รี ไฟแนนซ์ บ้าน 2563 ธนาคาร ไหน ดี

เปรียบเทียบข้อมูลรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี 2563 หรือรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารเดิม อยากเพิ่มวงเงิน และดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านเท่าไหร่ ดูได้ที่ iMoney

รีไฟแนนซ์บ้าน – สำหรับคนมีภาระส่งค่างวดต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่าบ้านหรือค่ารถ มีความรู้สึกไหมว่าทำไมเดือนหนึ่งๆมันถึงได้เร็วนัก เงินเดือนที่รับมาได้เชยชมแค่ไม่กี่วันก็ต้องบินจากไปให้เขาแล้ว โดยเฉพาะหนี้ส่งบ้านที่มียอดสูงๆ ส่งช้าก็ไม่ได้เพราะดอกเบี้ยแพงเหลือเกิน เมื่อมองหาช่องทางซ้ายขวาเหมือนจะมีวิธีช่วยให้ผ่อนเบาๆลงบ้างก็เห็นจะเป็นการรีไฟแนนซ์บ้านนั่นเอง สำหรับคนที่กำลังสนใจอยู่มาค่ะวันนี้จะพาไปทำความรู้จักให้ครบทุกมุม เผื่อเพื่อนๆคนไหนต้องการรีไฟแนนซ์อยู่จะได้จัดการได้เลย


รับคำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ที่ Line@ ของ iMoney


Advertising :


หัวข้อ (คลิ้กที่ Link เพื่อดูรายละเอียด)

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร

รีไฟแนนซ์บ้าน คือ การขอสินเชื่อใหม่กับธนาคารเดิมหรือธนาคารใหม่ โดยใช้บ้านที่เป็นสินทรัพย์เดิมมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อ และนำเงินที่ได้รับจากการรีไฟแนนซ์นั้นมาโปะหนี้เก่าทั้งหมด โดยที่จะต้องเริ่มผ่อนใหม่อีกครั้ง การรีไฟแนนซ์นั้นไม่ใช่เพียงแค่บ้านเท่านั้นที่สามารถทำได้ แต่คอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว ก็นำมารีไฟแนนซ์ได้เช่นกัน โดยเงื่อนไขส่วนใหญ่ของธนาคารแล้วหากต้องการรีไฟแนนซ์จะต้องผ่อนไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงจะสามารถรีไฟแนนซ์ได้ แต่ถ้ารีไฟแนนซ์ก่อน 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับให้กับธนาคาร

จุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์บ้าน

สำหรับใครหลายคนที่ยังลังเลว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านดีไหม ทำไมจะต้องรีไฟแนนซ์ ซึ่งในส่วนนี้ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับเหตุผลของแต่ละคน เพราะทุกคนมีเหตุผลไม่เหมือนกัน วันนี้เราได้รวบรวมเหตุผลดีๆในการรีไฟแนนซ์มาฝากกันว่าทำไมหลายคนจึงเลือกที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน

ลดภาระดอกเบี้ยที่สูง 

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่แล้วจะมีโปรโมชั่นส่วนลดดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรกเท่านั้น หลังจากนั้นดอกเบี้ยก็จะปรับเพิ่มสูงขึ้น เป็นดอกเบี้ยลอยตัว MLR หรือ ดอกเบี้ยลอยตัวแบบมีส่วนลดเป็น MLR – และอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ธนาคารก็ไม่เท่ากันด้วย หากใครที่ต้องการลดภาระดอกเบี้ยสูง การ

รีไฟแนนซ์ จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดให้กับคุณได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะรีไฟแนนซ์ก็ควรที่จะหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบว่าดอกเบี้ยแต่ละธนาคารเป็นอย่างไรบ้าง ระหว่างรีไฟแนนซ์ธนาคารเดิมกับธนาคารใหม่ แล้วเลือกธนาคารที่คิดว่าดีที่สุดให้กับตัวเอง

ลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน

เมื่อรีไฟแนนซ์บ้านแล้ว ดอกเบี้ยก็จะถูกลง ทำให้การผ่อนค่างวดบ้านในแต่ละงวด หรือแต่ละเดือนก็ลดลงไปด้วย เช่น จากเดิมที่ผ่อนอยู่ที่เดือนละ 12,000 บาท เมื่อรีไฟแนนซ์แล้วยอดผ่อนก็จะเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 8,000 บาท เป็นต้น เงินส่วนต่างนี้คุณก็สามารถนำไปใช้จ่ายอย่างอื่นเพื่อหมุนเวียนได้อีกด้วย

เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน

สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้เงินเพื่อมาใช้จ่าย ค่าโน้นนี้ ค่าจิปาถะต่างๆ ครั้นจะไปกู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยก็สูงถึงร้อยละ 20 หรือถ้าจะกดเงินจากบัตรเครดิต ดอกเบี้ยก็สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 28 ต่อปี แต่ถ้าเปรียบเทียบแล้วหากนำบ้านมารีไฟแนนซ์ ไม่เพียงแต่จะได้รับเงินส่วนต่างนี้แล้ว ดอกเบี้ยก็ถูกกว่าการกู้เงินในแบบอื่นๆ ก็จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับคุณได้

การรีไฟแนนซ์บ้าน มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

แน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์อะไรก็แล้วแต่ จะเป็นบ้าน รถยนต์ บัตรเครดิต ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ส่วนใครที่กำลังจะรีไฟแนนซ์บ้านนั้นก็ควรที่จะต้องรู้ด้วยว่าการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร เพื่อที่จะได้ชั่งใจก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์

ข้อดีในการรีไฟแนนซ์บ้าน 

  • ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านจะถูกกว่าเดิม
  • ยอดผ่อนแต่ละเดือนลดลงไปตามดอกเบี้ยที่ถูกลง
  • ได้รับเงินส่วนต่างมาหมุนเวียนใช้จ่ายในครอบครัวหรือธุรกิจ

ข้อเสียในการรีไฟแนนซ์บ้าน 

  • เริ่มต้นผ่อนใหม่ ทำให้ระยะเวลาการเป็นหนี้นานขึ้น
  • มีค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน เช่น ค่าดำเนินการ ค่าจดจำนอง ค่าประเมินหลักทรัพย์ เป็นต้น
  • เสียเวลาในการเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการขอยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน และอาจจะมีการยื่นมากกว่าหนึ่งธนาคาร

เตรียมตัวก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน อย่างไร

การเตรียมตัวก่อนที่รีไฟแนนซ์บ้านนั้นก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการรีไฟแนนซ์รถยนต์ หรือรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตเลย เพราะส่วนใหญ่แล้วก็จะทำคล้ายๆกัน ซึ่งวันนี้เราจะบอกวิธีการเตรียมตัวก่อนที่จะรีไฟแนนซ์บ้านมาฝากสำหรับใครที่คิดกำลังจะรีไฟแนนซ์บ้านกันค่ะ

ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเอง

แม้ว่าการรีไฟแนนซ์จะมีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันก็ตาม แต่การรีไฟแนนซ์ก็คือการขอสินเชื่อใหม่ ธนาคารก็จะต้องมีการประเมินคุณสมบัติของผู้ที่จะมารีไฟแนนซ์ ฉะนั้นเพื่อความรอบคอบและไม่ให้เสียเวลาในการรีไฟแนนซ์ คุณควรที่จะต้องตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติในการรีไฟแนนซ์หรือไม่ เช่น มีเงินเดือน หรือรายได้อื่นๆเป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารไหม เพราะธนาคารก็จะพิจารณาในส่วนนี้ด้วยว่าคุณมีความสามารถในการชำระหนี้ได้หรือไหม และที่สำคัญที่ผ่านมาของการผ่อนบ้าน รวมถึงภาระหนี้สินอื่นๆของคุณ มีประวัติการชำระหนี้เป็นอย่างไร เพราะถ้าที่ผ่านมามีประวัติการผิดนัดชำระหนี้อยู่บ่อยๆ โอกาสที่จะได้รับอนุมัติก็ลดน้อยลง หรือถ้ามีการปิดหนี้ต่างๆไปแล้วก็จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยค่ะ

เปรียบเทียบเงื่อนไข ดอกเบี้ย ความคุ้มค่า การรีไฟแนนซ์แต่ละธนาคาร

ก่อนที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน ก็ควรที่จะต้องรู้ว่าแต่ละธนาคารมีโปรโมชั่นอะไรบ้างในการรีไฟแนนซ์ อัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลนี้ควรที่จะสอบถามกับธนาคารเดิมที่เป็นหนี้อยู่ และธนาคารใหม่หลายๆธนาคาร เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ว่าเลือกรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหนถึงจะคุ้มมากที่สุด แต่ก็อาจจะมีบางคนที่สงสัยว่าการรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม หรือธนาคารใหม่ดีกว่า ถ้าจะให้แนะนำก็น่าจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่จะดีกว่า เพราะส่วนใหญ่แล้วถ้ารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมจะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่าเมื่อเทียบดอกเบี้ยของธนาคารใหม่ที่ถูกกว่า

ตรวจสอบภาระหนี้ที่เหลืออยู่กับธนาคารเดิม

ควรที่จะไปติดต่อกับธนาคารเดิม เพื่อที่จะได้ดูยอดหนี้ว่าขณะนี้มีหนี้เหลืออยู่เท่าไร และหากต้องการโปะหนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างไหม เพราะการที่คุณรู้ยอดหนี้เดิมและค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายเพิ่มนั้น จะเป็นช่วยทำให้สามารถคำนวณได้ว่าถ้ารีไฟแนนซ์แล้วจะมีเงินเหลืออยู่เท่าไร คุ้มหรือไม่กับการรีไฟแนนซ์

ขั้นตอนในการรีไฟแนนซ์บ้านมีอะไรบ้าง

เมื่อคุณได้มีการเตรียมตัวในการรีไฟแนนซ์บ้านแล้ว ก็เริ่มที่จะอยากรู้แล้วถ้าต้องการขอรีไฟแนนซ์นั้นจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ยุ่งยากหรือไม่นั้น มาดูรายละเอียดกันค่ะ

เลือกธนาคารที่ดีที่สุดในการรีไฟแนนซ์

จากการที่หาข้อมูลรีไฟแนนซ์ของแต่ละธนาคารแล้ว ก็ให้นำมาเปรียบเทียบดูดอกเบี้ย เงื่อนไข วงเงินในการอนุมัติ แล้วเลือกธนาคารที่ให้ข้อเสนอดีที่สุด เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากการรีไฟแนนซ์ได้อย่างคุ้มค่า

ตรวจสอบภาระหนี้สินเชื่อบ้านกับธนาคาร

คุณจะต้องไปตรวจสอบกับธนาคารเดิมว่า ตอนนี้มีภาระหนี้เหลืออยู่เท่าไร และหากต้องการรีไฟแนนซ์สามารถทำได้หรือไม่ เพราะบางธนาคารก็กำหนดว่าจะต้องเกิน 2 – 3 ปี ขึ้นไป จึงจะสามารถรีไฟแนนซ์ได้ หากคุณผ่อนไปแค่ปีเดียว ก็อาจจะรีไฟแนนซ์ไม่ได้หรืออาจจะต้องเสียค่าปรับในการรีไฟแนนซ์

จัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นรีไฟแนนซ์

คุณจะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อประกอบการรีไฟแนนซ์ ซึ่งเอกสารก็จะประกอบไปด้วย เอกสารด้านข้อมูลส่วนตัว เอกสารแสดงรายได้ และเอกสารด้านหลักประกัน เป็นต้น

ยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร

การยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านนั้น สามารถทำได้ทั้งกับธนาคารเดิม หรือธนาคารใหม่ โดยที่คุณสามารถยื่นขอ

รีไฟแนนซ์บ้านได้ในครั้งเดียวกับหลายธนาคาร เพื่อที่จะได้รู้ว่าแต่ละธนาคารไหนให้วงเงินเท่าไร แล้วคุณพอใจกับธนาคารไหน โดยส่วนใหญ่แล้วหลังจากยื่นเอกสารทั้งหมดครบถ้วน ธนาคารก็จะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร

หลังสินเชื่อรีไฟแนนซ์อนุมัติ

หลังจากที่ทราบผลอนุมัติแล้วก็ให้ติดต่อกับธนาคารเดิม เพื่อจะได้นัดวันไถ่ถอนที่กรมที่ดิน โดยที่ธนาคารจะสรุปยอดหนี้ทั้งหมดมาให้ และธนาคารก็จะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารมาทำนิติกรรมที่กรมที่ดินระหว่างคุณกับธนาคาร

ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

ธนาคารใหม่จะนัดคุณให้ไปเซ็นสัญญาและจดจำนองที่สำนักงานกรมที่ดินในวันเดียวให้เสร็จ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาของคุณ หลังจากนั้นธนาคารก็จะให้เช็คคุณมาทั้งหมด 2 ใบ ใบแรกก็จะให้คุณนำไปใช้หนี้กับธนาคารเดิมตามยอดหนี้ที่คุณแจ้ง ส่วนเช็คอีก 1 ใบ ก็จะเป็นเงินส่วนต่างที่คุณจะได้รับหลังจากรีไฟแนนซ์บ้าน

เอกสารในการรีไฟแนนซ์บ้าน

เอกสารประกอบการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นจะอยู่ในขั้นตอนการขอรีไฟแนนซ์ แต่เพื่อขยายความให้คุณได้เข้าใจมากขึ้น หากต้องการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

เอกสารข้อมูลส่วนตัว

  • สำเนาบัตรประชาชน/บัตรรัฐวิสาหกิจ/บัตรข้าราชการพร้อมฉบับจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกหน้า ทุกคนพร้อมฉบับจริง
  • สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ในมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ พร้อมฉบับจริง
  • สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (กรณีที่เปลี่ยนแปลง)
  • กรณีที่เป็นเจ้าธุรกิจ จะต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน
    • สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
    • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
    • สำเนาหนังสือใบทะเบียนพาณิชย์

เอกสารแสดงรายได้

  • สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือนต้นฉบับ
  • กรณีที่มีรายได้อื่นๆที่ไม่ได้มาจากเงินเดือนให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  • หน้า Book Bank และสำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน

เอกสารด้านหลักประกัน

  • สำเนาโฉนดที่ดินทุกหน้า หรือจะเป็นสำเนา นส.3 ก ทุกหน้า
  • สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด กรณีที่เป็นคอนโดมิเนียม
  • สำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง หรือใบอนุญาตปลูกสร้างบ้าน หรือ ทด.13
  • สำเนาใบเสร็จสินเชื่อบ้านย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
  • สำเนาสัญญาเงินกู้จากธนาคารเดิม

ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรีไฟแนนซ์บ้าน

การรีไฟแนนซ์บ้านนั้นย่อมจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องเสีย ดังนั้น คุณควรจะต้องเตรียมเงินสำรองสำหรับการรีไฟแนนซ์ด้วย ว่าแต่จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างแล้วประมาณเท่าไร มาดูรายละเอียดกันค่ะ

ค่าประเมินหลักประกัน

รีไฟแนนซ์บ้านนั้น ก็เป็นการขอสินเชื่อใหม่ ธนาคารจะต้องทำการประเมินหลักทรัพย์ว่ามีมูลค่าเท่าไร เพื่อจะได้กำหนดวงเงินสินเชื่ออนุมัติให้กับคุณได้ โดยจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการประเมินที่คุณจะต้องจ่าย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะขึ้นอยู่วงเงินอนุมัติ แต่จะไม่เกิน 3,000 บาท หรือบางธนาคารก็มีโปรโมชั่นฟรีค่าประเมินหลักทรัพย์ให้ค่ะ

ค่าจดจำนอง

หลังจากสินเชื่ออนุมัติแล้วจะต้องมีการโอนชื่อกรรมสิทธิ์ ก็จะต้องมีการจดจำนอง และจ่ายเงินให้กับกรมที่ดินอยู่ที่ 1% ของวงเงินกู้ เช่นเดียวกันบางธนาคารก็มีโปรโมชั่นฟรีค่าจดจำนอง ทำให้คุณไม่ต้องจ่ายเงินในส่วนนี้

ค่าอากรแสตมป์

จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ในการทำสัญญาเงินกู้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติ

ค่าธรรมเนียมอื่นๆในการจัดรีไฟแนนซ์ของธนาคาร

ในส่วนนี้นั้นก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารว่ามีการคิดค่าธรรมเนียมในการดำเนินการต่างๆ และบางธนาคารก็ฟรีค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ ฉะนั้นควรจะเช็คค่าใช้จ่ายแต่ละธนาคาร

ค่าประกันอัคคีภัย

แม้ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์บ้านก็ตาม แต่คุณก็ยังจะต้องทำประกันอัคคีภัยอยู่ดี ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยนั้นก็จะขึ้นอยู่กับวงเงินคุ้มครอง เช่น เบี้ยประกัน 2,000 บาทต่อมูลค่าบ้าน 1,000,000 บาท ธนาคารบางแห่งก็จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้ครึ่งหนึ่งบ้าง หรือฟรีเบี้ยประกันภัยในช่วงปีแรก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

ค่าปรับกรณีที่รีไฟแนนซ์

กรณีที่คุณรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนดที่สามารถรีไฟแนนซ์ได้ ก็จะต้องเสียค่าปรับซึ่งจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1 – 5 ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ค่าปรับนี้ก็จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร

รีไฟแนนซ์บ้านที่อยู่ระหว่างการผ่อนได้ไหม

หลายคนสงสัยว่าบ้านที่อยู่ระหว่างการผ่อนนั้นสามารถนำมารีไฟแนนซ์ได้หรือไม่ ซึ่งก็จะต้องบอกว่าสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการรีไฟแนนซ์รถยนต์เลย ไม่ว่าจะอยู่ระหว่างการผ่อน หรือว่าผ่อนหมดแล้ว ก็นำมารีไฟแนนซ์ได้เหมือนกัน โดยมีวิธีการขอรีไฟแนนซ์ดังนี้

กรณีที่เลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม

สำหรับที่กำลังผ่อนบ้านอยู่นั้นและมีความจำเป็นต้องการใช้เงินก้อน ซึ่งเลือกที่จะรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม เพื่อความง่าย สะดวกนั้นก็แนะนำให้ไปติดต่อกับธนาคารเดิม แล้วแจ้งความต้องการได้เลยว่าอยากจะรีไฟแนนซ์เพื่อต้องการเงินส่วนต่างมาหมุนเวียน ธนาคารก็จะแนะนำโปรโมชั่นส่วนลดอัตราดอกเบี้ย พร้อมกับบอกวงเงินกู้แบบคร่าวๆว่าจะได้รับประมาณเท่าไร หากพึงพอใจก็ยื่นเรื่องกับธนาคารเดิมได้เลย

กรณีที่เลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่

สำหรับใครที่อยากรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่นั้น แนะนำให้ไปสอบถามโปรโมชั่น เงื่อนไข คุณสมบัติการสมัครรีไฟแนนซ์ และที่สำคัญจะต้องดูดอกเบี้ยด้วยว่าเท่าไร ถ้าจะให้ดีควรที่จะเปรียบเทียบหลายธนาคารอย่างน้อยก็สัก 3 – 5 แห่ง แล้วหาธนาคารที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดกับดอกเบี้ยต่ำที่สุด และยื่นขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารอย่างน้อย 3 แห่ง เพื่อที่เวลาอนุมัติจะได้เลือกธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด

รีไฟแแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่า

จริงอยู่ว่ารีไฟแนนซ์บ้านนั้นจะช่วยทำให้ลดอัตราดอกเบี้ยที่สูง ยืดระยะเวลาการผ่อนได้นานขึ้น ยอดเงินผ่อนจ่ายรายเดือนก็น้อยลง ทำให้สภาพการเงินคล่องตัวมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะบางคนอยากรีไฟแนนซ์ก็หาข้อมูลไม่ละเอียดพอ ทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านในครั้งนั้นแทนที่จะประหยัดไปเป็นหลักแสนก็อาจจะเหลือแค่หลักพันเท่านั้น วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับว่ารีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดกันค่ะ

มองหาดอกเบี้ยที่ต่ำจากดอกเบี้ยเดิม

ด้วยการแข่งขันของธนาคารเพิ่มมากขึ้น ทำให้แต่ละธนาคารจัดโปรโมชั่นส่วนลดมากมาย สินเชื่อรีไฟแนนซ์ ก็ยังมีดอกเบี้ยให้เลือกหลายแบบ ฉะนั้นแน่นอนว่าถ้าต้องการรีไฟแนนซ์ให้คุ้มค่าก็จะต้องหาข้อมูลมาเปรียบเทียบส่วนต่างของดอกเบี้ย และไม่ใช่ว่าจะมาดูแค่ดอกเบี้ยในช่วงปีแรก หรือ 3 ปีแรกเท่านั้น แนะนำว่าควรจะดูทั้งสัญญา เพราะว่าบางครั้งเราอาจจะรีไฟแนนซ์แค่ครั้งเดียว ฉะนั้นก็จะต้องดูข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ รวมไปถึงจำนวนเงินที่จะต้องผ่อนต่อเดือน ระยะเวลาในการผ่อน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยการคิดดอกเบี้ยของธนาคารเช่นกัน วันนี้เรามีตัวอย่างมาให้คุณได้ลองดูกันค่ะ

ยกตัวอย่าง กรณีที่มีสินเชื่อบ้าน ยอดหนี้คงเหลืออยู่ที่ 3,000,000 บาท และมีระยะเวลาการผ่อนที่เหลืออีก 27 ปี ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้ปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.15 ต่อปี ผลคำนวณที่คิดได้ก็จะเป็นดังนี้

ธนาคารเดิม ยอดหนี้สินเชื่อบ้านเดิมอยู่ที่ 3,000,000 บาท

  • อัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป ร้อยละ 6.15 ต่อปี

รีไฟแนนซ์กับธนาคาร A ยอดหนี้สินเชื่อบ้านเดิมอยู่ที่ 3,000,000 บาท

  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1            ร้อยละ 0.99 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 2            ร้อยละ MRR – 00 ต่อปี หรือเท่ากับ 5.37 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 3            ร้อยละ MRR – 00 ต่อปี หรือเท่ากับ 5.37 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 4 ขึ้นไป ร้อยละ MRR – 25 ต่อปี หรือเท่ากับ 6.12 ต่อปี

รีไฟแนนซ์กับธนาคาร B ยอดหนี้สินเชื่อบ้านเดิมอยู่ที่ 3,000,000 บาท

  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1            ร้อยละ 3.60 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 2            ร้อยละ 3.60 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 3            ร้อยละ 3.60 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 4 ขึ้นไป ร้อยละ MRR – 2.275 ต่อปี หรือเท่ากับ 5.22 ต่อปี

รีไฟแนนซ์กับธนาคาร C ยอดหนี้สินเชื่อบ้านเดิมอยู่ที่ 3,000,000 บาท

  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1            ร้อยละ 0.99 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 2            ร้อยละ MRR – 75 ต่อปี หรือเท่ากับ 4.37 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 3            ร้อยละ MRR – 50 ต่อปี หรือเท่ากับ 4.60 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 4 ขึ้นไป ร้อยละ MRR – 50 ต่อปี หรือเท่ากับ 5.62 ต่อปี

คราวนี้เรามาลองดูจากตารางเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าระหว่างไม่รีไฟแนนซ์นั้นจะต้องเสียดอกเบี้ยเท่าไร แต่ถ้ารีไฟแนนซ์แล้วดอกเบี้ยจะอยู่ที่เท่าไร ซึ่งในที่นี้เรานำมาเปรียบเทียบกัน 3 ธนาคาร ดังนี้

ธนาคารดอกเบี้ย 3 ปีแรกดอกเบี้ยตลอดสัญญาเดิม541,081 บาท3,156,472 บาทธนาคาร A335,520 บาท2,878,654 บาทธนาคาร B313,262 บาท2,423,187 บาทธนาคาร C284,281 บาท2,573,240 บาท

ดังนั้น จะสรุปได้เลยถ้ารีไฟแนนซ์นั้นจะช่วยทำให้ประหยัดเงินไปได้มากเลย

  • หากรีไฟแนนซ์กับธนาคาร A
    • ประหยัดดอกเบี้ย 3 ปีแรกได้มากถึง 205,562 บาท
    • ประหยัดตลอดสัญญาจะประหยัดได้ถึง 277,818 บาท
  • หากรีไฟแนนซ์กับธนาคาร B
    • ประหยัดดอกเบี้ย 3 ปีแรกได้มากถึง 227,819 บาท
    • ประหยัดตลอดสัญญาจะประหยัดได้ถึง 733,285 บาท
  • หากรีไฟแนนซ์กับธนาคาร C
    • ประหยัดดอกเบี้ย 3 ปีแรกได้มากถึง 256,800 บาท
    • ประหยัดตลอดสัญญาจะประหยัดได้ถึง 583,232 บาท

ควรศึกษาเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน

ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินๆทองๆนั้น สิ่งที่ควรจะต้องทำเลยก็คือ ศึกษารายละเอียดแล้วก็ทำความเข้าใจด้วยว่า รีไฟแนนซ์คืออะไร ทำไมต้องรีไฟแนนซ์ เพราะการที่รู้ข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้เวลาไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่อย่างน้อยก็มีข้อมูลพื้นฐานที่สามารถตอบโต้กันได้ และเมื่อเริ่มเข้าใจแล้วก็หาข้อมูล

รีไฟแนนซ์ของแต่ละธนาคารนำมาดูจุดเด่น จุดด้อย เพื่อวิเคราะห์ก่อนที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน

เปรียบเทียบราคาประเมินของตลาด

บ้านยิ่งนานวันไปราคาก็ย่อมมีเปลี่ยน ควรที่จะเปรียบเทียบราคาประเมินของบ้านกับหนี้ที่เหลืออยู่ เช่น บ้านตอนที่ซื้อมีมูลค่า 5,000,000 บาท เมื่อผ่อนจ่ายมานานกว่า 3 ปี ทำให้หนี้ลดลงเหลืออยู่ที่ 4,000,000 บาท แต่เมื่อนำบ้านมารีไฟแนนซ์ใหม่ ราคาประเมินที่ดิน ณ ปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 6,000,000 บาท ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่ายอดหนี้ที่เหลืออยู่ ถ้าคุณขอกู้เงินเต็มจำนวนประเมินคุณก็จะมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายอยู่ที่ 2,000,000 บาท แต่ในบางครั้งหากมีการประเมินแล้วว่าบ้านนั้นมีมูลค่าน้อยกว่าหนี้สินที่เหลืออยู่ก็ทำให้ไม่สามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้เช่นกัน

เปรียบเทียบโปรโมชั่นของธนาคาร

นำข้อมูลสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านมาเปรียบเทียบทั้งดอกเบี้ย โปรโมชั่น เพราะบางธนาคารจะมีฟรีค่าประเมินหลักทรัพย์ ฟรีค่าจดจำนอง ฟรีค่าธรรมเนียมต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล่ะก็จะถือว่าเป็นข้อได้เปรียบ ทำให้คุณประหยัดเงินที่จะต้องจ่ายได้อีกหลายบาทเลย

ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์บ้าน

สำหรับใครที่ตั้งใจแล้วว่าต้องการรีไฟแนนซ์บ้านแน่ๆ เพราะต้องการลดภาระดอกเบี้ยที่มีการปรับสูงขึ้น อยากมีเงินก้อนไว้ใช้หมุนเวียนนั้น ก่อนที่จะรีไฟแนนซ์ก็ควรที่จะต้องรู้ด้วยว่าการรีไฟแนนซ์มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

จ่ายค่าปรับกรณีรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด

สินเชื่อบ้านเกือบจะทุกธนาคารเลยก็ว่าได้ที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องผ่อนอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถรีไฟแนนซ์ได้ แต่ถ้าหากต้องการรีไฟแนนซ์ก่อน 3 ปี ก็จะต้องเสียค่าปรับประมาณ 3% ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

การรีไฟแนนซ์บ้านนั้นไม่ว่าจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมหรือธนาคารใหม่ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะค่าประเมินหลักทรัพย์ ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ และค่าดำเนินการอื่นๆ ซึ่งคุณก็จะต้องคำนวณเงินเผื่อในส่วนนี้ด้วยว่าหากรีไฟแนนซ์แล้วมีเงินเหลือแต่เมื่อหักกับค่าใช้จ่ายในส่วนที่จะต้องจ่ายนั้นคุ้มค่าหรือไม่

อัตราดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้าน

หากใครที่อยากจะรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยที่สูงนั้น ก็สามารถต่อรองกับธนาคารเดิมว่าอยากได้ดอกเบี้ยลดลงหน่อยได้ไหม หรือเท่ากับดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ เพราะบางธนาคารก็สามารถพูดคุยกันได้ หากได้คุณก็ไม่ต้องเสียเวลาในการรีไฟแนนซ์ แต่ถ้าไม่ได้ก็จะต้องมองหาธนาคารใหม่ แต่ก็จะต้องเช็คแบบละเอียดสักนิดว่าดอกเบี้ยที่ได้รับใหม่นั้นคุ้มค่าจริงๆหรือไม่

สิ่งสำคัญของการรีไฟแนนซ์บ้านอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากข้อมูลที่เราได้บอกไปนั้นไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูล เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย โปรโมชั่น เงื่อนไขต่างๆ นั้น แต่คุณจะต้องมองถึงศักยภาพของตัวเองด้วยว่า คุณมีพร้อมมากน้อยแค่ไหน เพราะสุดท้ายแล้วหากเลือกจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารไหนก็ตาม ธนาคารก็จะต้องพิจารณาคุณสมบัติของคุณเป็นอย่างแรกว่ารายได้เป็นอย่างไร มีหน้าที่การงานมั่นคงไหม มีเงินออมไว้บ้างหรือไม่ รวมไปหนี้ภาระหนี้สินต่างๆไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคล และยังรวมไปถึงประวัติการชำระที่ผ่านมาอีกด้วย หากมีหน้าที่การงานมั่นคง มีรายได้สูงพอประมาณ ภาระหนี้ไม่มาก และจ่ายค่างวดตรงทุกครั้ง โอกาสในการอนุมัติก็ง่าย แต่ถ้าทุกอย่างดีหมดทั้งหน้าที่การเงิน เงินเดือน แต่มีประวัติการผิดนัดชำระหนี้อยู่บ่อยครั้ง โอกาสในการอนุมัติก็จะเหลือน้อยลงไป ฉะนั้นก่อนรีไฟแนนซ์ก็ควรจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมค่ะ

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านทุกธนาคาร

10 สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านสุดคุ้มประจำปี 2563 รีไฟแนนซ์บ้านที่ไหนดีมาดูกัน

ธนาคารผลิตภัณฑ์จุดเด่นเงื่อนไขดอกเบี้ยธนาคารกรุงศรีอยุธยาวงเงินสูงสุด 95% ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์พนักงานที่มีรายได้ประจำ ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีอายุการทำงานอย่างน้อย 2 ปี หรือทำธุรกิจส่วนตัวมาแล้วอย่างน้อย 2 ปีร้อยละ 0.50 ต่อปี – ร้อยละ MRR – 2.45 ต่อปีธนาคารกรุงไทยวงเงินสูงสุด 90% ผ่อนได้นานสูงสุดถึง 30 ปี และขอกู้เพิ่มจากสินเชื่อ Home For Cashสำหรับบุคคลทั่วไป มีรายได้ที่แน่นอน มีการงานที่มั่นคง และจะต้องที่สำคัญจะต้องไม่มีประวัติในการผิดนัดชำระหนี้มาก่อนร้อยละ 0.99 ต่อปี – ร้อยละ MRR – 2.75 ต่อปีธนาคารไทยพาณิชย์วงเงินสูงสุด 100% กู้เพิ่มจากยอดหนี้เดิมได้สูงสุด 10 ล้านบาท แลฟรีคจดจำนองและค่าประเมินหลักทรัพย์บุคคลทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมอายุกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้จะต้องไม่เกิน 65 ปี และ 70 ปี กรณีที่เป็นธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 0.99 ต่อปี – ร้อยละ MRR – 1.75 ต่อปีธนาคารอาคารสงเคราะห์ฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ขอสินเชื่อ ค่าประเมินราคาหลักประกัน และค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐร้อยละ 3.00 ต่อปี – ร้อยละ 6.75 ต่อปีธนาคาร TMBวงเงินสูงสุด 95% หรือสูงสุดไม่เกิน 20,000,000 ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าธรรมเนียมธนาคารของสินเชื่อบ้านทุกประเภท และฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยพนักงานประจำ ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท และประกอบธุรกิจส่วนตัว จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 3.60 ต่อปี – ร้อยละ MRR – 2.025 ต่อปีธนาคารอาคารสงเคราะห์วงเงินสูงสุด 110% ได้รับส่วนลดพิเศษเหลือเพียง 3.5 ต่อปี หากส่งงวดตรงตลอดระยะเวลา 4 ปี และฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ขอสินเชื่อไม่ได้จำกัดอายุ แต่อายุเมื่อรวมกับระยะเวลาในการผ่อนแล้วต้องไม่เกิน 70 ปีร้อยละ 3.50 ต่อปี – ร้อยละ 6.25 ต่อปีธนาคารออมสินวงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ และมีส่วนลดของดอกเบี้ยเพิ่มหากทำประกันกับธนาคารสำหรับบุคคลทั่วไป จะต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และเมื่อรวมอายุกับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้จะต้องไม่เกิน 65 ปีร้อยละ 4.50 ต่อปี – ร้อยละ MRR-2.00 ต่อปีธนาคารออมสินวงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ และมีส่วนลดของดอกเบี้ยเพิ่มหากทำประกันกับธนาคารเฉพาะสำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ ข้าราชการอัยการ และข้าราชการตุลาการ นักบิน วิศวกร และอาจารย์มหาวิทยาลัย ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือเทียบเท่าขึ้นไปร้อยละ 4.50 ต่อปี – ร้อยละ MRR-2.00 ต่อปีธนาคารอาคารสงเคราะห์วงเงินสูงสุด 110% ได้รับส่วนลดดอกเบี้ยเหลือ 8% นานถึง 8 เดือนเฉพาะข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ และเป็นสมาชิก กบข.เท่านั้นร้อยละ 4.75 ต่อปี – ร้อยละ 6.75 ต่อปีธนาคารอาคารสงเคราะห์วงเงินสูงสุด 95% ผ่อนได้นานสูงสุดถึง 30 ปี และฟรีค่าธรรมเนียมยื่นกู้ขอสินเชื่อไม่ได้จำกัดอายุ แต่อายุเมื่อรวมกับระยะเวลาในการผ่อนแล้วต้องไม่เกิน 70 ปีร้อยละ 6.75 ต่อปี (เป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว เปลี่ยนไปตาม MRR)

ใครที่กำลังผ่อนบ้านอยู่แล้วรู้สึกว่าจ่ายดอกเบี้ยแพงอ่านบทความนี้เลยจ้า ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่าการผ่อนบ้านนั้นหลายธนาคารก็มักจะมีโปรโมชั่นส่วนลดดอกเบี้ยในช่วง 3 ปีแรก แต่พอหลังจากนั้นดอกเบี้ยก็จะค่อยๆลอยตัวขึ้น และสูงขึ้นตามลำดับ ประกอบกับใครที่ช่วงที่กำลังต้องการใช้เงินอยู่นั้นด้วยเหตุผลหลายๆอย่างประกอบด้วยกันจึงทำให้หลายคนมองหาสินเชื่อที่จะมารีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อที่จะลดอัตราการจ่ายดอกเบี้ย ผ่อนจ่ายน้อยลงทำให้มีเงินเหลือใช้ และยืดระยะเวลาในการผ่อนได้นานขึ้น งั้นวันนี้เพื่อนๆไม่ควรพลาดอ่านบทความนี้เลยเพราะวันนี้เราได้รวบรวม 10 สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่สุดคุ้มและน่าสนใจของธนาคารต่างๆมาฝากกันค่ะ เผื่อจะได้เป็นตัวเลือกที่ดีให้กับเพื่อนๆทุกคน

Refinance บ้านกับสินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์

จัดเต็ม จัดหนัก ที่มาพร้อมกับโปรโมชั่นดีสำหรับใครที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน ที่ให้ผ่อนจ่ายแบบสบายๆกระเป๋า แถมดอกเบี้ยยังถูกลง มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายได้มากขึ้น และยังฟรีค่าธรรมเนียมสำรวจและประเมินหลักประกัน โดยที่วงเงินในการอนุมัติก็จัดว่าสูงถึง 95% จากราคาประเมิน ผ่อนได้นานถึง 30 ปีกันไปเลย รับรองได้ว่าสมัครจะคุ้มสุดไปเลย และถ้าต้องการปิดหนี้ก่อนก็สามารถทำได้แต่จะต้องเกิน 3 ปีขึ้นไป ไม่เช่นนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 3%

หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้านกรุงศรี

วงเงินการอนุมัติรีไฟแนนซ์บ้านกรุงศรี : วงเงินขั้นต่ำ 1,000,000 บาท หรือสูงสุด 95% จากราคาประเมิน สำหรับบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม และวงเงินขั้นต่ำ 1,000,000 บาท หรือสูงสุด 90% จากราคาประเมิน สำหรับอาคารพาณิชย์

อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านกรุงศรี ขึ้นอยู่กับประเภทของหลักทรัพย์ในการรีไฟแนนซ์ โดยมีทางเลือกดอกเบี้ยให้เลือกที่หลากหลาย

  • สำหรับบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม มีให้เลือกด้วยกันถึง 6 ทางเลือก
    • ทางเลือกที่ 1
      • ดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาจะอยู่ที่ MRR – 95% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.25% ต่อปี
      • กรณีที่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ดอกเบี้ยในปีแรกจะอยู่ที่ 4.00% ต่อปี
    • ทางเลือกที่ 2
      • 2 ปีแรกในการรีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 4.95% ต่อปี หรือเท่ากับ 2.25% ต่อปี แต่ถ้าประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ดอกเบี้ยในปีแรกจะอยู่ที่ 2.00% ต่อปี
      • ตั้งแต่ปีที่ 3 ขึ้นไป ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR – 1.90% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.30% ต่อปี
      • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 3.27% ต่อปี
    • ทางเลือกที่ 3
      • ดอกเบี้ยในปีแรก จะอยู่ที่ MRR – 5.85% ต่อปี หรือเท่ากับ 1.35% ต่อปี แต่ถ้าทำประกันชีวิตในการคุ้มครองนั้นดอกเบี้ยจะลดลงเหลืออยู่ที่ 1.10% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยในปีที่ 2 จะอยู่ที่ MRR – 3.15% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.05% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยในปีที่ 3 จะอยู่ที่ MRR – 2.90% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.30% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยในปีที่ 4 ขึ้นไป จะอยู่ที่ MRR – 1.90% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.30% ต่อปี
      • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 3.23% ต่อปี
    • ทางเลือกที่ 4
      • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 3 ปีแรก ธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 4.05% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.15% ต่อปี แต่ถ้าได้ทำประกันชีวิตในการขอสินเชื่อบ้านนั้น ดอกเบี้ยจะเหลืออยู่ที่ 2.90% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านหลังจาก 3 ปีแรกไปแล้ว ธนธนาคารจะคิดอยู่ที่ MRR – 1.90% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.30% ต่อปี
      • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 3.30% ต่อปี
    • ทางเลือกที่ 5
      • ดอกเบี้ยในปีแรก จะเป็นดอกเบี้ยคงที่ซึ่งจะอยู่ที่ 0.75% ต่อปี แต่ถ้าทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อด้วยนั้น ดอกเบี้ยจะเหลือเพียง 0.50% ต่อปีเท่านั้น
      • ในส่วนของดอกเบี้ยปีที่ 2 – 3 จะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวซึ่งจะอยู่ที่ MRR – 2.625% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.575% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 1.90% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.30% ต่อปี
      • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 3.25% ต่อปี
    • ทางเลือกที่ 6 (ฟรีค่าจดจำนอง)
      • ปีแรกธนาคารจะคิดดอกเบี้ยคงที่อยู่ที่ 0.50% ต่อปี และถ้าทำประกันชีวิตนั้นดอกเบี้ยจะเหลืออยู่ที่ 0.25% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านตั้งแต่ปีที่ 2 ขึ้นไป ดอกเบี้ยเท่ากันทั้งหมด ซึ่งจะอยู่ที่ MRR – 1.90% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.30% ต่อปี
      • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 3.70% ต่อปี
    • สำหรับอาคารพาณิชย์ มีให้เลือกด้วยกันถึง 2 ทางเลือก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับวงเงินที่ได้รับอนุมัติ

วงเงินที่ได้รับอนุมัติ ตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท มีเลือกด้วยกัน 2 ทางเลือก

  • ทางเลือกที่ 1
    • ดอกเบี้ย 2 ปีแรกของสัญญา จะอยู่ที่ MRR – 2.10% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.10% ต่อปี กรณีที่เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ดอกเบี้ยในปีแรกจะเหลืออยู่ที่ 4.85% ต่อปี
    • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 3 ของสัญญา จะอยู่ที่ MRR – 0.85% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.35% ต่อปี
    • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 5.52% ต่อปี
  • ทางเลือกที่ 2
    • ดอกเบี้ยปีที่ 1 ของสินเชื่อบ้านนั้น จะเป็นดอกเบี้ยคงที่ซึ่งจะอยู่ที่ 4.75% ต่อปี แต่ถ้าทำประกันชีวิตดอกเบี้ยจะเหลืออยู่ที่ 4.25% ต่อปี
    • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 2 ขึ้นไปของสินเชื่อบ้าน จะเป็นดอกเบี้ยลอยตัวซึ่งจะอยู่ที่ MRR – 0.85% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.35% ต่อปี
    • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 5.82% ต่อปี

วงเงินที่ได้รับอนุมัติ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป มีเลือกด้วยกัน 2 ทางเลือก

  • ทางเลือกที่ 1
    • ในช่วง 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะเท่ากัน ซึ่งดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 2.60% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.60% ต่อปี แต่ถ้าทำประกันชีวิต ดอกเบี้ยในปีแรกจะเหลืออยู่ที่ 4.35% ต่อปี ส่วนปีที่ 2 – 3 ดอกเบี้ยจะเป็นไปตามที่บอก
    • ในช่วงปีที่ 4 เป็นต้นไปนั้น ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR – 0.85% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.35% ต่อปี
    • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 4.60% ต่อปี
  • ทางเลือกที่ 2
    • ดอกเบี้ยปีที่ 1 จะเท่ากับ 4.25% ต่อปี และถ้าได้ทำประกันชีวิตไว้นั้น ดอกเบี้ยลดลงไปอีกเหลืออยู่ที่ 4.00% ต่อปี
    • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 2 จนถึงครบสัญญาสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR – 0.85% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.35% ต่อปี
    • เฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ 5.65% ต่อปี

สำหรับใครที่รีไฟแนนซ์บ้านแล้วได้ซื้อประกันชีวิตคุ้มครองด้วยนั้นจะได้รับส่วนลดพิเศษดอกเบี้ยเพิ่มอีก 0.25% ในช่วงปีแรก เฉพาะที่เลือกทางเลือกที่ 1 – 5 เท่านั้นนะคะ

คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารกรุงศรี : มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 20 – 65 ปี จะเป็นพนักงานบริษัท หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวก็ได้ โดยจะต้องทำงานหรือดำเนินธุรกิจแล้วอย่างน้อย 2 ปี

ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทุกสาขาทั่วประเทศ

สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อบ้านกรุงไทย…ผ่อนสบาย

สินเชื่อบ้านให้คุณได้รีไฟแนนซ์ด้วยดอกเบี้ยสุดพิเศษ ขอกู้สินเชื่อบ้านกรุงไทย…ผ่อนสบาย มารีไฟแนนซ์บ้านได้เลย ไม่ว่าจะเป็นบ้านประเภทไหนก็ตาม จะบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุด อาคารพาณิชย์ ก็สมัครได้เลย นอกจากจะได้รับดอกเบี้ยแล้วยังเพิ่มความสะดวกในการชำระใครที่มีบัตรเครดิต KTC ก็จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้เลย แถมยังได้รับดอกเบี้ยสุดพิเศษเหลือเพียง 0.99% ต่อปี ให้นานถึง 9 เดือน ไม่เพียงเท่านั้นยังมีเงินเหลือใช้จ่ายในครอบครัวอีกด้วย และยังให้ผ่อนจ่ายได้สบายนานถึง 30 ปีกันเลยทีเดียว

หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้านกรุงไทย

วงเงินการอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกรุงไทย…ผ่อนสบาย  : กรณีที่เป็นประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์  ทาวน์โฮม และอาคารพาณิชย์ วงเงินอนุมัติไม่เกินยอดหนี้ที่คุณค้างกับธนาคารเดิมค่ะ หรือสูงสุดร้อยละ 90 จากราคาประเมิน แต่ถ้าบ้านมีราคาเกิน 10 ล้านบาท วงเงินอนุมัติสูงสุดร้อยละ 80 จากราคาประเมิน และกรณีที่เป็นประเภทคอนโดมิเนียม วงเงินอนุมัติไม่เกินยอดหนี้ที่คุณค้างกับธนาคารเดิมค่ะ หรือสูงสุดร้อยละ 80 จากราคาประเมิน

อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงไทย…ผ่อนสบาย : ดอกเบี้ยจะแบ่งเป็นในกรณีที่เลือกทำประกันกับไม่ทำประกัน เพราะถ้าเลือกทำประกันนั้นจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยในช่วงเดือนที่ 10 – 12 ของปีแรกที่ทำประกันสินเชื่อ

  • กรณีที่ซื้อบ้านพร้อมทำประกันชีวิต
    • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้าน ในช่วง 9 เดือนแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้าน ในช่วงเดือนที่ 10 – 12 ของปีแรกนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 00 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในปีที่ 2 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 25 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในปีที่ 3 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 50 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านตั้งแต่ปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 75 ต่อปี
  • กรณีที่ซื้อบ้านแต่ไม่ทำประกันชีวิต
    • ดอกเบี้ย 9 เดือนแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 0.99 ต่อปี
    • ดอกเบี้ย ในช่วงเดือนที่ 10 – 12 ของปีแรกนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 50 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยในปีที่ 2 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 25 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยในปีที่ 3 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 50 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 75 ต่อปี

คุณสมบัติการขอสินเชื่อบ้านกรุงไทย…ผ่อนสบาย : ผู้ที่ขอสินเชื่อบ้านนั้นจะต้องมีสัญชาติไทย โดยที่มีอายุอยู่ระหว่าง 20 – 65 ปี จะต้องไม่มีประวัติเสียหายด้านการเงิน ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ

สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ (SCB Refinance) จากธนาคารไทยพาณิชย์

ใครที่ต้องการรีไฟแนนซ์เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย จ่ายดอกเบี้ยถูกลง ยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น จ่ายรายเดือนน้อยลง แถมยังมีเงินอีกสักก้อนหนึ่งไว้ใช้จ่ายสมัครเลยกับสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ ที่จะทำให้ได้รับวงเงินเต็มเม็ดเต็มหน่อย ไม่เพียงเท่านี้ยังให้อิสระในการเลือกดอกเบี้ยได้เองว่าจะเลือกแบบดอกเบี้ยคงที่ หรือจะเป็นดอกเบี้ยลอยตัว และยังให้ผ่อนสบายๆนานถึง 30 ปีอีกด้วย

หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้านไทยพาณิชย์

วงเงินการอนุมัติรีไฟแนนซ์บ้าน ไทยพาณิชย์ : วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินหลักประกัน

อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไทยพาณิชย์  : สามารถเลือกดอกเบี้ยได้เองว่าจะเลือกดอกเบี้ยแบบคงที่ หรือดอกเบี้ยแบบลอยตัว

  • กรณีทำประกัน Credit Life
    • ดอกเบี้ยแบบคงที่
      • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในช่วง 3 ปีแรกจะอยู่ที่ 3.99% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านตั้งแต่ปีที่ 4 จะอยู่ที่ MRR – 1.25% ต่อปี
      • โดยเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3.99% หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 20 ปี อยู่ที่ 5.32% ต่อปี
    • ดอกเบี้ยแบบคงที่ (ฟรีค่าจดจำนอง)
      • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในช่วง 3 ปีแรกจะอยู่ที่ 4.33% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไปนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 1.25% ต่อปี
      • โดยเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 4.33% หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 20 ปี อยู่ที่ 5.43% ต่อปี
    • ดอกเบี้ยแบบลอยตัว
      • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านปีแรกจะอยู่ที่ 0.99% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในช่วงปีที่ 2 จนถึงปีที่ 3 ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้าน ปีที่ 4 เป็นต้นไปนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 1.50% ต่อปี
      • โดยเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3.91% หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 20 ปี อยู่ที่ 5.27% ต่อปี
    • กรณีไม่ทำประกัน Credit Life ซึ่งจะมีดอกเบี้ย 2 แบบให้เลือกค่ะ ดังนี้
      • ดอกเบี้ยแบบคงที่
        • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน 3 ปีแรก ดอกเบี้ยแบบคงที่ 4.25% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านตั้งแต่ปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะลอยตัวอยู่ที่ MRR – 1.25% ต่อปี
        • โดยเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 25% หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 20 ปี อยู่ที่ 5.40% ต่อปี
      • ดอกเบี้ยแบบลอยตัว
        • ดอกเบี้ยในปีที่ 1 ดอกเบี้ยแบบคงที่ 1.25% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยในปีที่ 2 จนถึงปีที่ 3 ดอกเบี้ยจะลอยตัวอยู่ที่ MRR – 1.75% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะลอยตัวอยู่ที่ MRR – 1.25% ต่อปี
        • โดยเฉลี่ยดอกเบี้ย 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 17% หรืออัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา 20 ปี อยู่ที่ 5.35% ต่อปี

    คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ไทยพาณิชย์ : ผู้สมัครจะต้องมีอายุไม่เกินอายุ 65 ปี โดยที่จะต้องไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน  มีสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินอื่นไม่ต่ำกว่า 2 ปี

    ช่องทางการสมัครรีไฟแนนซ์บ้าน SCB : สมัครได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสามารถดูรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

    รีไฟแนนซ์บ้านกับโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (บุคลากรภาครัฐ) จากธนาคารอาคารสงเคราะห์

    ข่าวดีจ้า สำหรับคราวนี้เราก็มาถึงสวัสดิการสำหรับ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ ที่ต้องการใช้เงินเพื่อไปซ่อมต่อเติม หรือขยาย หรือซ่อมแซมอาคาร หรือซื้ออุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย และใครที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยที่ถูกลง จ่ายน้อย ผ่อนนานถึง 40 ปี ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้เป็นเจ้าของบ้านเร็วขึ้น และอาจจะได้รับสิทธิพิเศษฟรีค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ ค่าประเมินราคาหลักประกัน หรือค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอีกด้วย

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้าน ธอส

    วงเงินอนุมัติรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส : วงเงินจะเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์

    อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน ธอส. : ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยในช่วง 4 ปีแรกของสัญญาอยู่ที่ MRR – 3.75% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.00% ต่อปี และตั้งแต่ในปีที่ 5 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 1.00% หรือเท่ากับ 5.75% ต่อปี ในกรณีที่เงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับบ้าน ดอกเบี้ยจะเท่ากับ MRR หรือเท่ากับ 6.75% ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส : อายุจะต้องไม่เกิน 70 ปี เฉพาะข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐ และลูกจ้างประจำ

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ

    สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ทีเอ็มบี รีไฟแนนซ์

    สมัครง่าย อนุมัติแบบรวดเร็วทันใจภายใน 7 วันทำการ วงเงินอนุมัติสูงสุดถึง 20 ล้านบาท แถมยังให้ผ่อนได้สบายๆนานถึง 35 ปีกันเลยทีเดียว ส่วนดอกเบี้ยไม่ต้องพูดถึงเพราะตอนนี้ธนาคาร TMB จัดโปรโมชั่นสุดดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3.5% ต่อปีให้นานถึง 3 เดือน พร้อมกับฟรีค่าธรรมเนียม 3 รายการ เมื่อสมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบี คุ้มบ้าน (MRTA) สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านธนาคาร TMB และสมัครบัตรเครดิต TMB และยิ่งจ่ายคืนมากเท่าไรก็ยิ่งตัดเงินต้นได้มากขึ้น หรือใครจะเลือกแบบผ่อนน้อยๆต่อเดือนก็ได้ ใครต้องการรีไฟแนนซ์บ้านสมัครเลยกับสินเชื่อนี้ ที่จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่ในปัจจุบัน

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้าน TMB

    วงเงินอนุมัติรีไฟแนนซ์บ้าน TMB : การอนุมัติวงเงินนั้นธนาคารจะดูว่าหลักทรัพย์ที่นำมารีไฟแนนซ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • กรณีที่นำพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดคอนโดมิเนียม มารีไฟแนนซ์กับธนาคาร ที่มีราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ธนาคารจะให้วงเงินกู้ไม่เกิน 95% ของราคาประเมิน หรือเท่ากับยอดหนี้เดิมที่อยู่กับธนาคารเดิม
    • กรณีที่นำพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดคอนโดมิเนียม ที่มีราคาเกิน 10 ล้านบาท ธนาคารจะให้วงเงินกู้ไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน หรือเท่ากับยอดหนี้เดิมที่อยู่กับธนาคารเดิม

     

    อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านทีเอ็มบี : ขึ้นอยู่กับว่าเลือกสมัครผลิตภัณฑ์เสริมของธนาคารหรือไม่ โดยผลิตภัณฑ์เสริมได้แก่ 1. สมัครประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ ทีเอ็มบี คุ้มบ้าน (MRTA) 2. สมัครใช้บริการหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ ทีเอ็มบี เพื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน และ 3. สมัครบัตรเดบิต TMB

    • สมัครผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท มีให้เลือกอยู่ 2 ทางเลือก พร้อมสิทธิพิเศษ ฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
      • ทางเลือกที่ 1
        • ดอกเบี้ย 3 ปีแรก จะอยู่ที่ MRR -775% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยในปีที่ 4 ขึ้นไปนั้น จะอยู่ที่ MRR – 2.275% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ 4.50% ต่อปี
      • ทางเลือกที่ 2
        • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้าน 4 ปีแรก จะอยู่ที่ MRR –675% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในปีที่ 5 ขึ้นไปนั้น จะอยู่ที่ MRR – 2.275% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ 4.40% ต่อปี
      • สมัครผลิตภัณฑ์เสริมไม่ครบใน 3 ประเภท พร้อมสิทธิพิเศษ ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
        • ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านในช่วง 3 ปีแรกนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR –175% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไปนั้น ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR –025% ต่อปี
        • ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ที่ 4.87% ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านธนาคาร TMB : อายุตั้งแต่ 20 – 60 ปี หากเป็นพนักงานที่มีรายได้ประจำจะต้องมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน และหากเป็นเจ้าของกิจการ จะต้องมีรายได้หมุนเวียนขั้นต่ำ 20,000 บาทต่อเดือน

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารทหารไทยทุกสาขาทั่วประเทศ

    รีไฟแนนซ์บ้านกับโครงการบ้านกตัญญูเลี้ยงดูบุพการี จากธนาคารอาคารสงเคราะห์

    ใครที่ต้องการซื้อบ้านหรือต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีที่อยู่อาศัย ต้องสินเชื่อโครงการบ้านกตัญญูเลี้ยงดูบุพการีที่ ธอส.จัดโครงการดีๆที่ต้องการให้ทุกคนมีที่อยู่อาศัย สมัครก็ไม่ยุ่งยาก ให้วงเงินสูงสุดถึง ร้อยละ 110 ของมูลค่าหลักประกัน เรียกได้ว่าเงินที่เหลือก็นำมาใช้จ่ายได้ตามที่ต้องการไม่ว่าจะใช้ตกแต่งบ้าน ต่อเติม หรือจะเก็บเงินซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค ไม่เพียงเท่านี้ยังให้ผ่อนได้นานถึง 40 ปี หากจ่ายเงินตรงเวลาตามที่กำหนดนาน 48 เดือน ก็ยังจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 1.00% และธอส.ยังมีโปรโมชั่นส่วนลดดอกเบี้ยในอัตราพิเศษเหลือเพียง 3.5% ต่อปีอีกด้วย

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้าน ธอส

    วงเงินการอนุมัติ : สินเชื่อโครงการบ้านกตัญญูเลี้ยงดูบุพการี ธอส. จะให้วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 110 ตามมูลค่าของหลักประกัน

    อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธอส. : การคิดดอกเบี้ยของธนาคารนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้าน และดอกเบี้ยในกรณีที่ขอกู้เงินเพิ่มเพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับบ้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้

    กรณีที่ขอกู้เงินเพื่อในการรีไฟแนนซ์บ้าน

    • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะลอยตัวอยู่ที่ MRR – 25% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.50 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไปนั้น ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยตามประเภทของผู้สมัคร โดยธนาคารจะแบ่งดังนี้
      • กรณีที่ผู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเป็นลูกค้าทั่วไป ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ MRR – 50% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.25 ต่อปี
      • กรณีที่ผู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเป็นสวัสดิการ ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.75 ต่อปี

    กรณีที่ขอกู้เงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวบ้าน

    • ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเท่ากับ MRR หรือเท่ากับ 6.75% ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อ Refinance บ้าน ธอส : ประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เพื่อที่จะอยู่อาศัยร่วมกับบิดาหรือมารดา เพื่อการอุปการะเลี้ยงดู

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ

    สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อเคหะ จากธนาคารออมสิน

    ใครที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นสินเชื่อเคหะ จากธนาคารออมสินเป็นสินเชื่อที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะสมัครก็ง่าย เงื่อนไขก็สบายๆ เพราะธนาคารออมสินต้องการให้ทุกคนมีบ้านเป็นของตัวเอง มีชีวิตที่ดี โดยให้วงเงินกู้สูงไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์ ถ้าเงินเหลือจากการปิดหนี้บ้านจากธนาคารอื่นแล้ว ยังสามารถนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆได้ตามที่ต้องการ ยังผ่อนได้สบายๆนาน 30 ปีเลย

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้านออมสิน

    วงเงินอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านเคหะ : ธนาคารจะให้วงเงินในการรีไฟแนนซ์บ้านได้ไม่เกินร้อยละ 100 จากราคาประเมินหลักทรัพย์ โดยจะแบ่งไปตามประเภทของหลักทรัพย์ในการรีไฟแนนซ์ กรณีที่เป็นที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม อนุมัติวงเงินไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินหลักทรัพย์ กรณีที่เป็นที่อยู่อาศัยที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป อนุมัติวงเงินไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักทรัพย์

    อัตราดอกเบี้ย refinance บ้าน สินเชื่อเคหะ : การคำนวณดอกเบี้ยนั้นขึ้นอยู่กับว่าได้เลือกทำประกันชีวิตกับธนาคารไว้ด้วยหรือไม่

    • สมัครทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ มีให้เลือกด้วยกัน 2 ทางเลือก
      • ทางเลือกที่ 1
        • ดอกเบี้ยในปีที่ 1 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.00 ต่อปี
        • ดอกเบี้ยในปีที่ 2 จะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.00 ต่อปี
        • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 3 ขึ้นไป จะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 75% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.25 ต่อปี
      • ทางเลือกที่ 2
        • ดอกเบี้ยในปีที่ 1 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.00 ต่อปี
        • ดอกเบี้ยในช่วงปีที่ 2 – 3 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี
        • ดอกเบี้ยตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป จะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 00% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.00 ต่อปี
      • สมัครไม่ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ มีให้เลือกด้วยกัน 2 ทางเลือก
        • ทางเลือกที่ 1
          • ในช่วงปีที่ 1 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยคงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี
          • ในช่วงปีที่ 2 ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่ร้อยละ MRR – 75% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.25 ต่อปี
          • ตั้งแต่ปีที่ 3 ขึ้นไปนั้น ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ที่ร้อยละ MRR – 75% ต่อปี หรือเท่ากับ 6.25 ต่อปี
        • ทางเลือกที่ 2
          • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านในช่วง 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 5.00 ต่อปี
          • ดอกเบี้ยในการรีไฟแนนซ์บ้านตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไปนั้น MRR – 75 ต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อเคหะ : สามารถขอรีไฟแนนซ์บ้านได้ตั้งแต่อายุ 20 – 65 ปี มีรายได้ที่แน่นอน และมีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกกับธนาคารออมสิน

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ

    รีไฟแนนซ์บ้านด้วยสินเชื่อเคหะสำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ จากธนาคารออมสิน

    สำหรับใครที่มีอาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ ข้าราชการอัยการ ข้าราชการตุลาการ นักบิน วิศวกร หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านในแต่ละเดือนเงินต้นบวกกับดอกเบี้ยที่สูงนั้น เพื่อต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายให้จ่ายรายเดือนน้อยลง และต้องการเงินอีกสักก้อนหนึ่งไว้ใช้จ่ายในครัวเรือน โดยธนาคารให้วงเงินสูงสุดถึง 100% จากราคาประเมินหลักทรัพย์ และผ่อนนานถึง 35 ปีเลย แต่ที่พิเศษคือสามารถขอกู้เพิ่มเติมได้อีกหากต้องการเงินไปจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตเพื่อประกันสินเชื่ออีกด้วย

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้านออมสิน

    วงเงินอนุมัติรีไฟแนนซ์บ้านด้วยสินเชื่อเคหะ : สำหรับสินเชื่อเคหะสำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ ธนาคารจะแบ่งประเภทของหลักทรัพย์ที่นำมารีไฟแนนซ์ โดยแบ่งดังนี้

    • กรณีที่หลักทรัพย์เป็นประเภทที่ดินพร้อมอาคาร ธนาคารจะให้วงเงินไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน
    • กรณีที่หลักทรัพย์เป็นคอนโดมิเนียม ธนาคารจะให้วงเงินไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน

    อัตราดอกเบี้ย : ธนาคารจะมีดอกเบี้ยให้เลือกด้วยกัน 2 ทางเลือก ดังนี้

    • ดอกเบี้ยทางเลือกที่ 1
      • กรณีที่เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีแรกของสัญญาในการรีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1.25 ต่อปี
      • กรณีที่ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ปีแรกของสัญญาในการรีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1.00 ต่อปี
      • ดอกเบี้ยลอยตัวในปีที่ 2 ซึ่งดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ MRR – 00 ต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 5.00 ต่อปี
      • ตั้งแต่ปีที่ 3 ขึ้นไปนั้น ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 75 ต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี
    • ดอกเบี้ยทางเลือกที่ 2
      • ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านในช่วง 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี แต่ถ้าทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยในปีแรกจะเหลืออยู่ที่ร้อยละ 4.00 ต่อปี
      • ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไปนั้น ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 75 ต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อเคหะ สำหรับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ : อายุตั้งแต่ 20 – 70 ปี เฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร ข้าราชการอัยการข้าราชการตุลาการ นักบิน วิศวกร    อาจารย์มหาวิทยาลัย ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือเทียบเท่าขึ้นไป และจะต้องไม่มีประวัติที่อยู่ระหว่างการสอบสวนความผิดทางวินัย ทางจรรยาบรรณ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีประวัติทางการเงินที่ดี ไม่มีการผิดนัดชำระหนี้

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ

    สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน โครงการบ้าน ธอส.-กบข. เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ ครั้งที่ 13

    โปรโมชั่นมาแรง ธอส.จัดให้สำหรับข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ และเป็นสมาชิก กบข.เท่านั้น ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านขอสินเชื่อได้เลย เพราะตอนนี้มีโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษดอกเบี้ย 0% นานถึง 8 เดือน หลังจากนั้นก็จะได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำพิเศษ แถมให้วงเงินก็สูงสุดถึง 110% จากราคาประเมินหลักทรัพย์ พร้อมยืดระยะเวลาในการผ่อนจ่ายรายเดือนแบบสบายๆนาน 30 ปี

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้าน ธอส

    วงเงินการอนุมัติ : วงเงินไม่เกินร้อยละ 110 ตามมูลค่าของหลักประกัน

    อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน : ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนั้น ธนาคารจะไม่คิดดอกเบี้ย ในช่วงเดือนที่ 9 – 24 ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 4.75 ต่อปี และตั้งแต่เดือนที่ 25 ขึ้นไป ดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 1.00% ต่อปี หรือเท่ากับ 5.75 ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน โครงการบ้าน ธอส.-กบข. : อายุจะต้องไม่เกิน 70 ปี สมัครได้เฉพาะข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ และเป็นสมาชิก กบข.เท่านั้น

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ

    รีไฟแนนซ์บ้านกับโครงการให้สินเชื่อแก่ข้าราชการบำนาญโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน จากธนาคารอาคารสงเคราะห์

    สินเชื่อสำหรับผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จ โดยการให้นำหนังสือรับรองสิทธิให้นำบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกันเงินกู้ซึ่งจะทำให้โอกาสการอนุมัติได้ง่ายขึ้น ได้วงเงินสูง 100% จากหนังสือรับรองบำเหน็จ ที่มาพร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันตลอดอายุสัญญาเลย โดยเงินที่ได้รับสามารถนำไปรีไฟแนนซ์บ้านหรือต่อเติม ตกแต่งบ้านได้ตามที่ต้องการเลย และสุดพิเศษด้วยการให้ผ่อนได้นาน 40 ปี

    หมวดหมู่ : รีไฟแนนซ์บ้าน ธอส

    วงเงินการอนุมัติ : วงเงินไม่เกินร้อยละ 100 ตามสิทธิในบำเหน็จตกทอดของผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนตามหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักประกัน

    อัตราดอกเบี้ย refinance บ้าน ธอส. : ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยอยู่ที่ MRR – 2.25% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา หรือเท่ากับ 4.50 ต่อปี ซึ่งปัจจุบัน MRR ของธนาคารอยู่ที่ 6.75 ต่อปี

    คุณสมบัติการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ธอส. สำหรับผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จ : อายุจะต้องไม่เกิน 75 ปี สมัครได้เฉพาะผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ออกหนังสือรับรองสิทธิให้นำบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกันเงินกู้

    ช่องทางการสมัคร : สมัครได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาทั่วประเทศ

    รวมคำถามที่พบบ่อยและข้อควรรู้ก่อนทำการรีไฟแนนซ์บ้าน

    รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร?

    การรีไฟแนนซ์บ้านหมายถึงการย้ายวงเงินผ่อนชำระหนี้บ้านใหม่ (Re”ทำซ้ำ” finance “การเงิน”) หรือเป็นการย้ายสถาบันการเงินที่เราใช้กู้ซื้อบ้านจากที่เก่าไปที่ใหม่นั่นเอง โดยจะได้วงเงินกู้ไม่เกินยอดหนี้ที่เหลืออยู่จากสถาบันการเงินเดิม แต่หากต้องการเงินเพิ่ม ก็ต้องยื่นขอกู้เพิ่มเติมแต่จะเป็นคนละวงเงินกันไม่เกินราคาประเมินของหลักทรัพย์เราค่ะ

    รีไฟแนนซ์บ้านมีกี่รูปแบบ?

    การรีไฟแนนซ์มีด้วยกัน 2 รูปแบบ นั่นคือการไปกู้จากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปลดภาระเงินกู้ที่มีอยู่ ซึ่งแบบนี้เราเรียกว่าการเปลี่ยนสถาบันการเงินผู้ให้กู้ หรือ การย้ายแบงก์ ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นการเจรจากับสถาบันการเงินปัจจุบันเพื่อให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย หรือที่เรียกกันว่า รีเทนชั่น นั่นเอง (เดี๋ยวจะมีกล่าวถึงในหัวข้อหลังๆค่ะ)

    ทำไมเราต้อง Refinance บ้าน

    การรีไฟแนนซ์ คือการย้ายวงเงินผ่อนชำระหนี้ (Re”ทำซ้ำ” finance “การเงิน”) บ้านเกิดจากครั้งแรกที่เราไปกู้ยืมเงินธนาคารมาเพื่อซื้อบ้าน เรามีสัญญาผูกพันกับธนาคารว่าต้องผ่อนชำระหนี้ให้หมดภายในกี่ปีๆตามสัญญา โดยมีบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งแต่ละธนาคารมักมีดอกเบี้ยต่ำๆ 1-3 ปีแรก ล่อใจให้คนมากู้ โดยหลังจากนั้นก็จะปล่อยให้เป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ MLR- แล้วแต่กรณี เพราะธนาคารเองก็มีต้นทุน จึงไม่สามารถให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกับลูกค้าไปตลอดอายุสัญญาได้ดังนั้นเมื่อสิ้นระยะของดอกเบี้ยโปรโมชั่น ก็จะเข้าสู่ดอกเบี้ยในอัตราปกติ จึงอาจทำให้เราต้องมีภาระผ่อนชำระสูงขึ้น บางทีสูงขึ้น 1-2% เลยทีเดียว  และเพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ผู้กู้จึงทำการย้ายธนาคารไปสู่ธนาคารที่มีดอกเบี้ยต่ำ เหมือนกับน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำนั่นเอง

    เรามัก Refinance บ้านกันเมื่อไร?

    โดยทั่วไปจะทำกันทุกๆ 3 ปี เพราะปกติแล้วธนาคารจะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำเฉพาะ 3 ปีแรกเป็นส่วนใหญ่

    จุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์บ้าน

    ในการรีไฟแนนซ์บ้านจะมีจุดประสงค์ 3 ข้อด้วยกัน นั่นคือ

    1. ต้องการผ่อนชำระหนี้บ้านให้น้อยลง(ไม่กู้เพิ่ม)

    หลังจากหมดโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำแล้ว อาจจะเป็น 1 หรือ 3 ปี แล้วแต่ หลังจากนี้ธนาคารก็จะคิด อัตราดอกเบี้ยในลักษณะลอยตัว (MLR) หรือ ลอยตัวแล้วมีส่วนลด ( MLR-) ซึ่ง MLR แต่ละธนาคารก็จะไม่เท่ากัน ซึ่งหากเราต้องการรีไฟแนนซ์ก็ต้องมาตรวจสอบดูส่วนต่างระหว่างการใช้ดอกเบี้ยธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังจากรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่า จะมีส่วนลดมากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ ซึ่งในทุกปีแต่ละธนาคารก็จะแข่งขันกันออกโปรโมชั่นดอกเบี้ยถูกเพื่อดึงลูกค้ากันเองอยู่แล้ว เราจึงแค่คอยตรวจสอบว่าที่ไหนดีที่สุด เมื่อเทียบกับที่เราใช้อยู่ ลองบวกลบ คูณ หารดู หากมีกำไรคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายไปได้เลย

    1. ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย (กู้เพิ่มจากวงเงินเดิม)

    หากเป็นแบบนี้แน่นอนว่าภาระผ่อนบ้านต้องหนักขึ้น เพราะเราเพิ่มวงเงินกู้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็เป็นแนวทางในการหาเงินทุนมาหมุนเวียนธุรกิจของเราได้ หรือหากใครจะนำส่วนต่างจากการรีไฟแนนซ์บ้านไปชำระหนี้ในส่วนอื่นๆก็ได้เช่นกัน

    1. บ้านไม่มีภาระผ่อนแล้วแต่ต้องการเงิน

    การรีไฟแนนซ์บ้านวิธีนี้จะได้ต้นทุนถูกที่สุด ประมาณ 4-5% เท่านั้นเอง ซึ่งแตกต่างจากกรณีเรามีภาระผ่อนชำระอยู่แล้วขอกู้เพิ่ม เพราะส่วนที่กู้เพิ่มมักถูกคิดอัตราดอกเบี้ยอุปโภคบริโภคอยู่ที่ประมาณ 12-15%

    ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านควรทำอย่างไรบ้าง

    1. หากยังผ่อนชำระไม่หมดต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อให้ผ่อนชำระน้อยลงโดยไม่ได้กู้เพิ่ม แบบนี้เราควรตรวจสอบหาว่าที่ใดให้ อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด เงื่อนไขที่ดีที่สุด ก็ยื่นเอกสารกับธนาคารนั้นได้เลย
    2. หากยังผ่อนชำระไม่หมดต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย หรือเป็นการกู้เพิ่มจากวงเงินเดิม แบบนี้ต้องต้องดำเนินการ
    • ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่ดีที่สุดจากหลายๆธนาคาร ทั้งนี้ควรเลือกธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด
    • ยื่นเอกสารกับธนาคารที่ชอบอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไป เนื่องจากธนาคารแต่ละที่จะมีการประเมินราคาหลักทรัพย์ที่แตกต่าง เพราะใช้บริษัทประเมินราคาคนละบริษัทกัน ดังนั้นราคาตั้งต้นแต่ละธนาคารที่ใช้คิดจึงแตกต่างกัน และแน่นอนวงเงินที่ได้ย่อมต่างกันค่ะ
    1. เมื่อเลือกธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ได้แล้ว ยื่นเอกสารไปแล้ว ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินทรัพย์สินออกมาตรวจสอบ และรอผลการอนุมัติ ซึ่งในกรณีที่ได้รับการอนุมัติแล้ว เราต้องติดต่อธนาคารเก่า เพื่อนัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน จากนั้นธนาคารเดิมจะทำการสรุปยอดหนี้ให้ เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ เราจึงจะติดต่อกับธนาคารใหม่ได้ เพื่อนัดวันทำสัญญา และโอนทรัพย์ที่ใช้จำนองในวันเดียวกับที่เรานัดธนาคารเดิม ซึ่งขั้นตอนต่างๆ กว่าจะได้โอนบ้านและที่ดินก็ค่อนข้างใช้เวลาอยู่เหมือนกันค่ะ

    วงเงินที่ได้จากการรีไฟแนนซ์บ้านประมาณเท่าไร?

    ในขั้นตอนยื่นเอกสารยังตอบไม่ได้ จนกว่าบริษัทประเมินราคาจะได้ทำการประเมินราคาทรัพย์สินของเราแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 7-15 วันนับแต่วันที่ยื่นเอกสารไป โดยจะอนุมัติและโอนกรรมสิทธิ์เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน หรือ ไม่เกิน 45 วันแล้วแต่ธนาคาร ทั้งนี้แต่ละธนาคารจะได้วงเงินกู้เมื่อคิดจากราคาประเมิน ดังนี้

    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด วงเงินจะไม่เกินหนี้เดิม
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด  วงเงินจะอยู่ที่ 85% ของราคาประเมิน
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด วงเงินจะอยู่ที่ 100% ของราคาประเมิน
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด วงเงินจะอยู่ที่ 100% ของราคาประเมิน
    • ธนาคารกรุงศรี จำกัด วงเงินจะอยู่ที่ 90 % ของราคาประเมิน
    • ธนาคารออมสิน วงเงินจะอยู่ที่ 90% ของราคาประเมิน
    • ธนาคารธนชาติ จำกัด วงเงินจะอยู่ที่ 100% ของราคาประเมิน
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด วงเงินจะอยู่ที่ 100% ของราคาประเมิน
    • ธนาคารยูโอบีวงเงินจะอยู่ที่ 90% ของราคาประเมิน

    ค่าใช้จ่ายในการ Refinanceบ้านมีอะไรบ้าง

    • ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ประมาณ 2,500 -4,000 บาท
    • ค่าธรรมเนียมจัดการวงเงินกู้ ประมาณ 1,000-3,000 บาท
    • ค่าอากรแสตมป์  คิดที่ 200/1 จุด
    • ค่าจำนองที่ดิน คิดที่ 1 %
    • ค่าปรับปิดบัญชีก่อนกำหนด คิดที่ 3%
    • ค่าออกเช็ค ค่านิติกรรม ประมาณ 1,000-2,000 บาท
    • ค่าทำประกัน แล้วแต่นโยบายของธนาคาร

    โดยสรุป ค่าใช้จ่ายในการ refinance บ้านใหม่ทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ราวๆ 2-3% ของวงเงินกู้ โดยค่าเฉลี่ยนี้อาจสูงได้ถึง 4.3% ของวงเงินรีไฟแนนซ์

    ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน: ( UPDATE 29/09/2559 ) ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

    เอกสารสำหรับรีไฟแนนซ์บ้านมีอะไรบ้าง?

    1. สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาบัตรรัฐวิสาหกิจ/สำเนาบัตรข้าราชการพร้อมตัวจริง
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน
    3. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) พร้อมตัวจริง
    4. สำเนาทะเบียนสมรส/ ใบมรณะบัตร/ใบหย่าหรือใบแจ้งความแยกกันอยู่พร้อมฉบับจริง
    5. ใบรับรองเงินเดือนฉบับจริง สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับรองเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
    6. สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หรือหลักฐานแสดงฐานะทางการเงินอื่น ๆพร้อมฉบับจริงหรือ Statement พร้อมรับรอง
    7. สำเนาทะเบียนการค้า ทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนฯ(ภงต.90, 91, ทวิ 50, หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย) กรณีประกอบธุรกิจ
    8. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จตัวจริงจากกรมสรรพากร ย้อนหลัง 6 เดือน กรณีประกอบธุรกิจ
    9. รูปถ่ายกิจการ จำนวน 3-4 รูป กรณีประกอบธุรกิจ
    10. สำเนาในประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตประกอบการ กรณีประกอบอาชีพส่วนตัว
    11. ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน กรณีไถ่ถอน
    12. สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2(2ชุด) พร้อมรับรองจาก สนง.ที่ดิน

    การรีไฟแนนซ์บ้านกู้ร่วมได้หรือไม่?

    การรีไฟแนนซ์เพื่อขอลดดอกเบี้ยบ้านสามารถมีคนกู้ร่วมได้ค่ะ แต่ต้องเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ภรรยา และบุตรเท่านั้นค่ะ

    เราสามารถรีไฟแนนซ์บ้านธนาคารเดิมได้หรือไม่?

    หากถามว่าเราสามารถรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมได้ไหม ต้องบอกว่าได้ค่ะ เนื่องจากการรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนและใช้เวลานาน ทำให้บางคนเบื่อและถอดใจกับการติดตามผลการพิจารณารีไฟแนนซ์ หลายคนๆจึงเลือกที่จะรีเทนชั่น (RETENTION การขอลดดอกเบี้ย) เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า เนื่องจากทางธนาคารมีประวัติเดิมของเราอยู่แล้ว แถมหากใครมีประวัติการชำระเงินที่ตรงต่อเวลาสม่ำเสมอ แบบนี้แทบไม่ต้องเสียเวลาพิจารณานาน แค่เราติดต่อ call center ธนาคาร เพื่อแจ้งขอลดอัตราดอกเบี้ย และทิ้งเวลาให้ธนาคารตรวจสอบประวัติการชำระเงิน จากนั้นรอประเมินส่วนลดเล็กน้อย แล้วให้ติดต่อกลับมาแจ้งผลและอัตราดอกเบี้ยที่สามารถลดให้เรา แค่นี้ก็จบ ซึ่งว่าไปแล้วก็ดีเหมือนกันนะ

    รีไฟแนนซ์บ้านด้วยการย้ายธนาคาร กับขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารเดิม อย่างไหนจะดีกว่ากัน

    การรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ 

    ในปัจจุบัน สถาบันการเงินมักมีการแข่งขันออกแคมเปญสินเชื่อบ้านใหม่ๆมาดึงดูดลูกค้ากันอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์ของเราที่จะลองเลือกดู หากมีรายละเอียดที่ดีน่าสนใจก็เลือกทำได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังก็คือการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยอย่างรอบคอบ เพราะบางแห่งอ้างอิงดอกเบี้ย MRR บางแห่งอ้างอิง MLR ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อัตราแบบ MRR จะสูงกว่าแบบ MLR จึงอาจทำให้สถาบันการเงินเสนอดอกเบี้ย MRR ลบ 0.75% ซึ่งบางทีอาจจะยังคงแพงกว่าดอกเบี้ย MLR ลบ 0.25% ก็ได้ นอกจากนี้ อัตรา MLR ของแต่ละสถาบันการเงินก็ยังอุตส่าห์มีความแตกต่างกันอีกด้วย แบบนี้ถ้าคิดไม่ละเอียดมีหวังแย่เหมือนกัน แถมการย้ายแบงก์ ยังมีค่าธรรมเนียมต่างๆไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมประเมินหลักประกัน หรือค่าธรรมเนียมจดจำนอง เป็นต้น

    การรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม

    การขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาจเป็นวิธีที่สะดวกกว่า (แต่ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะได้รับดอกเบี้ยใหม่ที่ถูกกว่าแคมเปญของธนาคารที่อื่นเสมอไป) แค่เพียงสัญญาแนบท้ายสัญญาเงินกู้ฉบับเดิมว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วแล้ว ยังไงก็ลองคิดให้รอบคอบก่อนค่ะ

    ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์บ้านมีอะไรบ้าง?

    1. ทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยถูกลง ทำให้ภาระการผ่อนชำระน้อยลงไปด้วย
    2. หากรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อต้องการเงินส่วนต่าง เราก็จะสามารถนำเงินส่วนต่างไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้
    3. หากอยู่ในภาวะดอกเบี้ยสูง สามารถรีไฟแนนซ์ไปที่แบบดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา ก็จะสามารถป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ควบคุมไม่ได้

    ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์บ้าน

    1. ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน ควรคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ดีก่อน ไม่เช่นนั้นการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้อาจไม่คุ้มค่าเลย
    2. บางทีธนาคารที่เรามีสินเชื่ออยู่ อาจเข้าไปต่อรองดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องย้ายหนีเลย
    3. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางธนาคาร อาจมีโปรโมชั่น เช่น ฟรีค่าจดจำนอง ( ซึ่งจะคิดรวมรวมอยู่ในดอกเบี้ยแล้ว ) จึงเหมาะสำหรับคนที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนอง(1%)ในวันที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์
    4. ประกันภัยประกันชีวิตประเภทต่างๆที่ธนาคารขายคู่มากับกับสินเชื่อเป็นเรื่องที่สามารถต่อรองได้ ทางที่ดีควรเลือกที่เหมาะสมกับตัวเรา
    5. ระยะดอกเบี้ยโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ปกติจะประมาณ 3%- 5% จึงควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกค่ะ

    รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่า

    จะต้องเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาในการรีไฟแนนซ์กันแล้ว ยังไงต้องคุ้มค่านะคะ ด้วยวิธีการแบบนี้

    1. เปรียบเทียบเงื่อนไขของธนาคารต่างๆให้ดีก่อนตัดสินใจ
    • ดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อของธนาคารที่เราจะรีไฟแนนซ์ ต่ำกว่าดอกเบี้ยตลอดสินเชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
    • ดอกเบี้ยโปรโมชั่นที่จะย้ายไปใช้บริการ อยู่ในอัตราที่ดีที่สุดในระบบหรือยัง
    • ควรดูเงื่อนไขเรื่องจำนวนเงินผ่อนต่องวดที่ลดลง ระยะเวลาการผ่อนชำระที่นานขึ้น เพื่อที่จะได้คำนวณว่าจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยได้มากแค่ไหน
    1. สำรวจค่าใช้จ่ายอื่นๆ

    อยากจะบอกว่าการรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยบ้านก็คล้ายๆกับการขอสินเชื่อใหม่ดีๆนี่เอง ดังนั้นเราจึงต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใน
    กระบวนการต่างๆ ทั้งการจดจำนองหลักประกัน 1% ของวงเงินกู้ การประเมินมูลค่าหลักประกัน หรือการทำประกันอัคคีภัย ซึ่งถึงแม้ว่าหลายๆธนาคารจะยื่นข้อเสนอประเภทฟรีค่าธรรมเนียมเพื่อจูงใจให้รีไฟแนนซ์
    ที่สำคัญควรตรวจสอบเงื่อนไขการไถ่ถอนสินเชื่อจากธนาคารเดิมด้วยว่าเขากำหนดให้สามารถรีไฟแนนซ์ได้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรของการกู้ เพราะหากผิดเงื่อนไขขึ้นมาก็จะต้องเสียค่าปรับในการไถ่ถอนก่อนกำหนดอีกด้วย

    1. ตัดสินใจอีกครั้งว่าควรจะรีไฟแนนซ์หรือไม่

    หลังจากที่เรารวบรวมข้อมูลแหล่งเงินกู้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดแล้ว จากนั้นก็นำมาวิเคราะห์บวกกับค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อตัดสินใจอีกครั้ง หากดูแล้วคุ้มค่าต่อการรีไฟแนนซ์ ก็ติดต่อธนาคารและดำเนินการตามขั้นตอนได้เลย

    การรีไฟแนนซ์จะเป็นประโยชน์กับเรามากที่สุดหากมีการศึกษา ตรวจสอบ และเปรียบเทียบอย่างละเอียด หากไตร่ตรองและคิดว่านี่เป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้วก็อย่าช้าค่ะ รีบไปธนาคารเป้าหมายที่ต้องการได้เลย!!

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ