การพัฒนา รูป แบบการบริหาร โรงเรียน ขนาดเล็ก

DC FieldValueLanguagedc.contributor.author เพ็ญนภา ชูพงษ์ en_US dc.date.accessioned 2557-11-26T09:07:25Z - dc.date.available 2557-11-26T09:07:25Z - dc.date.issued 2557-11-26T09:07:25Z - dc.identifier.citation เพ็ญนภา ชูพงษ์. 2557. "การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท. - dc.identifier.uri //dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4515 - dc.description มหาวิทยาลัยศรีปทุม en_US dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษารูปแบบในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 374 คน จาก 38 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ได้แก่ ผู้อำ นวยการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้แบบสอบถามและวิธีการ สัมภาษณ์ ทั้งยังดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำหนดนโยบายระดับสูงของกระทรวงและระดับสูงของกรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา เครือข่ายเพื่อการศึกษาเด็กและการสนทนากลุ่ม จำนวน 14 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้นำ ชุมชนผู้ปกครอง กลุ่มองค์กรนอกระบบ ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา เช่น ปัญหาทางวิชาการค่อนข้างตำด้านบุคลากรขาดแคลนครูและไม่สามารถจัดครูให้ตรงวิชาเอกให้ ตรงกับสาระวิชาการเรียนการสอนได้ ด้านงบประมาณ ยังมีการจัดงบประมาณตามรายหัวนักเรียนซึ่งยังไม่สามารถสนองตอบการแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ทั้งด้านนิเทศติดตามผลและขวัญกำลังใจ ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจรูปแบบในการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านมาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ได้มีการ ดำเนินการในหลายรูปแบบทั้งการแสวงหาความร่วมมือ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือจัดรถรับ –ส่งนักเรียน ตลอดถึงการจัดตั้งโรงเรียนดีในชุมชนใกล้บ้านเพื่อยกระดับคุณภาพให้ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กนา ลูกมาเข้าเรียนใน ทั้งยังไม่ประสบความสาเร็จขาดความต่อเนื่องในดำเนินนโยบายทำให้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพยังไม่ดีพอยังคงอยู่ ทำให้ผู้ปกครองบางส่วนยังต้องส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองอยู่ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนรูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การแก้ไขปัญหาต้องมีความยืดหยุ่นในการกำหนดรูปแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ วัฒนธรรม และความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น ควรมีนโยบายให้มีความชัดเจนและต่อเนื่องในการแสวงหาความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกัน ส่งเสริมให้มีแผนปฏิบัติ งานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ให้สอดคล้องกัน เช่น ส่งเสริมให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก การจัดระบบการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนหรือการสอนแบบคละชั้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีการจัดงบประมาณในรูปแบบของกองทุนพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้วิทยากรในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน หรือครูที่เกษียณอายุราชการแล้วมาช่วยในการ จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมให้ถึงโรงเรียนขนาดเล็กอย่างทั่วถึง ทั้งการจัด กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพให้เกิดการระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการศึกษาให้เกิดความอิสระและคล่อง ตัวให้เป็นโรงเรียนดีในชุมชน โดยมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ บ้าน วัด และโรงเรียน ที่แต่ละแห่งจะมีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นสภาพภูมิศาสตร์และบริบทอื่นๆ ที่ แตกต่างกัน ตลอดถึงการส่งเสริมสิทธิของชุมชนในเรื่องการจัดการศึกษาของตนเอง และการกระจายอานาจไปสู่ส่วนองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กให้มากขึ้น en_US dc.description.sponsorship หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม en_US dc.subject การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก en_US dc.subject แบบมีส่วนร่วมของชุมชน en_US dc.subject องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น en_US dc.title การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น en_US dc.type Thesis en_US Appears in Collections: S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย

Authors

  • สมพงษ์ พรมใจ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • บุญช่วย ศิริเกษ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุเทพ บุญเติม ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1

Keywords:

โรงเรียนขนาดเล็ก, รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก, การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียน, small sized-schools, a model for the administration of small sized-schools, developing a model for administration of schools

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย มีขั้นตอนการวิจัย 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบท ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบและระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้ให้สัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 15 คน ผู้ร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 30 คน ผู้ร่วมประชุมสัมมนา จำนวน 30 คน โรงเรียนขนาดเล็กเข้าร่วมใช้รูปแบบจำนวน 3โรงเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบ จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.สภาพปัญหาในการบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลยที่เป็นปัญหามากที่สุดได้แก่ ปัญหาด้านวิชาการ ส่วนข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหานั้นพบว่า โรงเรียนขนาดเล็กควรนำภาระงานมาบริหารร่วมกัน

2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย ได้แก่รูปแบบศูนย์บริหารการเรียนร่วมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีโรงเรียนขนาดเล็กตั้งแต่ 2 โรงเรียนขึ้นไป มาร่วมกันบริหารจัดการใน 3 ภาระงาน คือ 1) งานวิชาการที่เกี่ยวกับหลักสูตร งานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน งานนิเทศกำกับติดตาม งานการวัดและประเมินผล 2) งานบุคคลที่เกี่ยวกับการใช้และพัฒนาบุคลากร 3) งานบริหารทั่วไปที่เกี่ยวกับงานธุรการและสารบรรณ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการบริหารศูนย์ที่ได้รับมอบอำนาจบริหารจัดการมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและลักษณะของงานที่จะให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ.2547 ภายใต้แนวทางการดำเนินงานตามภาระงานของศูนย์ที่กำหนดไว้

3. การประเมินผลการใช้รูปแบบศูนย์บริหารการเรียนร่วมโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย จากแบบสอบถามชุดที่ 1 พบว่า ผลการดำเนินงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดระบบและโครงสร้างการบริหารของศูนย์ มีผลการดำเนินงาน มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านภาระงานของศูนย์ และด้านแนวทางการดำเนินงานตามภาระงานของศูนย์ ตามลำดับ ส่วนผลการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงานตามภาระงานของศูนย์นั้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยงานด้านวิชาการมีผลการดำเนินงานสูงสุด รองลงมาคือ ด้านงานบุคคล และด้านงานบริหารทั่วไปตามลำดับ จากแบบ สอบถามชุดที่ 2 พบว่าผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดย ข้อที่ 1 นักเรียนได้เรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการดำเนินงานมากที่สุด ( = 4.78) รองลงมาคือข้อที่ 2 ครูใช้วิธีการสอนที่หลากหลายมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน( = 4.67) และข้อที่ 10 นักเรียนมีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น ( = 4.44  ) ตามลำดับ ส่วนข้อที่ 7 นักเรียนได้แสดงออกเต็มตามศักยภาพของตนเอง( = 3.67) มีผลการดำเนินงานน้อยที่สุด

Abstract

This research was designed : 1) to investigate the state, problem and recommendation for small school management under the Office of Loei Educational Service Areas, 2) to develop the management model for the schools, and 3) to evaluate the results of the small schools management model.  The research procedures consisted of four phases : phase 1 was the study of current context.  Phase 2 was to develop the model, phase 3 was the model trial then evaluated the results of model usage was operated in phase 4.  The target comprised 15 informants for in-depth interview, 30 participants for the focus group discussion, 30 seminar participants, 3 small-sized schools volunteering to pilot the management model and 49 questionnaire respondents to evaluate the model implementing.  The research tools for data collection were the forms of field note, interview, observation, a questionnaire and the evaluation.  The collected data were analyzed by content analysis, frequency, mean and standard deviation. The research findings revealed as follows :

1. The main problem of small sized school administration was the academic administration and small sized schools should be cooperative in workload administration.

2. The school management model was found that the appropriate model was a small sized school collaborative administration center.  This administrative center was established for two small sized schools or more to co-work on the management for three workloads : 2.1) academic workload concerning syllabus, instructional activities, supervision and following up and assessment and evaluation. 2.2) personal workloads concerning personnel allocation and development, and 2.3) general affair workloads concerning correspondence and secretariat work. The center was run by the executive committee who were officially appointed by the authorization of the Educational Service Area Office.  According to the virtue  of the B.E. 2547 Ministerial Act, the rules, procedures and certain job scopes and description should be determined thus the authorized Educational Service Area Office would be responsible for representing the basic educational institutions or other government agencies called by other names.

3. The assessment results of the model implementing of a small sized school collaborative administration center based on the first set of questionnaires showed that the overall aspect of the implementing was at the high level.  The Center’s organizing and structuring management was ranked at the highest level followed by workloads and guidelines of the workloads respectively.  The results of the implementing according to the center’s workload was found at a high level. ( = 4.78) Considering each aspect, the academic workload was the highest results ( = 4.67) and followed by personal ( = 4.44  ) and general affair workloads respectively. ( = 3.67)   

Based on the second set of questionnaires, the total aspect of the implementing results was at  a high level.  The item #1 the students learned covering all matters of strands and the results of implementing was ranked at the highest level.  It was followed by the item # 2, teachers applied various teaching methods in the instructional activity approach and the item # 10 the students have new friends respectively.  The lowest level found was the item # 7, students presented their ability potentially.

Downloads

Download data is not yet available.

Issue

Section

Thesis article

License

ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ