โครงงานปุ๋ยชีวภาพจากเปลือกกล้วย

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร

จัดทำโดย

นายขวัญชัย                  เทพทอง

นางสาวจุฑามาศ          ปานทอง

นายทรงศักดิ์                 มีแสง

นายทศพล                     คชโกศัย

นางสาวทัศนีย์              โรยอุตระ

เสนอ

อาจารย์จิราพร              ขุนชุม

โครงงานวิทยศาสตร์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวิทยาศาสตร์ 4

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554

วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุยบริหารธุรกิจ

กิตติกรรมประกาศ

      โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร เพื่อทดลองการประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักชีวภาพในการฆ่าแมลง   โดยได้รับการสนับสนุนจาก

กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านสามสวน   และได้รับการสนับสนุนจากท่านผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีสมุยบริหารธุรกิจ และอาจารย์ จิราพร  ขุนชุม   ที่ได้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงานและได้รับความอนุเคราะห์จากชาวบ้านที่ได้ให้ข้อเสนอแนะและนำเอกสารตำราต่าง    ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

           คณะผู้จัดทำ  ขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างต้น   และที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้    ที่นี้เป็นอย่างสูง

 คณะผู้จัดทำ

คำนำ

             โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร  โครงงานเรื่องนี้ศึกษาการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืชผักทางการเกษตร  เช่น  เศษผัก เพราะเป็นพืชที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและชุมชนหรือบางครั้งก็เหลือจากการประกอบอาหารภายในครัวเรือน  และเป็นการนำพืชผักที่เหลือใช้เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์   นอกจากพืชผักแล้วยังนำเอาจุรินทรีย์  EM    และกากน้ำตาล มาช่วยเร่งการย่อยสลายเพื่อให้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง ฆ่าแมลง    ลดปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาต่อสุขภาพเกษตรกรและลดการนำเข้าจากต่างประเทศด้วย

              ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานในเรื่องนี้คงเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและผู้ที่สนใจที่จะทำปุ๋ยขึ้นมาใช้เองโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย   หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำต้องขออภัยไว้    โอกาสนี้ด้วย

                                                                                                                                                        คณะผู้จัดทำ

ชื่อเรื่อง  ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร  สูตรสะเดาไล่แมลง

ผู้จัดทำ     

ที่ปรึกษา                 อาจารย์ จิราพร  ขุนชุม

ประเภท       โครงงานชีวภาพ

บทคัดย่อ

           โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร  สูตรสะเดาไล่แมลง  จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษต วัสดุทางการเกษตร  คือ  ผักต่าง ๆ  และผักสะเดาโดยเอาแต่ละชนิดนำมาชนิดละ  1  ส่วน( 1 ถัง ) ทำการผสมกับ  จุรินทรีย์  EM    และกากน้ำตาล อย่างละ  2  ช้อนโต๊ะ  ทำการคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดในถังที่เตรียมไว้ให้เข้ากันแล้วเติมน้ำลงไปประมาณ 20 ลิตร ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ประมาณ  3 เดือนผลปรากฏว่น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมัก มีราสีขาวเกิดขึ้นมากมาย  มีกลิ่นของการหมัก และนำน้ำหมักชีวภาพนี้ไปใช้ลดพืชผักแทนการใช้ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยหมักชีวภาพนี้เป็นประโยชน์แก่นักเรียน  ชุมชน  เกษตรกรและผู้ที่สนใจที่จะทำปุ๋ยขึ้นมาใช้เองทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาสูง  ดินเสื่อมคุณภาพและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

บทที่  1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

           คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและประเทศไทยจะอาศัยการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรเป็นสินค้าที่ส่งออกที่สำคัญนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละมหาศาลและผลักดันประเทศไปเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกแต่ปัจจุบันการเกษตรได้รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบตามธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้นแต่กำลังความสามารถในการผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรของประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องนำปุ๋ยเคมีเข้าจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้า   การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากแทนธาตุอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุและการใช้สารเคมีฆ่าแมลงแทนสมุนไพร  เพื่อการกำจัดศัตรูพืช  ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น

1.             ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  เกิดจากสารปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำและดินทำให้ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตเสียไป

2.             ปัญหาต่อความปลอดภัยสุขภาพของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตของเกษตรกรต่ำลงเนื่องจากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากๆ  ตลอดจนปัญหาการตกค้างของสารเคมี  ผลิตผลทางการเกษตร   ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

          ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวความคิดที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่น

ผักต่าง ๆ  และผักสะเดา    จุรินทรีย์  EM    และกากน้ำตาล นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ดังนั้นการเอา จุรินทรีย์ EM   มาช่วยในการเร่ง   ปฏิกิริยาการย่อยสลายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เหลือใช้ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตการเกษตร   ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศที่มีราคาสูง   ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

จุดประสงค์ของการศึกษา

1.เพื่อศึกษาวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพและค้นคว้ากับการวัดค่า PH   ของดิน

2.เพื่อศึกษาทดสอบประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพ

 สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

        ปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร    ส่งผลต่อการไล่แมลงและศัตรูพืชและการย่อยของนำเอาจุรินทรีย์  EM และกากน้ำตาล

 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

         ตัวแปรต้น               น้ำหมักชีวภาพ

         ตัวแปรตาม             ปริมาณและศัตรูพืชที่ลดลง

         ตัวแปรควบคุม        ปริมาณของจุรินทรีย์  EM ปริมาณกากน้ำตาล และอัตราส่วนผสมของปริมาณวัสดุ

 ขอบเขตของการศึกษา

           1.เพื่อศึกษาการทำน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร   

            2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักจากหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.              ทราบถึงวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร

2.              ทราบถึงการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการนำปุ๋ยหมักชีวภาพไปใช้แทนปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง

3.              ช่วยลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อมลง  เนื่องจากจุรินทรีย์  EM และกากน้ำตาลสามารถย่อยสลายส่วนประกอบทางชีวเคมีของพืชให้กลายเป็นธาตุอาหารนำไปใช้ในการเจริญเติบโต

4.              เป็นการรักษาคุณภาพของดินและเป็นการเพิ่มจุรินทรีย์ในดินให้มากขึ้น

 นิยามศัพท์

E.M.  :    ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา

                จุลินทรีย์  :      จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง แอนติออกซิเดชั่นซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ

E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร

E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แลกโตบาซิลัส  เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส  อโซโตแบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์  รา  ฯลฯ จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง แอนติออกซิเดชั่นซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของ เซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย

ลักษณะโดยทั่วไปของ EM

              เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือ ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

ลักษณะการผลิต

                เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค

- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน

- กลุ่มจุลินทรีย์แอคทีโนมัยซีทส์

- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์

                  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป

ด้านการเกษตร

- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ

- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ

- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี

- ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ เพื่อให้เป็นปุ๋ย (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.

- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน

- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ

การเก็บรักษาจุลินทรีย์

                  สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 องศาเซลเซียส ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกต

                    หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทัศน์ที่มีกำลังขยายสูงไม่ต่ำกว่า 700 เท่า จะเห็น จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ อยู่มากมาย E.M. ปกติจะมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเน่าเหมือน กลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่า ๆ (E.M. ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้) กรณีที่เก็บไว้นาน ๆ โดยไม่มีเคลื่อนไหวภาชนะ จะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ E.M.นั่นคือการทำงานของ E.M. ที่ผักตัวเมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปใน E.M. เหมือนเดิม

 E M (อี เอ็ม) คือ อะไร

ความเป็นมาของ EM

ศ.ดร.เทรูโอะ  ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องส้ม แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาโรคระบาดในสวนส้มได้ แม้จะพยายามใช้ความรู้ความสามารถเพียงใดก็ไม่ได้ผล ในโอกาสนั้น ท่านได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะของท่านโมกิจิ โอกาดะ (เมซุซามะ) เกิดความสนใจ หนังสือเล่มหนึ่งของท่านโมกิจิ โอกาดะ เขียนไว้เกี่ยวกับการเกษตรธรรมชาติ มีข้อความที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น

- การเกษตรที่ปลอดสารเคมี

- ภัยพิบัติของมนุษย์ชาติและธรรมชาติของโลก

- ความรักของธรรมชาติต่อสรรพสิ่งในธรรมชาติของโลก

- สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

                ท่าน ศ.ดร.ทารูโอะ  ฮิหงะ แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มการค้นคว้า เมื่อ พ.ศ. 2510 และได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตในดินที่เรียกว่าจุลินทรีย์ เมื่อ พ.ศ.2525 เป็นการค้นพบเทคนิคการใช้ E.M. (Effective Microorganisms) กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ความสำคัญ ณ จุดนี้คือ ได้ค้นพบการทำงานของจุลินทรีย์ในธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

            1. ทำงานแบบสร้างสรรค์ เรียกว่า กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์ มีประมาณ10 %

             2. ทำงานแบบเป็นกลาง เรียกว่า กลุ่มเป็นกลางคอยเกื้อหนุน 2 ฝ่ายแรก ทีมีจำนวนมาก ถึงประมาณ  80  %

             3. ทำงานแบบทำลาย หรือ กลุ่มจุลินทรีย์โรค มีประมาณ 10 %

                กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมีจุลินทรีย์รวมอยู่ 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปีชีส์ ในที่นี้จะมีทั้งจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ คือ แอโรบิค แบคทีเรีย (Aerobic Bacteria) และจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ คือ อนาโรบิค แบคทีเรีย (Anaerobic bacteria)

บทที่  3

วิธีการทดลอง

วัสดุและอุปกรณ์

1.เครื่องวัดค่า  PH    1     อัน

2.เศษผัก  1  ถัง

3.ใบสะเดา    ½   ถัง

4.น้ำ  20  ลิตร

5.ถัง     1   ใบ

สารเคมี

1.กากน้ำตาล     1  ขวด

2.จุลินทรีย์    1    ขวด

วิธีทดลอง

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ(สูตรไล่แมลง)

วัสดุและส่วนผสม

1.เศษผัก  1  ถัง

2.ใบสะเดา    ½   ถัง

3.กากน้ำตาล     1  ขวด

4.จุลินทรีย์    1    ขวด

5.น้ำสะอาด  20  ลิตร

วิธีทำ

1.นำเศษผักและสะเดามาผสมกันในถังที่เตรียมไว้

2.นำกากน้ำตาล  และ จุลินทรีย์ มาเทลงในถัง

3.เทน้ำลงในถังและคลุกเคล้าเศษผักและสะเดาในถังให้เข้ากันกับจุลินทรีย์และกากน้ำตาล

4.หลังจากคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหลังจากนั้นปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้า  ทิ้งไว้ประมาณ   3   เดือน

              หลังจากหมักไปแล้ว 1  เดือนแล้วค่อยเปิดฝาออกนำไม้มาคนให้เศษผักที่อยู่ด้านบนให้ไปอยู่ด้านล่างของถังหลังจากนั้นปิดฝาให้สนิทและทิ้งไว้อีก  2  เดือนและหลังจาก  2  เดือนแล้วเปิดฝาถังจะเห็นราสีขาวขึ้นมาข้างบนของน้ำหมัก  และมีกลิ่นของการหมัก  สามารถนำน้ำหมักมาใช้ได้โดยการกรองเอาแต่น้ำ   และเศษผักที่เหลือสามารถนำไปหมักต่อได้ ส่วนน้ำหมักนำมาผสมกับน้ำโดยมีอัตราส่วนน้ำหมัก  1  ลิตร ต่อน้ำ   10  ลิตร และใช้ฉีดหรือรดพืชผักสัปดาห์ละ  2  ครั้ง

บทที่ 4

ผลการทดลอง

               จากการทดลองเรื่องน้ำหมักชีวภาพสูตรสะเดาไล่แมลงทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจประสิทธิภาพของน้ำหมักจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะเห็นได้ดังนี้

ชนิดของปุ๋ย

ค่าPH

การกัดเจาะของแมลง

ก่อนใช้

หลังใช้

ก่อนใช้

หลังใช้

ปุ๋ยชีวภาพ

7.03

7.02

มีแมลงมาเจาะ

ไม่มี

ปุ๋ยเคมี

7.03

5.01

มีแมลงมาเจาะ

ไม่มี

               จากการทดลองสรุปได้ว่าการที่เราใช้ปุ๋ยเคมีในการไล่แมลงสามารถไล่แมลงให้กับพืชผลทางการเกษตรได้ก็จริงแต่เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยหมักชีวภาพแล้วประสิทธิภาพของดินก็จะแตกต่างกันเช่นถ้าเราใช้ปุ๋ยเคมีในการไล่แมลงค่า PH ของดินจะมีความเป็นกรด ถ้าเราใช้ปุ๋ยชีวภาพค่า PH ของดินจะมีความเป็นกลาง ดังนั้นเราก็ควรที่จะใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพเพราะประสิทธิภาพการไล่แมลงเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมีแล้วก็มีค่าเท่ากันแต่ประสิทธิภาพของค่า PH จะแตกต่างกันอย่างมาก

บทที่ 5

สรุปผลการทดลอง

 จากการทดลองทำน้ำหมักชีวภาพสูตรสะเดาไล่แมลงโดยใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร โดยใช้สะเดา  และเศษผัก มาทำปุ๋ยหมักชีวภาพซึ่งมีส่วนผสมดังนี้

 ส่วนผสมทำน้ำหมักชีวภาพสูตรสะเดาไล่แมลง

1. เศษผัก  1  ถัง

2.ใบสะเดา    ½   ถัง

3.กากน้ำตาล     1  ขวด

4.จุลินทรีย์    1    ขวด

5.น้ำสะอาด  20  ลิตร

              จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการที่เราใช้ปุ๋ยเคมีในการไล่แมลงสามารถไล่แมลงให้กับพืชผลทางการเกษตรได้ก็จริงแต่เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยหมักชีวภาพแล้วประสิทธิภาพของดินก็จะแตกต่างกันเช่นถ้าเราใช้ปุ๋ยเคมีในการไล่แมลงค่า PH ของดินจะมีความเป็นกรด ถ้าเราใช้ปุ๋ยชีวภาพค่า PH ของดินจะมีความเป็นกลาง ดังนั้นเราก็ควรที่จะใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพเพราะประสิทธิภาพการไล่แมลงเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมีแล้วก็มีค่าเท่ากันแต่ประสิทธิภาพของค่า PHของดินจะแตกต่างกันอย่างมากและเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ