สมัครงานโรงพยาบาลอานันทมหิดล ลพบุรี 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงพยาบาลอานันทมหิดล
Ananda Mahidol Hospital
ประเภทที่ตั้งข้อมูลทั่วไปก่อตั้งวันเปิดทำการสังกัดผู้อำนวยการจำนวนเตียงแพทย์บุคลากรเว็บไซต์
โรงพยาบาลทหารและโรงพยาบาลทั่วไป
เลขที่ 35 ถนนพิชัยดาบหัก ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15000
พ.ศ. 2480
6 มกราคม พ.ศ. 2481
กรมแพทย์ทหารบก กระทรวงกลาโหม
พลตรี[1]อำนวย เติมเกาะ [2]
306 เตียง[3]
74 คน
1,016 คน
//www.ananhosp.go.th/

โรงพยาบาลอานันทมหิดล (อังกฤษ: Ananda Mahidol Hospital) (อักษรย่อ: รพ.อ.ป.ร.) สังกัดกรมแพทย์ทหารบก ตั้งอยู่ในตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นโรงพยาบาลทหารขนาดใหญ่ในส่วนภูมิภาค ให้บริการระดับทุติยภูมิขั้นสูง เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกองทัพบกไทย ให้บริการทั้งข้าราชการทหารและพลเรือนรวมถึงประชาชนทั่วไป และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สามรองจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลค่ายสุรนารี

ประวัติโรงพยาบาล[แก้]

ในอดีตจังหวัดลพบุรียังเป็นขนาดจังหวัดเล็ก ชุมชนยังไม่หนาแน่นมากจากบริเวณท่าหินไปถึงท่าโพธิ์ ซึ่งในปีนั้นกระทรวงกลาโหมโดยมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศขณะนั้น) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีดำริที่จะย้ายหน่วยทหารบางส่วนจากกรุงเทพมหานครมาตั้งที่จังหวัดลพบุรี ใน พ.ศ. 2480 พร้อมกับเล็งเห็นว่า เมื่อมีหน่วยทหารและครอบครัวมาตั้งรกรากมากขึ้นในจังหวัดลพบุรี หากมีการเจ็บป่วยก็ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ทางการรักษาพยาบาลจึงได้คิดวางแนวทางที่จะตั้งโรงพยาบาลไว้ในจังหวัดลพบุรีอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการแก้ปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วยของทหาร, ครอบครัว, ประชาชนและพลเรือนในจังหวัดลพบุรี รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เพราะในระยะเวลานั้นทั้งจังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรียังไม่มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด นับว่าเป็นความคิดที่รอบคอบในการวางแผนระยะยาวในสมัยนั้น ดังนั้นโรงพยาบาลอานันทมหิดลก็ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 และแล้วเสร็จในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ มากระทำพิธีเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันเปิดค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พ.ศ. 2481 โรงพยาบาลอานันทมหิดล ได้เปิดดำเนินการโดยสามารถให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยไม่เกิน 200 เตียงตัวอาคารของโรงพยาบาลไม่สามารถสร้างเสริมให้ครบตามแผนได้ เนื่องจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงมีเพียงอาคารศัลยกรรมหนึ่งหลังอายุรกรรมหนึ่งหลังและสูตินรีเวชกรรมหนึ่งหลังเท่านั้น

พ.ศ. 2482 พลตรี หลวงพิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ก็ได้มองเห็นว่าประเทศไทยยังขาดบุคลากรด้านการแพทย์อีกมากมาย จึงได้วางแผนผลิตแพทย์ชั้นหนึ่งภายใต้โครงการร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ห้กรมแพทย์ทหารบกจัดตั้งโรงเรียนเสนารักษ์เพื่อผลิตนายแพทย์ทหารไว้ใช้ในการสงคราม เป็นการเตรียมพร้อมกำลังพลในด้านการแพทย์ และความประสงค์ในอันดับต่อมาก็คือการกระจายแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งออกไปสู่ชนบททั่วประเทศโครงการผลิตแพทย์จากโรงพยาบาลอานันทมหิดลซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สอง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผลผลิตไม่สามารถดำเนินการได้ตามโครงการ เพราะการผลิตแพทย์ไม่เหมือนกับการผลิตบุคลากรอื่น ดังนั้นเมื่อจบโครงการจึงสามารถผลิตบุคลากรสำเร็จออกมาเป็นแพทย์ได้เพียง 167 คน

พ.ศ. 2486 เนื่องจากสงครามมหาเอเชียบูรพาได้ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับประเทศอังกฤษ กองทัพไทยต้องส่งทหารเข้าร่วมในการรบด้วย เช่น กองทัพพายัพทำให้ทหารต้องเจ็บป่วยและบาดเจ็บมาก โรงพยาบาลในเขตแนวหน้าและเขตหลังคือกองพยาบาลมณฑลที่ 1 (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้เพียงพอ กรมเสนารักษ์กรมแพทย์ทหารบกจึงได้ดำเนินการปรับปรุงโรงพยาบาลอนันทมหิดล เพื่อให้มีขีดความสามารถรับทหารป่วยเจ็บเพิ่มขึ้นและจัดตั้งศูนย์พักฟื้นทหารป่วยเจ็บของกองทัพบก อีกทั้งได้อาคารชั่วคราวขึ้น 4 หลัง แต่ละหลังรับผู้ป่วยได้ 200 เตียง รวมอาคารเดิมแล้วสามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 1,000 เตียง

พ.ศ. 2514 ในการรับผู้ป่วยที่ส่งกลับจากโรงพยาบาลประจำถิ่นและหน่วยสนับสนุนทางการแพทย์ในเขตหน้าและในพื้นที่การรบ จากภารกิจซึ่งต้องสนับสนุนกองทัพบกตลอดมา รวมทั้งการต้องดูแลทหาร, ครอบครัวและพลเรือนที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พันเอกยง วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการ ได้เสนอแผนและโครงการต่อกองทัพบกขออนุมัติสร้างอาคารใหม่ 6 ชั้น ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ครบสมบูรณ์ภายในอาคารเดียวกันและได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจาก พลเอกสุรกิจ มัยลาภ (เสนาธิการทหารบกขณะนั้น) จัดสรรงบประมาณและกรุณามาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 18.30 น. อาคาร 6 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปีเศษ ใช้งบประมาณ 50 กว่าล้านบาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วนับว่าเป็นโรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลทั่วไปที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

รายชื่อผู้บริหารโรงพยาบาลอานันทมหิดล[แก้]

รายนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง
  • พ.อ.พระพิทักษ์อาพาธพล
  • พ.อ.หลวงวินิจเวชการ
  • พ.อ.ขุนจรัสโยธารักษ์
  • พ.อ.ขุนพิมลนพรัตน์
  • พ.อ.พนม บุญนิยม
  • พ.อ.อภัย รักแผน
  • พ.อ.พัฒน์ วงษ์สนิท
  • พ.อ.ประดิษฐ์ ตู้จินดา (พล.ต.)
  • พล.จ.สิริ สุวัณณะสังข์
  • พ.อ.(พ) บุญยัง เวชบูล (พล.ต.)
  • พ.อ.(พ) ผิน ทรัพย์สาร
  • พ.อ.(พ) แสวง ไพทีกุล (พล.ต.)
  • พ.อ.(พ) ยง วัชระคุปต์ (พล.ท.)
  • พ.อ.(พ) สมาน หัชยกุล (พล.ต.)
  • พล.ต.วราภรณ์ อิศรางกูล ณ อยุธยา
  • พล.ต.สิงหา เสาวภาพ (พล.อ.)
  • พล.ต.ชนะ แย้มบุญเรือง (พล.ท.)
  • พล.ต.อมฤต ณ สงขลา (พล.ท.)
  • พล.ต.ปัญญา อยู่ประเสริฐ (พล.ท.)
  • พล.ต.ธรรมนูญ ยงใจยุทธ
  • พล.ต.ทวีวุฒิ เหราบัตย์
  • พล.ต.ณรงค์ วัยวุฒิ
  • พล.ต.ปรียพาส นิลอุบล (พล.ท.)
  • พล.ต.จุลเทพ ธีระธาดา
  • พล.ต.สวง ไพบูลย์
  • พล.ต.ชัยโรจน์ ธรรมศารทูล
  • พล.ต.ชายชาญ ตาตะนันทน์
  • พล.ต.รณวิทย์ อุปถัมภ์นรากร
  • พล.ต.ประดิษฐ์ ลิ้มไพบูลย์
  • พล.ต.พรเลิศ จำเรียง
  • พล.ต.ดิตถ์ สิงหเสนี
  • พล.ต.สุรพงศ์ ปราการรัตน์
  • พล.ต.ไตรโรจน์ ครุธเวโช
  • พล.ต.สาโรช เขียวขจี
  • พล.ต.วิสุทธิ์ ศรีจันทราพันธุ์
  • พล.ต.นิมิตร์ สะโมทาน
  • พล.ต.ชัชวาล บูรณรัช
  • พล.ต.สุพัษชัย เมฆะสุวรรณดิษฐ์
  • พล.ต.ชัชชัย เต็มยอด
  • พล.ต.ชูสิทธิ์ ศรีอุทโยภาส
  • พล.ต.อำนวย เติมเกาะ
  • พ.ศ. 2481 - 2482
  • พ.ศ. 2482 - 2487
  • พ.ศ. 2487 - 2488
  • พ.ศ. 2488 - 2489
  • พ.ศ. 2489 - 2491
  • พ.ศ. 2491 - 2493 และ พ.ศ. 2497 - 2498
  • พ.ศ. 2493 - 2495 ,พ.ศ. 2498 - 2499 ,พ.ศ. 2503 - 2506 (พ.อ.(พ))
  • พ.ศ. 2496 - 2497
  • พ.ศ. 2499 - 2503
  • พ.ศ. 2506 - 2507
  • พ.ศ. 2507 - 2509
  • พ.ศ. 2509 - 2510
  • พ.ศ. 2510 - 2515
  • พ.ศ. 2515 - 2516
  • พ.ศ. 2516 - 2520
  • พ.ศ. 2520 - 2524
  • พ.ศ. 2524 - 2526
  • พ.ศ. 2526 - 2527
  • พ.ศ. 2527 - 2531
  • พ.ศ. 2531 - 2532
  • พ.ศ. 2532 - 2533
  • พ.ศ. 2533 - 2535
  • พ.ศ. 2535 - 2536
  • พ.ศ. 2536 - 2538
  • พ.ศ. 2538 - 2541
  • พ.ศ. 2541 - 2544
  • พ.ศ. 2544 - 2546
  • พ.ศ. 2546 - 2548
  • พ.ศ. 2548 - 2551
  • พ.ศ. 2551 - 2552
  • พ.ศ. 2552 - 2553
  • พ.ศ. 2553 - 2555
  • พ.ศ. 2555 - 2556
  • พ.ศ. 2556 - 2557
  • พ.ศ. 2557 - 2559
  • พ.ศ. 2559 - 2560
  • พ.ศ. 2560 - 2561
  • พ.ศ. 2561 - 2562
  • พ.ศ. 2562 - 2564
  • พ.ศ. 2564 - 2565
  • พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

การฝึกอบรมหรือเป็นสถาบันสมทบในการฝึกอบรม[แก้]

โรงพยาบาลอานันทมหิดล เป็นสถานที่ฝึกอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ซึ่งได้รับอนุมัติจากแพทยสภาและเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบกชั้นปีที่ 4 และนักเรียนนายสิบเหล่าแพทย์ นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวกับงาน ทางสาธารณสุขด้านต่างๆ เช่น งานกายภาพบําบัด งานพยาธิวิทยา งานเวชระเบียน เป็นต้น  

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • โรงพยาบาลอานันทมหิดล
  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงพยาบาลอานันทมหิดล
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
    • แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°50′56″N 100°39′48″E / 14.848785°N 100.663272°E

  1. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  3. ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ