อยู่ห้องพิเศษเบิกประกันสังคมได้ไหม

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล เจ็บป่วยโรคไหน ใครใช้ได้บ้าง?

ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ หรือเป็นผู้ประกันตนเอง รู้หรือไม่ว่าเงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่จ่ายไปในแต่ละเดือนนั้น ให้สิทธิประโยชน์ทดแทนในด้านไหนบ้าง โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ทั้งในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หรือเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และยังมีโรคอะไรที่เข้าข่ายได้รับการรักษาอีกบ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลที่นำมาฝากกันนี้ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดใช้สิทธิของตัวเอง

สิทธิประกันสังคม ตรวจรักษาอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ครอบคลุมการเจ็บป่วยปกติ เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ทันตกรรม บําบัดทดแทนไต ปลูกถ่ายไขกระดูก เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค ติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ คลอดบุตร รักษาโรคจากการทำงานหรือออฟฟิศซินโดรม และตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เจ็บป่วยปกติ

เจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ยกเว้น 14 โรคตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เช่น เสริมสวย รักษาการมีบุตรยาก ผสมเทียม แว่นตา ใช้สารเสพติด เปลี่ยนเพศ หรือฆ่าตัวตาย จะไม่สามารถใช้สิทธิได้

เจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ

กรณีที่เข้าข่ายการเจ็บป่วยฉุกเฉินจะมี 6 อาการด้วยกัน ได้แก่
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  • หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง
  • ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  • มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

     แบ่งการรักษาออกเป็น 2 กลุ่ม
  • โรงพยาบาลรัฐบาล เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น เบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลา 72 ชั่วโมง ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกิน 700 บาท/วัน
  • โรงพยาบาลเอกชน กรณีผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง กรณีผู้ป่วยใน ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกิน 700 บาท/วัน 

โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้ 

     กรณีอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • ค่าห้อง (ICU) เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,500 บาท/วัน
  • ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง 8,000-16,00 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงที่ได้รับการผ่าตัดกรณีฉุกเฉิน เบิกได้ไม่เกิน 4 ครั้ง/ปี (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง) กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • ค่าทำ CT Scan เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าทำ MRI เบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง
  • ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายาและอุปกรณ์ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาท/ครั้ง

ทันตกรรม

  • ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด 900 บาท/ครั้ง/ปี
  • ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
  • ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
โดยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล สำรองจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานไปเบิกขอเงินคืนได้

บําบัดทดแทนไต (โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย)

  • ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1,500 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 4,500 บาท/สัปดาห์
  • เตรียมเส้นเลือดสำหรับฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
  • ตรวจรักษาและน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน
  • วางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท/2 ปี
  • ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ก่อน-ระหว่าง-หลัง การปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

ปลูกถ่ายไขกระดูก

  • ค่าบริการทางการแพทย์ นับแต่วันที่เริ่มต้นเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อทำการปลูกถ่ายไขกระดูก จนถึงวันที่ได้รับการไขกระดูก (stem cell) เหมาจ่าย 500,000 บาท
  • ค่าบริการทางการแพทย์นับตั้งแต่วันที่ได้รับไขกระดูก (stem cell) จนถึงวันที่ออกจากโรงพยาบาล เหมาจ่าย 250,000 บาท

เปลี่ยนอวัยวะกระจกตา

  • ค่าบริการทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล เหมาจ่าย 35,000 บาท
  • ค่าจัดเก็บและรักษาคุณภาพดวงตาแก่สภากาชาดไทย 15,000 บาท/ดวงตา

อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค

เบิกได้ตามรายการประกาศที่สำนักงานประกันสังคมกําหนด เช่น กะโหลกศีรษะเทียม กระดูกหูเทียม เท้าเทียม แขนเทียม ไม้ค้ำยัน รถนั่งคนพิการ ฯลฯ

ติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์

  • ค่าตรวจ CD4 เหมาจ่ายครั้งละ 500 บาท ปีละไม่เกิน 1,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Viral Load เหมาจ่ายครั้งละ 2,500 บาท ปีละไม่เกิน 5,000 บาท/คน
  • ค่าตรวจ Drug resistance ครั้งละ 8,500 บาท/คน/ปี
  • ค่ายาต้านไวรัสเอชไอวี ในผู้ติดเชื้อทุกรายในทุกระดับ CD4 สูตรยาต้านไวรัส ให้เป็นไปตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

    คลอดบุตร

    • เหมาจ่าย 13,000 บาท/การคลอดบุตร 1 ครั้ง
    • ใช้สิทธิได้ 2 คน
    • รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตรา 50% ของเงินเดือน (ฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 90 วัน

    ค่าคลอดเหมาจ่าย 13,000 บาท จะรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ฝากครรภ์ การคลอด การดูแลหลังคลอดและการบริบาลทารกปกติ สามารถเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ แต่ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

    รักษาโรคจากการทำงาน/ออฟฟิศซินโดรม

    มีอาการป่วย เช่น อาการปวดหลัง บ่า ไหล่ ข้อมือ ปวดต้นคอ ปวดหัว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนัก สามารถขอใช้สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาลได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษา


    ในกรณีที่รับการรักษาที่นอกเหนือจากคำสั่งของแพทย์ เช่น การฝังเข็ม หรือครอบแก้ว หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่จำเป็น ผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ตามอัตราค่ารักษาจริง

    ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

    หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือจังหวัดที่มีการควบคุมในระดับสูงสุด สามารถขอตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ฟรี โดยประกันสังคมจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังนี้

    • ค่าบริการทางการแพทย์ซึ่งเป็นค่าตรวจคัดกรองเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคนิค Real Time PCR ประกันสังคมจะจ่ายให้ 1,600 บาท ตามระเบียบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
    • ค่ารักษาพยาบาลจนเสร็จสิ้นกระบวนการจนกระทั่งรักษาหายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
    • ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางห้องแล็บในอัตราที่จ่ายจริงในราคาแบบเหมาจ่ายในอัตราครั้งละไม่เกิน 600 บาท

    สิทธิการรักษาตามมาตรา

    สิทธิการรักษาในโรงพยาบาลโดยใช้ประกันสังคม จะต้องเป็นผู้ประกันตนใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ซึ่งนอกจากสิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล ยังได้รับสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต

    มาตรา 33

    ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 คือ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งมีสถานะเป็นลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

    โดยต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% + นายจ้าง 5% + รัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง ขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

    • เจ็บป่วย
    • คลอดบุตร 
    • สงเคราะห์บุตร 
    • ทุพพลภาพ 
    • ชราภาพ 
    • เสียชีวิต 
    • ว่างงาน

    มาตรา 39

    ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน

    การสมัครประกันสังคมในกลุ่มนี้ มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
    • เจ็บป่วย
    • คลอดบุตร
    • สงเคราะห์บุตร
    • ทุพพลภาพ
    • ชราภาพ
    • เสียชีวิต

    มาตรา 40

    ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 นี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 
    โดยผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิประโยชน์ให้เลือก 3 ทางเลือก ได้แก่  


    ทางเลือก 1 จ่าย 100 บาท ต่อเดือน  
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
    • เจ็บป่วย 
    • ทุพพลภาพ 
    • เสียชีวิต
    ทางเลือก 2 จ่าย 150 บาท ต่อเดือน  
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ  
    • เจ็บป่วย
    • ทุพพลภาพ 
    • เสียชีวิต 
    • ชราภาพ
    ทางเลือก 3 จ่าย 300 บาท ต่อเดือน  
    สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ 
    • เจ็บป่วย 
    • ทุพพลภาพ 
    • เสียชีวิต
    • ชราภาพ
    • สงเคราะห์บุตร

    ขั้นตอนการเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง

    การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมด้วยตัวเอง สามารถทำได้ 3 ช่องทาง ตามขั้นตอน ดังนี้
    สำนักงานประกันสังคม
    • ดาวน์โหลดแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ (สปส.9-02) คลิกดาวน์โหลด
    • จากนั้นกรอกข้อมูลต่าง ๆ แล้วนำไปยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ
    • ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม จะใช้แบบฟอร์ม สปส.9-02 และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

    เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

    • เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อย
    • เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว ทำการ Login เข้าเว็บไซต์ แล้วคลิกที่ “ผู้ประกันตน”
    • ทำการคลิกที่ “ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล”
    • เลือกเหตุผลการเปลี่ยนสิทธิ “เปลี่ยนประจำปี” หลังจากนั้นคลิกที่ “เลือกสถานพยาบาลใหม่”
    • จากนั้นทำการเลือกสถานพยาบาลใหม่
    • เมื่อเลือกโรงพยาบาลได้แล้ว ติ๊กยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง แล้วกด “บันทึก” เป็นอันเรียบร้อย

              แอปพลิเคชัน SSO Connect

              • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect ของสำนักงานประกันสังคม
              • iOS : คลิกดาวน์โหลด Android : คลิกดาวน์โหลด
              • จากนั้นลงชื่อเข้าสู่ระบบ (ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนให้ลงทะเบียนก่อน)
              • เลือก “เปลี่ยนโรงพยาบาล”
              • กรอกข้อมูล และเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการเปลี่ยน
              • อ่านหลักเกณฑ์และรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นกด “ยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลง” และ “ยืนยัน”

              เปลี่ยนสิทธิประกันสังคมได้เมื่อไหร่

              การเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาล สามารถเปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี แต่สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม เป็นต้นไป
              ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ทำงานประจำ หรือพิสูจน์ทราบว่าผู้ประกันตนไม่ได้มีการเลือกสถานพยาบาลด้วยตนเอง สามารถยื่นเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ภายใน 30 วันนับจากวันที่เกิดเหตุ

              เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมอย่างไร ที่ไหนดี

              • คำนึงถึงความสะดวกในการเดินทาง เลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน หรือใกล้ที่พักอาศัย เพื่อจะได้เดินทางสะดวก ไม่เสียเวลา
              • หากมีโรคประจำตัว ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางตามโรคที่เป็น หรือโรงพยาบาลที่สามารถส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้น
              • เลือกโรงพยาบาลที่มีสถานพยาบาลเครือข่ายที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถเดินทางไปรักษาได้สะดวก และยิ่งถ้าโรงพยาบาลนั้นมีเครือข่ายจำนวนมาก ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นมีทางเลือกมากขึ้น
              โรงพยาบาลพีเอ็มจี ให้บริการผู้ใช้สิทธิประกันสังคม อย่างมีมาตรฐาน ให้การบริการอย่างรวดเร็ว มีบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ พร้อมให้บริการ

              สิทธิพิเศษสำหรับ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลพีเอ็มจีนั้น สามารถใช้บริการโรงพยาบาลหรือคลินิกในเครือข่ายได้ถึง 11 แห่งดังนี้
              • โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ 02-0891111
              • โรงพยาบาลพีเอ็มจี บางขุนเทียน 02-4772290-3
              • พีเอ็มจีบางขุนเทียน 2 คลินิกเวชกรรม 02-8943713-4
              • สหคลินิก พีเอ็มจีบางขุนเทียน 5 02-4503650-1
              • พีเอ็มจีเทียนทะเล คลินิกเวชกรรม 02-8920145
              • พีเอ็มจีเพชรทองคำ คลินิกเวชกรรม 02-4521407
              • ภัทรคลินิกเวชกรรม 02-7185556
              • คลินิกเวชกรรมมหาชนพระประแดง 02-4631579
              • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (โพธิ์แจ้) 034-115377
              • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (วัดพันท้าย) 034-115071
              • มิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม (เศรษฐกิจ 1) 034-115395

              โดยเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 24:00 น.

              สรุป

              สิทธิประกันสังคมที่ใช้ได้ในโรงพยาบาล สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านสุขภาพ รักษาอาการเจ็บป่วย คลอดบุตร และยังครอบคลุมด้านอื่น ๆ เช่น ว่างงาน สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต
              สำหรับผู้ที่เป็นผู้ประกันตนและอยากเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมที่ใช้ในโรงพยาบาลปัจจุบัน สามารถทำได้ 3 ช่องทาง คือ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม และแอปพลิเคชัน SSO Connect ในช่วงวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคมของทุกปี โดยควรเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่ทำงาน ใกล้บ้าน และมีศักยภาพสูงในการให้บริการทางการแพทย์

              ประกันสังคมจ่ายค่าห้องพักเท่าไร

              - กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลจะจ่ายให้วันละไม่เกิน 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท แต่ถ้าเจ็บหนักต้องนอนในห้องไอซียูจ่ายให้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท พร้อมการเบิกรายการค่ารักษาอื่น ๆ ได้ตามรายการที่สํานักงานประกันสังคมประกาศกําหนด เช่น ทํา CT Scan เบิกได้ 4,000 บาท ทํา MRI เบิกได้ 8,000 บาท เป็นต้น

              ประกันสังคมรวมค่าห้องไหม

              ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท ค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าอาหาร ในกรณีรักษาในห้อง ICU. ค่ารักษาอื่นๆ ที่ทางประกันสังคมออกให้

              นอนโรงพยาบาลเบิกประกันสังคมได้ไหม

              เบื้องต้นเราสามารถเข้ารักการรักษาในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลในสิทธิประกันสังคมได้ทันที แต่มีเงื่อนไขก็คือ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนได้รับการรักษาตามสิทธิประกันสังคม ซึ่งจะแบ่งค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ ตามกรณีดังนี้

              ผ่าตัดเบิกประกันสังคมได้ไหม

              หากต้องมีการผ่าตัดใหญ่เราสามารถเบิกคืนจากประกันสังคมได้ดังนี้ การรักษาที่ใช้เวลาผ่าตัดไม่เกิน 1 ชั่วโมงสามารถเบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท การรักษาใช้เวลาผ่าตัดเกิน 1 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง สามารถเบิกได้ไม่เกิน 12,000 บาท การรักษาที่ใช้เวลาผ่าตัดเกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไปสามารถเบิกได้ 16,000 บาท

              กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

              Toplist

              โพสต์ล่าสุด

              แท็ก

              แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ