เงินสงเคราะห์บุตร 2565 ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เงินอุดหนุนบุตร หรือ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด คือโครงการที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก โดยในบทความนี้ Mama’s Choice รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่จะลงทะเบียนนั้นต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? ยื่นเอกสารที่ไหน? และจะได้รับเงินเมื่อไหร่? ตามมาดูกันค่ะ 🙂

 

ลงทะเบียนขอรับ เงินอุดหนุนบุตร ได้เงินกี่บาท?

คุณพ่อคุณแม่จะได้รับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท ต่อคน ต่อเดือน จนกระทั่งเด็กมีอายุครบ 6 ปีค่ะ

 

ใครมีสิทธิขอรับ เงินอุดหนุนบุตร บ้าง? 

ผู้ปกครองในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย (ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี) มีสิทธิรับเงินอุดหนุนบุตร โดยผู้ปกครองและเด็กต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • ผู้ปกครอง ต้องมีสัญชาติไทย และรับอุปการะเด็กแรกเกิดไว้ในความดูแล 
  • เด็กแรกเกิด ต้องเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา จนถึงอายุ 6 ปี
  • ผู้ปกครองและเด็กต้องอาศัยอยู่ด้วยกันนะคะ ถ้าเด็กอาศัยอยู่ในหน่วยงานสงเคราะห์ของรัฐจะไม่สามารถรับเงินอุดหนุนบุตรได้ค่ะ

 

ขอรับ เงินอุดหนุนบุตร ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

  • แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร. 01)
  • แบบรับรองสถานะครัวเรือน (ดร.02)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
  • สูติบัตรเด็กแรกเกิด
  • สมุดบัญชีเงินฝาก (ธ. กรุงไทย ออมสิน หรือ ธกส. เท่านั้น)
  • สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่มีชื่อของคุณแม่)
  • ใบรับรองเงินเดือน หรือ หนังสือรับรองรายได้ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
  • สำเนาเอกสาร บัตรข้าราชการ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรอง 1 และ 2

 

ยื่นเอกสารได้ที่ไหน?

  • กรุงเทพฯ สามารถยื่นได้ที่สำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา สามารถยื่นได้ ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา 
  • ส่วนภูมิภาค สามารถยื่นได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลใกล้เคียง

 

ยื่นเอกสารเสร็จแล้ว เช็กสิทธิที่ไหน?

คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กสิทธิได้ที่แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ”  หรือ เว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน แสกน QR code ด้านล่างได้เลยค่ะ

สำนักงานประกันสังคม แจ้งข่าวถึงผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 รีบเช็กเงื่อนไข สาระสำคัญและสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตน

เกาะติดข่าวสาร >> Nation Online

สำนักงานประกันสังคม ประกาศแจ้งข่าว สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่มีบุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ ยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนรับเงินเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน คราวละไม่เกิน 3 คน หรือ 2,400 บาท

 

มาตรา 33 คือ ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตนลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้างของนายจ้างอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่อไป เป็นกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533

 

กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ และอยู่ระหว่างได้รับสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจำนวน 800 บาท/เดือน จากสำนักงานประกันสังคม แต่ได้ออกจากงาน ต่อมาได้กลับเข้าทำงานใหม่ หรือเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ทำให้ในช่วงของเดือนถัดไปไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี จากกองทุนประกันสังคม เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 3  เตือนภายในระยะเวลา 15 เตือนก่อนเตือนที่รับบริการทางการแพทย์ และเลือกโรงพยาบาลแล้วผู้ประกันตนจะได้รับ “บัตรรับรองสิทธิการรักษา” ซึ่งบัตรจะมีชื่อของผู้ประกันตน และชื่อสถานพยาบาลที่เลือกไว้แต่ไม่มีภาพถ่ายติดจึงต้องใช้ควบคู่กับบัตรประจำตัวประชาชนการเข้ารับการรักษาไม่ว่าจะเป็น

  • ผู้ป่วยนอก ( คือ ป่วยแบบไม่พบแพทย์ฯ ตรวจรักษาจัดยาให้แล้วกับบ้าน )
  • ผู้ป่วยใน ที่ต้องนอนรักษา ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมดในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายค่ารักษา (ยกเว้นขออยู่ห้องพิเศษหรือขอแพทย์พิเศษเอง )

สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกถือเป็น สถานพยาบาลหลัก (MAINCONTRACTOR) ซึ่งสถานพยาบาลหลักนั้นอาจมี สถานพยาบาลเครือข่าย (SUBCONTRACTOR) เช่นโรงพยาบาลเล็ก ๆ หรือคลินิกเพื่ออำนวยความสะตวกให้แก่ผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าไปรักษาพยาบาลได้โดยไม่สียค่าใช้จ่าย

 

เงินสงเคราะห์บุตร

เงินสงเคราะห์บุตร คือ สิทธิประโยชน์จากกองทุนหนึ่งในสำนักงานประกันสังคมเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายให้ผู้ประกันตนซึ่งจะได้รับประโยชน์ทดแทนจากเงินที่ให้ผู้ประกันตนส่งให้ในรูปแบบเงินสมทบ ไม่ว่าจะส่งจากนายจ้าง ลูกจ้าง หรือรัฐบาลตามกฎหมาย

 

สำหรับเงื่อนไขรับสิทธิยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท

 

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  • เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
  • อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน 
  • ผู้ประกันตนพ่อหรือแม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ

 

 

 

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร

 

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
  3. กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
  4. กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
    • สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
    • สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
  5. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
  6. กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
    1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด
    2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
    3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
    4. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
    5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด
    6. ธนาคารทหารไทย จำกัด
    7. ธนาคารธนชาต จำกัด
    8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด
  8. เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

 

 

 

ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน

 

 

 

ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

 

 

สถานที่ยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม

 

 

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร 

 

 

 

  • เมื่อบุตรมอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต 
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

 

 

วิธีขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน ดังนี้

 

 

 

  • หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ ดาวน์โหลดที่นี่
  • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ชุด (ในกรณีต้องการเปลี่ยนธนาคาร)
  • ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา/ที่สะดวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เปิดคำถามที่หลายคนสงสัย!!

 

 

 

เงินสงเคราะห์บุตร คือสิทธิประโยชน์จาก พรบ.ประกันสังคม ที่เก็บจากกองทุนประกันสังคมและที่ประชาชนมีสิทธิได้รับเงินตามที่ตนส่งเงินเข้ากองทุน ส่วนเงินอุดหนุนบุตรนั้นมีไว้ช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ซึ่งเป็นโครงการของรัฐที่มีไว้ช่วยเหลือประชาชน

 

 

 

หมายเหตุ : เงินสงเคราะห์บุตรนี้พ่อแม่บุญธรรมยังมีสิทธิได้รับ ซึ่งปัจจุบันหากผู้ที่มีประกันสังคมและมีเงื่อนไขตรงตามคุณสมบัติของโครงการเงินอุดหนุนบุตรก็สามารถของรับสิทธิ์ได้เช่นกัน

 

 

 

โดยข้อมูล ณ ปัจจุบัน เมื่อปี 2564 ผู้ประกันตนจะได้รับอยู่ที่ เดือนละ 800 บาท เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 เดิมเงินสงเคราะห์บุตรจะอยู่ที่ 400 บาท/เดือนและ ปี2561 เคยปรับขึ้นแล้วเป็นเดือนละ 600 บาท ดังนั้นสำหรับผู้ที่เคยได้รับในช่วงปี 2561 นั้น จะมีการจ่ายเงินย้อนหลังเพิ่มให้เดือนละ 200 บาท ทั้งนี้ รายเก่าและรายใหม่ จะได้รับอยู่ที่ 800 บาท/เดือน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564

 

 

 

หมายเหตุ : ทั้งนี้จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบอย่างต่อเนื่องจึงจะได้รับสิทธิประโยชน์

 

 

 

 

 

 

ผู้ที่ต้องการรับสิทธิ สามารถยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สายด่วน 24 ชั่วโมง โทร 1506 หรือ www.sso.go.th 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ