การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน 2563

ปี 2564 เป็นปีที่มีความเคลื่อนไหวสำคัญ ๆ ทางการเมืองไทยเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรัฐบาล-รัฐสภา-ศาล และบนท้องถนน

บางสิ่งที่เคยเกิดขึ้น จนกลายเป็นความเคลื่อนไหวใหม่-ใหญ่เมื่อปีก่อน กลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกระบุให้ "เลิกการกระทำในอนาคต"

บางสิ่งที่นักเลือกตั้งอาชีพไม่คาดคิดว่าจะแก้ได้ กลับได้แก้ ทำให้การเกิดขึ้นของพรรคใหม่ไม่ง่ายนัก

บางคนที่ถูกรุมเขย่าให้แตกคอกัน กลับยังกอดคอรักกันดี

บีบีซีไทยสรุปความเคลื่อนไหวสำคัญของการเมืองไทยในรอบปี 2564 มาไว้ ณ ที่นี้

รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลจากสภาผู้แทนราษฎร ทั้งก่อนใช้งบประมาณแผ่นดินและเงินกู้ และระหว่างบริหารราชการแผ่นดิน

ในรอบปีที่ผ่านมา ฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 2 ครั้ง พุ่งเป้าโจมตีการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และการบริหารจัดการวัคซีนที่ผิดพลาดบกพร่อง นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจและสังคม ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต และยังกล่าวหานายกฯ ว่า "นำสถาบันฯ เป็นข้ออ้างเพื่อแบ่งแยกประชาชน แอบอ้างสถาบันฯ มาเป็นเกราะปิดบังความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของตนเอง"

ครั้งแรก ซักฟอกนายกฯ และรัฐมนตรีรวม 10 คน ระหว่างวันที่ 16-19 ก.พ.

ครั้งที่สอง ซักฟอกนายกฯ และรัฐมนตรีรวม 6 คน ระหว่างวันที่ 31 ส.ค.-3 ก.ย.

ที่มาของภาพ, สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

คำบรรยายภาพ,

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เดินทางมาประชุม ครม. นัดสุดท้ายของปี 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.

แม้ผ่านศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจมาได้ด้วยเสียงข้างมากในสภา แต่เสถียรภาพของรัฐบาลต้องสะเทือนอย่างหนักจาก "ศึกใน" ที่เกิดขึ้นระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจในหนหลัง เมื่อปรากฏกระแสข่าวมีขบวนการ "โหวตล้มนายกฯ" กลางสภา และแอบอ้างว่าจะมีการเปลี่ยนตัวนายกฯ

"การแอบอ้างเบื้องสูงถือว่าผิดอย่างร้ายแรง ผมคนเดียวเท่านั้นที่ได้มีโอกาสถวายข้อราชการ คนอื่นไม่มี" และ "การที่จะไปรวมคะแนนเสียงโหวต ซึ่งจริงหรือไม่จริง ผมไม่ทราบ แต่ถือว่าไม่ใช่สุภาพบุรุษ ถ้าทำแบบนั้น" พล.อ. ประยุทธ์กล่าวเมื่อ 1 ก.ย. ปฏิเสธทุกข่าวลือที่เกิดขึ้น

แม้ผู้นำรัฐบาลไม่ได้เอ่ยชื่อผู้อยู่เบื้องหลังการเดินเกมบ่อนเซาะอำนาจของตัวเขามาตรง ๆ แต่ผู้สื่อข่าวได้นำข่าวความเคลื่อนไหวใต้ดินไปสอบถาม ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แล้วให้เขาตอบต่อสาธารณะ

"ผมไม่ได้ถูกใช้ให้มาล็อบบี้ใคร ไม่ว่าจะให้ช่วยรัฐบาล หรือไปรับรองพรรคอื่นให้มาช่วย หรือโหวตคว่ำใครคนใดคนหนึ่ง ผมไม่ทำ" ร.อ. ธรรมนัสกล่าววันเดียวกัน (1 ก.ย.) พร้อมระบุว่ามีคนในพรรคฝ่ายรัฐบาลซึ่งเขาเรียกว่า "ไอ้ห้อยไอ้โหน" เป็นคนเต้าข่าวชิ้นนี้ขึ้นมา

ท้ายที่สุด นายกฯ และรัฐมนตรีทั้ง 6 ก็ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมสภาให้ทำหน้าที่ต่อไป ทว่าที่น่าสังเกตคือ พล.อ. ประยุทธ์ได้รับคะแนนไม่ไว้วางใจสูงที่สุดในหมู่รัฐมนตรีที่ถูกยื่นอภิปราย

ต่อมานายกฯ ได้สั่งปลด ร.อ. ธรรมนัส และ "คู่หู" ของเขาอย่างนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน พ้นจากเก้าอี้รัฐมนตรี แม้ก่อนหน้านั้น ผู้กองธรรมนัสจะเข้าพูดคุยและเอ่ยคำขอโทษนายกฯ แล้วก็ตาม แต่เรื่องไม่จบ

ในนาทีที่รู้ตัวว่าร่วงหล่นจากอำนาจฝ่ายบริหารแน่แล้ว เลขาธิการ พปชร. แก้เกี้ยวด้วยการเปิดแถลงข่าวเมื่อ 9 ก.ย. ว่าได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ทว่าเขาไม่อาจหลีกหนีข้อเท็จจริงเรื่องการถูกสั่งปลดไปได้ และยังบอกใบ้ด้วยว่า "อาจจะไปอยู่บ้านหลังใหม่ที่มันมีความสุข" ทำให้มีการจับตามองว่าเลขาธิการ พปชร. จะแยกตัวไปตั้งพรรคใหม่หรือไม่

คำบรรยายวิดีโอ,

ธรรมนัส พรหมเผ่า : เส้นทางการเมืองที่ผ่านมาของอดีตรัฐมนตรีวัย 56 ปี

แต่สุดท้ายด้วย "ประกาศิตบิ๊กป้อม" ทำให้ ร.อ. ธรรมนัสยังรั้งเก้าอี้พ่อบ้านพรรคแกนนำรัฐบาลต่อไป เช่นเดียวกับนางนฤมลที่ยังเป็นผู้กุมถุงเงินพรรคในฐานะเหรัญญิกพรรค โดยมี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค ทว่าในระหว่างนี้ได้เกิดกระแสข่าวเขย่าความสัมพันธ์ของพี่น้อง 3 ป. ดังขึ้นเป็นระยะ ๆ สะท้อนผ่านการจัด ส.ส. วัดพลังของ 2 ป. ประยุทธ์-ประวิตร ระหว่างลงพื้นที่พบปะประชาชน หรือการปล่อยข่าวแยกตัวไปทำพรรคใหม่ ก่อนที่สารพัดข้อมูลข่าวสารจะสงบลงชั่วคราวโดยที่ต่างฝ่ายต่างอยู่ในจุดของตัวเอง โดยที่ 3 ป. ก็ยังไม่มีวี่แววจะแตกคอกันตามแรงยุจากบุคคลภายนอก

เช่นเดียวกับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลที่แม้ทำทีฮึ่มฮั่มใส่ พล.อ. ประยุทธ์เป็นระยะ แต่ก็ไม่คิดตีจากไปไหน ทั้งในห้วงที่ดูเหมือนสถานการณ์ของรัฐบาลจะย่ำแย่ถึงขีดสุด เมื่อคนไทยล้มตายเป็นใบไม้ร่วงจากไวรัสโควิด-19 นับจากการระบาดระลอกเดือน เม.ย. 2564 จนเกิดวลี "เห็นน้ำตาประชาชนบ้างไหม" หรือในยามที่พรรคร่วมฯ ถูกยึดอำนาจการบริหารจัดการวัคซีน ตัดงบประมาณของกระทรวงในกำกับดูแล จนต้องส่งลูกพรรคออกมาตัดพ้อ-บ่นน้อยใจ แต่ก็ไม่มี ส.ส. รัฐบาลรายใดโหวตคว่ำร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้เงื่อนไขที่รู้กันดีในหมู่คนการเมืองซีกรัฐบาลว่า "ไม่มีสัญญาณเปลี่ยนตัวนายกฯ"

สำหรับประเด็นเหนือความคาดหมายที่เกิดขึ้นกลางรัฐสภาในรอบปีที่ผ่านมา หนีไม่พ้นการผ่านร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91 ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพียงประเด็นเดียวคือการรื้อระบบเลือกตั้ง ส.ส. แบบจัดสรรปันส่วนผสม โดยให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และปรับสัดส่วน ส.ส. ใหม่ เป็น ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และคณะ เป็นเจ้าของร่าง และได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. จึงฝ่าด่านรัฐสภามาได้ โดยถือเป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงหนึ่งเดียวจากทั้งหมด 20 ร่าง ที่นักการเมืองและภาคประชาชนเคยเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในช่วง 2 ปีผ่านมา แต่ฉบับอื่น ๆ ถูกตีตกไปต่างกรรมต่างวาระ

ผลจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้การเกิดขึ้นของพรรคใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย จนนักเลือกตั้งอาชีพหลายคนต้องดิ้นหาพรรคใหญ่เข้าสังกัด

จากจุดเริ่มต้นของรัฐบาลผสม 19 พรรค ซึ่งมี "เสียงปริ่มน้ำ" ในสภาหลังเลือกตั้ง 2562 ด้วยยอด ส.ส. 254 เสียง พรรครัฐบาลค่อย ๆ เก็บ-กวาด ส.ส. เข้าสังกัดทุกครั้งที่มีโอกาส จนปิดยอด ณ สิ้นปี 2564 ที่ 266 เสียง

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ๆ ในฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นผลจากคำสั่งศาลฎีกาและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำให้เก้าอี้ผู้แทนฯ ว่างลง ซึ่งมีทั้งต้องเลื่อน ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปขึ้นมาเป็น ส.ส. แทน และต้องจัดการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.แบบแบ่งเขต 3 เขตใน จ.ชุมพร สงขลา และ กทม. ช่วงต้นปีหน้า

กลุ่มที่ถูกศาลฎีกาสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี

-25 มี.ค. น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พปชร. ฐานผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

-18 ส.ค. น.ส. ธนิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พปชร. ฐานผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีเสียบบัตรแทนกัน

-8 ก.ย. นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ และนายภูมิศิษฎ์ คงมี ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ฐานผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีเสียบบัตรแทนกัน

-2 พ.ย. นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พปชร., นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา พปชร. และนางทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.นครราชสีมา พปชร. ฐานทุจริตการก่อสร้างสนามฟุตซอล

กลุ่มที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.

-8 ธ.ค. 5 ส.ส. อดีตแกนนำ กปปส. ประกอบด้วย นายชุมพล จุลใส ส.ส. ชุมพร ปชป., นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป., นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ปชป., นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พปชร. และนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พปชร. พ้นจากตำแหน่ง หลังถูกคุมขังโดยหมายศาลในคดีกบฏ เมื่อเดือน ก.พ. 2564

-22 ธ.ค. นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พปชร. พ้นจากตำแหน่ง เพราะขาดคุณสมบัติ หลังถูกจำคุกตามคำพิพากษาศาลถึงที่สุดในคดีฉ้อโกง เมื่อปี 2538

แต่สำหรับกรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่รอดจากการตกเก้าอี้ผู้แทนฯ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังยุบเลิกพรรคประชาชนปฏิรูปที่ตัวเองเป็นหัวหน้าพรรค แล้วย้ายเข้าสังกัด พปชร. ได้กลายเป็นต้นแบบให้บรรดา ส.ส.บัญชีรายชื่อ "พรรคจิ๋ว" เดินตามรอย "ไพบูลย์โมเดล" ได้อย่างสบายใจ ถึงขณะนี้มีอย่างน้อย 2 พรรคที่ประกาศยุบพรรคตัวเองแล้วย้ายมาซบ พปชร. คือ พรรคประชานิยม (ย้ายพรรคตั้งแต่ ก.ค. 2563) และพรรคประชาธรรมไทย (ย้ายพรรคเมื่อ พ.ย. 2564)

ที่มาของภาพ, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รัฐสภา

คำบรรยายภาพ,

สิระ เจนจาคะ พ้นจากการเป็น ส.ส. ตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2564

สำหรับ "พรรคจิ๋ว" หมายถึงพรรคเสียงเดียวที่ได้คะแนนเลือกตั้งปี 2562 ไม่ถึงเกณฑ์มี ส.ส. พึงมีได้ แต่ได้เข้าสภาเพราะการปัดเศษทศนิยม

นอกจากคำสั่งศาล ยังมีกรณี "ย้ายค่าย" ของ ส.ส. ฝ่ายค้านด้วย โดย 2 รายแรกถูกพรรคเพื่อไทย (พท.) ขับพ้นพรรคจากพฤติกรรมฝ่าฝืนมติพรรคหลายครั้ง ก่อนที่ น.ส. พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี พท. จะย้ายไปสังกัด ภท. และนายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ ส.ส.อุตรดิตถ์ พท. ย้ายไปซบพรรคเพื่อชาติและได้ขึ้นแท่นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

ส่วนนายวินท์ สุธีรชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค เพื่อเตรียมก่อตั้งพรรครวมไทยยูไนเต็ด

สัดส่วนเสียงในสภาล่างของรัฐบาล:ฝ่ายค้าน จึงเปลี่ยนไปอยู่ที่ 266:209 เสียง โดยรัฐบาลผสมเหลือ 17 พรรค ส่วนฝ่ายค้านมี 7 พรรค บวก 1 เสียงของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ จากพรรคเศรษฐกิจใหม่

ขณะที่ความเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาไม่คึกคักเท่าปี 2563 ทว่าได้เข้าสู่ภาวะไม่มีแกนนำชัดเจนขึ้น เมื่อนักกิจกรรมการเมืองที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ข้อหายุยงปลุกปั่นฯ ตามมาตรา 116 และข้อหาอื่น ๆ จากการร่วมชุมนุมทางการเมือง

ในระหว่างการต่อสู้คดีชุมนุม "19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร" ซึ่งมีจำเลยรวม 22 คน ในจำนวนนี้มี 7 คนที่ถูกตั้งข้อหา 112 และถูกคุมขังในเรือนจำ แม้ทีมทนายยื่นคำร้องขอประกันตัวหลายครั้ง แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ประกอบด้วย นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน, นายอานนท์ นำภา, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม หรือหมอลำแบงค์, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน, น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง และนายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์

หลังถูกคุมขังนานตั้งแต่ 2-3 เดือน (ก.พ.-มิ.ย.) แกนนำราษฎรชุดนี้ทยอยได้รับการประกันตัว หลังจากพวกเขาแถลงยอมรับเงื่อนไข "ไม่กระทำการอันเป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์"

ก่อนที่ 4 คน ประกอบด้วย อานนท์, เพนกวิน, ไผ่ และไมค์ ต้องกลับไปกินอยู่หลับนอนภายในเรือนจำอีกครั้งเมื่อเดือน ส.ค. ในระหว่างต่อสู้คดีชุมนุมการเมืองคดีอื่น ๆ แล้วศาลมีคำสั่งถอนประกัน โดยให้เหตุผลว่าฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวของศาลอาญาก่อนหน้านั้น และไม่ได้รับการประกันตัวหลังผ่านมา 5 เดือน หมดโอกาสร่วมฉลองเทศกาลปีใหม่กับครอบครัว

นอกจากแกนนำราษฎรชุดนี้ ยังมีแนวร่วมราษฎรตกเป็นผู้ต้องหา/จำเลย คดี 112 และต้องสูญเสียอิสรภาพในระหว่างการต่อสู้คดี ซ้ำบางส่วนยังกลายเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในเรือนจำ โดยปรากฏชื่อนายชูเกียรติ แสงวงค์ หรือที่รู้จักในนาม "จัสติน" ผู้ต้องหาคดี 112 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นผู้ป่วยยืนยันรายแรกตามการเปิดเผยของกรมราชทัณฑ์เมื่อ 24 เม.ย.

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ปี 2564 แยกดินแดงกลายเป็นสมรภูมิการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลกับตำรวจควบคุมฝูงชน

เมื่อแกนนำหลักหายไป จึงมีแนวร่วมออกมาเคลื่อนไหวซึ่งมีทั้งกลุ่มเก่า-กลุ่มใหม่ โดยมีข้อเรียกร้องร่วมกันบางส่วน อาทิ ให้ปล่อยตัวแกนนำราษฎรที่ถูกจับกุมคุมขัง, แก้ไขรัฐธรรมนูญ, ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกฯ

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยังยกระดับมาตรการรับมือกับผู้ชุมนุมการเมือง โดยเปิดฉากยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางอย่างเต็มรูปแบบครั้งแรก เพื่อควบคุมการชุมนุมของกลุ่มที่ชื่อว่า "รีเด็ม" (REDEM - Restart Democracy) ที่ท้องสนามหลวง เมื่อ 20 มี.ค. และหลังจากนั้นก็เกิดภาพผู้ชุมนุมปะทะกับตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) อยู่เนือง ๆ

ภาพจำสำคัญเกิดขึ้นที่แยกดินแดง ไม่ห่างจากบ้านพักของนายกรัฐมนตรีภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อผู้ประท้วงไปรวมตัวกันที่นั่นในช่วงเย็นแทบทุกวัน ไร้แกนนำ ไร้การปราศรัย ไร้กิจกรรมที่ชัดเจน และมักจบลงด้วยการถูก คฝ. สลายการชุมนุมด้วยน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา กระสุนยาง และการล้อมจับ เป็นผลให้ถูกขนานนามว่ากลุ่ม "ทะลุแก๊ส/แก๊ซ" ขณะที่ตำรวจยืนยันหลายครั้งว่าจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มคนที่ "ไม่ใช่ม็อบ" แต่เป็น "ผู้ใช้ความรุนแรง" และ "ผู้ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง

คำบรรยายวิดีโอ,

เสียงจากผู้ชุมนุม “ทะลุแก๊ส”

นอกจากขบวนการเยาวชน ในปี 2564 ยังเป็นปีที่อดีตแกนนำ "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ" (นปช.) ออกหน้า-นัดหมายจัดการชุมนุมด้วยตัวเอง

กลุ่มแรก เกิดขึ้นจากการนัดหมายของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ที่นัดจัดชุมนุม "ไทยไม่ทน สามัคคีประชาชน" ร่วมกับแกนนำคนเสื้อเหลือง เสื้อหลากสี โดยมีจุดประสงค์เพียงข้อเดียวคือ ขับไล่ พล.อ. ประยุทธ์ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าเป็นกิจกรรมที่ลดระดับข้อเรียกร้องของขบวนการ "ราษฎร" ที่ไปไกลถึงขั้นเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

อีกกลุ่ม เกิดขึ้นจากการนัดหมายของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตเลขาธิการ นปช. ที่ร่วมกับนายสมบัติ บุญงามอนงค์ จัดกิจกรรม "คาร์ม็อบ" เคลื่อนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และผู้คนไปตามถนนสายต่าง ๆ เพื่อแสดงพลังขับไล่เผด็จการ

ที่มาของภาพ, Thai NEws Pix

คำบรรยายภาพ,

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตเลขาธิการ นปช. จับไมค์คุม "คาร์ม็อบ" ที่เขาเป็นแกนนำเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564

อย่างไรก็ตามการหวนกลับมาเรียกระดมพลคนเสื้อแดงของ 2 แกนนำ นปช. ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จนักหากเทียบกับประสบการณ์ในอดีต ทั้งในเชิงเป้าหมาย และปริมาณมวลชนที่เข้าร่วม

ท้ายที่สุดปรากฏการณ์ "ทะลุเพดาน" ที่อุบัติขึ้นเมื่อ 10 ส.ค. 2563 บนเวที "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" ที่ มธ. ศูนย์รังสิต คล้ายกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมไทย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อ 10 พ.ย. 2564 ว่าการชุมนุมดังกล่าว ที่มีนายอานนท์, นายภาณุพงศ์ และ น.ส. ปนัสยา เป็นผู้ปราศรัย เป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ กระทบต่อสถานะของสถาบันฯ

ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำสั่งให้ทั้ง 3 คน และกลุ่มองค์กร เครือข่าย เลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย

การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งมีการปกครองในกรอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประมุขแห่งรัฐ ส่วนนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันคือประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลไทยเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติอยู่กับรัฐสภาไทย ...

รูปแบบการปกครองของไทย มีกี่รูปแบบ

เขตการปกครองของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

ระบบการเมืองการปกครอง มีอะไรบ้าง

การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น

การปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศต่างๆในปัจจุบันมีลักษณะแบบใด

ประชาธิปไตยสมัยใหม่บางประเทศซึ่งใช้ระบบมีผู้แทนโดยสภาพเป็นส่วนใหญ่ยังอาศัยการปฏิบัติทางการเมืองรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประชาธิปไตยโดยตรงมากขึ้น ประชาธิปไตยแบบดังกล่าวมีคำเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบผสม (hybrid democracy) ประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ตัวอย่างเช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และบางรัฐของสหรัฐ ซึ่งใช้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ