องค์กรทางพระพุทธศาสนาหรือพุทธสมาคมในประเทศฝรั่งเศสและประเทศรัสเซีย เช่น

                ภายหลังจากการประชุมศาสนาและสันติภาพของโลก ที่นครไนโรบีเมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ.2527 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเคนยาเริ่มมีรูปแบบมากขึ้น เมื่อมีความพยายามที่จะก่อตั้งชมรมชาวพุทธในเคนยาขึ้นมาและมีการนิมนต์พระสงฆ์จากญี่ปุ่น จีน ไทยเพื่อให้เดินทางเข้ามาเผยแผ่หลักธรรมในประเทศนี้แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ  และไม่ประสบความสำเร็จคืบหน้ามากนัก เนื่องจากสถานภาพในประเทศเคนยาก็มีปัญหาทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ  รวมทั้งชนพื้นเมืองบางกลุ่มมีความไม่เป็นมิตรนักสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาแตกต่างไปจากตน  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนี้จึงค่อนข้างมีปัญหามาก ปัจจุบันในประเทศเคนยามีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวอินเดียและศรีลังกา นอกจากนั้นก็มีชาวพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งจำนวนไม่มากนัก

พระพุทธศานาเริ่มเสื่อมอิทธิพลในประเทศอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7  และหายไปหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิปาละในช่วงศตวรรษที่ 12  ยกเว้นทางตอนเหนือของหิมาลัยที่ยังคงมีการนับถือพระพุทธศาสนาอยู่   ในช่วงปลายศัตวรรษที่ 19 พระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง เมื่อผู้นำพุทธศาสนาชาวศรีลังกา นามว่า อนาคาริก ธรรมปาละ ผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ ด้วยความช่วยเหลือจากบันฑิตชาวสหราชอาณาจักร  จุดประสงค์หลักของพวกเขาคือ การฟื้นฟูสถานที่แสวงบุญทางพุทธศานาในอินเดีย และพวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการสร้างวัดตามพุทธสถานต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพระสงฆ์พำนักอยู่ทั้งสิ้น

ในทศวรรษ 1950  เอ็มเบ็ดการ์ได้เริ่มขบวนการพุทธใหม่ (neo-Buddhist movement) ในกลุ่มวรรณะที่จับต้องไม่ได้  ทำให้ผู้คนหลายร้อยพันคนหันมานับถือศาสนาพุทธ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านชนชั้นวรรณะ   ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พุทธศาสนาได้รับความสนใจมากขึ้นในหมู่ชนชั้นกลางในสังคมเมือง  ในปัจจุบันประชากรอินเดียทั้งหมดนับถือพระพุทธศาสนาประมาณ 2%

ศรีลังกา

ประเทศศรีลังกาเป็นศุนย์กลางการเรียนพุทธศาสนาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 3 ของยุคก่อนสากลสมัย  เมื่อพระมหินทเถระ พระโอรสในพระเจ้าอโศกมหาราช นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในประเทศ   ประเทศศรีลังกามีประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาที่ยาวนานที่สุด   มีการเสื่อมคลายเป็นเวลานานในช่วงสงครามและตั้งแต่ศตตวรรษที่ 16 เป็นต้นไป เมื่อเกาะศรีลังกาตกเป็นอาณานิคมและมิชชันนารีชาวยุโรปชักนำให้ประชาชนเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน

พระพุทธศานาได้รับการฟื้นฟูครั้งใหญ่ในช่วงปีศตวรรษที่ 19 ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิชาการและนักเทวปรัชญาชาวสหราชอาณาจักร  ดังนั้นในบางครั้งพุทธศาสนาในศรีลังกาจึงได้รับการกล่าวว่าเป็น “ศาสนาพุทธแบบโปรเตสแตนท์”  โดยเน้นเรื่องการศึกษาพระธรรมและกิจกรรมอภิบาลของสงฆ์และการฝึกสมาธิสำหรับอุบาสก อุบาสิกา  ประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชในปี 1948 และตั้งแต่นั้นมาพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมชาวพุทธก็ได้รับการฟื้นฟูและใส่ใจมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในปัจจุบัน 70% ของประชากรศรีลังกานับถือศาสนาพุทธ โดยส่วนใหญ่ปฏิบัติตามธรรมเนียมของนิกายเถรวาท  หลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวนานเป็นระยะเวลา 30 ปี  ศรีลังกามีความเป็นชาตินิยมทางพุทธศาสนามากขึ้น โดยมีองค์กรอย่าง Bodu Bala Sena (กองกำลังชาวพุทธ) จัดการประท้วงต่อต้านชาวมุสลิมและโจมตีผู้นำทางศาสนาพุทธที่ปานกลาง

เมียนมาร์ (พม่า)

จากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เผยว่า พระพุทธศาสนาในประเทศพม่านั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว โดยมี 85% ของประชากรในปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธ   การปฏิบัติในหมู่สงฆ์นั้นให้ความสำคัญกับการนั่งสมาธิและการศึกษาพระธรรมอย่างสมดุล  ส่วนอุบาสก อุบาสิกาก็มีศรัทธาอันแรงกล้าในพุทธศานาเสมอมา  ชาวพม่าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งคือ อาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า ผู้สอนวิธีการปฏิบัติวิปัสสนา

เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี 1948  ทั้งรัฐบาลประชาชนและทหารได้ทำการสนับสนุนพุทธศาสนานิกายเถรวาท   ภายใต้การปกครองของทหาร พุทธศาสนาได้รับการควบคุมอย่างเคร่งครัด และสถานปฏิบัติธรรมที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาลมักโดนทำลายอยู่เป็นนิจ  เหล่าพระสงฆ์นำขบวนประท้วงการปกครองของทหารอยู่หลายครั้ง เช่น การก่อการกำเริบ 8888 และการปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ในปี 2007

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มีกลุ่มชาตินิยมหลายกลุ่มเกิดขึ้นและพวกเขาพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเพื่อต่อต้านศาสนาอิสลาม  อะชีน วีระตู ผู้นำพระสงฆ์ของกลุ่ม 969 ตั้งฉายาให้ตัวเองว่า “บินลาเด็นแห่งพม่า” และเสนอการต่อต้านร้านค้าของชาวมุสลิม   การกล่าวอ้างถึง “การปกป้องพระพุทธศาสนา” นำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงกับมัสยิดและบ้านของชาวมุสลิม  ซึ่งชาวมุสลิมก็ตอบโต้ ทำให้เกิดการปะทะกันที่รุนแรงยิ่งขึ้น

บังกลาเทศ

ประเทศบังกลาเทศเป็นศูนย์กลางความศรัทธาจนกระทั่งช่วงศตวรรษที่ 11   ในปัจจุบันมีประชากรน้อยกว่า 1% ที่นับถือศาสนาพุทธ และกระจุกอยู่ในบริเวณเนินเขาจิตตะกอง ใกล้กับประเทศพม่า

มีวัดทางพุทธอยู่สี่แห่งในเมืองธากา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ  และมีวัดอีกหลายแห่งในหมู่บ้านทางตะวันออก ขาดการติดต่อกับพม่า  อย่างไรก็ตามการปฏิบัติและความเข้าใจในพระพุทธศาสนาของประเทศนั้นค่อนข้างต่ำ

ประเทศไทย

พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในอาณาจักรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 5 ของยุคก่อนสากลสมัย   พุทธนิกายเถรวาทในไทยได้รับอิทธิพลจากศาสนาพื้นบ้าน ศาสนาฮินดู และพุทธนิกายมหายาน  ต่างจากประเทศศรีลังกาและพม่า พระพุทธศาสนาในไทยไม่เคยมีธรรมเนียมการบวชให้ผู้หญิง   ในปัจจุบันประชากร 95% นับถือศาสนาพุทธ

คณะสงฆ์ในประเทศไทยถอดแบบมาจากสถาบันกษัตริย์ของไทย จึงมีสมเด็จพระสังฆราชและมหาเถรสมาคมเป็นผู้มีหน้าที่รักษาความบริสุทธิ์ของธรรมเนียมปฏิบัติ  นอกจากนี้ยังมีคณะสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในป่าและหมู่บ้านต่าง ๆ ด้วย ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนชาวพุทธทั้งหลาย

พระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติธรรมในป่าจะอาศัยอยู่ในป่าปลีกวิเวก ฝึกสมาธิอย่างจริงจัง และปฏิบัติตาม

ปาติโมกข์ของสงค์อย่างเคร่งครัด  พระสงฆ์ตามหมู่บ้านมักจดจำบทสวดและปฏิบัติพิธีต่าง ๆ ให้ผู้คนในพื้นที่  นอกจากนี้พระสงฆ์เหล่านี้จึงมักทำพิธีปลุกเสกเครื่องลางของขลังสำหรับผู้มีจิตศรัทธาด้วย ซึ่งเกิดจากความเชื่อเรื่องวิญญาณของคนไทย  ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยสำหรับสงฆ์ ซึ่งเน้นการศึกษาการแปลคัมภีร์พุทธศาสนาจากภาษาบาลีดั้งเดิมเป็นภาษาไทย

ลาว

พระพุทธศาสนาเดินทางมาถึงลาวครั้งแรกในศตวรรษที่ 7 ของยุคสากลสมัย และในปัจจุบัน 90% ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ พร้อมกับความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา  ในช่วงการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ทางการไม่ได้ระงับสิทธิการนับถือศาสนา แต่ใช้ความเชื่อทางสงฆ์เป็นเครื่องมือในการต่อยอดทางการเมืองของตน  เมื่อเวลาผ่านไปพระพุทธศาสนาก็ถูกปราบปรามเป็นอย่างมาก  ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 พระพุทธศาสนาได้รับการบูรณะฟื้นฟูเป็นอย่างมาก ทำให้ตอนนี้ชาวลาวมีจิตศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า และผู้ชายส่วนใหญ่จะเข้ารับการบวช ถึงแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม  ครอบครัวส่วนใหญ่ตักบาตรและไปวัดในวันเดือนเพ็ญอยู่เสมอ

กัมพูชา

พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 โดยมีประชากร 95% เป็นพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน  ในช่วงทศวรรษที่ 1970 กลุ่มเขมรแดงพยายามทำลายพุทธศาสนาและก็เกือบทำได้สำเร็จ  พอถึงปี 1979 พระสงฆ์เกือบทุกรูปโดนฆ่าตาย หรือโดนขับไล่ออกจากประเทศ  ส่วนวัดวาอารามและหอสมุดทุกแห่งก็โดนทำลายเช่นกัน

หลังจากการคืนอำนาจให้เจ้าชายสีหนุได้ขึ้นเป็นกษัตริย์  ข้อจำกัดต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ ผ่อนปรนลง และความสนใจในพระพุทธศาสนาก็ฟื้นตัวขึ้น  นอกจากนี้ชาวกัมพูชายังมีความเชื่อเรื่องการพยากรณ์โชคชะตา โหราศาสตร์ และโลกแห่งวิญญาณเป็นอย่างมาก ซึ่งพระสงฆ์มักทำหน้าที่เป็นผู้รักษาโรค และเข้าร่วมพิธีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การตั้งชื่อให้เด็ก ไปจนถึงงานแต่งงานและงานศพ

เวียดนาม

พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาในเวียดนามเมื่อ 2,000 ปีก่อน  ตอนแรกมาจากประเทศอินเดีย และจากนั้นก็มาจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่  อย่างไรก็ตามพระพุทธศาสนาเริ่มไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นปกครองในศตวรรษที่ 15    พุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในต้นศตวรรษที่ 20  แต่ในช่วงการปกครองแบบสาธารณรัฐ นโยบายสนับสนุนนิกายแคทธอลิคก็เป็นปรปักษ์ต่อพุทธศาสนิกชน  ในปัจจุบันมีประชากรเพียง 16% ที่นับถือศาสนาพุทธ  แต่ศาสนาพุทธก็ยังคงถือเป็นศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอยู่ดี

ตอนนี้รัฐบาลมีการผ่อนคลายเกี่ยวกับศาสนาพุทธมากขึ้น แต่ก็ยังไม่อนุญาตให้วัดทำงานเป็นเอกเทศจากรัฐ

อินโดนีเซียและมาเลเซีย

พระพุทธศาสนาเผยแพร่มาถึงบริเวณดังกล่าวประมาณช่วงศตวรรษที่ 2 ของยุคสากลสมัย  โดยมาทางเส้นทางการซื้อขายกับชาวอินเดีย  ตามประวัติความเป็นมาส่วนใหญ่ พระพุทธศาสนาได้รับการปฏิบัติเคียงคู่ไปกับศาสนาฮินดูจนถึงศัตวรรษที่ 15  เมื่ออาณาจักรพุทธ-ฮินดูสุดท้ายนามว่า มัชปาหิต ล่มสลาย  พอถึงต้นปีศตวรรษที่ 17 ศาสนาอิสลามก็เข้าแทนที่ศาสนาทั้งสองนี้อย่างสมบูรณ์

จากนโยบายปัญศีลของรัฐบาลอินโดนีเซีย ศาสนาที่เป็นทางการจำเป็นต้องแสดงความเชื่อในพระเจ้า  ศาสนาพุทธไม่ได้มีความเชื่อในพระเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสนาทางการ เพราะความเชื่อใน Adibuddha หรือ “พระพุทธเจ้าองค์แรก” ตามที่มีการกล่าวถึงในกาลจักรตันตระ ซึ่งเฟื่องฟูในประเทศอินเดียเมื่อพันปีก่อน   Adibuddha เป็นผู้รู้แจ้งที่สร้างทุกสรรพสิ่ง อยู่เหนือกาลเวลาและข้อจำกัดใด ๆ  ถึงแม้ว่าผู้นี้จะถูกกล่าวถึงในฐานะบุคคลเชิงสัญลักษณ์  แต่ก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู่   Adibuddha สามารถพบได้ทุกสรรพสิ่งในฐานะแสงสว่างแห่งธรรมชาติของจิตใจ  ในปัจจุบันศาสนาพุทธได้รับการยอมรับให้อยู่ท่ามกลางศาสนาอื่น ๆ อย่างศาสนาอิสลาม ฮินดู ลัทธิขงจื๊อ และศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิคและโปรเตสแตนท์

พระสงฆ์ชาวศรีลังกาได้พยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในบาหลีและส่วนอื่น ๆ ของอินโดนีเซีย แต่ก็กระทำได้ในวงที่แคบมาก  ผู้ที่ให้ความสนใจกับศาสนาพุทธในบาหลีเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักบาหลีดั้งเดิมผสมกับศาสนาฮินดู  ศาสนาพุทธ และการนับถือผีสางเทวดาแบบพื้นบ้าน   ส่วนบริเวณอื่นของอินโดนีเซีย พุทธศาสนิกชนนับเป็น 5% ของประชากร ซึ่งมักเป็นชาวอินโดนีเซียที่อยู่ในชุมชนชาวจีน  นอกจากนี้ยังมีชาวอินโดนีเซียกลุ่มเล็กมากที่นับถือพุทธศาสนานิกายผสมผสานหลักปฏิบัติของพุทธแบบเถรวาท จีน และทิเบต

20% ของประชากรมาเลเซียนับถือพุทธศาสนา ซึ่งกลุ่มนี้มักประกอบไปด้วยชุมชนเชื้อสายจีน  เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้วความสนใจในพระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมคลายลง   ในปี 1961 จึงมีการก่อตั้ง Buddhist Missionary Society ขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่พุทธศาสนา   ในช่วงสิบปีที่ผ่านมามีการนำหลักของพุทธศาสนาไปปฏิบัติมากขึ้น รวมถึงในกลุ่มเยาวชนด้วย  ตอนนี้มีศูนย์นิกายเถรวาท มหายาน และวชิรยานมากมายหลายแห่ง ซึ่งได้รับทุนและการสนับสนุนเป็นอย่างดี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ