โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ มีกี่ประเทศ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

     ไฟฟ้า นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดย รวม ปัจจุบันสถิติการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรเชื้อเพลิงหลัก ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติรวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน รูปแบบต่าง ๆ ควบคู่กันไป
          สำหรับพลังงานนิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 437 โรง รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างเพิ่มอีกในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย

ลักษณะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
          โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ต้นกำเนิดพลังงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะอาศัยพลังความร้อนที่เกิด ขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

รูปแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก อาคารปฏิกรณ์ อาคารกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอาคารอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงบางแห่งอาจมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ด้วย
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมี 3 แบบ ได้แก่
- แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor – BWR)
- แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor –PWR)
- แบบแคนดู (CANDU)

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 
หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด
          ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบวงจรเดียว ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 6 – 9 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำประมาณ 285 องศาเซลเซียส ไอน้ำจะถูกส่งไปกังหันโดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า
 
หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง
          ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 15.6 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำสูง ประมาณ 315 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดัน น้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำจะถูกส่งไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า
 
หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบแคนดู
          ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร แต่ใช้น้ำหนักมวล (Heavy water,D2O) แทนน้ำธรรมดา น้ำหนักมวลในท่อเชื้อเพลิงมีความดันประมาณ 10 ล้านปาสกาล มีอุณหภูมิสูงประมาณ 310 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดันน้ำร้อนจะถูกส่ง ไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า
 
เศรษฐศาสตร์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
         โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แม้จะใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ชนิดอื่น อันเนื่องจากมาตรการความปลอดภัยหลายชั้นและใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูงมาก แต่ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่า เนื่องราคาค่าเชื้อเพลิงต่ำและไม่ผันผวนเช่นเดียวกับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ความปลอดภัย
          มาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นไปตามมาตรฐานของทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นต่ำ และปฏิกรณ์ได้รับการออกแบบให้ทำงานเฉพาะในสภาวะปฏิกิริยาแตกตัวคงที่เท่า นั้นไม่สามารถเกิดการระเบิดในลักษณะเดียวกับระเบิดปรมาณู มีส่วนปิดกั้นรังสีหลายชั้น และมีระบบป้องกันฉุกเฉิน

 
กากกัมมันตรังสี
          พลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าที่คำนึงถึงการเก็บกำจัดของเสีย จากกระบวนการผลิตและนำค่าใช้จ่ายเข้ารวมไว้ในต้นทุนการดำเนินการทั้งหมดแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น ๆ รวมทั้งมีกากกัมมันตรังสี ปริมาณน้อย
          นอกจากนี้เชื้อเพลิงใช้แล้วยังอาจนำไปสกัดใช้ใหม่ได้หรือสามารถเก็บไว้ในตัว โรงไฟฟ้าจนกว่าจะมีนโยบายการกำจัดในรูปแบบอื่น ๆ ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีกากกัมมันตรังสีต่ำประมาณ 9,000 – 30,000 ถัง (ขนาด 200 ลิตร) ส่วนกากกัมมันตรังสีสูงคงอยู่ในมัดเชื้อเพลิงที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้ว
 
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
          เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ คือ แร่ยูเรเนียมที่ผ่านการแปรสภาพองค์ประกอบ ทำให้เป็นเม็ดและประกอบเป็นแท่งมัดรวมกันเพื่อนำไปใช้ในปฏิกรณ์ กำหนดการเปลี่ยนเชื้อเพลิงใหม่อาจกระทำเป็นรายวัน เช่น ในปฏิกรณ์แบบแคนดู หรือรายปี เช่นในปฏิกรณ์แบบ BWR และ PWR ยูเรเนียม-235 เพียงหนึ่งกรัมให้ความร้อนเทียบเท่าถ่านหินชั้นดี 3 ตัน หากใช้ครั้งเดียวยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จะมีอัตราสิ้นเปลืองประมาณ 30 ตันต่อปี

สิ่งแวดล้อม
          โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ เนื่องจากปลอดก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ นอกจากนั้น ตามกฎเกณฑ์มาตรฐานกำหนดให้อุณหภูมิน้ำที่เข้าไปรับความร้อนจากเครื่องควบ แน่น เมื่อวัด ณ จุดระบาย ยังไม่แตกต่างไปจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอื่น
          ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดกำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์ เป็นเวลาหนึ่งปีจะมีเชื้อเพลิงใช้แล้วประมาณ 8 – 20 ลูกบาศก์เมตร สามารถเก็บโดยแช่ในสระน้ำได้หากยังไม่มีนโยบายสกัดเชื้อเพลิงกลับมาใช้อีก

 
รังสี
          จากข้อมูลทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เดินเครื่องอยู่ทั่วโลกมีประมาณร้อยละ 0.15 ของรังสีโดยรวมจากแหล่งต่าง ๆ
          รังสีเป็นสิ่งที่มีอยู่และเกิดตามธรรมชาติ มนุษย์เราอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมและท่ามกลางสิ่งประดิษฐ์ซึ่งแผ่รังสีให้ ทั้งคุณและโทษอยู่ตลอดเวลา โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ในร่างกายเราเองก็มีสารกัมมันตรังสีประกอบอยู่ด้วยหลายชนิด เช่น คาร์บอน -14, โปแตสเซียม -40, และโปโลเนียม -210
          นอกจากนี้แสงและความร้อนซึ่งเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ก็จำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิตของเรา

จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก
          ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) รายงานว่าเมื่อสิ้นปี 2549 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 437 หน่วย กำลังการผลิตรวม 265,800 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด

ตารางแสดงจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก

ประเทศ

จำนวน

ประเทศ

จำนวน

ประเทศ

จำนวน

สหรัฐอเมริกา 103(1) สเปน 8 แอฟริกาใต้ 2
ฝรั่งเศส 59 เบลเยี่ยม 7 จีน 11(4)
ญี่ปุ่น 55(2) บัลแกเรีย 2 เม็กซิโก 2
สหราชอาณาจักร 19 สวิตเซอร์แลนด์ 5 บราซิล 2
รัสเซีย 31(5) สาธารณรัฐสโลวัก 5(2) ปากีสถาน 2(1)
แคนนาดา 18(2) สาธารณรัฐเช็ก 6 สโลเวเนีย 1
เยอรมนี 17 ฟินแลนด์ 4(1) โรมาเนีย 1(1)
ยูเครน 15 ฮังการี 4 อิหร่าน (1)
สวีเดน 10 อาร์เจตินา 2(1) อาร์เมเนีย 1
อินเดีย 17(6) ลิธัวเนีย 1 ไต้หวัน 6(2)
เกาหลีใต้ 20(1) เนเธอร์แลนด์ 1    
**ในวงเล็บ คือ จำนวนโรงไฟฟ้าที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างที่มา : //www.energy.go.th/moen/KnowledgeDetail.aspx?id=61


ข้อดี-ข้อเสีย ที่ได้จาก โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์


จากบทความ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นอย่างไร ทำให้เราพอที่จะเห็นภาพกว้างๆ ของหลักการทำงานของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กันแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกัน ผลกระทบที่เกิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมีมากมายทั้งข้อดี และข้อเสีย ซึ่งเป็นธรรมดาสามัญของโลกซึ่งล้วนไม่มีอะไรด้านเดียว โดยเราจะแยกประเด็นเป็น

1. ผลกระทบต่อมนุษย์

2. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบต่อมนุษย์

ข้อดี

อย่าง เห็นได้ขัดเลยนะครับ ถ้ามีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นเราจะได้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากมายมหาศาล โดยมูลค่าการลงทุนเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้า 6 – 10 พันล้านUSD กันเลยทีเดียว ดังนั้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด คือจะเป็นการสร้างงาน, กระจายรายได้, เพิ่มการลงทุน และเมื่อโรงไฟฟ้าเสร็จ เราจะได้ไฟฟ้าในปริมาณที่มากขึ้น นั่นหมายถึงราคาค่าไฟ ก็ควรที่จะลดลงไปด้วย นอกจากนี้ครับ เรายังได้แหล่งพลังขนาดใหญ่ที่ให้พลังงานได้มหาศาลเลยทีเดียว และแน่นอนครับการพัฒนาทางเทคโนโลยี หรือการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรมคงจะตามๆ กันมาถ้าเรามีแหล่งพลังงานที่มากขึ้น และราคาถูกลง

ข้อเสีย

ถ้าเรามองโลกในแง่ร้าย ว่าถ้าหากเกิดอุบติเหตุโรงไฟฟ้าระเบิดเนื่องจากสาเหตุใดๆ ก็ตามผลกระทบจะเป็นอย่างไร?

Source Dose Biological Effect
Nuclear Bomb 100,000 rems/incident Immediate death
Exposure in
a nuclear facility
10,000 rems/incident Coma
X rays for
cancer patient
1,000 rems/incident Nausea
  100 rems/incident Increased
probabilities of leukemia
  10 rems/incident Early embryos may show
abnormalities
Etc lower than
5 rems/incident
Effects difficult to demonstrate

แหล่งที่มา: สรุปจาก Eldon D.Enger and Bradley F.Smith, Environmental Science 8th Edition

ตัวอย่าง หายนะของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้นดูได้จากประวัติการระเบิดที่ Ukrain หรือรู้จักกันในนาม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear Power Plant ) หลังการระเบิด ผู้คนในระยะ 30 km ได้รับผลกระทบจากกัมตภาพรังสี

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อดี

การ ใช้พลังจากปฎิกิริยา ฟิสชั่น (Fission) ของนิวเคลียร์นั้น ทำให้ความต้องการพลังงานเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ใช้น้ำมันเบนซินเพื่อขับเครื่องยนตร์ที่จะปั่น Generator ในการผลิตไฟฟ้า ก่อนให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเท่ากับว่าเราสามารถลดตัวการที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

ข้อเสีย

การ สร้างโรงไฟฟ้าเราคงจะต้องทำการจัดสรรพื้นที่ และทำการถากถางพื้นที่เดิม ในส่วนของระบบนิเวศน์เดิมนั้น ก็จะได้รับผลกระทบจากการสร้างตัวโรงงานเอง และการแพร่กระจายของกัมมันตภาพรังสี


ที่มา : //www.kengbook.com/?p=248

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ