การปฐมพยาบาลเบื้องต้น แขนหัก

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยประดูกหัก

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์

การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
          1. เพื่อช่วยชีวิต
          2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
          3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
          4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

          

ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี ประการใหญ่ ๆ คือ


1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้

          1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี

          1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ

          1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น


2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
          2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
          2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
          2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น

หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล

1.เมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ต้องรีบช่วยเหลือทันที ยกเว้นในกรณีที่มีอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ เช่น มีแก็สพิษ มีวัสดุกีดขวาง เป็นต้น ให้ย้ายผู้ป่วยออกมาในที่ปลอดภัยเสียก่อนจึงดำเนินการช่วยเหลือ
2.ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในกรณีที่จะมีอันตรายต่อชีวิตโดยรีบด่วนก่อน
3.อย่าให้มีคนมุง ทั้งนี้เพื่อให้มีอากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ อีกทั้งสะดวกในการให้การปฐมพยาบาลด้วย
4.จัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่เหมาะสมในการปฐมพยาบาล และไม่เพิ่มอันตรายแก่ผู้บาดเจ็บด้วย ควรจัดให้อยู่ในท่านอนหงายและทางเดินหายใจโล่ง พร้อมทั้งสังเกตอาการต่างๆ ของผู้บาดเจ็บ และวางแผนการให้การช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ สังเกตสิ่งแวดล้อมว่ามีสิ่งของอันตรายอยู่ใกล้เคียงหรือไม่ ลักษณะของผู้บาดเจ็บนั้นบ่งบอกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย (suicide) หรือ ถูกทำร้าย (homocide) หรือ เป็นอุบัติเหตุที่แท้จริง
5.บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ อาการ ลักษณะของผู้บาดเจ็บเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลที่ได้ทำลงไป พร้อมทั้งนำติดตัวไปกับผู้บาดเจ็บเสมอเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อไป
6.อย่าทำการรักษาด้วยตนเอง ให้เพียงการปฐมพยาบาลที่จำเป็นอย่างถูกต้อง แล้วนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที

การปฐมพยาบาลผู้ที่กระดูกหัก

กระดูกหัก หมายถึง ภาวะที่ส่วนประกอบของกระดูกแตกแยกออกจากกัน อาจเป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิง หรืออาจมีบางส่วนติดกันอยู่บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแรงที่มากระแทกต่อกระดูก ทำให้แนวการหักของกระดูกแตกต่างกัน

ชนิดของกระดูกหัก
โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

  1. กระดูกหักชนิดปิด (closed fracture) 
  2. กระดูกหักชนิดเปิด (opened fracture) ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการสังเกต


1. กระดูกหักชนิดปิด คือ กระดูกหักแล้วไม่ทะลุผิวหนังและไม่มีบาดแผลบนผิวหนังตรงบริเวณที่หัก


2. กระดูกหักชนิดเปิด คือกระดูกหักแล้วทิ่มแทงทะลุผิวหนัง ทำให้มีแผลตรงบริเวณที่กระดูกหัก โดยอาจไม่มีกระดูกโผล่ออกมานอกผิวหนังก็ได้ แต่มีแผลเห็นได้ชัดเจน

กระดูกส่วนต่างๆ ที่พบการแตกหักได้
1. กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvic fracture)
2. กระดูกกระโหลกศีรษะแตก (Skull fracture)
3. กระดูกขากรรไกรล่างหัก (Lower Jaw fracture)
4. กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle fracture)
5. กระดูกซี่โครงหัก (Ribs fracture)
6. กระดูกข้อมือหัก (Colle' s fracture)
7. กระดูกต้นแขนหัก
8. กระดูกสันหลังหัก (Spinal fracture)

____________________________________________________________

1. กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvic fracture) 

ส่วนใหญ่จะเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนกัน และตกจากที่สูง ในรายผู้สูงอายุการหักของกระดูกชนิดนี้มีอันตรายมาก ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น มีการบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลำไส้ และอวัยวะสืบพันธ์

อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหลังจากได้รับอุบัติเหตุ มีอาการเคล็ดหรือรอยฟกช้ำบริเวณเชิงกราน ยกขาข้างที่กระดูกเชิงกรานหักไม่ได้ขณะนอนหงาย ขาและเท้าข้างที่หักจะแบะออกข้างๆและอาจจะสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง ถ่ายปัสสาวะอาจมีเลือดปนออกมาด้วย


การปฐมพยาบาล
1. เข้าเฝือกชั่วคราวป้องกันไม่ให้บริเวณกระดูกเชิงกรานเคลื่อนไหว ด้วยการวางผ้านุ่มๆ ระหว่างขาทั้งสองข้างตั้งแต่หัวเข่าถึงปลายเท้า ใช้ผ้าพันไขว้กันเป็นเลข 8 บริเวณเท้าและพันเข่าทั้ง 2 ข้างให้ชิดกัน
2. เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ในท่านอนหงาย



2. กระดูกกะโหลกศีรษะแตก (Skull fracture)

อาการและอาการแสดง

ถ้ามีกระดูกแตกหรือร้าวเพียงอย่างเดียวมักจะมีอาการปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน แต่ถ้ากระดูกแตกแล้วบุ๋มไปกดสมอง ก็จะมีอาการทางสมอง คือ ซึมลง อาเจียนพุ่ง พฤติกรรมเปลี่ยนไป ขนาดของรูม่านตาไม่เท่ากัน แขนขาไม่มีแรงซีกใดซีกหนึ่ง อาจมีเลือดหรือน้ำไขสันหลังออกทางจมูกหรือหู และไม่รู้สึกตัว หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น

การปฐมพยาบาล
1. ประเมินบาดแผลและอาการของผู้บาดเจ็บ กรณีที่กะโหลกศีรษะแตกเล็กน้อย มีเลือดซึมไม่มาก หลังจากทำแผลแล้วแนะนำให้ญาติสังเกตอาการทางสมองต่ออีก 24-48 ชม. โดยในระยะนี้ไม่ควรให้ยาแก้ปวด เพราะอาจทำให้การประเมินอาการทางสมองผิดได้ และถ้ามีอาการทางสมองให้รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อการรักษาในขั้นต่อไป
2. พยายามช่วยเหลือให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าสุขสบายที่สุด ถ้ารู้สึกตัวจัดให้อยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน หาเบาะรองศีรษะและไหล่ไว้ ถ้ามีเลือดหรือน้ำไขสันหลังออกจากหู ให้เอียงศีรษะมาทางด้านที่บาดเจ็บ โดยใช้ผ้าสะอาดปิดหูไว้แต่อย่าอุดหู ถ้าไม่รู้สึกตัวให้จัดอยู่ในท่านอนราบศีรษะเอียงไปทางด้านที่บาดเจ็บ พร้อมทั้งตรวจนับอัตราการหายใจ การเต้นของชีพจร ระดับความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ ถ้าหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้รีบปฏิบัติการกู้ชีวิตทันที
3.ในรายที่มีอาการทางสมองหรือไม่รู้สึกตัวให้งดอาหารและน้ำดื่มทางปาก และนำส่งโรงพยาบาล

3. กระดูกขากรรไกรล่างหัก (Lower Jaw fracture)
สาเหตุอาจเกิดจากการถูกตี หกล้มคางกระแทกพื้น ถูกต่อยหรืออุบัติเหตุบนท้องถนน



อาการและอาการแสดง

ปวดเมื่ออ้าปาก หรือหุบปาก และพูดลำบาก คางผิดรูป อาจมีเลือดและน้ำลายไหลออกจากปาก เหงือกฉีกเป็นแผล ฟันหักหรือโย้เย้ผิดรูป ฟันไม่สบกัน อาจมีแผลบริเวณคางหรือภายในช่องปาก

วิธีการปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักต้นแขนหักอย่างไร

ปฐมพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหักและข้อเคลื่อน.
อย่าพยายามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตนเอง.
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้วิธีตัดตามตะเข็บ.
ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อให้บวิเวณที่บาดเจ็บนั้นอยู่นิ่ง ๆ และอยู่ในท่าที่สบาย ด้วยการใช้ผ้าพยุงหรือดามไว้ด้วยเฝือกชั่วคราวให้อยู่ในท่าพัก.

ขาหักควรปฐมพยาบาลอย่างไร

อย่าดึง หรืออย่าพยายามจัดท่าจัดรูปร่างของอวัยวะนั้นกลับที่ตำแหน่งเดิม.
คงอวัยวะนั้นให้อยู่นิ่งมากที่สุด โดยอาจหาผ้ามาคล้อง หรือเข้าเฝือกชั่วคราวด้วยตนเอง.
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า ให้ใช้กรรไกรตัดตามตะเข็บ เพื่อหลีกเลี่ยงการขยับอวัยวะนั้น.
ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บ.
รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด.

ข้อพึงระวังในการช่วยเหลือผู้ป่วยกระดูกหักมีอะไรบ้าง

อย่าพยายามดึงข้อ หรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตนเอง - หากจาเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้วิธีตัดตามตะเข็บ - ใช้วัสดุที่หาได้หนุนหรือประคองข้อให้บริเวณที่บาดเจ็บนั้นอยู่นิ่ง ๆและอยู่ในท่าที่สบาย ด้วยการใช้ผ้าพยุง หรือดามไว้ด้วยเฝือกชั่วคราวให้อยู่ในท่าพัก - ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น เช่นผ้าหรือถุงใส่น้าแข็ง

ก่อนทำการปฐมพยาบาลควรปฎิบัติอย่างไร

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น.
ใช้สำลีเช็ดเลือด และกดห้ามเลือด.
ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบ ๆ แผล.
ใช้สำลีชุบเบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีนใส่แผลสดทารอบ ๆ แผล.
ใช้ผ้าพันแผล หรือพลาสเตอร์ปิดแผล.
รีบน้ำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้กรณีบาดแผลรุนแรง.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ