กลุ่มแรงงานในประเทศไทยมีกี่กลุ่ม

excerpt

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานนอกระบบและสภาพเศรษฐกิจสังคมของผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย อาทิ ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างแรงงานนอกระบบกับค่าแรง ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างแรงงานนอกระบบกับความเสี่ยงจากการทำงานและการบาดเจ็บที่มีความรุนแรงสูง นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ำของค่าแรงระหว่างแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบของประเทศไทยในปัจจุบัน สนับสนุนแนวคิดที่ว่าแรงงานนอกระบบไม่ได้เป็นทางเลือกของผู้ใช้แรงงานในไทย แต่เป็นทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของผู้ใช้แรงงานบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางสูง

แรงงานนอกระบบเป็นประเด็นที่พบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีแรงงานนอกระบบจำนวนมาก ตัวเลขประมาณการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2563 ชี้ให้เห็นว่าอัตราการจ้างแรงงานนอกระบบหรือแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมมีจำนวนสูงถึง 20.4 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของแรงงานทั้งหมด (รูปที่ 1) แรงงานนอกระบบซึ่งมีสัดส่วนใหญ่ในตลาดแรงงานดังกล่าว อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสภาวะทางสังคมของประเทศได้ ส่วนหนึ่งจากความเหลื่อมล้ำของรายได้และโอกาสในการเพิ่มผลิตภาพของผู้ใช้แรงงาน

รูปที่ 1: จำนวนแรงงานตามภาคอุตสาหกรรมและเพศ พ.ศ. 2563 (หน่วย: ล้านคน)

ที่มา: แบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2563

ลักษณะของแรงงานนอกระบบในประเทศไทย

ผลการวิจัยของ Korwatanasakul (2021) ซึ่งอาศัยข้อมูลแบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2563 พบว่า ลักษณะหรือตัวแปรต่าง ๆ ของผู้ใช้แรงงาน ได้แก่ เพศ อายุหรือประสบการณ์ทำงาน สถานภาพสมรส พื้นที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ และประเภทของค่าแรง มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับโอกาสของการเป็นผู้ใช้แรงงานนอกระบบ เช่น ผู้ใช้แรงงานที่มีอายุหรือประสบการณ์ทำงานน้อย และมีสถานภาพโสดมักจะมีโอกาสเป็นแรงงานนอกระบบสูงกว่า ในทางตรงกันข้าม การเป็นหัวหน้าครัวเรือน การอาศัยอยู่ในเขตเมือง และระดับการศึกษาที่สูง ทำให้โอกาสของผู้ใช้แรงงานในการเป็นแรงงานนอกระบบลดลง (รูปที่ 2) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ (de Vreyer and Roubaud, 2013; García, 2017; Marcouiller, Ruiz de Castilla, and Woodruff, 1997) นอกจากนี้ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์และการได้รับค่าแรงรายเดือนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับแนวโน้มการเป็นแรงงานนอกระบบ กล่าวคือ ผู้ใช้แรงงานที่มีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์สูงและได้รับค่าแรงเป็นรายเดือนจะมีโอกาสเป็นแรงงานนอกระบบลดลง

รูปที่ 2: แรงงานในและนอกระบบตามระดับการศึกษา พ.ศ. 2563 (หน่วย: ร้อยละ)

ที่มา: แบบสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2563

ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของแรงงานนอกระบบจะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายระบุประเด็นปัญหาด้านแรงงานที่ต้องการการพัฒนา และแก้ไขปัญหานั้นอย่างตรงจุดได้ ยกตัวอย่างเช่น แรงงานนอกระบบมักจะมีชั่วโมงการทำงานที่ค่อนข้างสั้น และได้รับค่าแรงเป็นรายชั่วโมงหรือรายวันโดยไม่มีสัญญาที่เป็นทางการ กล่าวคือ แรงงานนอกระบบมักมีรายได้ที่ค่อนข้างต่ำและไม่แน่นอน ซึ่งส่งผลให้มีเงินออมไม่เพียงพอ ลักษณะเฉพาะเหล่านี้ทำให้แรงงานนอกระบบมีความเปราะบาง และยิ่งมีความเปราะบางสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งแรงงานนอกระบบเป็นคนกลุ่มแรกที่ถูกให้ออกจากงาน ดังนั้น หนึ่งในแนวทางแก้ไขปัญหาสำคัญ คือ การทำให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงระบบประกันสังคม โดยการเร่งสนับสนุนหรือจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ภาคแรงงานในระบบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ แรงงานนอกระบบมักจะอาศัยอยู่ในเขตชนบท ซึ่งมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและงานในระบบได้น้อยกว่า ดังนั้น นโยบายเพื่อสร้างโอกาสการจ้างแรงงานในระบบในเขตชนบท เช่น โครงการจูงใจให้บริษัทตั้งสาขาบริษัทและโรงงานนอกเมือง อาจช่วยให้ปัญหาการเข้าถึงระบบบรรเทาลงได้

ความเหลื่อมล้ำของค่าแรงระหว่างแรงงานในระบบกับแรงงานนอกระบบ

ตารางที่ 1 แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเฉพาะของผู้ใช้แรงงานกับค่าแรง โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึง

  1. ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าแรงระหว่างแรงงานในระบบกับนอกระบบ และ
  2. ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างแรงงานนอกระบบและค่าแรง

ผลการวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งช่วยลดแนวโน้มการทำงานในภาคแรงงานนอกระบบ (คอลัมน์ที่ 1) ความเหลื่อมล้ำของค่าแรงระหว่างแรงงานในระบบกับนอกระบบ (คอลัมน์ที่ 2) รวมทั้งความเสี่ยงจากการทำงานและการได้รับบาดเจ็บที่รุนแรง (คอลัมน์ที่ 6) ผู้กำหนดนโยบายสามารถใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบเพื่อช่วยให้แรงงานจากนอกระบบเข้าสู่ระบบได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น เนื่องจากแรงงานที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีโอกาสได้งานที่ดีกว่า มีแนวโน้มต่ำกว่าที่จะทำงานที่มีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสมากกว่าในการเข้าสู่ภาคแรงงานในระบบ การส่งเสริมนโยบายการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชากรในเขตชนบท ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นแรงงานนอกระบบ และมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพน้อยกว่าประชากรในเขตเมือง

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การศึกษาในโรงเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับการที่แรงงานนอกระบบได้ค่าแรงสูงขึ้น(คอลัมน์ที่ 5) แต่กลับเป็นประสบการณ์การทำงานที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าแรง ดังนั้น โครงการฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานอาจช่วยแรงงานที่ยังคงต้องอยู่ในภาคแรงงานนอกระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ได้มีรายได้สูงขึ้นและมีความเปราะบางต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจลดลง นอกจากนี้ ภาครัฐยังอาจช่วยแรงงานเหล่านี้ได้ด้วยการบังคับใช้โครงการสวัสดิการสังคมเฉพาะสำหรับแรงงานนอกระบบและบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับเพื่อขจัดการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานนอกระบบและการให้ค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม

ตารางที่ 1: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าแรงและความเหลื่อมล้ำของค่าแรงระหว่างแรงงานในและนอกระบบ

OLS = ordinary least squares, QRM = quantile regression model, WLS = weighted least squares

หมายเหตุ: - = ความสัมพันธ์เชิงลบ, 0 = ไม่มีความสัมพันธ์, + = ความสัมพันธ์เชิงบวก, na = not applicableที่มา: Korwatanasakul (2021)

การจ้างงานนอกระบบถือเป็นทางเลือกสำหรับแรงงานไทยหรือไม่?

การศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจนอกระบบได้รับความสนใจในงานวิจัยสาขาเศรษฐศาสตร์แรงงานมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1970 นับตั้งแต่นั้นก็มีข้อถกเถียงในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของเศรษฐกิจนอกระบบมาอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับแนวความคิดที่มีชื่อเสียงสองสาขา ได้แก่ ‘ทวินิยม’ (dualist) และ ‘นิตินิยม’ (legalist) (Maloney, 2004; Perry et al., 2007) แนวคิดทวินิยมซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าด้วยการแบ่งแยก (exclusion hypothesis) ให้เหตุผลว่าภาคแรงงานในระบบและนอกระบบมีความแตกต่างกันในเชิงพื้นฐานอันเนื่องมาจากความต่างกันในด้านผลิตภาพ (productivity) ระหว่างสองภาคส่วน (Harris and Todaro, 1970; International Labour Office, 1972; Sethuraman, 1976) เนื่องด้วยทุนมนุษย์ (human capital) และผลิตรูปที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้หน่วยเศรษฐกิจ (economic agents) เช่น ผู้ใช้แรงงานและบริษัทขนาดเล็ก อยู่รอดในระบบได้ยาก และจำเป็นต้องเข้าสู่เศรษฐกิจนอกระบบเพื่อเลี้ยงชีพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ภาคแรงงานนอกระบบจึงมีอยู่เพื่อรองรับหน่วยเศรษฐกิจเหล่านี้ ทั้งนี้ ภาคแรงงานนอกระบบจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปและหายไป เมื่อภาคแรงงานในระบบสามารถจัดสรรงานที่เพียงพอต่อหน่วยเศรษฐกิจทั้งหมดได้

ในทางกลับกัน แนวคิดนิตินิยมตั้งอยู่บนสมมติฐานทางออก (exit hypothesis) และมองภาคแรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มของบริษัทที่เลือกจะดำเนินธุรกิจนอกระบบเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีและข้อบังคับอื่น ๆ หรือเพื่อผลประโยชน์ในกรรมสิทธิ์ทางทรัพย์สิน (de Soto, 1989, 2000; Levy, 2008) สมมติฐานนี้ยังหมายรวมถึงผู้ใช้แรงงานนอกระบบด้วย เนื่องจากผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงในการเข้าสู่ระบบแรงงาน ดังนั้น แนวคิดนิตินิยมจึงโต้แย้งว่าการทำงานนอกระบบเป็นทางเลือก ขณะที่แนวคิดทวินิยมมองว่าการทำงานนอกระบบเป็นทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

การศึกษาในยุคปัจจุบันได้ทดสอบเชิงประจักษ์เกี่ยวกับมุมมองเชิงทวินิยมและนิตินิยมผ่านหัวข้อวิจัย 3 สาขา ได้แก่

  1. ความเหลื่อมล้ำของค่าแรงระหว่างแรงงานในระบบและนอกระบบ
  2. ลักษณะเฉพาะของแรงงานนอกระบบ
  3. ความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ

จากการทดสอบในงานวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมา มีข้อสรุปว่า แรงงานจะเต็มใจเลือกทำงานในภาคแรงงานนอกระบบหากเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างภาคแรงงานในระบบและนอกระบบในแง่ของค่าแรงและเงื่อนไขการทำงาน หรือ
  2. มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างภาคแรงงานสองระบบ แต่แรงงานนอกระบบได้ประโยชน์จากความแตกต่างนั้น เช่น ได้ค่าแรงมากกว่า

โดยรวมแล้ว ผลการวิจัยของ Korwatanasakul (2021) สนับสนุนแนวคิดเชิงทวินิยม เนื่องจากความเหลื่อมล้ำของค่าแรงระหว่างแรงงานในระบบและนอกระบบยังคงมีอยู่ในประเทศไทยและไม่ได้ส่งผลดีต่อผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ดังนั้น การจ้างงานนอกระบบของไทยจึงไม่ได้เป็นทางเลือก แต่เป็นทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เปราะบาง เนื่องด้วยทุนมนุษย์และผลิตรูปที่ไม่เพียงพอ เพื่อบรรเทาปัญหานี้ ภาครัฐอาจลดอุปสรรคของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่ภาคแรงงานในระบบ เช่น การลดเงินสมทบที่ส่งให้ระบบประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบที่มีรายได้น้อยและไม่มั่นคงเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลงทะเบียนกับระบบประกันสังคม รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายและข้อบังคับที่มีระเบียบพิธีการไม่จำเป็นและยุ่งยาก

ความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ

Korwatanasakul (2021) ยังชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม (behavioural and non-behavioural risk factors) มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการได้รับบาดเจ็บและความรุนแรงของการบาดเจ็บจากการทำงาน โดยแรงงานนอกระบบมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะได้รับบาดเจ็บและมีโอกาสสูงกว่าที่จะได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากลักษณะของงาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ลักษณะงานของแรงงานนอกระบบจะใช้แรงงานสูง มีการใช้สารเคมี เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ มีการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมีความปลอดภัยต่ำและความเสี่ยงสูง (Guadalupe, 2003; Levine, Toffel, and Johnson, 2012; Rongo et al., 2004) เป็นต้น นอกจากนี้ การอาศัยอยู่ในเขตชนบทยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเสี่ยงจากการทำงานที่สูงขึ้น ข้อค้นพบนี้อาจเป็นสัญญาณว่าแรงงานในชนบทมีตัวเลือกทางอาชีพค่อนข้างจำกัดและต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในทางกลับกัน เพศและระยะเวลาของการศึกษาในโรงเรียนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บ การแบ่งแยกงานโดยการศึกษาและเพศในผู้ใช้แรงงานเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากบริษัทจะมอบหมายงานที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าให้แรงงานเพศหญิงและแรงงานที่มีระดับการศึกษาสูงกว่า นอกจากนี้ แรงงานที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงได้ดีกว่า (Oh and Shin, 2003; Piha et al., 2012)

นอกจากลักษณะทางประชากรแล้ว สภาพแวดล้อมในการทำงาน (ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม) และปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน (ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม) เป็นสองปัจจัยหลักที่เพิ่มแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บและความเจ็บป่วยจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยค่อนข้างขัดแย้งกับการศึกษาก่อนหน้านี้ซึ่งมักจะพบผลกระทบสำคัญของปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม (เช่น Arphorn et al., 2016) หรือปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม (เช่น Williams, Adul Hamid, and Misnan, 2018) อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งสองปัจจัยร่วมกัน

บทสรุป

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการจ้างงานนอกระบบมีความสัมพันธ์ในแง่ลบกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่เปราะบาง ดังนั้น นโยบายที่ส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ภาคแรงงานในระบบจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้กำหนดนโยบายควรเร่งจูงใจและเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ภาคแรงงานในระบบ ตลอดจนสร้างสวัสดิภาพในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการบาดเจ็บจากการทำงานด้วย โดยเฉพาะในภาคแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงสูงในการได้รับบาดเจ็บที่รุนแรง นอกจากนี้ การศึกษายังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้แรงงานจากนอกระบบเข้าสู่ระบบได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยในบริบทปัจจุบัน การจ้างงานนอกระบบยังเป็นทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในผู้ใช้แรงงานบางกลุ่ม รวมทั้งในภาคแรงงานนอกระบบ ประสบการณ์ทำงานมีความสำคัญมากกว่าระดับการศึกษา ดังนั้น นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมทักษะที่จำเป็นจะช่วยแรงงานที่ยังคงอยู่ในภาคแรงงานนอกระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ได้ค่าแรงมากขึ้น และมีความเปราะบางต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยลง รวมทั้งจะช่วยให้แรงงานเหล่านั้นมีผลิตภาพสูงขึ้นและสามารถเข้าสู่ภาคแรงงานในระบบได้ในที่สุด

เอกสารอ้างอิง

Arphorn, S., Ishimaru, T., Noochana, K., Buachum, S., & Yoshikawa, T. (2014). Working conditions and occupational accidents of informal workers in Bangkok, Thailand: A case study of taxi drivers, motorbike taxi drivers, hairdressers and tailors, The Journal of Science of Labour, 90(5), 183-189.

de Soto, Hernando. 1989. The Other Path: The Invisible Revolution in the Third World. New York: Harper and Row .

de Soto, Hernando. 2000. The Mystery of Capital: Why Capitalism Triumphs in the West and Fails Everywhere Else. Basic Books.

De Vreyer, Philippe, and Francois Roubaud, eds. 2013. Urban Labor Markets in Sub-Saharan Africa. Washington DC: The World Bank. //doi.org/10.1596/978-0-8213-9781-7.

García, Gustavo A. 2017. “Labor Informality: Choice or Sign of Segmentation? A Quantile Regression Approach at the Regional Level for Colombia.” Review of Development Economics 21 (4): 985–1017. //doi.org/10.1111/rode.12317.

Guadalupe, Maria. 2003. “The Hidden Costs of Fixed Term Contracts: The Impact on Work Accidents.” Labour Economics 10 (3): 339–57. //doi.org/10.1016/S0927-5371(02)00136-7.

Harris, John R., and Michael P. Todaro. 1970. “Migration, Unemployment and Development: A Two-Sector Analysis.” The American Economic Review 60 (1): 126–42. //www.jstor.org/stable/1807860.

International Labour Office. 1972. Employment, Incomes and Equality; a Strategy for Increasing Productive Employment in Kenya. Geneva: ILO.

Korwatanasakul, U. (2021) Determinants, wage inequality, and occupational risk exposure of informal workers: A comprehensive analysis with the case study of Thailand (PIER Discussion Paper 160). Bangkok: PIER.

Levine, D.I., Toffel, M.W., & Johnson, M.S. (2012). Randomised government safety inspections reduce worker injuries with no detectable job loss. Science, 336(6083), 907–911.

Levy, S. (2008). Good intentions, bad outcomes: Social policy, informality, and economic growth in Mexico. Washington, DC: Brookings Institution Press.

Marcouiller, Douglas, Veronica Ruiz de Castilla, and Christopher Woodruff. 1997. “Formal Measures of the Informal-Sector Wage Gap in Mexico, El Salvador, and Peru.” Economic Development and Cultural Change 45 (2): 367–92. //doi.org/10.1086/452278.

Maloney, William F. 2004. “Informality Revisited.” World Development 32 (7): 1159–78. //doi.org/10.1016/j.worlddev.2004.01.008.

National Statistical Office of Thailand (NSO). 2020. “The Informal Employment Survey 2020.” Bangkok: NSO. //www.nso.go.th/sites/2014en/Survey/social/labour/informalEmployment/2020/Full_Report_2020.pdf.

Oh, J.H. & Shin, E.H. (2003). Inequalities in non-fatal work injury: The significance of race, human capital and occupations. Social Science & Medicine, 57, 2173–2182.

Perry, G.E., Maloney, W.F., Arias, O.S., Fajnzylber, P., Mason, A.D., & Saavedra-Chanduvi, J. (2007). Informality: Exit and exclusion. Washington DC: The World Bank.

Piha, K., Laaksonen, M., Martikainen, P., Rahkonen, O., & Lahelma, E. (2012). Socio-economic and occupational determinants of work injury absence. The European Journal of Public Health, 23(4), 693–698.

Rongo, L., Barten, F., Msamanga, G., Heederik, D., & Dolmans, W. (2004). Occupational exposure and health problems in small-scale industry workers in Dar es Salaam, Tanzania: A situation analysis. Occupational Medicine, 54(1), 42–46.

Sethuraman, S.V. 1976. “The Urban Informal Sector: Concept, Measurement and Policy.” International Labour Review 114 (1): 69–81. //www.ilo.org/public/libdoc/ilo/P/09602/09602(1976-114-1)69-81.pdf.

Williams, O., Adul Hamid, R., & Misnan, M. (2018). Accident Causal Factors on the Building Construction Sites: A Review. International Journal of Built Environment and Sustainability, 5(1). doi: //doi.org/10.11113/ijbes.v5.n1.248.

กลุ่มแรงงานมีกี่กลุ่ม

แรงงานแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ แรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ โดยในที่นี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับกลุ่มแรงงานนอกระบบ พวกเขาคือใคร อาชีพไหนจัดอยู่ในกลุ่มนี้ และมีความสำคัญอย่างไรในระบบจ้างงาน ไปดูกัน

กลุ่มคนวัยทำงานในประเทศไทยมีจำนวนกี่คน

ประชากรวัยแรงงานซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปของไทยในไตรมาส 1/2564 มีจำนวน 56.59 ล้านคน ประกอบไปด้วย กำลังแรงงานจำนวน 38.34 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 67.75 ของประชากรวัยแรงงาน) ในจำนวนนี้เป็น ผู้มีงานทำ 37.58 ล้านคน และเป็นผู้ว่างงาน 0.76 ล้านคน ส่วนผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงานมีจำนวน 18.25 ล้านคน (คิดเป็น ร้อยละ 30.74 ของ ...

แรงงานในไทยมีกี่คน

ผลการสํารวจภาวะการทำงานของประชากรเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 พบว่าจำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 56.75 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อม จะทำงาน 38.41 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีงานทำ 2563 Page 7 2562 2 การมีงานทํา

แรงงานนอกระบบมีกี่คน

ผลการสํารวจพบว่าจากผู้มีงานทําทั้งหมด 37.5 ล้านคนเป็น แรงงานนอกระบบ 20.4 ล้านคน หรือร้อยละ 54.3 (ชายร้อยละ 55.7 หญิงร้อยละ 44.3) และเป็นแรงงานในระบบ 17.1 ล้านคน หรือร้อยละ 45.7 (ชายร้อยละ 53.2 หญิงร้อยละ 46.8)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ