ต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม ตัวอย่าง

Ansoff Matrix เฟรมเวิร์คที่ช่วยให้คุณขยายธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งนับเป็นเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์และวางแผนการเติบโตของธุรกิจคุณนั่นเอง โดย Ansoff Matrix นั้นถูกพัฒนาโดย H. Igor Ansoff นักบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมันช่วยให้นักธุรกิจและนักการตลาดในการทำความเข้าใจความเสี่ยงต่างๆในการขยายธุรกิจ โดย Ansoff Matrix นั้นมีอยู่ 4 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ กลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Penetration) กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดเดิม (Product Development) กลยุทธ์บุกตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Development) และ กลยุทธ์หลายด้านด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดใหม่ (Market Development)

1. กลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Penetration)

กลยทุธ์เจาะตลาดที่บริษัทใช้ผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ในตลาด หรือเรียกได้ว่าเป็นการพยายามเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดนั่นเองครับ สามารถทำได้โดย

  • การลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้าเก่า หรือแม้แต่ลูกค้าใหม่ๆ
  • การออกโปรโมชันใหม่ๆ และหาช่องทางการกระจายสินค้าใหม่ๆ
  • พยายามโจมตีคู่แข่งในตลาดเดียวกัน

2. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดเดิม (Product Development)

กลยุทธ์นี้ต้องอาศัยการทำวิจัยและพัฒนา เพื่อหาโอกาสในการขยายสายผลิตภัณฑ์ ที่ควรใช้เมื่อธุรกิจนั้นมีความเข้าใจในตลาดอย่างถ่องแท้ และสามารถนำเสนอนวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ สามารถทำได้โดย

  • ลงทุนค่อนข้างมากในการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development – R&D) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเข้าสู่ตลาดเดิม
  • นำผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งมาวิเคราะห์ และใช้ทรัพยากรอย่างเป็นประโยชน์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองความต้องการลูกค้าสำหรับตลาดใหม่
  • หาคู่ค้าทางธุรกิจในการเข้าถึงช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์

3. กลยุทธ์บุกตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (Market Development)

การบุกตลาดใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์เดิมนั้น หมายถึง การเจาะตลาดใหม่ไม่ว่าจะเป็น ภูมิภาคใหม่ๆ กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง โดยธุรกิจนั้นมีเทคโนโลยีการผลิตเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และใช้ประโยชน์จากกลุ่มตลาดใหม่เพื่อสร้างกำไร และพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นต้องไม่ต่างจากตลาดเดิมมากเกินไป สามารถทำได้โดย

  • จัดกลุ่มลูกค้าในตลาดใหม่ให้ชัดเจน
  • บุกตลาดใหม่ในประเทศโดยการขยายธุรกิจไปตามภาคต่างๆ
  • บุกตลาดใหม่ในต่างประเทศโดยการขยายธุรกิจไปทั่วโลก

ตัวอย่าง เช่น Nike, Adidas ที่บุกตลาดจีนด้วยผลิตภัณฑ์เดิม แต่เป็นตลาดกลุ่มใหม่

4. กลยุทธ์หลายด้านด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับตลาดใหม่ (Diversification)

นับเป็นกลยุทธ์ที่ดูมีความเสี่ยงมากที่สุด ที่ทั้งจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และบุกตลาดใหม่ แม้ว่ากลยุทธ์ที่สร้างความหลากหลายนี้อาจทำให้เกิดการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ เข้าถึงความต้องการใหม่ๆ และสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็ตาม ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ต้องลงทุนค่อนข้างสูงกับทั้งตัวผลิตภัณฑ์และการเจาะตลาด ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

  • ความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกันระหว่างธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ กับผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดใหม่ เช่น ธุรกิจทำรองเท้าหนังที่ขยายสายการผลิต ไปทำกระเป๋าหนัง เบาะหนัง โซฟาหนัง
  • ความหลากหลายที่ไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ กับผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดใหม่ เช่น ธุรกิจทำรองเท้าหนังเริ่มแตกสายการผลิตไปทำโทรศัทพ์มือถือ

การใช้ Ansoff Matrix ให้ได้ผลดีนั้นก็ควรใช้การทำ SWOT Analysis และเทคนิคอื่นๆมาช่วย เพื่อให้การวิเคราะห์ในการขยายธุรกิจได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น

Tag : #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect #DataCollection #PrimaryResearch #FieldSurvey #เก็บแบบสอบถาม #รับจ้างเก็บแบบสอบถาม #วิจัยตลาด #รับทำแบบสัมภาษณ์ (In-deep Interview) #ทำFocus Group ระดับป.โทและดุษฎีนิพนธ์ #รับเก็บแบบสอบถาม (Questionaire) #หน่วยงานรัฐ #เอกชน #นักศึกษา #รับสำรวจตลาด #วิจัยตลาด #สอบถามข้อมูลร้านค้าหรือการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค #รับจัดEvent #แผนการตลาด #แผนธุรกิจ #กรุงเทพ #ต่างจังหวัด #รับคีย์ข้อมูล ทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน #ห้างร้านต่างๆ #เก็บข้อมูลทางสถิติ ทางบัญชี #จัดทำระบบข้อมูลอย่างสมบูรณ์ #รับวิเคราะห์ #รับประมวลผล #ทางสถิติ ที่เป็นทั้ง #สถิติพื้นฐาน #หาค่าเฉลี่ย (mean) #หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) #หาค่าเฉลี่ยสูงสุดต่ำสุด (Min-Max Variable) #รับทดสอบสมมติฐานทางสถิติ เช่น T-Test, Anova Correlation Regresstion หรืออื่นๆ #รับทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ เช่น #หาค่าความเที่ยงตรง (Validity) #ความเชื่อมั่น (Reliability) #ความยากง่าย (Difficulty) #อำนาจจำแนก (Discrimination) #ความเป็นปรนัย (Objectivity) #รับทำหรือใช้โปรแกรมทางสถิติอันได้แก่ โปรแกรม #รับทำ SPSS SAS Eview MINI-tab M-stat Endnote SAS Statt View Graph Prism ,โปรแกรม R, LISREL, Mathcad, MedCalc, MINITAB, MS-EXCEL, STATA, S-PLUS และอื่นๆ #รับทำ presentation  #รับทำ Powerpoint #SurveyMarketThailand #Survey #Data #DataCollect

บทความงาน > บทความตามสายงาน > New Product Development 8 ขั้นตอนออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาด

New Product Development 8 ขั้นตอนออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาด

  • 29 January 2022

           หากต้องการขายของสักอย่างหนึ่งในตอนนี้ ต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะขายอะไรดี ด้วยความที่โลกอินเทอร์เน็ตทำให้การเข้าถึงสินค้าเป็นไปได้ง่าย ใคร ๆ ก็ขายของได้ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กรายใหญ่ การจะออกโปรดักต์ให้โดนใจลูกค้า ทำยังไงให้สินค้าใหม่ติดตลาด จึงเป็นเรื่องที่ทั้งนักการตลาด เจ้าของกิจการ และแผนก R&D ต้องคิดหนัก แต่ไม่ต้องกังวลไป มีเครื่องมือทางการตลาดที่จะทำให้การออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาดไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้ารู้จัก New Product Development

           New Product Development หรือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ กระบวนการคิด ค้นคว้า ออกแบบ และแก้ไขปรับปรุงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ออกมาตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค โดยอาจเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน (Innovation) หรือเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้แปลกใหม่หรือตอบโจทย์มากกว่าเดิม (Modified) หรือจะเป็นการทำสินค้าใหม่ของบริษัทที่มีต้นแบบสินค้ามาจากบริษัทอื่นหรือสินค้าเดิมที่มีในตลาดมาอยู่แล้ว (Me-too) แนวคิดการทำ New Product Development เป็นแนวคิดของ Gary Armstrong และ Philip T. Kotler กูรูด้านการตลาด ผู้แต่งหนังสือ Marketing: An Introduction ที่ถูกตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง โดยสามารถทำผ่าน 8 ขั้นตอน ดังนี้

 

  1.     รวบรวมไอเดียและวิเคราะห์ข้อมูล (Idea Generation)

           ถ้ามีไอเดียสินค้าใหม่แล้ว ให้เริ่มขั้นตอนแรกด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลของไอเดียที่มีอยู่ในมือก่อน เริ่มจากวิเคราะห์ข้อมูลตามหลัก SWOT จะทำให้รู้ข้อดีข้อเสียของสินค้าหรือบริการที่เราอยากจะขาย จากนั้นให้วิเคราะห์ข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ ความสามารถของบริษัท ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นมีส่วนไหนบ้าง แล้วไปต่อที่การวิเคราะห์ข้อมูลโดยรอบ เช่น ข้อมูลทางการตลาด แนวโน้มความต้องการและการเติบโตของตลาด ข้อมูลคู่แข่ง แนวโน้มการคืนทุน โดยเราสามารถวางแผนงานไว้หลาย ๆ แบบได้ เพื่อตอบรับกับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

 

  1.     คัดเลือกและคัดกรองไอเดีย (Idea Screening)

           เมื่อรวบรวมข้อมูลของไอเดียการทำสินค้าใหม่ทั้งหมดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการคัดเลือกว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไหนจะได้ไปต่อ โดยควรกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อใช้ประเมินและคัดกรองไอเดีย เช่น ความเป็นไปได้ในการผลิต ส่วนแบ่งการตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคแค่ไหน รวมไปถึงความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์​เพื่อให้ได้ไอเดียของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีที่สุดมาพัฒนาต่อยอดและทำขายจริง

 

  1.     พัฒนาและทดลองแนวคิดของผลิตภัณฑ์ (Concept Development and Testing)

           เมื่อได้ไอเดียที่ดีที่สุดมาแล้ว ให้ลองนำไอเดียนั้นมาทดสอบกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจเป็นการทำ Marketing research กับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงเพื่อให้ได้ข้อมูล Insight เกี่ยวกับความรู้สึกของลูกค้าหรือผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ หรือความเข้าใจในผลิตภัณฑ์​ความต้องการที่ลูกค้ามีให้กับสินค้าหรือบริการที่เราอยากจะผลิตขายมีมาแค่ไหน

 

  1.     พัฒนากลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy Development)

           วิธีการแนะนำผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภครู้จักก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ ควรวางกลยุทธ์ทางการตลาดโดยเริ่มจากกำหนดเป้าหมายระยะสั้นในช่วง 2-3 ปีแรกที่เริ่มวางขายสินค้าว่าอยากมียอดขายเท่าไหร่ มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นยังไง สินค้านี้จัดอยู่ในตำแหน่งไหนของตลาด และสินค้านี้ขายให้ใครเป็นหลัก จากนั้นให้พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้รอบด้าน ทั้งทางด้านราคา การจัดจำหน่าย กิจกรรมส่งเสริมการขาย และต่อด้วยการวางแผลระยะยาวโดยพัฒนาต่อยอดจากกลยุทธ์ระยะสั้นที่พอจะทำให้เรามองเห็นทิศทางของตลาดได้ดียิ่งขึ้น

 

  1.     วิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analytics)

           เก็บข้อมูลขั้นตอนการทำสินค้าอย่างละเอียด อาจทำเป็น Spreadsheet หรือ Excel เพื่อให้เก็บข้อมูลแบบตารางได้อย่างละเอียด ข้อมูลที่ควรบันทึกไว้คือ ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่ผลิตไปจนตอนเปิดตัววางขาย ยอดขายสินค้าในแต่ละช่วง ผลตอบรับของตลาด ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้เห็นความคืบหน้าของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงรายละเอียดต้นทุนและกำไร ทั้งที่เป็นเงิน เป็นเวลา และเป็นแรงงานขององค์กรได้ดีขึ้น และช่วยให้สามารถวิเคราะห์ ประเมินผลและตัดสินใจทางธุรกิจได้แม่นยำกว่าเดิม

 

  1.     พัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development)

           เมื่อได้ไอเดียผลิตภัณฑ์และแผนงาน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยละเอียดมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะทดลองสร้างผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ออกมาจริง ๆ โดยอาจทำเป็นสินค้าตัวอย่างที่ยังไม่ระบุยี่ห้อก็ได้ จากนั้นก็เก็บ Feedback ที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกที่มีต่อสินค้า เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขสินค้าจริงให้ตอบโจทย์ลูกค้ายิ่งขึ้น

 

  1.     ทดสอบตลาด (Market Testing)

           เป็นขั้นตอนการนำสินค้าออกทดสอบกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยที่สินค้านั้นจะต้องมีการระบุยี่ห้อ มี Packaging เหมือนกับสินค้าที่จะออกวางขายจริง และมีกิจกรรมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายจริงด้วย เพื่อเป็นการทดสอบตลาดและศึกษาว่าผู้บริโภคมีความรู้สึกอย่างไรต่อสินค้า ช่องทางการขายตอบโจทย์เป้าหมายที่วางไว้ไหม และเป็นการหาข้อบกพร่องที่มีอยู่เพื่อเอามาใช้แก้ไขเวลาที่ต้องนำสินค้าออกสู่ตลาดจริง

 

  1.     การดำเนินธุรกิจ (Commercialization)

           ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการนำผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการที่ได้ผ่านการพัฒนาแล้วออกขายในตลาดจริง เก็บข้อมูลทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงข้อมูลของคู่แข่งด้วยว่ามียอดขายเช่นไร สินค้าเรามีส่วนแบ่งจริงในตลาดเท่าไหร่ จำเป็นต้องมีบริการหลังการขายไหม แผนโฆษณาที่คิดมามีผลตอบรับอย่างไร การกระจายสินค้าทำได้ดีหรือไม่ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขายสินค้านั้น ๆ ต่อไป

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

10 เรื่องน่ารู้ เมื่ออยาก ปั้นแบรนด์ ให้ดัง
บริหารแบรนด์ด้วยความจริงใจ สร้างลูกค้า Slow Cooker ถึงอยู่ห่างไกล แต่หัวใจไม่เคยห่างกัน
รวม 10 Podcast สำหรับคนทำงาน ฟังเพลิน ให้ความรู้ ปลุกแรงบันดาลใจ

New Product Development  ติดตลาด  ตีตลาด  ผลิตภัณฑ์ใหม่  สินค้าใหม่

บทความยอดนิยม

ช้อปดีมีคืน 2566 รวมทุกเรื่องต้องรู้! ช้อปแบบไหนถึงมี (เงิน) คืน

มาตรการลดหย่อนภาษีประจำปี “ช้อปดีมีคืน” ของทางภาครัฐกลับมาอีกครั้ง ชาวไทยผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจึงพากันให้ความสนใจโครง...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ