จง ยก ตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความ แตก ต่าง ระหว่างสิทธิบัตร และ อนุ สิทธิบัตร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรกันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ แต่ยังแยกความแตกต่างไม่ออก ไม่รู้ว่าถ้าเรามีงานออกแบบของเราหรืองานประดิษฐ์ของเราแล้วเราจะจดคุ้มครองเป็นลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรดี วันนี้ผมมีหลักการพิจารณาง่ายๆ เพื่อให้ท่านสามารถตัดสินใจได้ว่าจะจดงานของท่านเป็นสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ครับ

อันดับแรกก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าลิขสิทธิ์เป็นกฎหมายที่มีไว้คุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเป็นงานศิลปกรรม วรรณกรรม งานถ่ายภาพ งานแพร่ภาพกระจายเสียง หรืองานทางด้านศิลปะอื่นๆ ซึ่งมีระบุไว้ในพรบ.ลิขสิทธิ์ ดังต่อไปนี้ ครับ

  1. งานวรรณกรรม (รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  2. งานการแสดง
  3. งานวิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม ได้แก่
  • ภาพวาด
  • ประติมากรรม
  • งานพิมพ์
  • งานตกแต่งสถาปัตย์
  • ภาพถ่าย
  • ภาพวาดเขียน แผนที่ ภาพร่าง
  • งานประยุกตศิลป์ (งานประยุกตศิลป์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากวันจัดสร้าง)

4. งานดนตรี

5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)

6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)

7. งานภาพยนตร์

8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ

9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

สำหรับสิทธิบัตรนั้นมีไว้เพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืองานวิจัย ซึ่งจะต้องมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสามารถผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรมด้วย

เพื่อให้ชัดเจนขึ้นผมขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ครับ

หนังสือและงานประพันธ์ต่างๆ ถือเป็นงานลิขสิทธิ์

หากเราแต่งหนังสือขึ้นมาสักเล่มหนึ่ง แล้วต้องการจดทะเบียนไม่ให้มีใคร copy เนื้อหา หรือทำซ้ำลอกเลียนหนังสือของเรา อันนี้จะถือเป็นงานลิขสิทธิ์และต้องจดเป็นลิขสิทธิ์ครับเพราะถือเป็นงานวรรณกรรม งานประพันธ์ (อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์โดยละเอียดได้ ที่นี่ ครับ)

งานประดิษฐ์และงานวิจัยต่างๆ ถือเป็นงานสิทธิบัตร

หากต้องการคุ้มครองงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ได้คิดค้นขึ้น เช่น สูตรสารเคมี, กรรมวิธีการผลิต, กรรมวิธีการเก็บรักษา, ตลอดจนกลไก หรือองค์ประกอบทางวิศวกรรม สามารถขอรับความคุ้มครองเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรได้ แต่ยังมีสิทธิบัตรอีกประเภทเรียกว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะรูปร่างรูปทรง สีสัน ลวดลายภายนอกของผลิตภัณฑ์เท่านั้น โดยขอบเขตความคุ้มครองไม่รวมถึงกลไกการทำงานภายในแบบผลิตภัณฑ์นั้นๆ (อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิบัตรโดยละเอียดได้ ที่นี่ ครับ)

โลโก้ต้องจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า

ทีนี้หลายคนก็จะเกิดความสงสัยว่าแล้วถ้าออกแบบโลโก้ ออกแบบแบรนด์ขึ้นมาแล้วเราจะสามารถจดเป็นสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์ดีก็ต้องขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่าโลโก้หรือแบรนด์ที่ต้องการที่จะจดทะเบียนเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้นจะไม่สามารถจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรได้ครับเพราะจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าแยกต่างหาก เพราะถึงแม้ว่าโลโก้นั้นจะเป็นภาพวาดหรือลายกราฟิกซึ่งน่าจะได้รับการคุ้มครองตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ แต่วัตถุประสงค์นั้นมีไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ดังนั้นก็ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงจะได้รับความคุ้มครองครับ

สรุปง่ายๆ ก็คือถ้าต้องการออกแบบโลโก้และใช้เป็นเครื่องหมายการค้าหรือใช้เป็นแบรนด์ของเราแบบนี้ก็ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเลยครับ แต่ถ้าเราประดิษฐ์อะไรขึ้นมาได้ มีงานวิจัยหรืองานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้จดสิทธิบัตรไปเลยครับ แต่ถ้าเกิดว่าเรามีงานประพันธ์ วรรณกรรม ภาพวาด ภาพถ่าย งานแต่งเพลง หรืองานศิลปะอื่นๆ ก็ให้จดลิขสิทธิ์ไปเลยครับ

อย่างไรก็ตามลิขสิทธิ์นั้นแตกต่างกับเรื่องสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าอยู่เล็กน้อยตรงที่งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองทันทีเมื่อมีการสร้างขึ้นมา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนก็ได้ครับแต่ถ้าเกิดว่าเราต้องการหลักฐานว่าเราเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมาจริงเพื่อเอาไปใช้เป็นหลักฐานก็สามารถทำได้โดยการไปจดแจ้งลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ครับ ส่วนเครื่องหมายการค้ากับสิทธิบัตรนั้นจะต้องจดทะเบียนก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดยยึดหลักที่ว่าใครจดทะเบียนก่อนก็ได้มีสิทธิ์ก่อน คนที่มาทีหลังก็จะไม่สามารถจดทะเบียนซ้ำเดิมกับที่เราจดไปแล้วได้ครับ

มาถึงตรงนี้ทุกท่านก็คงเข้าใจมากขึ้นแล้วว่าจะจดคุ้มครองงานของตัวเองเป็นอะไรดีระหว่างลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า แล้วอย่าลืมรีบจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของทุกท่านกันนะครับจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวเวลาถูกละเมิด

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธี

สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

3 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่

สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศและต่างประเทศ วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้านหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น

สิ่งประดิษฐ์นั้นต้องมีลักษณะทางเทคนิคที่ไม่เป็นที่เข้าใจต่อผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ ในแวดวงเดียวกันได้โดยง่าย การยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้นนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการพิจารณา อย่างไรก็ตามจากการสืบค้นผ่านฐานข้อมูลต่างๆ คุณจะสามารถเข้าใจได้มากขึ้นว่าสิ่งประดิษฐ์ที่กำลังจะยื่นจดนั้น เป็นสิ่งที่มีการพัฒนาเหนือชั้นกว่าสิ่งเดิมหรือไม่ หนทางหนึ่งที่ใช้กันก็คือการใช้ข้อมูลเสริมที่ได้จากผลการทดสอบ ผลการวิจัย หรือผลการสืบค้น prior arts และเพิ่มข้อมูลเหล่านี้ในส่วนรายละเอียดการประดิษฐ์หรือเอกสารประกอบการยื่นจดฯ เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ท่านพยายามยื่นจดฯ นั้นมีความแตกต่างและมีลักษณะทางเทคนิคที่สูงกว่างานประดิษฐ์ก่อนๆ

3. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้

การประดิษฐ์ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯได้

  • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
  • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
  • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • กรรมวิธีผลิตผงซักฟอกใหม่ที่มีส่วนประกอบของสารสมุนไพรหลายฃนิด (ไม่เป็นสารสกัดจากผลิตภัณฑ์น้ำมัน) เมื่อนำเอาสิ่งเหล่านี้มาผ่านกรรมวิธีการผลิตนี้แล้วทำให้เกิดผลบวกต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ (ควรมีผลการทดลองเพื่อประกอบการยื่นจดด้วย) เช่นการฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่บนผ้า การระงับการแพร่เชื้อโรค ขจัดคราบต่างๆ และไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลที่ดีเหนือกว่าผงซักฟอกแบบเดิม
  • ระบบไฮบริดใหม่ (Hybrid) ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนในเครื่องยนต์และมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและประหยัดต้นทุน เหนือกว่าเครื่องยนต์ระบบไฮบริดแบบเดิมในตลาด
  • ระบบการผลิตไม้กอล์ฟแบบใช้ข้อมูลดิจิตอลมาประกอบการผลิต ที่อำนวยให้ลูกค้าสามารถเลือกรูปร่างลักษณะ ขนาด ความโค้งมนและวัสดุให้ตรงตามความต้องการ ด้วยระบบการผลิตชนิดนี้ทำให้สามารถผลิตไม้กอล์ฟได้อย่างรวดเร็วทันที ลูกค้าสามารถรอรับกลับบ้านได้
2. อนุสิทธิบัตร

ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธีอนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับจากวันที่ยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น เจ้าของสิทธิสามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี แต่ทั้งหมดไม่เกิน 10 ปีหลักเกณฑ์ “ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น” จะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร เหมาะสมกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาหรือมีการปรับปรุงเล็กน้อย

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับอนุสิทธิบัตร

1. ใหม่
สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านฐานข้อมูลหลายๆทาง ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยาสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. สามารถใช้ในอุตสาหกรรมได้
เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจตรงกันว่าการประดิษฐ์อะไรก็ตามแต่ ต้องมีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมด้านใดด้านหนึ่ง ในประเทศไทย การประดิษฐ์จะต้องไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ของประชากรโดยรวมหรือประเทศชาติ ดังเช่นอาวุธชีวเคมีหรืออุปกรณ์ในการขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต และขอเพิ่มเติมว่าแม้อุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมและมีคุณค่าในทางอุตสาหกรรมสูง สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการประดิษฐ์ที่ไม่สามารถนำมายื่นจดฯ ได้

  • จุลชีพหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่สกัดออกมาจากต้นไม้หรือสัตว์
  • ทฤษฎีหรือกฏวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
  • ฐานข้อมูล โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัยและการรักษาโรคให้กับมนุษย์และสัตว์

ตัวอย่างการประดิษฐ์ที่อาจได้รับความคุ้มครองด้วยอนุสิทธิบัตร

  • การออกแบบถุงใส่ไม้กอล์ฟที่มีพื้นที่แบ่งเป็นสัดส่วน เหมาะกับการจัดเก็บไม้กอล์ฟไม่ให้หล่นหรือหลุดออกจากถุงได้ มีช่องสำหรับใส่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถุงมือ ลูกกอล์ฟ หรือไม้สำหรับตั้งลูกกอล์ฟ (tee)
  • หม้อต้มที่มีก้นหม้อเป็นพื้นผิวโค้งมน เพื่อกระจายความร้อนจากเตาให้หม้อต้มได้รับความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหุงต้มได้รวดเร็วขึ้น
  • สูตรเครื่องสำอางที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมอนุภาคทองขนาดนาโนเมตร (เรียกอีกอย่างว่า อนุภาคนาโน) ที่ช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างประกายหลังการทา
3. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

คุ้มครองรูปลักษณ์ ลวดลาย หรือสีสันของงานออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น (ไม่ปกป้องในแง่ของการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย)

สิทธิบัตรการออกแบบมีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด และได้รับการคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น

2 หลักเกณฑ์ในการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1. ใหม่

สิ่งประดิษฐ์นี้ต้องเป็นสิ่งใหม่ในเวทีโลก ผู้ยื่นจดต้องตรวจสอบว่ามีความเหมือนกับงานประดิษฐ์อื่นหรือไม่ ผ่านแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งฐานข้อมูลสิทธิบัตร วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่มีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้ยื่นจดต้องไม่เผยแพร่สาระสำคัญของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ก่อนวันที่จะยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งอาจรวมไปถึงการเผยแพร่ในการประชุมสัมมนา การออกร้าน สื่อออนไลน์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2. สามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหรืองานหัตถกรรมได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการยอมรับในอุตสหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ในประเทศไทยนั้น การออกแบบจะต้องไม่ไปกระทบต่อความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและไม่สื่อถึงสิ่งอบายมุขหรือลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่นการออกแบบนาฬิกาที่มีรูปลักษณ์เหมือนกับอวัยวะเพศ หรือโคมไฟที่มีลักษณะเหมือนกับเศียรพระพุทธรูป

ตัวอย่างการออกแบบที่อาจได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • กระถางปลูกต้นไม้ที่มีก้นเป็นรูปทรงกลมมน
  • ตู้เย็นที่มีรูปร่างคล้ายนกเพนกวิน
  • การออกแบบรถจักรยานยนต์ที่มีความหลากหลายดีไซน์แต่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอยคล้ายกัน
IDG ยินดีให้คำปรึกษา พร้อมให้บริการจดสิทธิบัตรทั้งในไทยและต่างประเทศ ครอบคลุมกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

เพิ่มเติม

  • กฎระเบียบและขั้นตอนในการยื่นจดสิทธิบัตร สามารถหาได้จากส่วนสิทธิบัตรของเว็บกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์หรืออนุสิทธิบัตรในต่างประเทศ โปรดยื่นจดผ่านระบบ Patent Cooperation Treaty (PCT) หรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักสิทธิบัตรในแต่ละประเทศโดยตรง คนที่มีสัญชาติไทยหรือคนต่างชาติที่อยู่ในกลุ่มภาคีสมาชิคของ PCT สามารถยื่นจดสิทธิบัตร (เป็นภาษาอังกฤษ) กับกลุ่ม PCT ชั้น 6 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT หาได้จาก //www.wipo.int/pct/en/ และเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สำหรับการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศ โปรดติดติอผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศได้โดยตรง
  • ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่เป็นหนึ่งในสมาชิคของ Hague System ซึ่งเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ยื่นในการยื่นจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ในหลายๆ ประเทศ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นจดการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ทาง: //www.wipo.int/hague/en/

Share this article

Facebook

Twitter

LinkedIn

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ IDG

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมให้คำแนะนำคุณ

LINE

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี คืออะไร?

ค่าใช้จ่ายคือ การที่เราจ่ายเงินชำระสินค้า หรือบริการ เพื่อนำมาใช้ในกิจการซึ่งเจ้าของธุรกิจ

อ่านต่อ »

จดทะเบียนบริษัท ราคาโดนใจ

เพราะก้าวเเรกของการทำธุรกิจเป็นก้าวที่สำคัญให้เราเป็นส่วนนึง

อ่านต่อ »

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำหรับภาคธุรกิจ คืออะไร ?

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนอยู่ภายใต้การดูเเลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI : The Board of Investment )

ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร คืออะไร

ความคุ้มครองของทั้ง 2 ประเภทเหมือนกัน ยกเว้น ระยะเวลาที่คุ้มครองที่ไม่เท่ากัน.
ทั้ง 2 ประเภท ต้องเป็นสิ่ง “ใหม่”.
สิทธิบัตร ต้องเป็นงานที่มีความซับซ้อน หรือเป็นสิ่งที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง แต่อนุสิทธบัตรไม่ต้อง.
ระยะเวลาตั้งแต่การยื่นขอรับสิทธิบัตรจนถึงได้รับสิทธิบัตร นานกว่า อนุสิทธิบัตร.

ลิขสิทธิ์ และ สิทธิบัตร แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

สิทธิบัตร กฎหมายคุ้มครองเพื่อ “มุ่งคุ้มครอง การประดิษฐ์ และ การออกแบบ ที่ผู้ประดิษฐ์ หรือผู้คิดค้น ขึ้นใหม่ โดยให้ความคุ้มครองเพื่อประโยชน์ในทางผลกำไร หรือในทางธุรกิจ ” ลิขสิทธิ์ กฎหมายมุ่งคุ้มครอง “ความคิดริเริ่ม การสร้างสรรค์งานตามที่กฎหมายกำหนด อาจจะมีความซ้ำ หรือ คล้าย กับงานที่สร้างสรรค์มาแล้วก็ได้”

สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และการออกแบบผลิตภัณฑ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

-สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นการคุ้มครองโครงสร้างภายนอกของผลิตภัณฑ์ ส่วนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นเป็นการคุ้มครองโครงสร้างภายในของผลิตภัณฑ์

อนุสิทธิบัตร มีอะไรบ้าง

อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ