อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย

ปิโตรเคมี คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง สารเคมีที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยผ่านกระบวนการทาง เคมีต่างๆ ที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (refinery process) และกระบวนการทางฟิสิกส์ (physical process) และสารปิโตรเคมีที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟินส์ ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน ฯลฯ อีกกลุ่มคือ อะโรเมติกส์ ได้แก่ เบนซิน โทลูอินและไซลีน ทั้งสามสารนี้รวมเรียกว่า BTX

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี คืออะไร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ โดยมีวัตถุดิบหลักมาจากการปิโตรเลียม ซึ่งมีหลากหลายประเภทมาก ตั้งแต่พลังงานต่างๆ เช่นน้ำมัน หรือ แก๊ส แล้ว อีกทั้งใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ก๊าซต่างๆ ไปจนกระทั่งเม็ดพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ อะไรก็แล้วแต่ที่มีต้นกำเนิดมาจาก ปิโตรเลียม อาจกล่าวได้ว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ทั้งสิ้น

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีอะไรบ้าง สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีนี้ แทบจะบอกได้เลยว่า ทุกอย่างในชีวิตประจำวันเราเลยมั้ง ในสมัยนี้เราคงอาศัยอยู่บนโลกนี้โดยไม่พึ่งพาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี แม้เพียงวันหนึ่ง ก็คงจะไม่ได้เสียแล้ว เพราะทุกอย่างในชีวิตของเราได้เปลี่ยนไปเสียแล้ว อยากรู้กันไหมครับว่า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นี้คืออะไรบ้าง ลองเข้าไปดูที่นี้ครับ สำหรับรายการ กบนอกกะลา จะช่วยเปิดโลกทัศน์ของเรา แล้วเราจะรู้ว่า แวดล้อมเรา มีแต่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

  • กลุ่มโอเลฟินส์ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดต่างๆ เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (พีวีซี) พอลิเอทิลีน (พีอี) นอกจากนั้นยังใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอีกหลายชนิด เช่น ลิเนียร์ แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้ผลิตผงซักฟอก
  • กลุ่มอะโรเมติกส์ ใช้เป็นตัวทำละลายและใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารเคมีอื่นๆ
    • เบนซิน ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตสบู่และผงซักฟอก ใช้ผลิตพลาสติกชนิดที่เรียกว่า “ABS” ซึ่งใช้ทำตัวเครื่องโทรทัศน์ ตัวตู้โทรทัศน์ หมวกกันน็อก ฯลฯ
    • โทลูอีน ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสี ทินเนอร์ กาว ยาฆ่าแมลง ฯลฯ
    • ไซลีน ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเส้นใย เส้นด้าย ขวดใส่อาหาร ถุงใส่อาหารร้อน ฯลฯ
  • ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา (Fuel Oil) เป็นต้น
  • ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstocks) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะเห็นว่าวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีล้วนมาจากผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมสามารถแบ่งตามการใช้ประโยชน์หลักๆ ได้ดังต่อไปนี้
  • ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการขับเคลื่อนยานพาหนะต่างๆ เช่น ก๊าซธรรมชาติเหลว (NGL) น้ำมันเบนซิน (Gasoline) น้ำมันดีเซล (Diesel) และน้ำมันเครื่องบิน (JET A1) เป็นต้น
  • ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน รวมถึงการใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เช่น ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา (Fuel Oil) เป็นต้น
  • ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstocks) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะนำวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเหล่านี้ ไปผลิตต่อเนื่องจนเป็น เม็ดพลาสติก ใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ สารเคลือบผิว และกาวต่างๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถือเป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐานของมนุษย์ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ รวมไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

โครงสร้างต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบตั้งต้น คิดเป็นร้อยละ 60-70 ของต้นทุนทั้งหมด ค่าพลังงานและค่าขนส่งประมาณร้อยละ 15-20 และต้นทุนคงที่ประมาณร้อยละ 15-20 จากโครงสร้างต้นทุนการผลิตดังกล่าวจะเห็นว่า ต้นทุนของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขึ้นอยู่กับทิศทางราคาปิโตรเลียมในสัดส่วนที่สูง ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องเน้นแข่งขันด้านต้นทุน ที่มาภาพประกอบ: Petrochemical Products

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีกระบวนการผลิตซับซ้อน และมีความเชื่อมโยงกันสูงในแต่ละขั้นตอนการผลิต ดังนั้นการลงทุนโรงงานปิโตรเคมีมักมีลักษณะเป็น Petrochemical complex ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากและพึ่งพิงเทคโนโลยีระดับสูง อีกทั้งจำเป็นต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภค ทำให้อุตสาหกรรมนี้ใช้เวลานานในการคืนทุน

โดยทั่วไป อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมีการเปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักร เนื่องจากการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มักเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economies of scale) เพื่อเตรียมพร้อมสนองความต้องการในอนาคต โดยการตัดสินใจขยายการลงทุนหรือลงทุนใหม่มักเกิดในช่วงที่ราคาปิโตรเคมีจะอยู่ในระดับสูง ซึ่งมักเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวดีทำให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอยู่ในระดับสูง หรืออยู่ในช่วงที่เกิดปัญหาอุปทานขาดแคลน ขณะที่การก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใช้เวลาประมาณ 3-7 ปี จึงอาจมีความเสี่ยงเกิดการลงทุนเกินขนาด (Oversized investment) และเกิดภาวะอุปทานล้นตลาด (Oversupply) หากการเติบโตของตลาดต่ำกว่าคาดการณ์ ซึ่งจะมีผลกดดันให้ราคาปิโตรเคมีมีทิศทางลดลง จากอดีตวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลกจะกินระยะเวลา 6-9 ปี แต่ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมีผลกระทบทั้งอุปสงค์และอุปทานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทำให้เห็นวัฏจักรของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลกไม่ชัดเจนนักในปัจจุบันโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ในโลกมักเป็นการลงทุนต่อยอดจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม โดยนำเอาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) ในกระบวนการผลิต ผลผลิตปิโตรเคมีขั้นสุดท้ายจะเป็นวัตถุดิบและสารประกอบพื้นฐานที่สำคัญในอุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย ทั้งนี้ การผลิตปิโตรเคมีแบ่งเป็น 4 ขั้นการผลิต ได้แก่

ขั้นที่ 1 การผลิตวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) ส่วนใหญ่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท(ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงแยกก๊าซ) และ แนฟทา (ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงกลั่นน้ำมัน) กว่าครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตปิโตรเคมีโลกใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น ซึ่งแนฟทาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้กันมากในเอเชียและยุโรป ขณะที่ประเทศในอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบตั้งต้นหลักเนื่องจากเป็นแหล่งที่มีความสมบูรณ์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถนำสารชีวภาพมาเป็นวัตถุดิบร่วมด้วย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์ม เป็นการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bio-plastic) ซึ่งนำไปสู่การลงทุนใหม่ๆ ในอนาคต

ขั้นที่ 2 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น (Upstream Petrochemical Industry) เป็นอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมีต้นน้ำ โดยนำวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 สายผลิตภัณฑ์ตามโครงสร้างโมเลกุล คือ 1) สายโอเลฟินส์(Olefins group) ประกอบด้วย มีเทน (Methane) เอทิลีน(EthyIene) โพรพิลีน(Propylene) มิกซ์ซีสี่หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 4 อะตอม (Mixed-C4) และ 2) สายอะโรเมติกส์(Aromatics group) ประกอบด้วย เบนซีน (Benzene) โทลูอีน (Toluene) และไซลีน(Xylene) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบและสารประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่นๆ

ขั้นที่ 3 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง (Intermediate Petrochemical Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่นำผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไปมาผลิตต่อ (อาจเป็นการนำผลิตภัณฑ์จากทั้งกลุ่มโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์มาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมกัน) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางที่สำคัญ เช่น ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl ChIoride) สไตรีน (Styrene) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายต่อไป

ขั้นที่ 4 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย (Downstream Petrochemical Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่นำผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีตั้งต้นและขั้นกลางมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นสุดท้าย เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายแบ่งได้ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

เม็ดพลาสติก (Plastic resins) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากที่สุด เช่น บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องอุปโภคบริโภค โดยมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น โพลีเอทิลีน (PoIyethyIene), โพลีโพรไพลีน (PolypropyIene) โพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) อะคริโลไนไตรล์-บิวทาไดอีน-สไตรีน (ABS) โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) และ โพลีสไตรีน (PS) ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ

เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic fibres) เช่น เส้นใยโพลีเอสเทอร์ (Polyester) เส้นใยโพลีอะไมด์ (PoIyamide Fibre หรือ Nylon Fibre) ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆเช่น สิ่งทอ บรรจุภัณฑ์

ยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber / Elastomers) เช่น ยางสไตรีนบิวตาไดอีน (SBR), ยางบิวตาไดอีน(BR) ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ยางรถยนต์ เครื่องอุปโภคบริโภค

สารเคลือบผิวและกาว (Synthetic coating and adhesive materials) เช่น โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate), Poly (Vinyl-Acetate) ซึ่งมักใช้เป็นวัตถุดิบและสารประกอบในอุตสาหกรรมอื่นๆ และภาคก่อสร้าง

ทั้งนี้การเลือกใช้วัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) ที่ต่างกัน เป็นปัจจัยกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ของแต่ละบริษัท เนื่องจากวัตถุดิบตั้งต้นแต่ละประเภทจะมีสัดส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่แตกต่างกัน จึงได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในสัดส่วนที่ต่างกัน เช่น ในการผลิตเอทิลีนหากใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิต จะได้เอทิลีนในสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 และได้ผลผลิตอื่นๆ สัดส่วนร้อยละ 20 แต่หากใช้แนฟทาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นจะได้เอทิลีนประมาณร้อยละ 30 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ร้อยละ 70

ที่มาภาพประกอบ: geograph.org.uk

โครงสร้างต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบตั้งต้น คิดเป็นร้อยละ 60-70 ของต้นทุนทั้งหมด ค่าพลังงานและค่าขนส่งประมาณร้อยละ 15-20 และต้นทุนคงที่ประมาณร้อยละ 15-20 จากโครงสร้างต้นทุนการผลิตดังกล่าวจะเห็นว่า ต้นทุนของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขึ้นอยู่กับทิศทางราคาปิโตรเลียมในสัดส่วนที่สูง ทำให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องเน้นแข่งขันด้านต้นทุน หรือเรียกว่า Cost-based business ผู้ประกอบการที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจะเป็นผู้ได้เปรียบในการแข่งขัน โดยต้นทุนการผลิต (Cash costs) ของผู้ประกอบการจะขึ้นอยู่กับทั้งประเภทวัตถุดิบตั้งต้น เทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ (Feedstock accessibiIity) จะเห็นได้ว่าการจัดการวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock management) เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต ดังนั้น หากโรงงานปิโตรเคมีตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ (Good proximity to raw materiaIs and market) จะช่วยลดค่าขนส่ง และสร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทได้มาก

นอกจากนี้ การลงทุนครบวงจร (Complex) ยังเป็นอีกปัจจัยความสำเร็จของบริษัท ซึ่งการลงทุนครบวงจรทำให้ผู้ผลิตสามารถจัดการด้านต้นทุนและผลผลิตได้ดีขึ้น ผู้ผลิตจะสามารถลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์และผู้ผลิตจะยังสามารถวางแผนการผลิตได้ดีขึ้น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย (Product fIexibility) จะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งการผลิตขนาดใหญ่ (SizabIe) ยังช่วยให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economies to scale) และลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยให้ต่ำลง

ตลาดปิโตรเคมีถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกันในระดับโลก ดังนั้น ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจึงถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก รวมถึงต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาในตลาดปิโตรเคมีใช้หลักการที่เรียกว่า Laggard-driven pricing ซึ่งหมายความว่าราคาตลาดจะถูกกำหนดจากต้นทุนของสินค้าหน่วยสุดท้ายที่ถูกบริโภค ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตสินค้าหน่วยสุดท้ายที่ถูกบริโภค จะมีผลโดยตรงกับราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี โดยราคาปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นปลายจะมีความสัมพันธ์ (CorreIation) กับราคาวัตถุดิบตั้งต้นเท่ากับร้อยละ 70-85 และร้อยละ 40-70 ตามลำดับ

ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และราคาวัตถุดิบตั้งต้น (Spread = Product prices -Raw material prices) จะสะท้อนกำไรเบื้องต้นของแต่ละผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายส่วนใหญ่เป็นธุรกิจต่อเนื่องจากการผลิตปิโตรเคมีขั้นต้น ดังนั้น อัตรากำไรของผู้ผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายจึงรวมถึง Spread ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นจนถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย

สำหรับความสามารถในการทำกำไรของผู้ผลิตปิโตรเคมีพิจารณาได้จากค่าการกลั่นรวมหรือ Gross Integrated Margins: GIM ซึ่งคำนวณจากส่วนต่างระหว่างมูลค่าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งหมดลบด้วยต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยค่าการกลั่นรวมขึ้นกับ Spread ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง (Cash costs) และอัตราการใช้กำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม ส่วนผสมผลิตภัณฑ์ (Product mix) ที่แตกต่างกันของแต่ละแหล่งผลิตและผู้ผลิตแต่ละราย ทำให้การเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันโดยพิจารณาจากค่า GIM ทำได้ยาก โดยทั่วไปนิยมใช้ Cash cost เป็นตัววัดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ Cash cost ของเอทิลีนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่มีปริมาณการผลิตมากที่สุดในโลก (สัดส่วนร้อยละ 32 ของปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นโลก) และเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลก

ที่มาภาพประกอบ: Industrial Valve News

จากการประมาณการณ์ของ Information Handling Services (IHS) คาดว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลกมีมูลค่าตลาดราว 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2017 และคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีก 5 ปี (ค.ศ. 2023) ข้างหน้า โดยมีจีนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าปิโตรเคมีรายใหญ่ที่สุดของโลก มีคิดเป็นสัดส่วนการผลิตราว ร้อยละ 29 และส่วนแบ่งการบริโภคร้อยละ 28 ขณะที่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตเอทิลีนสูงสุดในโลก (ร้อยละ 18) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 28) อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 19) ก่อสร้าง (ร้อยละ 14) รถยนต์ (ร้อยละ 12) และอื่นๆ (ร้อยละ 27) โดยความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีแต่ละประเภทมักจะขยายตัวราว 1-2 เท่าของการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายมีอะไรบ้าง

3.ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น! เพื่อสร้างความเข้าใจให้เห็นภาพกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 3 ชั้นได้อย่างชัดเจน อาจเปรียบเทียบได้กับการผลิตเสื้อผ้าและอาหาร ดังต่อไปนี้

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ระดับของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลาย โดยแต่ละขั้นจะแบ่งออกเป็นสองสายหลักคือ สายโอเลฟินส์และสายอะโรเมติกส์

อุตสาหกรรมปิดโตเคมีหมายถึงอะไร

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี, Example: อุตสาหกรรมที่นำเอาวัตถุดิบซึ่งมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอนไปเข้ากระบวนการเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ปิโตรเลียมที่ใช้เป็นวัตถุดิบได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท น้ำมันดิบ แนฟทา ก๊าซอีเทน โพรเพน บิวเทน เป็นต้น มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะเม็ดและผงพลาสติก สำหรับเป็น ...

ปิโตรเคมีภัณฑ์ มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

1. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภัณฑ์ขั้นต้น (Upstream petrochemical industry) 2. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภัณฑ์ขั้นกลาง (Intermediate petrochemical industry) 3. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย (Downstream petrochemical industry)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ