. พูดเสนอเนื้อหาอย่างกระชับและชัดเจน

๕. ขณะที่พูดต้องคำนึงอยู่เสมอว่าลูกค้าสำคัญที่สุด

๖. ใช้ภาษาที่ไพเราะ และมีลักษณะโน้มน้าวใจลูกค้า

การพูดในงานอาชีพ : การพูดประชาสัมพันธ์

หลักเกณฑ์ในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

๑. พูดสิ่งที่ถูกต้องและเป็นความจริง

๒. ควรพูดเรื่องสำคัญเพียงเรื่องเดียวเพื่อป้องกันความสับสนของผู้ฟัง

๓. พูดด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับและชัดเจน

๔. พูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ สุภาพนุ่มนวล และแสดงความสนิทสนมเป็นกันเอง

๕.  ควรมีเอกสารประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้น

 การพูดในโอกาสต่าง ๆ : การกล่าวแสดงความยินดี

๑. การกล่าวแสดงความยินดีกับผู้มารับตำแหน่งใหม่  มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

-  ขอบคุณที่ได้รับความไว้วางใจ ให้กล่าวในนามของคณะ

-  ยกย่องชมเชยความดี ความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะของผู้ที่ได้รับตำแหน่งใหม่

-  กล่าวถึงความหายและเกียรติของตำแหน่งนั้น

-  ฝากความหวังเรื่องความเจริญก้าวหน้า และความสำเร็จของงานไว้กับผู้ดำรงตำแหน่งใหม่

-  แสดงความหวังว่าผู้เข้ารับตำแหน่งใหม่จะมีความสุข และความพอใจในงานตำแหน่งนี้

-  เชิญให้กล่าวตอบ

๒. การกล่าวตอบในโอกาสรับตำแหน่งใหม่  มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

-  กล่าวขอบคุณที่ให้เกียรติหรือให้ความไว้วางใจ

-  กล่าวถึงความรู้สึกยินดีที่ได้มาร่วมงานกัน

-  ยกย่องสถาบันหรือสถานที่ที่ได้มาเยือน หรือที่มาทำงาน

-  กล่าวถึงนโยบาย หลักการ อุดมคติ และวิธีการปฏิบัติที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์

 การพูดในโอกาสต่าง ๆ : การกล่าวไว้อาลัย

๑. การกล่าวแสดงความอาลัยในโอกาสย้ายงาน  มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

-  กล่าวชมเชยผลงานที่ปฏิบัติมาแล้ว

-  แสดงความรักความอาลัยของผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทุกคน

-  แสดงความหวังที่จะเห็นหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

-  กล่าวอวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

๒. การกล่าวให้เกียรติผู้ล่วงลับ  มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

-   กล่าวแสดงความเสียใจในมรณกรรมของบุคคลนั้น

-   กล่าวยกย่องคุณงามความดี และให้เกียรติผู้ล่วงลับ

-   ปลอบใจและให้ความอบอุ่นญาติมิตรของผู้ล่วงลับ

-   เชิญชวนให้ยืนสงบนิ่งไว้อาลัย เป็นการแสดงคารวะผู้ล่วงลับ

๓. การกล่าวยกย่องสดุดีบุคคลที่ล่วงลับ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

-   กล่าวถึงความสำคัญของผู้ล่วงลับที่มีต่อสถาบัน

-   ยกย่องให้เกียรติโดยกล่าวถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับ

-   ปลอบโยนญาติมิตรของผู้ล่วงลับ

-   ยืนยันที่จะช่วยกันสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ล่วงลับ

-   เชิญชวนให้ยืนสงบนิ่งไว้อาลัย เป็นการแสดงคารวะผู้ล่วงลับ

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสรรถนะที่ 4

4. เขียนติดต่อกิจธุระ ธุระกิจ เเละเขียนรายงานตามหลักการ

จดหมายกิจธุระ หมายถึง จดหมายที่เขียนไปเพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ เพื่อแจ้งเรื่องการงานหรือเรื่องส่วนตัว โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า

จดหมายเชิงกิจธุระ ได้แก่ จดหมายลาป่วย จดหมายลากิจ จดหมายขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือ(การขอความอนุเคราะห์) จากองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ครับ

ประเภทของจดหมายกิจธุระ

1. จดหมายส่วนตัว เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อเล่าเรื่องราวส่วนตัวหรือสอบถามเรื่องราวไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ เช่น ลูกเขียนจดหมายถึงพ่อแม่ ศิษย์เก่าเขียนจดหมายถึงคุณครูที่เคารพนับถือ

2. จดหมายติดต่อธุระ เป็นการสื่อสารเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร ความจำเป็นต่าง ๆ ที่ประสงค์ให้ผู้อื่นหรือองค์กรต่าง ๆ รับทราบเพื่อนำไปสู่การพิจารณาให้ความร่วมมือในเหตุจำเป็น เช่น นักเรียนเขียนจดหมายขอลาหยุดเรียนกรณีป่วย นักเรียนเขียนจดหมายขอลาหยุดเรียนกรณีมีกิจธุระจำเป็นต่าง ๆ ที่มาเรียนไม่ได้ตามปกติ จดหมายติดต่อองค์กรภายนอกขอความร่วมมือไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก จดหมายขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากองค์กรอื่นมาบรรยายหรือสาธิตความรู้แก่นักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น ครับ

ประโยชน์ของจดหมายกิจธุระ

1. ใช้สื่อสารแทนการพูดจา

2. ใช้เพื่อบอกกล่าวข้อความบางประการที่ไม่อาจพูดจากันโดยตรงได้

3. ใช้เป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จักกัน เช่น การเขียนจดหมายสมัครงาน จดหมายเพื่อหามิตรต่างสถานประกอบการ

4. ใช้เป็นเอกสารสำคัญ ถือว่าเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานได้

มารยาทในการเขียนจดหมาย

1. ควรใช้กระดาษและซองสีสุภาพ หมายถึง กระดาษที่ใช้เขียนจดหมายต้องมีความสะอาดเรียบร้อย ไม่ขาดหรือยับยู่ยี่ สีของกระดาษมีสีที่ไม่ฉูดฉาด กระดาษมีขนาดมาตรฐาน ซองจดหมายมีขนาดมาตรฐานตามที่ไปรษณีย์รับรอง

2. ตัวหนังสือรวมถึงตัวเลขต้องชัดเจน ควรเขียนด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงินเท่านั้น ไม่ควรใช้ปากกาสีอื่น

3. ไม่ควรใช้ภาษาพูดในการเขียนจดหมาย เช่นคำว่า “มาช่วยงานทำบุญที่บ้านหลานได้ไหม”ไม่ควรเขียนเป็น “มาช่วยงานทำบุญที่บ้านหลานได้มั้ย”

4.ใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายให้เหมาะสมตามธรรมเนียมนิยม

5. เขียนจดหมายเสร็จแล้วต้องพับให้เรียบร้อย ไม่ควรพับจดต้องใช้เวลามากในการคลี่จดหมาย

6. ไม่ควรสอดธนบัตรหรือสิ่งของมีค่าลงไปในซองจดหมาย

7. เขียนคำนำหน้าชื่อผู้รับบนจ่าหน้าให้ถูกต้อง ตามความนิยมและความเหมาะสม เช่น คุณพ่อ, นายแพทย์, คุณครู, ดร., ร้อยตำรวจตรี เป็นต้น

8. ต้องเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ให้ชัดเจน ณ ตำแหน่งเริ่มจากมุมกึ่งกลางของซองจดหมายด้านขวามือ

9. ต้องเขียนชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งไว้ที่มุมบนด้านซ้ายของซองจดหมายด้วย หากไปรษณีย์ส่งจดหมายถึงผู้รับไม่ได้ (ในกรณีไม่ถึงผู้รับ) จะได้ส่งคืนเจ้าของจดหมายถูก

 เขียนรายงานตามหลักการ

1. หลักการเขียนรายงานตามหลักการ  ส่วนประกอบของการเขียนรายงานตามหลักการลักษณะ ดังนี้

1.1 ส่วนประกอบตอนต้น มีส่วนประกอบตามลำดับดังนี้

1.1.1 หน้าปก (ปกนอก)

1.1.2. หน้าชื่อเรื่อง (ปกใน)

1.1.3. คำนำ (กิตติกรรมประกาศ)

1.1.4. สารบัญ

1.1.5. สารบัญตาราง

1.1.6. สารบัญภาพประกอบ

1.2 ส่วนประกอบตอนกลาง (เนื้อเรื่อง) เป็นส่วนสำคัญที่สุดของรายงาน แบ่งแยกเนื้อหาที่เขียนเป็นบทอย่างมีระบบระเบียบ ตามลำดับ

รายงานทางวิชาการมีโครงสร้างมาตรฐาน 5 บท คือ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 เอกสารและรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา

บทที่ 4 ผลการศึกษา

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

นอกจากนี้ ยังมีส่วนประกอบ ที่สำคัญของเนื้อเรื่อง ได้แก่ การอ้างอิงจากการศึกษาค้นคว้า แบบเชิงอรรถท้ายหน้า หรืออ้างอิงแทรกในเนื้อหา (นามปี) ข้อมูลสารสนเทศตารางประกอบ แผนภูมิ ภาพประกอบ

1.3 ส่วนประกอบท้าย ส่วนประกอบท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก และอภิธานศัพท์ เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมจากเนื้อเรื่อง เช่น การอ้างอิงที่ได้ระบุไว้ในเชิงอรรถ ก็นำมาระบุไว้ในบรรณานุกรมท้ายเล่ม รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ตารางข้อมูลแผนงานโครงการ บันทึกประจำวัน สำหรับผู้สนใจรายละเอียด

2. การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน  การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน รายงานมีลักษณะต่อไปนี้

- เป็นงานเขียนที่เป็นงานเป็นการ ค่อนข้างจริงจัง หนักแน่น

- การให้ความคิด ความรู้ มากกว่าเรียงความทั่วไป

- เป็นความเรียงร้อยแก้ว ใช้ภาษาเขียนถูกต้องตามหลักวิชาการ

- มีหลักฐาน ข้อเท็จจริงอ้างอิงประกอบ

- ไม่ต้องใช้สำนวนโวหารให้ไพเราะเพราะไม่ใช่งานประพันธ์

- มีความกระชับ รัดกุม กะทัดรัด ชัดเจน ตามที่นิยมกันตามปกติ

 - ไม่ใช้คำที่อาจมีความหมายได้หลายประการ

- หลีกเลี่ยง การใช้ภาษาพูด ภาษาแสลง หรือภาษาตลาด

- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาท้องถิ่น

- ควรเลือกใช้ภาษาสามัญที่เข้าใจง่าย

- ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

- การใช้คำศัพท์ เช่น การใช้คำสุภาพ คำราชาศัพท์ คำที่ใช้กับภิกษุ ล้วนต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง ตามหลักการใช้ภาษา และความนิยมในปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้คำศัพท์ เช่น

- สไลด์ เปลี่ยนใช้ ภาพเลื่อน ให้ถูกต้องตามศัพท์บัญญัติ

- ตรรกวิทยา (Logic) มีวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้าย

- ร้อยละ ไม่ต้องวงเล็บ (Percent) เพราะใช้กันแพร่หลายแล้ว

- ไม่ควรใช้ ศธ. หรือเขียนย่อว่า กระทรวงศึกษา ฯ แทน ” กระทรวงศึกษาธิการ ”

- ไม่ควรใช้ ร.ร. แทน โรงเรียน ยกเว้นกรณีที่นิยมใช้แบบย่อ กันแพร่หลายแล้ว เช่น พ.ศ. ส่วนคำที่เป็นชื่อเฉพาะ ให้เขียนสะกด การันต์ ตามของเดิม จะถืออักขรวิธีในการเขียนคำทั่วไปเป็นหลักไม่ได้ เช่น นางสาวจิตต์ ไม่ต้องแก้เป็น นางสาวจิต

- การใช้คำ กับ แด่ แต่ ต่อ ให้ถูกต้อง ตัวอย่าง เช่น

- กับ ใช้กับสิ่งของหรือคนที่ทำกริยาเดียวกัน เช่น ครูกับนักเรียนอ่านเอกสาร เด็กเล่นกับผู้ใหญ่

- แด่ ต่อ ใช้กับกริยา ให้ รับ บอก ถวาย ต่อบุคคลที่สมควร เช่น กล่าวรายงานต่อประธานถวายของแด่พระสงฆ์

- แก่ ใช้เช่นเดียวกับ แด่ ต่อ แต่ใช้กับบุคคลทั่วไป เช่น พระราชทานแก่ ให้แก่ บอกแก่แจ้งแก่

- เขียนเนื้อหาให้แจ่มแจ้งชัดเจน มีการเน้น เนื้อหาที่สำคัญ โดยใช้ คำ วลี และข้อความที่สำคัญ ขึ้นต้นประโยค หรือจบประโยค กล่าวซ้ำ เพื่อให้ความสำคัญกับคำที่กล่าวซ้ำเปรียบเทียบ

- เพื่อให้ข้อความชัดเจน และให้รายละเอียดเป็นตัวอย่าง รูปภาพประกอบ ทำให้ชัดเจน เข้าใจง่าย และถ้าต้องการให้มีผลในทางปฏิบัติ จะต้องใช้ ตัวอย่าง ข้อความ สนับสนุนหลักการแนวคิดที่เสนอ ให้ชัดเจนอย่างมีศิลปะในการเขียน

 - มีเอกภาพ ในการเสนอเนื้อหาทุกส่วนของรายงาน เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของการเขียน

- มีสัมพันธภาพ ในการจัดลำดับเนื้อหา คือเขียนให้สัมพันธ์กัน เช่น ตามลำดับเวลา ตามลำดับเหตุและผล จัดลำดับ ระหว่าง หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ระหว่างย่อหน้า เรียงตามความสำคัญ หัวข้อที่สำคัญเท่ากัน หรือระดับเดียวกัน เขียนให้ย่อหน้าเท่ากัน ตรงกัน ย่อหน้าหนึ่งควรมีใจความสำคัญเดียว

- รายงานทางวิชาการ เน้นความจริง ความถูกต้อง ไม่ควรเขียนเกินความจริงที่ปรากฏ

- รายงานตามข้อมูลที่พบ ไม่ควรเขียนคำคุณศัพท์ เช่น ดีมาก ดีที่สุด เหมาะสม ดี โดยไม่มีข้อมูลหลักเกณฑ์ชัดเจน แสดงถึงการวินิจฉัย ประเมินค่าเกินจริง

- คุณสมบัติของผู้เขียนรายงาน ที่จะช่วยให้รายงานมีคุณค่า ได้แก่ความรู้ทั่วไปในเรื่องที่เขียนจะทำให้เตรียมการอย่างรอบคอบ เขียนได้ครอบคลุม ต่อเนื่อง ชัดเจน มีความสามารถในการวิเคราะห์ ให้คุณค่าข้อมูล อย่างแม่นตรงมีวิจารณญาณในการเลือกเสนอสิ่งที่สำคัญ

สามารถใช้เทคนิคผสมผสานความรู้ ประสบการณ์ ออกมาเป็นความคิด แล้วถ่ายทอด ออกมาเป็นภาษาเขียน

3. การรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียนรายงาน  หากแบ่งตามลักษณะข้อมูลจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเอกสารและข้อมูลสนาม

1) ข้อมูลเอกสาร เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปเอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูลที่มีผู้ค้นคว้าและบันทึกไว้แล้ว โดยทั่วไปหนังสือแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ หนังสืออ้างอิง และหนังสือประเภททั่วไป

หนังสืออ้างอิง มีดังนี้

- พจนานุกรม

- สารานุกรม

- อักขรานุกรม

- หนังสือประจำปี

- นามานุกรม

- ดรรชนี

- บรรณานุกรม

หนังสือทั่วไป เป็นหนังสือประเภทตำราหรือเอกสารที่ใช่เอกสารอ้างอิง หนังสือประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก วิธีง่ายที่สุดในการเลือกคืออ่านสารบัญว่าหนังสือเล่มนั้นมีประเด็นใดบ้าง ที่ตรงกับเนื้อหาที่ตนต้องการ

2) ข้อมูลสนาม เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมเองโดยตรง ทำได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต การให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถาม การทดลอง ฯลฯ ผู้ทำรายงานควรพิจารณาเองว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุดสำหรับรายงานเรื่องนั้น ๆ

4. การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม หมายถึง รายการเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่ผู้ผลิตผลงานทางวิชาการใช้อ้างอิงในเอกสารผลงานของตน

การแสดงรายการทางบรรณานุกรมไว้ที่ผลงานของท่านจึงนับเป็นการให้ความเคารพผลงานทางปัญญาที่ผู้อื่นได้แสดงไว้ อีกทั้งยังประโยชน์ในการแสดงที่มาที่ไปขององค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆทำให้ผู้สนใจสามารถติดตามพัฒนาการของเรื่อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ