มาตราเมอร์คัลลี วัดอย่างไร

มาตราเมอร์แคลลี่

ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ

เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน
หลากหลายแหล่งข่าวเผยแพร่ข้อมูลผู้บาดเจ็บและความเสียหายเพิ่มเติม ตลอดจนระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็ใช้มาตราริกเตอร์ บ้างก็ใช้โมเมนต์แมกนิจูด บ้างก็แมกนิจูด ไปจนถึงไม่มีการระบุมาตรา สร้างความสับสนให้แก่ผู้รับชมข่าวสารถึงเหตุการณ์ทางภัยพิบัติที่เกิดขึ้น แล้วรู้หรือไม่ว่าแท้ที่จริงแล้วมาตรวัดแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง? คนทั้งโลกนิยมใช้มาตราแบบไหน? แล้วแต่ละแบบมีความแตกต่างและวัดขึ้นจากค่าของอะไร? ที่นี่มีคำตอบ

มาตรวัดแผ่นดินไหวมีกี่ประเภท ?
-มาตรวัดแผ่นดินไหวมี 2 ประเภท คือ มาตรที่แบ่งด้วยความรุนแรง (Intensity) และมาตรที่แบ่งด้วยขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหว ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้ให้ความหมายของความรุนแรงและ ขนาดของแผ่นดินไหวไว้ดังนี้
ความรุนแรง (Intensity) คือ ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึกของคน ต่อความเสียหายของอาคาร สิ่งก่อสร้าง ธรรมชาติข้างเคียง โดยความรุนแรงจะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละแห่งที่ถูกรบกวนขึ้นกับว่าสถานที่นั้นอยู่ห่างจากตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) มากน้อยขนาดไหน
ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็น ปริมาณที่มีความสัมพันธ์กับพลังงานที่พื้นโลกปลดปล่อยออกมา ณ ตำแหน่งจุดกำเนิดแผ่นดินไหว (Hypocenter) ในรูปแบบของการสั่นสะเทือน ถ้าอยู่ใกล้จุดดเกิดแผ่นดินไหวก็จะมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าอยู่ไกลออกไปขนาดก็จะเล็กลงเรื่อยๆ ซึ่งค่าของขนาดแผ่นดินไหวคำนวณได้จากค่าความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว (Amplitude) ที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวจวัด(Seismograph) ดังนั้นขนาดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งจึงมีได้เฉพาะค่าเดียวซึ่งได้จากการตรวจจับด้วยเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น 

มาตรวัดขนาดของแผ่นดินไหวมีอะไรบ้าง ?
-มาตราริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale)
เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismograph) วัดได้จากความสูงของคลื่น (Amplitude) แสดงผลในรูปแบบจำนวนเต็มและจุดทศนิยมทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นคนละเหตุการณ์กันได้ โดยคลื่นแผ่นดินไหวที่ปรากฎในเครื่องตรวจวัด และคำนวนได้จากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็นลอการิทึมฐานสิบของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว

ขนาดจะเป็นตัวเลขจำนวนเต็มและจุดทศนิยมที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวเมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่ระดับเป็นศูนย์ ที่กำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็นศูนย์มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มม. ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ซึ่งเมื่อคำนวนจากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็นลอการิทึมของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกไว้ จะทำให้ทราบว่าแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ มีความรุนแรงเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ และมีความรุนแรงเป็น 100 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์

- มาตราโมเมนต์แมกนิจูด ( moment magnitude scale; MMS, Mw)
เป็นมาตราที่วัดขนาดของคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องบันทึกแผ่นดินไหวในลักษณะคล้ายคลึงกับค่าที่บันทึกได้ในมาตราริกเตอร์แต่มีความละเอียดและแม่นยำกว่า เพราะเป็นมาตราที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่พร้อมๆ กับเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่มีการบันทึกผลด้วยระบบฟังก์ชันเวลาในปี พ.ศ.2513 เพื่อใช้แทนมาตราริกเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473

ขนาดของโมเมนต์ที่ได้จากการวัดคลื่นแผ่นดินไหว (Seismograph) จะถูกเปลี่ยนไปเป็นตัวเลขแมกนิจูด ด้วยการคำนวณกับสูตรมาตรฐาน ซึ่งผลสุดท้ายจะได้ค่าที่เรียกว่า โมเมนต์แมกนิจูด ที่เป็นหน่วยบ่งบอกขนาดการเกิดแผ่นดินไหว ที่แม้ว่าสูตรในการคำนวณจะต่างกัน แต่มาตราใหม่นี้ยังคงให้ขนาดของแผ่นดินไหวใกล้เคียงกับขนาดแผ่นดินไหวในมาตราริกเตอร์ แต่จะไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์เสียทีเดียวโยจะให้ขนาดที่ใกล้เคียงกับมาตราริกเตอร์เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดหลาง (3-6)

มาตรวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว มีอะไรบ้าง?
-มาตราเมอร์คัลลี่ (Mercalli Intensity Scale) 
เดิมทีมาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว มีด้วยกันหลายมาตรา บางมาตรามีมานานนับร้อยปี แต่ที่นิยมใช้กันที่สุด คือ มาตราเมอร์คัลลี่ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามมาตราเมอร์คัลลี่มี 12 ระดับ จากระดับความรุนแรงที่น้อยมากจนไม่สามารถรู้สึก ต้องตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวเท่านั้น ไปจนถึงขั้นรุนแรงสุดจนทุกสิ่งทุกอย่างพังพินาศ โดยมาตราเมอร์คัลลีใช้หน่วยวัดระดับเป็นตัวเลขโรมัน ซึ่งแบ่งระดับต่างๆ ออกได้ ดังนี้

I เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดได้โดยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหวเท่านั้น คนไม่สามารถรู้สึกได้
II รู้สึกได้เฉพาะบางคนที่อยู่นิ่ง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในอาคารชั้นบน สิ่งของที่บอบบาง ประณีต กระจุ๋มกระจิ๋มที่แขวนไว้อาจแกว่งไกวได้
III ผู้ที่อยู่ในอาคารจะรู้สึกค่อนข้างชัดว่ามีแผ่นดินไหว โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ชั้นบน ๆ แต่คนส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น รถยนต์ที่จอดอยู่อาจขยับเขยื้อนได้บ้างเล็กน้อย การสั่นสะเทือนคล้าย ๆ กับเมื่อมีรถยนต์บรรทุกแล่นผ่านสามารถกำหนดระยะเวลาของการสั่นไหวได้
IV ถ้าเกินในเวลากลางวันผู้ที่อยู่ในบ้านจะรู้สึกได้ แต่ผู้ที่อยู่นอกบ้านมีผู้รู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวน้อยคน ถ้าเป็นตอนกลางคืนผู้ที่นอนหลับอยู่จะตกใจตื่น ถ้วยชามจะขยับ หน้าต่าง ประตู จะสั่น ฝาผนังจะมีเสียงลั่น มีความรู้สึกคล้าย ๆ กับรถยนต์บรรทุกของหนักชนอาคาร รถยนต์ที่จอดอยู่สั่นไหวสังเกตได้ชัดเจน
V เกือบทุกคนรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น หลาย ๆ คนตื่นตระหนก ถ้วยชามตกแตก หน้าต่างพัง สิ่งของที่ตั้งไม่มั่นคงล้มคว่ำ นาฬิกาที่ใช้ลูกตุ้มอาจหยุดเดิน
VI รู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวกันได้ทุกคน หลาย ๆ คนตกใจวิ่งออกจากบ้าน เครื่องประดับบ้านหนัก ๆ บางชิ้นเคลื่อนได้ กรณีน้อยมากที่ปูนฉาบผนังจะล่วงหล่นลงมาความเสียหายยังจัดว่าเล็กน้อย
VII ในอาคารที่ออกแบบและก่อสร้างไว้ดีจะเสียหายเล็กน้อยมาก ส่วนอาคารก่อสร้างไว้ดีตามปกติจะเสียหายเล็กน้อยถึงปานกลาง อาคารที่ก่อสร้างและออกแบบไว้ไม่ดีจะเสียหายค่อนข้างมาก ปล่องไฟบางปล่องแตกหัก
VIII สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้ดีเป็นพิเศษจะเสียหายเล็กน้อย อาคารที่สร้างอย่างมั่นคงตามปกติจะเสียหายค่อนข้างมาก และบางส่วนอาจพังทลายลงมาด้วย สำหรับสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างไม่สมบูรณ์ จะเสียหายใหญ่หลวง ปล่องไฟ บ้าน โรงงาน เสาหิน อนุสาวรีย์ และกำแพงจะหักล้มพังลงมา
IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบดีเป็นพิเศษ เสียหายมาก โครงของสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้ดีเสียศูนย์หมด อาคารที่มั่นคงเสียหายมากซึ่งบางส่วนพังทลายลงมาด้วย ตัวอาคารต่าง ๆ ขยับเคลื่อนออกจากฐานรากเดิม
X อาคารไม้ที่ก่อสร้างไว้อย่างดีบางหลังถูกทำลาย สิ่งก่อสร้างที่ก่อด้วยปูน และมีโครงพังทลายพร้อมกับฐานรากด้วย รางรถไฟบิดงอไป
XI สิ่งก่อสร้างที่ก่อด้วยปูนถ้ามีจะยังคงเหลือตั้งอยู่ได้น้อยมาก สะพานถูกทำลาย ทางรถไฟบิดงอมาก
XII เสียหายหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แนวและระดับต่างๆ บิดเบี้ยวหมด วัตถุทุกอย่างกระดอนกระเด็นปลิวขึ้นไปในอากาศ

คนทั่วโลกนิยมใช้มาตราแบบไหน

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแผ่นดินไหวและธรณีแปรสัณฐานของโลก (SEIS-SCOPE) ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า คนไทยมักเคยชินกับมาตราวัดแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ ซึ่งไม่ถือว่าผิด แต่ถือว่าเชย เพราะนักธรณีวิทยาและผู้คนเกือบทั่วทั้งโลก หันมาใช้ “มาตราโมเมนต์แมกนิจูด” แทบทั้งสิ้น

“แต่ถ้าจะยังใช้มาตราริกเตอร์ก็ไม่ได้ผิดอะไรนะ คำนี้มันเข้าใจง่ายแล้วคนไทยก็รู้จักดี แต่ผมจะเพิ่มเติมนิดนึงว่าถ้าจะใช้ริกเตอร์ ต้องใช้กับแผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ถ้ามากกว่านั้นจะไม่ใช้ริกเตอร์ ให้ใช้มาตราโมเมนต์แมกนิจูดแทน ตามหลักสากลจะนิยมใช้คำว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดเท่าไร แค่นั้นพอ เขาไม่ใส่หน่วยข้างหลัง เพราะ "แมกนิจูด" แปลว่า "ขนาด" เช่น ฝรั่งรายงานว่าเกิดแผ่นดินไหว 7.3 แมกนิจูด ก็แปลเป็นไทยได้ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 เป็นต้น” นักธรณีวิทยาชำนาญการให้ข้อเสนอแนะแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์

**เรียบเรียงจากข้อมูลของเว็บไซต์องค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (U.S. Geological Survey: USGS), กรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตุนิยมวิทยา







*******************************

ยาเคลือบอุปกรณ์การแพทย์ยับยั้งการเติบโตเชื้อโรคจากเทคโนโลยีบรรจุแคปซูลนาโนเพื่อควบคุมการปลดปล่อยยาเคลือบกำจัดเชื้อโรค 1 ในตัวอย่างวิศวกรรมชีวการแพทย์สุดล้ำผลงานนักศึกษาไทย อ่านต่อเพิ่มเติมคลิก www.manager.co.th/science #engineering #bioengineering #medicalengineering #medical #medical #innovation #project #undergrat #student #thailand #managersci #astvscience #sciencenews

มาตราเมอร์คัลลี มีกี่ระดับ

การแบ่งระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว แบ่งตามมาตราเมอร์คัลลี่ เป็น 12 ระดับ คือ (1) ระดับอ่อนมาก คนธรรมดาจะไม่รู้สึก แต่เครื่องวัดสามารถตรวจจับได้ (2) ระดับอ่อน คนที่มีความรู้สึกไวจะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวเล็กน้อย (3) ระดับเบา คนที่อยู่กับที่รู้สึกว่าพื้นสั่น (4) ระดับพอประมาณ คนที่สัญจรไปมารู้สึกได้

ข้อมูลใดนำมาใช้วัดแผ่นดินไหวในมาตราเมอร์คัลลี

การใช้มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวแบบเมอร์คัลลีนั้น จะกำหนดได้จากการตอบสนองของผู้คนในพื้นที่เกิดแผ่นดินไหว การสั่นไหวของเครื่องเรือน หรือความเสียหายที่เกิดกับอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ โดยจะมีระดับความรุนแรงทั้งหมด 12 ระดับ และใช้หน่วนระดับเป็นตัวเลขโรมัน I-XII. ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวทั้ง 12 ระดับ

การ วัดความรุนแรงของ แผ่นดินไหว ตาม มาตรา เม อ ร์ คัล ลี ใช้ ข้อมูล ใด ใน การ พิจารณา

มาตราเมร์คัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินโดยพิจารณาจากผลกระทบของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก โดยที่พิจารณาจากการตอบสนองของผู้คน และผลกระทบที่สามารถสังเกตเห็นได้ คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์คัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ...

มาตราริกเตอร์ใช้วัดสิ่งใด

มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) โดย Charles F.Richter แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เราจึงนิยมใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า ริกเตอร์ (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่าง ๆ กันได้ เป็นมาตราที่วัด ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ