นโยบาย Conservative strategy

การบริหารกิจการให้สำเร็จนั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความสมดุลของเงินทุนหมุนเวียนในอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม โดยสามารถดูหรือคาดคะเนได้จาก การพยากรณ์การตลาด การจัดทำงบการเงินโดยคาดคะเนและการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสม

การบริหารเงินทุนหมุนเวียน การตัดสินใจทางการเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน

2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน

3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการปันผล

แผนกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์จะสามารถช่วยให้เราสามารถคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ที่มีความสำคัญในสายตาผู้บริหารมี 4 ประการคือ

1. การวางแผนกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต

2. การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการ

3. การวางแผนกลยุทธ์เป็นปรัชญา

4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นโครงสร้างของแผน

เงินทุนหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนของธุรกิจ

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ คือ ผลต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. เงินทุนหมุนเวียนถาวร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องการอย่างต่ำที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งการดำเนินงานตามปกติ

2. เงินทุนหมุนเวียนผันแปร คือ มูลค่าของเงินทุนหมุนเวียนที่ธุรกิจต้องรักษาไว้ ซึ่งการดำเนินงานตามฤดูกาลหรือในกรณีพิเศษ

การกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียน

พิจารณาจากการแลกเปลี่ยนชดเชยระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนซึ่งเกี่ยวข้องกันจาก

1. สัดส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร

2. สัดส่วนระหว่างหนี้สินหมุนเวียนและเงินทุนระยะยาวใช้ในการลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน

การกำหนดนโยบายแบ่งเป็น 4 แบบ คือ

1. นโยบาย Matching กำหนดให้ธุรกิจจักหาเงินทุนตามอายุของสินทรัพย์ที่ธุรกิจต้องใช้ นโยบายนี้จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถคาดคะเนการแสเงินสดได้อย่างถูกต้อง

2. นโยบาย Conservative ไม่แบ่งแยกสินทรัพย์หมุนเวียนออกเป็นส่วนและส่วนผันแปร ในนโยบายนี้ฝ่ายบริหารมีนโยบายที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ส่วนผันแปรหลังจากหักเจ้าหนี้การค้าและค่าใช้จ่ายค้างจ่ายด้วยการก่อนหนี้ระยะยาว การจัดหาเงินทุนในลักษณะนี้ ความเสี่ยงในเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ระยะยาวนั้นไม่มี ธุรกิจจะมีความคล่องตัวสูง ลีเงินเหลือใช้ในบางเวลา

3. นโยบาย Aggressive ใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์ส่วนผันแปรและสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรบางส่วน และใช้เงินทุนระยะยาวจัดหา สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรที่เหลือ และสินทรัพย์ถาวร นโยบายนี้สามารถทำกำไรได้สูงสุด เนื่องจากใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น แต่จะมีความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องสูง เกิดจากการที่ธุรกิจต้องจัดหาเงินทุนระยะสั้น ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยไม่แน่นอนอยู่เสมอ หรือเกิดจากความไม่สมดุลของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

4. นโยบาย Balanced ใช้เงินทุนระยะยาวจัดหาสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรตลอดจนสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปบางส่วน และใช้เงินทุนระยะสั้นจัดหาสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนผันแปรส่วนที่เหลือ นโยบายนี้จะทำให้ธุรกิจมีส่วนสำรองเพื่อความปลอดภัย

นโยบายเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ

1. ความสามารถในการคาคะเนจำนวนและระยะเวลาของกระแสเงินสด

2. Cash Vonversion Cycle ธุรกิจจะต้องมีระดับเงินทุนหมุนเวียนสูงเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดสภาพคล่อง

3. ทัศนคติของผู้บริหาร

ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นและระยะยาว

ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น

1. ต้นทุนต่ำกว่า เพราะกิจการจะชำระดอกเบี้ยของทุนเฉพาะช่วงที่นำมาใช้เท่านั้น

2. เกิดความสัมพันธ์กับธนาคารอย่าใกล้ชิด กู้ยืมเฉพาะเวลาที่ต้องการและชำระคืนทันทีเมื่อหมดความต้องการ

ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว

1. ลดความเสี่ยง

2. ให้ความมั่นคง

3. เพิ่มสภาพคล่อง

การวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน

1. การพยากรณ์โดยใช้แนวโน้ม ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผ่านมาทั้งหมดของรายการทางการเงินที่ได้ถูกพยากรณ์ขึ้น ขึ้นอยู่กับแนวโน้มในอดีตและ ความถูกต้องตามฤดูกาล

2. การพยากรณ์โดยใช้อัตราส่วน แสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลทางการเงินสองชนิด แสดงในรูปอัตราส่วน ซึ่งการพยากรณ์รายการทางการเงินแต่ละรายการได้สูตร ดังนี้ Financial Variable = Ratio x base Variable

3. การพยากรณ์โดยใช้กราฟและสถิติ เป็นวิธีการที่ให้ผลค่อนข้างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพิจารณาดูความสัมพันธ์ของรายการทางการเงินสองรายการที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อใช้ในการพยากรณ์

ปัญหาในการพยากรณ์ทางการเงิน

ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะต้องเกิดขึ้นจริงตามที่ไดพยากรณ์ไว้เสมอไป การพยากรณ์ที่ดีและให้ผลค่อนข้างแน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัว รวมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้จัดการทางการเงินจะต้องเลือกใช้วิธีพยากรณ์ที่จะให้ผลออกมาสมเหตุสมผลใกล้เคียงกับความจริงได้

งบประมาณและแผนทางการเงิน

งบประมาณ คือ แผนการที่คาดไว้ว่าจะต้องจ่าย โดยการคิดล่วงหน้าและแสดงออกมาเป็นตัวเลขงบประมาณ อาจแสดงออกมาในรูปของตัวเงิน จำนวนชั่วโมงในการทำงาน จำนวนผลิตภัณฑ์ จำนวนชั่วโมงเครื่องจักร

งบประมาณสัมพันธ์กับหน้าที่หลักในการบริหารธุรกิจทั้ง 5 หน้าที่ คือ

1. การวางแผน คือการกำหนดเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องจัดทำในอนาคตไว้ล่วงหน้า

2. การจัดการองค์การ คือ การระบุให้ชัดว่าหน้าที่ใดเป็นหน้าทีหลัก

3. การมอบอำนาจหน้าที่ คือ การบรรจุพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่ง

4. การอำนวยการ คือ การอำนวยกรในการปฏิบัติงานหน้าที่ในการจัดการองค์การ การมอบหมายอำนาจหน้าที่ และการอำนวยการทั้งสามหน้าที่นี้

5. การควบคุม คือ การจัดทำรายงานการปฏิบัติงานขององค์การ

ชนิดของงบประมาณ

ชนิดของงบประมาณ แบ่งตามชนิดของการวางแผนได้เป็น 2 ชนิด คือ งบประมาณระยะสั้นแลพระยะยาว งบประมาณระยะสั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. งบประมาณดำเนินการ เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในหน่วยงานทุกแผนก

2. งบประมาณการเงิน ข้อมูลที่อยู่ในงบประมาณดำเนินการสามารถนำมาคำนวณเป็นตัวเลขได้

งบประมาณขาย เกิดจากการที่แผนกขายประมาณปริมาณการขายในหน่วยงานของตน มักจะทำในระยะสั้นและระยะยาว

งบประมาณสินค้าคงเหลือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดปริมาณที่จะทำการผลิตหรือปริมาณสินค้าคงเหลือ กิจการจะต้องมีสินค้าคงเหลือเผื่อไว้สำหรับกรณีที่ต้องการสอนมากกว่าปกติ

งบประมาณการซื้อ ต้องอาศัยงบประมาณของคงคลัง เพื่อทราบจำนวนของคงเหลือทั้งต้นและปลายงวด ละงบประมาณวัตถุดิบเพื่อทราบปริมาณที่ต้องใช้ในแต่ละงวด

งบประมาณการผลิต ต้องอาศัยข้อมูลต่างๆประกอบ ดังนี้

- ปริมาณสินค้าจะขาย

- ปริมาณสินค้าคงเหลือ

- นโยบายสินค้าคงเหลือ

- สมรรถภาพของโรงงานและปัจจัยการผลิตอื่นๆ

- นโยบายการผลิต

- นโยบายการผลิตคงที่

- นโยบายการผลิตผันแปรตามยอดขาย

- นโยบายการผลิตผันแปรตามความเหมาะสม

การจัดทำงบประมาณการผลิต เป็นการวางแผนล่วงหน้าทำให้ประหยัดต้นทุนการผลิตลงได้

งบประมาณวัตถุดิบ ต้องอาศัยงบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยที่ต้องผลิต

งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบต้นทุนสินค้าโดยประมาณ และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

งบประมาณเงินสด เป็นการประมาณจำนวนเงินสดรับและเงินสดจ่ายของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

งบประมาณค่าแรงโดยตรง ค่าแรงที่ทำการผลิตสินค้าโดยตรงเท่านั้น การทำงบประมาณค่าแรงโดยตรงจึงต้องการข้อมูล

1.งบประมาณการผลิต เพื่อทราบหน่วยของสินค้าที่ต้องการผลิตในงวด

2. อัตราค่าแรงที่ต้องจ่าย มี 2 ประเภท คอ อัตราค่าแรงต่อสินค้าหนึ่งหน่วยและอัตราค่าแรงต่อชั่วโมง

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตสินค้ามักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ และค่าใช้จ่ายผันแปร ซึ่งผันแปรไปตามปริมาณของสินค้าที่ผลิต

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแผนกงานนั้นๆ ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประมาณค่าใช้จ่ายนี้ คือ หัวหน้างานฝ่ายขายและฝ่ายบริหารทั่วไป

งบกำไรขาดทุนโดยประมาณ นำข้อมูลจากงบประมาณขายหักด้วยงบประมาณต้นทุนสินค้าโดยประมาณ งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ

งบประมาณรายจ่ายลงทุน เป็นการประมาณการลงทุนของกิจการในระยะยาว ซึ่งการประมาณนี้มักจะทำควบคู่กับการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ การลงทุนในรายจ่ายประเภทนี้ผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา

การวิเคราะห์ทางการเงิน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางการเงินที่นิยมใช้กันแพร่หลาย อาจแบ่งได้เป็น

1. อัตราส่วนสภาพคล่อง

2. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร

3. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการก่อหนี้

4. อัตราส่วนต่อการประเมินผลของกิจการโดยส่วนรวม

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มีเครื่องมือ เช่น วิเคราะห์จุดคุ้มทุนของกิจการ การประมาณการงบการเงิน

นโยบายการบริหารเงินทุนหมุนเวียน แบบ conservative Policy ตรงกับ ข้อใด

Conservative CA Financing Approach. เป็นนโยบายในการจัดหาเงินทุนที่ไม่ชอบเสี่ยง จึงมักใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว มากกว่าความต้องการใช้ในการลงทุนระยะยาว Moderate หรือ Maturity Matching หรือ Self-Liquidating Approach. เป็นนโยบายที่ยึดหลักว่า ให้ใช้แหล่งเงินทุนที่มีระยะเวลาสอดคล้องกันกับความ ต้องการใช้เงินทุนเพื่อการลงทุนนั้น

นโยบาย Aggressive Policy คืออะไร

2. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน; นโยบายการจัดหาเงินทุนแบบเชิงรุก (Aggressive financing policy) เป็นการใช้หนี้สินหมุนเวียนในระดับสูงเพื่อลดต้นทุนในการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ในทางกลับกัน นโยบายการจัดหาเงินทุน แบบอนุรักษ์นิยม (Conservative financing policy) เน้นการจัดหาเงินทุนจากหนี้สินระยะยาว เพื่อลดความเสี่ยง ในการไม่ ...

นโยบายในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนมีกี่วิธี อะไรบ้าง

การบริหารเงินทุนหมุนเวียน การตัดสินใจทางการเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน 2. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน 3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการปันผล

Hedging Approach คืออะไร

**หลักการของ Hedging Approach** เงินทุนที่จะนามาลงทุนในสินทรัพย์ควรจัดหาแหล่งเงินทุนด้วยจานวนเงินและระยะเวลาที่สอดคล้องกัน แหล่งเงินทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินจ่าย เงินกู้ระยะสั้น เงินเบิกเกินบัญชี ควรนำไปลงทุนสินทรัพย์หมุนเวียน หรือสินทรัพย์หมุนเวียนผันแปร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ