แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ทอแรนซ์

กิลฟอร์ด ได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นความสามารถทางสมอง เป็นความสามารถให้คิดได้หลายทิศทาง หรือเรียกว่า ความคิดแบบอเนกนัย เป็นความคิดที่นำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ ความคิดแบบอเนกนัยประกอบไปด้วยความคิด  ริเริ่ม ความคิดคล่อง และความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ

ทอร์แรนซ ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่าหมายถึง กระบวนการที่บุคคล ไวต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป

อารี พันธ์มณี กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถในการคิดหลายแง่มุม เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นท าให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นการขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์

เจอร์ซิล กล่าวถึงความคิด สร้างสรรค์ว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ ดังนี้

1. ส่งเสริมให้เด็กเกิดสุนทรียภาพ 

3. สร้างนิสัยที่ดีในการทำงาน 

4. เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือ

5. เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นคว้า ทดลอง

ผุสดี กุฎอินทร์ (2526) กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญคือ 1. มีคุณค่าต่อสังคม 2. มีคุณค่าต่อตนเอง

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549) ได้กล่าวถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ว่าความคิดสร้างสรรค์นั้น 

1. ให้ความหมายถึงความคิดเชิงบวก 2. ให้ความหมายถึงการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร 3. ให้ความหมายถึงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

 ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์

อารี พันธ์มณี (2544) ได้กล่าวถึงลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ที่จะมีลักษณะ 3 ประการที่สำคัญ ได้แก่ 1. มีความเป็นกระบวนการ

2. มีความเป็นปัจเจกบุคคล 3. ผลิตผลมีคุณภาพ  

นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์จำแนกตามลักษณะของการก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้ 

1. การรับอิทธิพลความคิด  2. การโต้แย้งความคิด 3. การคิดจากประสบการณ์ 

ลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์

มาสโลว์ พบว่าลักษณะของผู้ที่มีความคิด สร้างสรรค์เหนือกว่าบุคคลอื่นๆ นั้น จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง

แมคคินนอน กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้ ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงพบว่า เป็นบุคคลที่มีความมานะ พยายาม มีความช่างคิดค้นสิ่งใหม่ๆ

สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

1. บรรยากาศการเรียนรู้โดยเด็กต้องถามและให้ความสนใจต่อคำถาม 

2. ให้ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อความคิดที่แปลกๆ ของเด็กด้วยใจเป็นกลาง

3. เอาใจใส่หรือแสดงท่าทีกระตือรือร้นต่อคำถามแปลกๆ ของเด็ก

บทที่ 2 องค์ประกอบและกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์

กิลฟอร์ด ได้ศึกษาวิจัยและได้ผลลัพธ์ เป็นทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา และพบว่าโครงสร้างของสมรรถภาพทาง สมองของมนุษย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผลและสามารถแก้ไขปัญหาได้ จะมีลักษณะแบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่

มิติที่ 1 เนื้อหา เป็นข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด อยู่ในรูปแบบของ

1. ภาษา 2. ภาพ 3. สัญลักษณ์ 4. พฤติกรรม                                                                                                                                        มิติที่ 2 วิธีคิด เป็นกระบวนการปฏิบัติงานหรือกระบวนการคิดของสมอง ที่ประกอบไปด้วย 

1. การรู้จักและเข้าใจ 2. การจำ  3. การคิดแบบอเนกนัย 4. การคิดแบบเอกนัย  5. การประเมินค่า

มิติที่ 3 ผลของการคิด เป็นการแสดงผลที่เกิดขึ้นจากสมองปฏิบัติงานหรือเรียกว่าเป็น กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งเกิดจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหาและด้านปฏิบัติการเข้าด้วยกัน แบ่งออกเป็น 

1. หน่วย 2. จำนวน 3. ความสัมพันธ์ 4. ระบบ 5. การแปลงรูป 6. การประยุกต์

โดยบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะแตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะ การคิด แบบอเนกนัย ที่เป็นการคิดสร้างสรรค์ที่ประกอบไปด้วยลักษณะความคิดย่อย 3 ประการ ได้แก่ 

 2.1 ความคล่องแคล่วด้านการใช้ถ้อยคำ

 2.2 ความคล่องแคล่วด้านการโยงความสัมพันธ์

 2.3 ความคล่องแคล่วด้านการแสดงออก

 2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด

 3.1 ความยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด

 3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง

 4.2 ความสามารถในการให้นิยามใหม่ 

บทที่ 3 กระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ 

 กระบวนการคิดสร้างสรรค์ เป็นวิธีการคิดหรือกระบวนการทำงานของสมองอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนกระทั่งคิดแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ 

1. รวบรวมข้อมูล เป็นการจัดเตรียมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข้อมูล นำมาเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ทั้งนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ 

2. วิเคราะห์ปัญหา เป็นการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นว่าขณะนั้นมีปัญหาใดเกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใดหรือปัจจัย ใดที่ส่งผลท าให้เกิดขึ้น และจะแก้ไขปัญหานั้นไม่ให้เกิดขึ้นหรือจะพัฒนาสิ่งนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิมจะต้องทำอย่างไร 

3. ทดลองปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ต่อจากการวิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนนี้จะทดลองนำสิ่งที่วิเคราะห์ได้จากขั้นตอนที่ 2 มาทดลองปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อปฏิบัติได้อย่างเป็น รูปธรรมในขั้นตอนนี้อาจจะได้วิธีการที่หลากหลายจากการปฏิบัติ ซึ่งได้ผลลัพธ์ไม่เท่ากัน 

4. ค้นหาคำตอบด้วยความคิด เป็นขั้นตอนที่จะต้องสรุปว่าวิธีการใดที่ได้ทดลองปฏิบัติไปเป็นวิธีการที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด ใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด เป็นการหาข้อสรุป

5. นำไปใช้ในสถานการณ์จริง หลังจากที่ได้ทดลองทดสอบและได้ข้อสรุปแล้วว่าสิ่งใดหรือข้อมูลใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ในขั้นนี้จะนำไปทดลองใช้กับสถานการณ์จริงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการทดลองใช้งานสิ่งที่ได้รับรู้มาว่ามีประสิทธิภาพมาก รายวิชา การคิดสร้างสรรค์ 7 น้อยเพียงใด ซึ่งตัวแปรที่แทรกซ้อนอาจจะเกิดขึ้นมากกว่าในขั้นทดลองปฏิบัติ แต่ขั้นนี้จะทำให้ได้รู้ว่าเมื่อนำไปใช้ใน สถานการณ์จริง ตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เป็น สิ่งๆ นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใด 

6. ประเมินผล เป็นขั้นตอนสำหรับสรุปว่าสิ่งที่ได้คิดขึ้นมาจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมมานั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จริงหรือไม่ อยู่ในระดับใด หากประเมินผลแล้วได้ผลดีก็แสดงให้เห็นได้ว่าควรนำไปใช้ในกระบวนการ คิดครั้งถัดไป หากประเมินผลแล้วเกิดปัญหาอาจต้องหาสาเหตุของปัญหาแล้วดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง

การวัดและประเมินผลความคิดสร้างสรรค์ 

บทที่ 4 การวัดและประเมินผลความคิดสร้างสรรค์

เมื่อดำเนินตำมกระบวนการความคิดสร้างสรรค์เสร็จสิ้นจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมา อาจจะอยู่ในรูปแบบของสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรืออำจจะอยู่ในรูปแบบที่เป็นนำมธรรม ซึ่งทั้ง 2 ประเภทที่กล่ำวไป ล้วนแต่สร้างความแปลกใหม่ให้กับสังคมที่อยู่ทั้งสิ้น และเมื่อสร้ำงเสร็จจะต้องมีกระบวนการ วัดและประเมินผลความคิดสร้างสรรค์ที่ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีนักการศึกษาได้กล่าวถึงรูปแบบของการวัดผลและประเมินผล ความคิดสร้างสรรค์ไว้จำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น

อารี พันธ์มณี กล่าวถึงการวัดความคิดสร้างสรรค์ว่าไม่ใช่เฉพาะทำให้รู้ถึงระดับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กและเป็นข้อมูลสำหรับครูผู้สอนนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา ซึ่งหากเป็นสิ่งที่สอดคล้องกันจะเป็นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กให้สูงยิ่งขึ้น

4. การเขียนเรียงความและงานศิลปะ 

ศาสตราจารย์ ดร.อี พอล ทอร์แรนซ์ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้พัฒนาเครื่องมือวัดความคิดสร้างสรรค์ มีทั้งแบบสำรวจและแบบทดสอบหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ ประกอบด้วยการวัด 3 กิจกรรม คือ 1. กิจกรรมไม่ใช้ภาษา                 2. กิจกรรมทางภาษาโดยใช้สิ่งเร้าที่ไม่ใช้ภาษา 3. กิจกรรมทางภาษาโดยใช้สิ่งเร้าที่ใช้ภาษา

ทอร์แรนซ์เป็นนักจิตวิทยา ผู้ค้นคว้าเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์มาเป็นเวลานาน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์จะเน้นการวัดในด้านการเชื่อมโยงความคิด ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนจะพิจารณาดูที่ความแปลกใหม่เมื่อเทียบกับผู้ทดสอบรายอื่นๆ ที่เข้าทดสอบด้วยกัน ซึ่งแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ มีดังนี้

1. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อมี 2 แบบ คือ แบบ ก และ แบบ ข 

2. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยภาษาเป็นสื่อมี 2 แบบคือ แบบ ก และ แบบ ข 

3. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยใช้เสียงและภาษาเป็นสื่อมี 2 แบบคือ แบบ ก และ แบบ ข 

4. แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยการปฏิบัติและการเคลื่อนไหว 

การทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อ

แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อมี 2 แบบ คือ แบบ ก และ แบบ ข

ตัวอย่างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพแบบ ก จะมีแบบทดสอบย่อย 3 ชุด ซึ่งทอร์แรนซ์เรียก แบบทดสอบย่อยว่า กิจกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้ 

กิจกรรมชุดที่ 1 การวาดภาพ 

กิจกรรมชุดที่ 2 การต่อเติมภาพให้สมบูรณ์

กิจกรรมชุมที่ 3 การใช้เส้นคู่ขนาน

กำรตรวจให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 

1. ความคิดคล่องตัว 2. ความคิดยืดหยุ่น 3. ความคิดริเริ่ม 4. ความคิดละเอียดลออ

บทที่่ 5 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรมที่จำเป็นต่อความคิดสร้างสรรค์

อรพรรณ พรสีมา ได้เสนอกิจกรรมที่จำเป็นต่อการคิดสร้างสรรค์ ดังนี้ 

1. ฝึกเสนอแนะความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหาหลายๆ แนวทาง 

2. ฝึกมองข้อเสนอของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจากหลายๆ มุมมอง 

3. ฝึกเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมจากความคิดเห็นของคนอื่น 

4. ฝึกเสนอความคิดเห็นให้แตกต่างจากความคิดเห็นของคนอื่น 

5. หาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมระดมสมอง 

6. ฝึกมองหาและตรวจสอบอิทธิพลขององค์ประกอบหรือกิจกรรมย่อยที่มีผลต่อองค์ประกอบใหญ่หรือกิจกรรมหลัก 

7. ฝึกติดตามและหาข้อมูลที่เป็นผลจากการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบุคคลสำคัญ

8. ฝึกมองหาความสัมพันธ์ของเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ 

9. ฝึกเสี่ยงเสนอความคิดเห็น 

10. ฝึกสร้างจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ 

11. ฝึกเปรียบเทียบสิ่งของเหตุการณ์และกิจกรรม 

12. ฝึกสร้างภาพ สร้างฝัน และสร้างความสำเร็จ 

13. ฝึกสืบหารากเหง้า ความเป็นมาและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของเหตุการณ์  

14. ฝึกถามคำถามหลายๆ คำถาม โดยเฉพาะคำถามปลายเปิด 

15. ฝึกพูดและเขียนนวนิยาย 

16. ฝึกคิดหาทางเลือก แนวทางที่จะเป็นไปได้ และตัวเลือกเพื่อแก้ปัญหา เหตุการณ์ และสถานการณ์ต่างๆ 

คุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของการเป็นคนฉลาดคิดคือควรมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล พร้อมเปิดรับความคิดใหม่ๆ อย่างไม่มีอคติ ดังนั้นเราจึงควรพัฒนาการรับรู้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อเปิดกว้างทางความคิดด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น 1. เล่นอย่างสร้างสรรค์  2. มีอารมณ์ดี

 3. พยายามทำตัวเป็นศิลปินให้มากขึ้น 4. หาเวลาอยู่คนเดียวบ้าง 5. กล้าที่จะแตกต่าง 6. คำนึงถึงความสัมพันธ์ของร่างกาย ความคิด และอารมณ์ 7. สำรวจความเป็นตัวของตัวเอง 8. ฝึกคิดสร้างสรรค์ 9. จดบันทึก  10. ทำแฟ้มความรู้

แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 

 ความคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมได้ด้วยการสอน การฝึกฝน อบรม และสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม ความเป็นอิสระในการเรียนรู้ ซึ่งทอร์แรนซ์ ได้กล่าวถึงการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 

1. การส่งเสริมให้เด็กถามและให้ความสนใจต่อคำถาม

2. ตั้งใจและเอาใจใส่ต่อความคิดที่แปลกๆ ของเด็กด้วยใจเป็นกลาง

3. กระตือรือร้นต่อค าถามแปลกๆ ของเด็กด้วยการตอบคำถามอย่างมีชีวิตชีวา

4. แสดงพฤติกรรมกรรมให้เด็กเห็นว่าความคิดของเขามีคุณค่า

5. กระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

6. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้

7. พึงระลึกว่าการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กจะต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป 

8. ส่งเสริมให้เด็กใช้จินตนาการของตนเอง

การฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 

 กระบวนการฝึกคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางความคิด สามารถฝึกได้โดย 1. ฝึกมองต่างมุม  2. ฝึกสร้างจินตนาการอิสระ 

3. ฝึกขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ 4. ฝึกตั้งคำถามแบบมองต่างมุม 5. ฝึกเป็นคนไม่พอใจอะไรง่ายๆ 6. ฝึกกระตุ้นความคิดด้วยค าถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า...” 7. ฝึกมองมุมตรงข้าม 8. ฝึกเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย 9. ฝึกคิดทางลัด 10. ฝึกค้นหาข้อบกพร่องเพื่อพัฒนา 11. ฝึกคิดเองทำเอง

1. ข้อใดคือความหมายของความคิดสร้างสรรค์

ตอบ กระบวนการคิดของสมองที่คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่

2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของความคิดสร้างสรรค์

ตอบ สร้างคุณค่าทางจิตใจเท่านั้น

3. ใครที่มีบทสนทนาสื่อได้ว่าเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์

ตอบ ขาวพูดว่า “ใครจะว่าก็ให้ว่าไป เรารู้ตัวเราเองดู จิตใจของเราเอง” 

4.สำลีคิดอยากนำน้ำตาลสดใส่ชาเขียวเพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้ผลิตภัณฑ์หมู่บ้านน้ำตาลสดที่ตนเองอาศัยอยู่ สำลีมีการคิดแบบใด

5.น้องโน้ตเป็นเด็กอัจฉริยะ สามารถบอกชื่อเมืองหลวงของประเทศทั่วโลกได้ภายในห้านาที น้องโน้ตมีลักษณะการคิดแบบใด

6.ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะที่สำคัญ อะไรบ้าง

ตอบ ความคิดริเริ่ม ความคล่องตัว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดละเอียดลออ

7.กระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์มีขั้นตอนสำคัญๆ ยกเว้น ขั้นตอนใด

8. ผู้ใด ไม่ได้ ปฏิบัติตนตามกระบวนการคิดสร้างสรรค์

ตอบ สมศรีใช้กระบวนการที่มีผู้พัฒนามาดีอยู่แล้วมาดำเนินการตามวิธีนั้น

9. ขั้นตอนสำคัญที่สุดของกระบวนการคิดสร้างสรรค์คือขั้นตอนใด

ตอบ นำไปใช้ในสถานการณ์จริง 

10. การตรวจให้คะแนนความคิดสร้างสรรค์โดยวัดที่การคิดหลายทิศทางทำให้เห็นถึงความคิดหลายแง่มุม เป็นการตรวจให้คะแนนความคิดลักษณะใด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ