การนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน เรื่องอิเหนา

วิเคราะห์คุณค่าจากบทละครในเรื่อง อิเหนา




คุณค่าด้านเนื้อหา

แนวคิด  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก  รักและตามใจทุกอย่าง  แม้นกระทั่วตัวตายก็ยอม
     ฉาก ตอนศึกกะหมังกุหนิงจะปรากฎฉากรบที่ชัดเจน  มีการตั้งค่าย  การใช้อาวุธ  และการต่อสู้ของตัวละครสำคัญ
     ปมขัดแย้ง  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีหลายข้อแย้ง  แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริง  และสมเหตุสมผล  เช่น
          ปมแรก  คือ  ท้าวกุเรปันให้อิเหนาอภิเษกกับบุษบา  แต่อิเหนาหลงรักจินตะหราไม่ยอมอภิเษกกับบุษบา
          ปมที่สอง  คือ  ท้าวดาหาขัดเคืองอิเหนา  ยกบุษบาให้จรกา  ทำให้ท้าวกุเรปันและพระญาติทั้งหลายไม่พอพระทัย
          ปมที่สาม  ท้าวกะหมังกุหนิงมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ  แต่ท้าวดาหายกให้จรกาไปแล้ว  จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น
          ปมที่สี่  อิเหนาจำเป็นต้องไปช่วยดาหา  จินตะหราคิดว่าอิเหนาจะไปอภิเษกกับบุษบา  จินตะหราขัดแย้งในใจตนเอง  หวั่นใจกับสถานภาพของตนเอง
          ปมที่สามเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด  เมื่อท้าวกะหมังกุหนิงคิดจะทำสงครามกับกรุงดาหาเพื่อชิงนางบุษบามาให้วิหยาสะกำโอรสองพระองค์  ท้าวกะหมังกุหนิงหารือกับระตูปาหยังและท้าวปะหมันผู้เป็นอนุชา  ทั้งสองทัดทานว่าดาหาเป็นเมืองใหญ่ของกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวาผู้มีฝีมือเลื่องลือในการสงคราม  ส่วนกะหมังกุหนิงเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ คงจะสู้ศึกไม่ได้  แต่ท้าวกะหมังกุหนิงก็ไม่ฟังคำทัดทานเพราะรักลูกมากจนไม่อาจทนเห็นลูกทุกข์ทรมารได้  แม้จะรู้ว่าอาจสู้ศึกไม่ได้  แต่ก็ตัดสินใจทำสงครามด้วยเหตุผลที่บอกแก่อนุชาทั้งสองว่า
                         แม้วิหยาสะกำมอดม้วย               พี่ก็คงตายด้วยโอรสา
                         ไหนไหนจะตายวายชีวา              ถึงเร็วถึงช้าก็เหมือนกัน
                         ผิดก็ทำสงครามดูตามที               เคราะห์ดีก็จะได้ดังใฝ่ฝัน
                         พี่ดังพฤกษาพนาวัน                    จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา



คุณค่าด้านวรรณศิลป์

          การใช้คำและโวหาร  เรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง  มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ  อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์  ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย  ดังนี้
          การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม  มีการเล่นคำ  เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ  เช่น  ตอนอิเหนาชมดง
                                   ว่าพลางทางชมคณานก                    โผนผกจับไม้อึงมี่
                              เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                          เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
                              นางนวลจับนางนวลนอน                         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
                              จากพรากจับจากจำนรรจา                       เหมือนจากนางสการะวาตี
          การใช้โวหารเปรียบเทียบ  คือ  โวหารอุปมาเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับผู้อ่าน  กวีเปรียบได้ชัดเจน  เช่น
                                   กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย                   เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด
                              ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์                    เห็นผิดระบอบบุราณมา
          ปาหยังกับปะหมันประเมินกำลังฝ่ายตนว่าเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น  คงสู้วงศ์เทวาไม่ได้  จึงไม่ควรสู้เป็นการเตือนสติให้หยุดคิด  แต่ก็ไม่ได้ผล  ปัญหาใหญ่จึงตามมา
          หรือจากคำคร่ำควรญของจินตะหรา  ที่เปรียบความรักเหมือนสายน้ำไหลที่ไหลไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับ  ที่มาของสำนวน "ความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลย้อนกลับ"  คำคร่ำครวญของจินตะหราเป็นเพราะเกิดความไม่มั่นใจในฐานะของตนเอง  เกิดความรู้กขึ้นมาว่าตนอาจต้องสูญเสียคนรัก  เพราะข่าวการแย่งบุษบาแสดงว่าบุษบาต้องสวยมาก  อีกทั้งยังเป็นคู่หมั้นของอิเหนามาก่อน  ยิ่งทำให้รู้สึกหวาดหวั่น  ดังคำประพันธ์ทีอ่านแล้วจะเกิดอารมณ์สะเทือนใจ  สงสาร  และเห็นใจว่า
                                   แล้วว่าอนิจจาความรัก                         พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
                              ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป                        ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
                              สตรีใดในพิภพจบแดน                               ไม่มีใครได้แค้นเหมือนนอกข้า
                              ด้วยใฝ่รักให้เกิดพักตรา                              จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์



คุณค่าด้านสังคม

          ประเพณีและความเชื่อ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีที่มาจากชวา  แต่รัชกาลที่ 2  ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมประเพณีของบ้านเมืองของไทย  เราจึงสามารถหาความรู้เรื่องเหล่านี้จากวรรณคดีเรื่องอิเหนาได้อย่างถูกต้อง  ซึ่งปรากฏอยู่หลายตอน  เช่น  ตอนท้าวดาหาเสด็จออกรับทูตเมืองกะหมังกุหนิง
                                             "เมื่อนั้น                                   พระองค์ทรงพิภพดาหา
                                        ครั้นสุริย์ฉายบ่ายสามนาฬิกา                ก็โสรจสรงคงคาอ่าองค์
                                        ทรงเครื่องประดับสรรเสร็จ                   แล้วเสด็จย่างเยื้องยูรหงส์
                                        ออกยังพระโรงคัลบรรจง                     นั่งลงบนบัลลังก์รูจี
                                        ยาสาบังคมบรมนาถ                          เบิกทูตถือราชสารศรี
                                        จึงดำรัสตรัสสั่งไปทันที                      ให้เสนีนำแขกเมืองมา
          นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องโชคชะตา  การเชื่อเรื่องคำทำนาย  ดังที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้โหรมาทำนายก่อนจะยกทัพไปเมืองดาหา  โหรก็ทำนายว่า
                                             บัดนั้น                                      พระโหราราชครูผู้ใหญ่
                                        รับรสพจนารถภูวไนย                          คลี่ตำรับขับไล่ไปมา
                                        เทียบดูดวงชะตาพระทรงยศ                  กับโอรสถึงฆาตชันษา
                                        ทั้งชั้นโชคโยคยามยาตรา                    พระเคราะห์ขัดฤกษ์พาสารพัน
                                        จึงทูลว่าถ้ายกวันพรุ่งนี้                        จะเสียชัยไพรีเป็นแม่นมั่น
                                        งดอยู่อย่าเสด็จสักเจ็ดวัน                     ถ้าพ้นนั้นก็เห็นไม่เป็นไร
          แม้ตอนที่อิเหนาจะยกทัพไปช่วยเมืองดาหาก็ต้องดูฤกษ์ยาม  มีการทำพิธีตัดไม้ข่มนามหรือพิธีฟันไม้ข่มนาม  โดยนำเอาต้นไม้ที่มีชื่อร่วมตัวอักษรกับชื่อฝ่ายข้าศึก  มาฟันให้ขาดประหนึ่งว่าได้ฟันข้าศึก  และยังมีพิธีเบิกโขลนทวาร  ซึ่งทำพิธีตามตำราพราหมณ์  โดยทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้  สองข้างประตูมีพราหมณ์นั่งประพรมน้ำมนต์ให้ทหารที่เดินลอดประตู  ทั้ง พิธีนี้ทำเพื่อความเป็นสิริมงคล  และสร้างขวัญกำลังใจให้ทหาร  ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
                                             "พอได้ศุภกฤกษ์ก็ลั่นฆ้อง                  ประโคมคึกกึกก้องท้องสนาม
                                        ประโรหิตตัดไม้ข่มนาม                          ทำตามตำราพิชัยยุทธ์
                                                            ...........................................
                                        ชีพ่อก็เบิกโขลนทวาร                           โอมอ่านอาคมคาถา
                                        เสด็จทรงช้างที่นั่งหลังคา                       คลาเคลื่อนโยธาทุกหมวดกอง


คุณค่าด้านแนวคิดและคติชีวิต

 สะท้อนภาพชีวิตของบรรพบุรุษ                    -  การแบ่งชนชั้นวรรณะ  เช่น  การไม่ยอมไปเกลือกกลั้วกับวงศ์ตระกูลอื่นนอกจากวงศ์เทวาด้วยกัน  ทำให้เกิดการแต่งงานระหว่างพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
                    -  ไม่มีสิทธิ์เลือกคู่ครองด้วยตนเอง  ต้องปฏิบัตตามความพอใจของผู้ใหญ่
                    -  สภาพความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข  มีการละเล่นต่าง ๆ มากมาย
                    -  มีความเชื่อทางไสยศาสตร์  เช่น  การแก้บน  การใช้เครื่องรางของขลัง  การดูฤกษ์ยาม
                    -  ด้านกุศโลบายการเมือง  มีการรวบรวมเมืองที่อ่อนแอกว่าเข้ามาเป็นเมืองบริวาร

               ความเข้าใจธรรมชาติมนุษย์
                    -  ธรรมชาติในเรื่องความรักของคนวัยหนุ่มสาว  มักขาดความยั้งคิด  เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่  ไม่คำนึงถึงความทุกข์ใจของพ่อแม่
                    -  ธรรมชาติของอารมณ์โกรธ  มักทำให้วู่วามตัดสินใจผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

คุณค่าด้านการนำเสนอตัวละคร
 ท้าวกุเรปัน
          ถือยศศักดิ์ไม่ไว้หน้าใคร  ไม่เกรงใจใคร  เช่น  ในราชสาส์นถึงระตูหมันหยา  กล่าวตำหนิระตูหมันหยาอย่างไม่ไว้หน้าว่า  เป็นใจให้จินตะหราแย่งคู่หมั้นบุษบา  สอนลูกให้ยั่วยวนอิเหนา  เป็นต้นเหตุให้บุษบาร้างคู่ตุนาหงัน

  ท้าวดาหา
               หยิ่งในศักดิ์สรี  ใจร้อน  เช่น  ตัดสินใจรับศึกกะหมังกุหนิงโดยไม่สนใจว่าจะมีใครมาช่วยหรือไม่ 

 เป็นคนรักษาสัจจะ  รักษาเกียรติยศชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อได้ยกนางบุษบาให้จรกาไปแล้ว  เมื่อกะหมังกุหนิงมาสู่ขออีกจึงปฏิเสธ
  อิเหนา
               รอบคอบ  มองการณ์ไกล  ตอนที่สังคามาระตารบกับวิหยาสะกำ  อิเหนาได้เตือน  สังคามาระตาว่าไม่ชำนาญกระบี่  อย่าลงจากหลังม้า  เพราะเพลงทวนนั้นชำนาญอยู่แล้วจะเอาชนะได้ง่ายกว่า

      มีความรับผิดชอบ  รักชื่อเสียงวงศ์ตระกูล  เมื่อเกิดศึกกะหมังกุหนิง  แม้จะเคยดื้อดึงเอาแต่ใจตัวเอง  แต่เมื่อทราบข่าวศึกจึงต้องรีบไปช่วย  ดังที่กล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่จะต้องไปช่วยป้องกันเมืองดาหา  ลักษณะนิสัยข้อนี้เหมือนกับท้าวกุเรปัน  อิเหนาบอกจินตะหราว่า
                         แม้เสียดาหาก็เสียวงศ์                             อัปยศถึงองค์อสัญหยา
               รู้กาลเทศะ  รู้สำนึกผิด  เมื่อยกทัพมาดาหา  ไม่กล้าเข้าเฝ้าท้าวดาหาทันที  ขอพักพลนอกเมืองและทำการรบแก้ตัวก่อน  จึงให้ตำมะหงงไปเฝ้าท้าวดาหาและรายงานว่า
                              ให้ข้าทูลองค์พระทรงฤทธิ์                    ด้วยโทษผิดติดพันอยู่หนักหนา
                         จะขอทำการสนองพระบาทา                      เสร็จแล้วจึงจะมาอัญชลี

  จินตะหรา     
               คารมคมคาย  พูดจาตัดพ้ออิเหนา  มีการเปรีบบเทียบ  เหน็บแนมด้วยความน้อยใจ

   ท้าวกะหมังกุหนิง
                รักลูกยิ่งชีวิต  ยอมทำทุกอย่างเพื่อลูก  แม้ต้วเองจะต้องตายก็ยอม

    วิหยาสะกำ
     เอาแต่ใจตนเอง  จะเอาอะไรก็ต้องได้  ดังที่ท้าวกะหมังกุหนิงบอกปาหยังกับปะหมันว่า
                              เอ็นดูนัดดาโศกาลัย                                ว่ามิได้อรไทจะมรณา
               รักศักดิ์ศรี  



     อิเหนา  เป็นวรรณคดีที่เป็นมรดกของชาติที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานตามเนื้อเรื่อง  ความไพเราะของรสวรรณคดี  และสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนที่ได้ถ่ายทอดสภาพของสังคมไทย  ศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  ความคิด  ความเชื่อแบบไทย ๆ สอดแทรกไว้ได้อย่างมีศิลป์  ทั้งยังแฝงด้วยข้อคิด  คติธรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตอีกด้วย

               

วรรณคดีเรื่องอิเหนามีข้อคิดที่สามารถนํามาปรับใช้ในชีวิตประจําวันได้อย่างไร

๑. ความกล้าหาญ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อข้าศึกศัตรู.
๒. ความรักในศักดิ์ศรี.
๓. รักษาคำสัตย์.
๔. การรู้จักให้อภัย.
๕. ควรรู้จักแยกแยะให้ออกระหว่างความรักกับความหลงใหล.

เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีรูปแบบอย่างไร

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร ซึ่งเป็นกลอนประเภทกลอนขับร้องที่มีการบังคับคำนำเช่นเดียวกับกลอนเสภา กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย แต่กลอนบทละครบังคับคำนำที่นับเป็น 1 วรรคได้ คณะ วรรคนี่งมี ๖ – ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ วรรค และบังคับเสียงวรรณยุกต์ในวรรคเพื่อความไพเราะในการแต่งและอ่านทำนองเสนาะดังนี้

ตัวละครในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีใครบ้าง

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง - Coggle Diagram.
ท้าวกุเรปัน.
ท้าวดาหา.
อิเหนา.
สังคามาระตาสังคามาระตา.
ระตูปาหยัง.
องค์ปะตาระกาหลา.
วิหยาสะก้า.

แนวคิดสําคัญของบทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงคืออะไร

๑. โครงเรื่อง ๑.๑) แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ