บริษัทได้รับเงินปันผล เสียภาษีไหม

โดยมากบริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ หรือกำไรสะสมของกิจการ นั่นหมายความว่า บริษัทต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน ส่วนที่เหลือจะเป็นกำไรสุทธิหลังหักภาษีแล้ว จึงมาจ่ายเป็นเงินปันผล ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทต้องจ่ายภาษีถึง 2 ครั้ง (Double Tax) โดยครั้งแรก คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และครั้งที่ 2 คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล หรือหากจะนำมารวมเป็นรายได้ของบุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(4) ก็ต้องมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ถือเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน และไม่เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี ดังนั้นนักลงทุนจึงสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้


ตัวอย่าง ในปีที่ผ่านมา บริษัทมุ่งก้าวหน้า จำกัด (มหาชน) มีกำไรก่อนภาษี 100 บาท โดยบริษัทมุ่งก้าวหน้า จำกัด (มหาชน) จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% ของกำไรก่อนภาษี หรือเท่ากับ 20 บาท ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ (กำไรหลังหักภาษี) เท่ากับ 80 บาท สมมติว่า บริษัทมุ่งก้าวหน้า จำกัด (มหาชน) มีนโยบายจ่ายเงินปันผลทั้งหมดจากกำไรสุทธิให้แก่ผู้ถือหุ้น เงินปันผลดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้อีก 10% หรือเท่ากับ 8 บาท (10% ของ 80 บาท เท่ากับ 8 บาท) ทำให้นักลงทุนจะได้รับเงินปันผลไป 72 บาท ซึ่งจะเห็นว่าจากกำไร 100 บาทของกิจการ ได้เสียภาษีไปแล้ว 28 บาท


สิ่งที่เป็นประเด็นคือ เงินก้อนเดิมเสียภาษีถึง 2 ครั้ง ทำให้เงินปันผลลดลงจาก 100 บาท เป็น 80 บาท และเหลือ 72 บาทในที่สุด เท่ากับค่าภาษีประมาณ 28% ซึ่งถ้าปกติผู้ถือหุ้นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 10% เขาก็ควรจะเสียภาษีเพียงแค่ 10 บาทเท่านั้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกให้ผู้ถือหุ้นว่าจะใช้เลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่ก็ได้


ทั้งนี้กฎหมายได้ให้ทางเลือกว่า จะเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10% แล้วไม่ต้องนําเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้ประจำปี หรือจะนําเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้และเสียภาษีตามอัตราก้าวหน้าก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากเลือกที่จะนําเงินปันผลมารวมคำนวณแล้ว ต้องนําเงินปันผลทุกก้อนที่ได้รับจากทุกบริษัทมารวมคํานวณด้วย จะเลือกเฉพาะเงินปันผลของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาคำนวณไม่ได้

แต่เนื่องจากบริษัทแต่ละบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นปัจจัยที่ผู้ลงทุนจะใช้พิจารณาว่า เงินปันผลที่ได้รับนั้นสามารถนํามาเครดิตภาษีได้หรือไม่ก็คือ ให้เปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ลงทุน เทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่เราลงทุน โดยสามารถดูข้อมูลอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินปันผลที่ทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จัดส่งให้


จากตัวอย่างข้างต้น ภาษีของเงินปันผลที่ถูกหักไปคิดเป็นประมาณ 28% ของกำไรของกิจการ หากผู้ถือหุ้นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 10% ซึ่งน้อยกว่า 28% กรณีนี้เราก็ควรขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืน แต่หากผู้ถือหุ้นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตรา 30% ขึ้นไป ซึ่งมากกว่า 28% เราก็ไม่ควรขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืน เพราะกฎหมายได้ให้ทางเลือกว่าเราจะนำเงินปันผลมารวมหรือไม่รวมคำนวณเป็นเงินได้ก็ได้


อย่างไรก็ตาม หากต้องการความถูกต้อง ให้ลองคำนวณดูทั้ง 2 แบบ คือ ทั้งรวมและไม่รวมเงินปันผล แล้วพิจารณาภาระภาษีที่เกิดขึ้น วิธีไหนที่ทำให้เราสามารถประหยัดภาษีได้มากกว่า เราก็เลือกแบบนั้น เพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้รับผลประโยชน์ที่ถูกมองข้ามกลับคืนมาไม่มากก็น้อย


บทความโดย นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

 

เอากำไรที่ได้ มาเฉลี่ยจ่ายให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคนตามจำนวนหุ้นที่ถือเพื่อเป็นการตอบแทนที่ได้ร่วมลงทุนในกิจการมาด้วยกัน
  • ในขั้นตอนนี้จะเรียกกำไรที่เหลือ และได้เฉลี่ยจ่ายให้ผู้ถือหุ้นนี้ว่า “เงินปันผล”
  • เมื่อได้จ่ายปันผลมาให้ผู้ถือหุ้น กฎหมายจะบังคับหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% เสมือนเป็นภาษีค่าผ่านทาง ที่สุดท้ายแล้วผู้ถือหุ้นสามารถเลือก “หัก–จ่าย–จบ”  คือจ่ายตามนี้แล้วไม่ต้องเอาเงินปันผลที่ได้ไปยื่นภาษีตอนสิ้นปีอีกก็ได้ 
  • หรือจะเลือก “ยื่นรวมและเครดิต”  คือนำไปรวมคำนวณภาษีตอนสิ้นปีและเครดิตภาษีอีกทีก็ได้เหมือนกัน
  • ดังนั้นในขั้นตอนนี้หากผู้ลงทุนเลือก “หัก–จ่าย–จบ”  ที่อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ของกำไรที่เหลือ 80 บาท เท่ากับผู้ถือหุ้นจะได้เสียภาษีเงินปันผลอีก บาท เหลือเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง 72 บาท
  • ฟังเผิน ๆ ดูเหมือนกับว่าเรากำลังเสียภาษีเงินปันผลในอัตรา 10% แต่ถ้าเรานึกดูดี ๆ ก็จะพบว่าเงินปันผลและเงินกำไรของกิจการจริง ๆ แล้วก็คือเงินก้อนเดียวกัน และเราในฐานะเจ้าของกิจการคนหนึ่ง ก็ได้เสียภาษีให้รัฐบาลไปแล้วถึง รอบ คือรอบแรกที่จ่ายเป็นภาษีนิติบุคคล 20 บาท และรอบที่จ่ายเป็นภาษีเงินปันผลอีก บาท รวมเป็น 28 บาท จากเงินกำไรของกิจการ 100 บาท หรือเท่ากับเสียภาษีในอัตรา 28%
  • ดังนั้น ทันทีที่เราเลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายเงินปันผล 10% จริง ๆ แล้วเรากำลังเสียภาษีจากเงินที่เป็นของเรารวมแล้ว 28% ดังนั้นแนวทางคร่าว ๆ ในการตัดสินใจว่าจะยอม “หัก–จ่าย–จบ” หรือไม่ อาจต้องเช็กดูว่าขั้นบันไดภาษีบุคคลธรรมดาของเราตกอยู่ที่ขั้นไหน
  • เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
    คลิก //finno.me/open-plan

    เครดิตภาษีเงินปันผล คืออะไร?

    • การเครดิตภาษีเงินปันผล คือกระบวนการคิดกลับเพื่อให้ได้เงินปันผลก่อนที่จะถูกหักภาษีนิติบุคคล เพื่อให้นำไปคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาต่อไปได้โดยไม่เป็นการคำนวณภาษีซ้ำซ้อน
    • เราไม่จำเป็นต้องท่องจำสูตรคำนวณเลย เพราะในปัจจุบันเรามีตัวช่วยที่ทำให้การคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลง่ายกว่านั้นมาก
    • เพียงแค่เข้าไปใน Investor Portal ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะมีบริการให้ดาวน์โหลดไฟล์สำหรับใข้ยื่นภาษีเงินปันผลโดยเฉพาะ
    • ตอนจะยื่นภาษีก็เพียงแค่อัโหลดไฟล์ที่ได้มาลงไประบบยื่นภาษี ก็จะขึ้นข้อมูลมาให้ทั้งหมดว่า เราได้รับเงินปันผลมาเท่าไหร่ ถูกภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่ และได้เครดิตภาษีเงินปันผลเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้การจัดการภาษีเงินปันผลง่ายขึ้นเยอะ

    ตรวจสอบฐานภาษี: แล้วเราควรเลือกทางไหนดี?

    • ถ้าขั้นภาษีตกอยู่ที่ 30% ขึ้นไป (เงินได้พึงประเมินประมาณ 2,200,000 บาท/ปีเป็นต้นไป): กรณีนี้การ “หัก–จ่าย–จบ”  มีแนวโน้มจะคุ้มกว่า เพราะจะทำให้เสียภาษีเพียงแค่ 28% แต่ถ้า “ยื่นรวมและเครดิต” จะเสียภาษีเงินในอัตรา 30% หรือมากกว่า
    • ถ้าขั้นภาษีอยู่ที่ 25% ลงมา กรณีนี้การ “ยื่นรวมและเครดิต” มีแนวโน้มจะคุ้มกว่า เพราะจะทำให้เราเสียภาษีจริง ๆ เพียง 25% หรือน้อยกว่า แต่ถ้า “หัก–จ่าย–จบ” จะเสียภาษีในอัตรา 28%

    สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินปันผล

    • บริษัทแต่ละบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราที่ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจมีตั้งแต่ได้รับยกเว้นภาษี ไปจนถึงอัตราภาษีที่ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทและลักษณะการดำเนินธุรกิจของกิจการ ดังนั้นภาษีทั้งหมดที่เราเจออาจจะไม่ใช่ 28% เสมอไป อาจจะมากหรือน้อยกว่า 28% ไปอีกก็ได้ เพราะตัวอย่างที่ได้พูดถึง เป็นเพียงกรณีที่อัตราภาษีนิติบุคคลอยู่ที่ 20%
    • เมื่อเลือกแล้วว่า “หัก–จ่าย–จบ” หรือ“ยื่นรวมและเครดิต” จะต้องใช้วิธีการนั้น กับหุ้นทุกตัวที่มีอยู่ จะใช้วิธีนึงกับหุ้นตัวหนึ่ง และอีกวิธีหนึ่งกับหุ้นอีกตัวไม่ได้ 
    • ในปัจจุบัน เงินปันผลที่ได้จากกองทุนรวมหุ้น จะถูกนับว่าเป็นเงินได้ลักษณะเดียวกันกับเงินปันผลจากหุ้น ทำให้เมื่อเลือก หักจ่ายจบ หรือ ยื่นรวมและเครดิต” กับหุ้นหรือกองทุนหุ้นปันผลตัวใดตัวหนึ่งแล้ว ก็จะต้องใช้วิธีการเดียวกันนั้นกับหุ้นและกองทุนหุ้นปันผลที่มีอยู่ทั้งหมดด้วย แต่ปันผลที่ได้จากกองทุนหุ้นจะไม่สามารถใช้สิทธิ์เครดิตภาษีได้ 

     ทั้ง 3 ข้อนี้ มีผลทำให้การเลือก “หัก–จ่าย–จบ” หรือ “ยื่นรวมและเครดิต”  สำหรับนักลงทุนแต่ละคนมีความคุ้มค่าไม่เท่ากัน เพื่อความมั่นใจ นักลงทุนควรองคำนวณภาษีโดยใช้วิธีการทั้ง แบบ แล้วเปรียบเทียบกันดูว่าวิธีไหนทำให้ประหยัดภาษีได้มากกว่ากัน

    เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
    คลิก //finno.me/open-plan

    อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

    สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

    แท็ก:

    ArticleBasicFINNOMENA CHANNELKnowledgePersonalFinance101TAX เพื่อนๆVideoภาษีปันผลศัพท์การเงินเครดิตภาษีปันผลเงินปันผล

    ปันผลบริษัท เสียภาษีไหม

    *** หุ้นปันผล ต้องเสียภาษี 10% หุ้นปันผล หลายคนคงรู้แล้วว่า หากเราซื้อหุ้นไว้และได้รับเงินปันผล รายได้ส่วนดังกล่าวที่นักลงทุนได้รับ จะต้องเสียภาษี ณ ที่ จ่าย 10% ด้วย แต่รู้หรือเปล่า ว่า นักลงทุนสามารถขอเงินภาษี ที่ถูกเรียกเก็บ จากการมีรายได้จากเงินปันผลได้ แต่จะทำอย่างไร ตามมาดูกันเลย

    ปันผลหุ้น ลดหย่อนภาษีได้ไหม

    สรุปเลยว่า เงินปันผลที่เราได้จากหุ้นหรือกองทุนรวมก็ตาม ถือว่าเป็นรายได้ที่เราต้องเสียภาษี แต่ว่าเงินปันผลถือว่าเป็นเงินได้ชนิดพิเศษที่มีสิทธิ์ “Final Tax” อยู่ ดังนั้นเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้สิทธิหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าฐานภาษีเราเป็นยังไงนั่นเองงงง !!

    เล่นหุ้นต้องเสียภาษียังไง

    เป็นภาษีจากธุรกรรมการขายหุ้น (Transaction Tax) ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.10% (อัตราตามมาตรา 91/6(1)) ของมูลค่าที่ขาย แต่ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 240) พ.ศ.2534 จนถึงปัจจุบัน

    บริษัทจ่ายเงินปันผลจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็น

    รายได้ที่ผู้ลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าเงินปันผลที่ได้รับ แต่ผู้ลงทุนที่ เป็นบุคคลธรรมดาอาจเลือกนำเงินปันผลไปรวมคำนวณเป็นเงินได้ตอนสิ้นปีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากเลือกนำไป รวมคำนวณเป็นเงินได้ตอนสิ้นปีก็จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการเครดิตภาษีเงินปันผลนั้น ในส่วนของหุ้น

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ