พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ฉบับที่2

  ขอเชิญร่วมทำแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าถึงข้อมูล ของ สพธอ.


    * ท่านมีความพึงพอใจในช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมาย/คู่มือ/แนวปฏิบัติ ที่ สพธอ. จัดเตรียมไว้ มากน้อยเพียงใด

     พอใจ (เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย)  ไม่พอใจ (เข้าถึงข้อมูลได้ยาก)

div.a {
text-indent: 50px;
}

        ก่อนหน้านี้ ร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560” ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560)

        ทั้งนี้ในมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุว่า ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นหมายความว่าจะบังคับใช้ภายใน 24 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป

        ในสังคมยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ที่คนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงโลกโซเชียลได้ง่าย แต่ก็มีมุมมืดที่ทำให้ผู้ที่ไม่รู้เท่าทัน ตกเป็นเหยื่อการเผยแพร่ข้อมูลและภาพที่เป็นเท็จ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก หรือถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์ บางกรณีเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้น การปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เพื่อเอาผิดผู้ที่คิดกระทำผิด จึงเป็นสิ่งจำเป็น

        พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ได้แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับแรก ที่บังคับใช้มาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยมีเนื้อหาเข้มข้นขึ้น มุ่งหวังปกป้องคุ้มครองสิทธิ์ของประชาชน ไม่ให้ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิด สิ่งที่แตกต่างจากเดิม คือเพิ่มการดูแลความเป็นส่วนตัวให้ประชาชนสามารถปฏิเสธจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสแปม ซึ่งไม่ต้องการรับได้ง่ายขึ้น โดยออกกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งที่ชัดเจน และมีบทลงโทษปรับผู้ส่งสูงสุดถึง 2 แสนบาท แต่ความผิดฐานแพร่ข้อมูลนั้น จะไม่ครอบคลุมถึงคดีการหมิ่นประมาท แต่เป็นการเอาผิดเฉพาะกับการฉ้อโกง ปลอม หรือเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จเท่านั้น และไม่สามารถใช้กฎหมายฉบับนี้ เพียงฉบับเดียวฟ้องร้องได้

        ที่สำคัญการเผยแพร่ภาพตัดต่อ จากเดิมมีความผิดเฉพาะภาพบุคคลที่ยังมีชีวิตเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับนี้ ให้ความคุ้มครองไปถึงภาพผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย โดยเจ้าหน้าที่สามารถยึดและทำลายภาพตัดต่อได้ หากการเผยแพร่ภาพผู้เสียชีวิต ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือได้รับความอับอาย ซึ่งสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติ จะต้องเข้ามารับโทษในประเทศไทยเท่านั้น

        นายปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ เชื่อว่าในระยะแรกประชาชนอาจยังไม่ตระหนักถึงการบังคับใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยประเมินจากพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ของคนไทย คาดว่าคงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจไปอีกระยะหนึ่ง แต่เมื่อมีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้น และถูกลงโทษตามกฏหมายนี้ จะทำให้ประชาชนจดจำ และเข้าใจถึงการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น แต่เชื่อว่าในระยะแรกผู้กระทำผิดอาจได้รับการผ่อนผันจากเจ้าหน้าที่

        ดังนั้นเราลองมาดูสรุปความเปลี่ยนแปลงของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ รวมถึงสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 มีอะไรบ้างไปดูกัน

มาตราที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 11

ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท รัฐมนตรีอาจประกาศกำหนดลักษณะและวิธีการส่ง และลักษณ์และปริมาณของข้อมูล ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดควรามเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย

มาตรา 14

ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

  1. โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา.
  2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน.
  3. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา.
  4. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้.
  5. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้

มาตรา 15

ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 ให้รัฐมนตรีออกประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

มาตรา 26

ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินสองปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้



  • กลับเมนูหลัก

ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีผลบังคับ ใช้เมื่อใด

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๖๐ จะมีผลบังคับใช้วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐

พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2550 ให้ไว้ ณ วันที่ เท่าไร

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. ๒๕๕๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน .. ๒๕๕๐ เป็นปีที่๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ข้อใดเป็นการกระทําผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ 2560

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท 3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่าด้วยเรื่องอะไร

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ