โครงสร้างของ plc มีกี่ส่วน

โครงสร้างและสว่ นประกอบของโปรแกรมเมเบลิ คอนโทรลเลอร์

3.1 โครงสร้างโปรแกรมเมเบลิ คอนโทรลเลอร์

ภาพท่ี 3.1 บล็อกไดอะแกรมแสดงโครงสรา้ งของโปรแกรมเมเบลิ คอนโทรลเลอร์

3.1.1 อุปกรณ์อนิ พุต (Input Device)

อุปกรณ์อินพุตมีหน้าท่ีตรวจจับพฤติกรรมต่างๆ แล้วเปล่ียนเป็น
สัญญาณทางไฟฟ้าทาให้หน่วยอินพุต (Input Unit) รับรู้ได้ ไม่
ว่าจะเป็นสัญญาณแอนาล็อกหรอื ดจิ ิทัล

ตัวอย่างเช่น สวิตช์ปุ่มกด ลิมิตสวิตช์ หรือหน้าสัมผัส
ของรีเลย์ หรือกลุ่มเซนเซอร์ต่าง ๆ เช่น โฟโตเซนเตอร์ พร๊อกซิ
มติ ี้เซนเตอร์ เซนเซอร์อุณหภมู ิ เซนเซอร์ความดัน สวิตช์ลูกลอย
เปน็ ต้น

ภาพที่ 3.2 ตวั อยา่ งอปุ กรณอ์ ินพตุ ของโปรแกรมเมเบลิ คอนโทรลเลอรช์ นดิ ตา่ งๆ

3.1.2 หน่วยอินพตุ (Input unit)

หน่วยอินพุต มีหน้าที่ปรับแต่งสัญญาณที่ได้รับมาจากอุปกรณ์
อินพุต ซ่ึงเป็นสัญญาณที่มีหลากหลายรูปแบบ เช่น สัญญาณดิจิทัล
(ON-OFF หรือ 0-1) หรือสัญญาณแอนาล็อก (0-5 VDC.,0-10 VDC.,
0-20 mA., 4-20 mA.) แล้วทาการปรับแต่งสัญญาณเหล่านี้ให้เป็น
สญั ญาณที่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) สามารถรับรู้ได้ (ส่วนมากเป็น
สัญญาณดิจิทลั )

การส่งสัญญาณไปยังหน่วยประมวลผลกลาง จะใช้วงจรแยก
สัญญาณที่ทางานดว้ ยแสง (Opto Isolate circuit) ซึ่งจะไม่มกี ารต่อ
ว ง จ ร ถึ ง กั น ร ะ ห ว่ า ง ว ง จ ร ข อ ง อุ ป ก ร ณ์ อิ น พุ ต กั บ ว ง จ ร ข อ ง ห น่ ว ย
ประมวลผลกลาง ทงั้ น้ีเพอ่ื ป้องความเสียหายอันเนื่องมาจากการลัดวงจร
ของอุปกรณ์อินพุตทสี่ ง่ ผลต่อหน่วยประมวลผลกลาง

3.1.3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

หน่วยประมวลผลกลาง มีหน้าที่ประมวลผล ตัดสนิ ใจและควบคมุ
การทางานท้ังหมดของระบบภายใต้คาส่ังเง่ือนไขท่ีเขียนไว้ในโปรแกรม
ซ่ึงมีส่วนประกอบท่ีสาคัญ 3 ส่วนได้แก่ ตัวประมวลผล (Processor)
หน่วยความจา (Memory) และแหล่งจา่ ยพลังงาน (Power supply)

ภาพที่ 3.3 ไดอะแกรมแสดงสว่ นประกอบหนว่ ยประมวลผลกลาง

3.1.3.1 ตัวประมวลผล (Processor) ส่วนประกอบหลักท่ีสาคัญของ
หน่วยประมวลผลกลางคือตัวประมวลผล มักเรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์
(Microprocessors) ท่ีออกแบบเป็นวงรวม (Integrated circuit) ท้ัง
ส่วนของการคานวณและวงจรการควบคุมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อีกท้ังยังมี
หน่วยความจา (Memory) และหน่วยจ่ายพลังงานเข้าไว้ด้วยกัน
กระบวนการทางานจะเร่มิ ต้นจากการจดั ระบบการอ่านโปรแกรมทบี่ รรจุใน
หน่วยความจา พร้อมกับรับสถานะของอินพตุ มาประมวลผล ตัดสินใจตาม
โปรแกรมที่ได้เขียนและเก็บไว้ในหน่วยความจา ซ่ึงอาจอยู่ในรูปของ
แลดเดอร์ไดอะแกรม ดังภาพท่ี 3.4 แล้วส่งผลลัพธ์การควบคุมออกไปยัง
อปุ กรณเ์ อาตพ์ ุต ต่อไป

ภาพท่ี 3.4 กระบวนการของ CPU

3.1.3.2 หน่วยความจา (Memory) หน่วยความจาเป็นส่วนประกอบ
ของหน่วยประมวลผลกลาง โดยหน่วยความจามีหน้าที่สาหรับเก็บ
โปรแกรมหรือคาส่ังต่างๆ ที่กาหนดข้ึนโดยผู้ใช้ เพื่อให้ตัวประมวลผล
นาไปประมวลผล (Executed) เราสามารถแบ่งหน่วยความจาออกได้
2 สว่ นได้แก่

• หน่วยความจาสาหรับโปรแกรมบริหาร (Executive memory)
ใช้สาหรับจัดเก็บข้อมูลถาวรเพ่ือใช้สาหรับบริหารจัดการการ
ทางานของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ เช่น การติดต่อส่ือสาร
กับอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ หรือการทางานของคาส่ังต่างๆ โดย
หน่วยความจาส่วนนผ้ี ูใ้ ช้ (User) ไม่สามารถเขา้ ถึงเพ่อื แกไ้ ขได้

• หน่วยความจาสาหรับโปรแกรมของผูใ้ ช้งาน (Application memory) ใช้
สาหรับการจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมท่ีผู้ใช้ (User) กาหนดหรือเขียนขึ้นเอง
หน่วยความจาน้ีจะประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานท่ัวไปและพ้ืนที่สาหรับฟังก์ชัน
การทางานพเิ ศษอืน่ ๆ

ภาพท่ี 3.5 ไดอะแกรมระบบหน่วยความจา

ภาพท่ี 3.6 ผงั หนว่ ยความจา (Memory Map)

การใช้งานหน่วยความจาทั้ง 2 ส่วน มีรูปแบบการใช้งานอยู่ 2
รูปแบบได้แก่ หน่วยความจาระบบ (System Memory) และ
หน่วยความจาสาหรับใช้งาน (Application memory) มี
รายละเอียดดงั น้ี

• Executive Area หมายถึง พ้ืนที่หน่วยความจาสาหรับจัดเก็บ
ข้อมูลถาวร เพื่อใช้สาหรับบริหารจัดการการทางานของโปรแกรม
เมเบิลคอนโทรลเลอร์ เช่น การติดต่อส่ือสารกับอุปกรณ์อื่นๆ ใน
ระบบ หรือการทางานของคาสั่งต่างๆ โดยหน่วยความจาส่วนนี้
ผู้ใช้ (User) ไมส่ ามารถเข้าถึงได้

• Scratch Pad Area หมายถึง พื้นที่หน่วยความจาท่ีเผื่อไว้ให้
หน่วยประมวลผลกลางใช้จัดเป็นท่ีเก็บข้อมูลบางส่วนในขณะที่ทา
การคานวณและควบคมุ ซ่งึ จะทาให้การทางานมีความไวสงู ขน้ึ

• Data Table Area หมายถึง พื้นท่ีหน่วยความจาสาหรับเก็บ
ข้อมูลตัวเลขที่สาคัญต่างๆ เช่น ตัวตั้งเวลา ตัวนับ ค่าเริ่มต้นการ
ทางานของโปรแกรม คา่ คงท่ีตา่ งๆ หรือคา่ ตวั แปรที่ผใู้ ช้กาหนดข้นึ

• User Program Area หมายถงึ พื้นที่หน่วยความจาสาหรับเก็บ
โปรแกรมคาส่ังท่ีผใู้ ช้ (User) กาหนดขึน้ หรอื เขยี นขนึ้

นอกจากน้ี หน่วยความจาสาหรับการใช้งาน (Application

memory) ยังสามารถอธิบายถึงรายละเอียดของโครงสร้าง

Application memory map ดังภาพท่ี 3.7 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

พื้นท่ีสาหรับตารางข้อมูล (Data Table Area) และพื้นท่ีสาหรับเก็บ

โปรแกรมคาสงั่ ของผ้ใู ช้งาน (User Program Area)

ภาพท่ี 3.7 ผังหน่วยความจาสาหรับใช้งาน (Application Memory Map)

• Data Table Area เป็นพ้ืนที่สาหรับใช้งานของข้อมูลต่างๆ
ประกอบด้วยพ้ืนที่สาหรับตารางข้อมูลอินพุต (Input table)
พ้ืนที่สาหรับตารางข้อมูลเอาต์พุต (Output table) และพื้นท่ี
สาหรับข้อมลู เอาต์พุตภายใน (Internal bits) และส่วนรีจีสเตอร์
หรือเวิรด์ (Register/words)

พื้นท่ีสาหรับตารางข้อมูลอินพตุ (Input table) ใช้สาหรับเก็บสถานะ
ของสัญญาณอินพุตแบบดิจิทัลท่ีเชื่อมต่อเข้ามา การถูกใช้งานของพื้นที่
หนว่ ยความจาน้ีจะมากหรอื นอ้ ยขึน้ อยูก่ ับจานวนอุปกรณอ์ นิ พตุ ทใ่ี ช้งาน

พ้ืนท่ีสาหรับตารางข้อมูลเอาต์พุต (Output table) ใช้สาหรับเก็บ
สถานะของสัญญาณเอาต์พุตแบบดิจิทัลท่ีเชื่อมต่อเข้ามา การถูกใช้งานพื้นท่ี
หน่วยความจาน้ีจะมากหรอื นอ้ ยขึน้ อยกู่ ับจานวนของอุปกรณ์เอาต์พตุ ทใ่ี ช้งาน

พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage area section of the data table) เป็น
ส่วนหนึ่งของพ้ืนที่สาหรับตารางข้อมูล (Data Table Area) ใช้กับข้อมูลท่ีมีการ
เปลี่ยนแปลงรายบิตหรือเวิร์ด และยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การเก็บข้อมูล
แบบบิต เช่น ใช้เป็นอินพุตภายใน (Internal output, Internal coil หรือ
Internal control relay) และแบบรีจีสเตอร์เวิร์ด ที่ใช้สาหรับการเก็บข้อมูล
อินพตุ และเอาตพ์ ุตแบบแอนาล็อก เกบ็ ค่าเรมิ่ ต้นของตัวต้ังเวลา ดงั ภาพท่ี 3.8

ภาพท่ี 3.8 ผงั หน่วยความจาสว่ นพื้นทเ่ี กบ็ ข้อมลู (Storage area section of the data table)

User Program Area เป็นพ้ืนที่หน่วยความจาสาหรับเก็บโปรแกรม
คาส่ังท่ีผู้ใช้ (User) กาหนดหรือเขียนข้ึน จะมีพื้นท่ีหน่วยความจามากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับขนาดของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ที่ระบุตามจานวนอินพุตและ
เอาต์พุต (I/O Capacity) โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ขนาดกลางและขนาด
ใหญ่ สามารถเพิ่มหน่วยความจาประเภทนี้ได้ ส่วนโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
ขนาดเลก็ ไมส่ ามารถขยายพื้นทหี่ น่วยความจานี้ได้

ภาพท่ี 3.9 ตัวอยา่ งการกาหนดพื้นทห่ี นว่ ยความจาสว่ นของอนิ พตุ /เอาต์พตุ และสาหรับผ้ใู ชง้ าน

จากภาพท่ี 3.9 เป็นตัวอย่างการกาหนดตาแหน่ง (Address) ในหน่วยความจา
สาหรับใช้งาน (Application Memory map) โดยกาหนดให้ส่วนท่ีใช้งาน
สาหรับอินพุตแบบบิตจานวน 128 บิต ใช้สาหรับเอาต์พุตแบบบิตจานวน 128
บิต ใช้สาหรับเอาต์พุตภายในแบบบิตจานวน 128 บิต ใช้สาหรับเป็นรีจีสเตอร์
จานวน 256 เวิรด์ และใช้สาหรบั การเขยี นโปรแกรมคาสงั่ จานวน 3816 เวิรด์

1) ชนิดหนว่ ยความจา

หน่วยความจามีความสาคัญต่อการเลือกใช้งาน เช่น หากต้องการใช้
หน่วยความจาสาหรับโปรแกรมบริหาร (Executive memory) จะตอ้ งเป็นชนิด
ท่ีมีความมั่นคงต่อการเก็บข้อมูล ผ้ใู ช้ (User) ไม่สามารถลบไดห้ รือข้อมูลต้องไม่
สูญเสียเมื่อไฟฟ้าดับ ดังน้ันจึงแยกหน่วยความจาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มท่ี
เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ง่าย (Volatile memory) และกลุ่มท่ีไม่สามารถ
เปลีย่ นแปลงแกไ้ ขขอ้ มูลได้ (Nonvolatile memory)

ก) ROM (Read Only Memory) เปน็ หนว่ ยความจาท่ีอ่านข้อมูลไดอ้ ย่าง
เดยี ว ไม่สามารถแกไ้ ขหรือเปล่ียนแปลงขอ้ มลู และสามารถเก็บข้อมูลได้ ถึงแม้จะไม่มี
กระแสไฟฟ้าอยู่ก็ตาม ดังน้ัน ROM จึงเหมาะสาหรับการเก็บโปรแกรมบริหารระบบ
หรอื โปรแกรมท่ีเสร็จสมบูรณพ์ รอ้ มใชง้ านและไมต่ อ้ งการแกไ้ ขโปรแกรมอีก

ข) RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจาที่สามารถ
เปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลได้ จึงเหมาะสาหรับการเก็บโปรแกรมท่ีฝึกหัดหรือทดลอง
เขยี นก่อนนาไปใช้งานจรงิ แตข่ ้อมลู หรอื โปรแกรมท่ีเกบ็ ใน RAM จะสูญหายเม่ือไม่มี
แหล่งจ่ายหรือไฟดับไป ดังน้ันถ้าต้องการใช้เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมเพ่ือใช้งาน
จะตอ้ งตอ่ แหลง่ จา่ ยหรอื แบตเตอร่ีสารองไวเ้ มอ่ื เกิดไฟดับไป ขอ้ มลู ถงึ จะไม่สญู หาย

ค) EPROM (Erasable Programmable Read Only Memory) เป็น
หน่วยความจาที่ใช้เก็บโปรแกรมที่จะนาไปใช้จริงๆ นั้นหมายถึงเป็นโปรแกรมที่ถูก
เขียนขึ้นและแก้ไขที่สมบูรณ์แล้ว โดยจะทาการโอนถ่ายข้อมูลจาก RAM มาสู่
EPROM ด้วยเครอ่ื งอดั โปรแกรมทเี่ รยี กวา่ Prom Writer (หรือในปัจจุบันอาจใช้วธิ ี
ท่สี ะดวกและแตกตา่ งกันออกไปได้) ขอ้ มูลที่จัดเก็บในหน่วยความจาประเภทนี้จะไม่
มีการสูญหายเม่ือไฟดับไป แต่ถ้าต้องการลบหรือล้างข้อมูลสามารถทาได้โดยการ
ฉายแสงอุลตร้าไวโอเลตเข้าไปที่ช่องรับแสงของ EPROM แต่การลบข้อมูลดังกล่าว
ไม่สามารถลบบางส่วนได้ต้องลบทงั้ หมดเทา่ นน้ั

ง) EAPROM (Electrically Alterable Programmable Read Only
Memory) เป็นหน่วยความจาที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ EPROM แต่แตกต่างกันที่
วิธีการลบข้อมูล ใช้เก็บโปรแกรมที่ถูกเขียนข้ึนและแก้ไขที่สมบูรณ์แล้ว โดยจะทา
การโอนถ่ายข้อมูลจาก RAM มาสู่ EAROM ข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจา
ประเภทน้ีจะไม่มีการสูญหายเม่ือไฟดับไป การลบหรือล้างข้อมูลก็สามารถทาได้โดย
การป้อนแรงดันเข้าไปในวงจรของ EAPROM หน่วยความจาประเภทน้ีไม่เป็นที่
นิยมใช้กันเน่ืองจากไม่สามารถลบบางส่วนได้ต้องลบทั้งหมดเท่านั้นเหมือนกับ
EPROM ดงั ภาพท่ี 3.10

ภาพท่ี 3.10 Electrically Alterable Programmable Read Only Memory

จ) EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read Only
Memory) เป็นหน่วยความจาท่ีใช้เก็บโปรแกรมท่ีสมบูรณ์ หมายถึงเป็นโปรแกรมท่ี
ถูกเขียนข้ึนและแก้ไขท่ีสมบูรณ์แล้ว โดยจะทาการโอนถ่ายข้อมูล จาก RAM มาสู่
EEPROM ดว้ ยเคร่ืองอัดโปรแกรมชนิดพิเศษโดยเฉพาะ ดว้ ยหลักการลบข้อมูลหรือ
โปรแกรมโดยการป้อนสัญญาณพัลส์เข้าไปในวงจรของ EEPROM และสามารถ
กาหนดการลบหรือแก้ไขในเฉพาะบางส่วนของหน่วยความจาได้ ซ่ึงเป็นข้อดีของ
EEPROM เม่ือเทยี บกับหน่วยความจาชนดิ อน่ื ๆ

ภาพท่ี 3.11 Electrically Erasable Programmable Read Only Memory

3.1.4 หนว่ ยเอาตพ์ ุต (Output Unit)

หน่วยเอาต์พุต มีหน้าท่ีรับสัญญาณที่ได้รับจากการประมวลผลกลาง ด้วย
วงจรแยกสัญญาณด้วยแสง (Opto Isolate) จากน้ันจะทาการปรับแตง่ ระดับของ
สัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมกับอุปกรณ์เอาต์พุตท่ีต้องการ เช่น สัญญาณ
ดิจิทัลหรือแอนาล็อก โดยในส่วนน้ีจะต้องผ่านวงจรแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็น
สัญญาณแอนาล็อก (Digital to Analog Conversion : DAC) เพ่ือนาไปใช้กับ
อุปกรณ์เอาต์พุตที่เป็นสัญญาณแอนาล็อก แต่ถ้าอุปกรณ์เอาต์พุตเป็นแบบดิจิทัลอยู่
แลว้ จะปรบั ระดับสัญญาณดิจิทัลใหม้ ีค่าทเี่ หมาะสมเพือ่ ขับอุปกรณ์เอาต์พุต

3.1.5 อุปกรณ์เอาต์พตุ (Output Device)

อุปกรณ์เอาต์พตุ เป็นส่วนประกอบที่สาคัญท่ีจะตอ้ งระมัดระวงั ในการต่อใช้
งาน ทั้งนี้เน่ืองจากจะต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เอาต์พุตที่อาจจะเป็นสัญญาณแอนาล็อก
หรือสัญญาณดิจิทัล เช่น หลอดไฟ มอเตอร์ โซลินอยด์ แมคเนติค คอนแทกเตอร์
เป็นตน้ การต่อวงจรของอุปกรณ์เอาต์พุตบางครั้งอุปกรณ์น้ันอาจจะมีพิกัดกาลังและ
กินกระแสสูงจึงต้องใช้แหล่งจ่ายจากภายนอก หรือแหล่งภายในหน่วยจ่ายพลังงาน
ของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอรก์ ไ็ ด้ ขนึ้ อย่กู ับความสามารถของแหลง่ จา่ ย

ภาพท่ี 3.12 ตวั อยา่ งอปุ กรณเ์ อาตพ์ ตุ ของโปรแกรมเมเบลิ คอนโทรลเลอรช์ นดิ ตา่ ง ๆ

3.1.6 หนว่ ยป้อนโปรแกรม (Programming Unit)

หนว่ ยป้อนโปรแกรมจะใช้สาหรับเขียนโปรแกรมคาสั่งของโปรแกรมเมเบิล
คอนโทรลเลอร์ หน่วยป้อนโปรแกรมนี้มีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับชนิดและโครงสร้าง
ของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ด้วย ตัวอย่างเช่น ชุดป้อนโปรแกรมแบบมือถือ
(Handle key, Hand held, Programming console) ชุดป้อนโปรแกรมแบบต้งั
โต๊ะ (Desktop Programming) ชุดป้อนโปรแกรมด้วยคอมพวิ เตอร์ (Computer
Programming) หรือหากเป็นโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กมากที่
บางครั้งถูกเรียกว่าสมาร์ทรีเลย์ (Smart Relay) ตัวอย่างสมาร์ทรีเลย์ท่ีนิยมใช้กัน
เช่น Siemens-Logo หรือ Schneider-Selio เป็นต้น ซึ่งเขียนโปรแกรมดว้ ยการ
กดคีย์ที่อยู่บนตัวสมาร์ทรีเลย์ได้ บางรุ่นจะมีจอ LCD แสดงให้เห็นคาส่ังหรืออาจจะ
ใช้การโปรแกรมผา่ นคอมพิวเตอร์ (ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของแตล่ ะรุ่น) โดยอุปกรณป์ ้อน
โปรแกรมแตล่ ะชนดิ นั้นจะมีข้อดีข้อเสียตา่ งกัน

3.1.6.1 อุปกรณ์ป้อนโปรแกรมแบบมือถือ (Handle key, Hand held
or Programming console) ชุดป้อนโปรแกรมแบบมือถือ ใช้กับโปรแกรม
เมเบิลคอนโทรลเลอร์ขนาดเล็กหรือขนาดกลางท่ีมีจานวนอินพุตเอาต์พุตไม่มาก
เพราะมีความรวดเร็วและง่ายในการแก้ไขโปรแกรม (ในกรณีโปรแกรมหรือระบบ
ควบคมุ ขนาดเลก็ ) เพียงแคต่ ่อชดุ ปอ้ นโปรแกรมแบบมือถือเข้ากับโปรแกรมเมเบิล
คอนโทรลเลอร์ผา่ นพอรต์ อนุกรม ก็สามารถทาการแก้ไขโปรแกรมได้

ข้อเสียของการป้อนโปรแกรมนี้ได้แก่ ภาษาในการเขียนโปรแกรม
ค่อนข้างจากัดและเฉพาะ เช่น ภาษาบูลีน เป็นต้น ซ่ึงไม่สามารถจาลองการ
ทางาน (Simulate) ระบบทั้งหมดได้ โดยเฉพาะระบบการควบคุมที่มีโปรแกรม
หลายร้อยบรรทัด การแก้ไขย่อมทาให้เกิดความยุ่งยากตลอดจนการติดต่อกับ
อุปกรณภ์ ายนอก เชน่ เครือ่ งพิมพ์ กระทาไดย้ ากดว้ ย

ภาพที่ 3.13 ชุดป้อนโปรแกรมแบบมือถือ Siemens 6ES5605-0UB11
Simatic S5 Programming Unit PG 605U

3.1.6.2 อุปกรณ์ป้อนโปรแกรมแบบตง้ั โต๊ะ (Desktop Programming)
ชุดป้อนโปรแกรมแบบน้ีจะมีข้อดขี ้อเสียคล้ายกับชุดป้อนโปรแกรมแบบมือถือ แต่
สามารถเขียนหรือแก้ไขโปรแกรม ตลอดจนการตรวจสอบโปรแกรมไดท้ ีละหลายๆ
บรรทัด และภาษาท่ีเขียนโปรแกรมสามารถเลือกได้หลายภาษา เช่น
ภาษาแลดเดอร์ ภาษาบูลีน ภาษาบล็อก เป็นต้น และยังง่ายต่อการติดต่อกับ
อุปกรณ์ภายนอกอีกดว้ ย และ Touch screen จะจัดอยู่ในชุดป้อนโปรแกรมกลุ่ม
น้เี ช่นกนั

ภาพท่ี 3.14 ชุดปอ้ นโปรแกรมแบบตั้งโตะ๊

3 . 1 . 6 . 3 อุ ป ก ร ณ์ ป้ อ น โ ป ร แ ก ร ม ด้ ว ย ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ ( Computer
Programming มีความสะดวกในการเขียนและการตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องตา่ งๆ
ของโปรแกรม กระทาได้ง่าย สามารถจาลองการทางานของโปรแกรม และง่ายต่อการ
ติดต่อกับอุปกรณ์ร่วมของระบบการควบคุมไดด้ ี เช่น เครื่องพิมพ์ ช่องทางการเช่ือมต่อ
ในระบบโครงข่ายในรูปแบบหรือมาตรฐานต่างๆ เชน่ ระบบ DCS หรือระบบ SCADA

ส่ิงหนึ่งท่ีเป็นความยุ่งยากของการใช้ชุดป้อนโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ คือ
ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ระบบและการใช้อุปกรณ์ร่วมต่าง ๆ เช่น ระบบ
โครงข่าย เป็นต้น ตลอดจนการใช้โปรแกรมสาเร็จรูปสาหรับเขียนคาส่ังท่ีบริษัทผู้ผลิต
โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์สร้างข้ึนมาเอง เช่น โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
บริษัท Siemens ใช้ซอฟต์แวร์ SIMATIC (S5, S7) บริษัท MITSUBISHI (FX-Series)
ใช้ซอฟตแ์ วร์ MEDOC, FXES ฯลฯ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ท่ีบริษทั ตา่ งๆ สร้างข้ึนมา ตา่ งก็
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ใช้งานง่าย สังเกตได้จากในเวอร์ช่ันแรก ๆ จะรัน
(RUN) บน DOS แตพ่ อมาในช่วงหลังจะรันบน WINDOWS และอื่น ๆ ซงึ่ ทาให้ง่ายต่อ
การใช้งานและการเรียนรมู้ ากข้นึ

ภาพท่ี 3.15 ตวั อย่างโปรแกรมท่ใี ชเ้ ขียนคาส่งั โปรแกรมเมเบลิ คอนโทรลเลอร์

3.1.7 หน่วยจา่ ยพลังงาน (Power supply unit)
ห น่ ว ย จ่ า ย พ ลั ง ง า น มี ห น้ า ท่ี ส า ห รั บ ก า ร จ่ า ย ก ร ะ แ ส ไ ฟ ฟ้ า ใ ห้ กั บ

ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ โดยมีหลักการท่ีสาคัญ คือ
การจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อเลี้ยงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ท้ังในหน่วยอินพุต หน่วย
เอาต์พุต CPU หรือหน่วยป้อนโปรแกรมบางรุ่น เช่น แบบมือถือ จะเป็นไฟฟ้า
กระแสตรงแรงดนั ตา่ (DC 5, 12 หรือ 24 โวลต์) แตถ่ ้าเป็นวงจรอินพตุ หรือวงจร
เอาตพ์ ตุ ที่ตอ้ งการกระแสไฟฟ้าแบบสลับจะตอ้ งรบั ไฟจากวงจรภายนอก

ภาพท่ี 3.16 หนว่ ยจา่ ยพลังงานในระบบ PC Siemens รนุ่ PM 1207


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ