ขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

ตอนที่ 4.2


การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยคอมพิวเตอร์

สาระสำคัญ

สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นเครื่องมือสื่อสารขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต องค์ประกอบสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์ คือ (1) โครงสร้างรูปแบบทางกายภาพ (body) ซึ่งประกอบด้วย ภาพ ข้อความ รูปทรง เส้น ลวดลาย สี (2) ลักษณะรูปลักษณ์ (image) ประกอบด้วย การรับรู้ การยอมรับ ความน่าสนใจ ถูกต้อง เที่ยงแท้ ความจริง ประโยชน์ คุณค่า (3) องค์ประกอบศิลป์และกราฟิก (art and graphic) คือ ตำแหน่งการวางวัตถุ (place) สัดส่วน รูปร่าง (shape) ขนาด (size) รูปทรง (form) สีและน้ำหนักของสี (color and tone) ลักษณะพื้นผิว (texture) รูปแบบ (pattern) เส้น (line)

คุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์ ขึ้นอยู่กับ กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย สร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งแวดล้อม และสันติภาพของสังคมมนุษย์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในสังคม ที่จะต้องเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility: CSR) ร่วมกัน

การพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing: DTP) เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ออกแบบ และผลิตภาพ ตัวอักษร สี เส้น และรูปทรงต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานการพิมพ์แบบ Desktop Publishing ประกอบด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ (Word processing) ใช้สร้างตัวอักษรผ่านอุปกรณ์ คีย์บอร์ด โปรแกรมออกแบบและสร้างภาพกราฟิก ได้แก่ โปรแกรมวาดภาพ (drawing) โปรแกรมตกแต่งภาพ (retouching) โปรแกรมจัดหน้าพิมพ์ (artwork design) และเครื่องพิมพ์เลเซอร์

ขั้นตอนในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นเตรียมการก่อนพิมพ์ ขั้นพิมพ์และเข้าเล่ม และขั้นประเมิน ขั้นวางแผน เริ่มจากการเตรียมสิ่งต่อไปนี้ คือ (1) เนื้อหา จากการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับ information หมายถึงข้อมูล ทุกชนิดที่อยู่รายรอบ แล้วนำมาวิเคราะห์ความถูกต้อง เหมาะสม ให้เป็นข้อมูล ระดับ data และนำไปสู่กระบวนการสังเคราะห์ให้เป็น ข้อมูล message เพื่อนำไปผลิตสื่อ (media) ประเภทต่างๆ (2) โครงสร้างรูปเล่ม (dummy) (3) ภาพถ่าย (picture) ภาพวาด (drawing) ภาพพื้นหลัง (background) สี เส้น ความทึบ (4) ต้นฉบับเรียงพิมพ์ (5) การพิสูจน์อักษร (6) การทำอาร์ตเวิร์ค (artwork) และ การจัดวางหน้า (lay out) (7) การทำแม่พิมพ์ (plate) และ (8) กระบวนการพิมพ์และการเข้าเล่ม

หลักและคุณสมบัติพื้นฐาน ของการจัดหน้าเอกสาร ประกอบด้วย การกำหนดหน้าเอกสาร (page setup) รูปแบบอักษร (font) การย่อหน้า (paragraph) การเลือกกรอบ และ เงา (borders and shading) ให้แก่กล่องข้อความ และ หน้าเอกสาร การกำหนดจำนวนคอลัมน์ (column)

หลักและคุณสมบัติพื้นฐาน ของการตกแต่งภาพ ประกอบด้วย รูปแบบโหมดสี (color model) ความละเอียดของภาพ (resolution) การเลือกจัดเก็บไฟล์ภาพ (image file type) ให้ถูกประเภทกับการนำไปใช้งาน

หลักและคุณสมบัติพื้นฐาน ของ การออกแบบงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย การกำหนดขนาดของกระดาษพิมพ์ (document setup) การกำหนดจุดศูนย์ (zero point) และเส้นนำ (guide line) กล่องข้อความ (text box) การเปลี่ยนระดับการซ้อน ของวัตถุในหน้ากระดาษงาน การจัดวางข้อความรอบรูป (text warp) การสร้างหน้าต้นแบบ (master page)

ระบบสี ที่ใช้กับสิ่งพิมพ์ แบ่งได้ 3 ระบบ คือ (1) ระบบสี RGB เป็นสีที่ปรากฏบนจอภาพ เกิดจากการยิงลำแสง 3 สี ได้แก่ สีแดง (R: red) สีเขียว (G: green) และ สีฟ้า (B: blue) มาผสมให้เป็นสีต่างๆ (2) ระบบสี CMYK เป็นสีที่ใช้ในระบบการพิมพ์สี่สีของโรงพิมพ์ คือ สีฟ้า (C: cyan) สีแดง (M: magenta) สีเหลือง (Y: yellow) และ สีดำ (K: black) (3) ระบบสี HLS เป็นสีที่มนุษย์รับรู้ได้จากวัตถุ มี 3 ลักษณะ คือ hue (H) สีที่สะท้อนจากวัตถุเข้าตาเรา lighting (L) ความมืด สว่างของสี saturation (S) ปริมาณสีของสีนั้นๆ

คุณภาพงานที่พิมพ์ออก ขึ้นอยู่กับ การกำหนดความละเอียดในการพิมพ์ (resolution print) ให้แก่เครื่องพิมพ์ ไม่น้อยกว่า 600 จุดต่อนิ้ว (600 dpi) การกำหนดเครื่องพิมพ์ ควรกำหนดเครื่องพิมพ์ ตั้งแต่เริ่มต้น ออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ์

เนื้อหา

4.2.1 แนวคิดการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (printed media)

4.2.2 สิ่งพิมพ์ และระบบการพิมพ์

4.2.3 กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

วัตถุประสงค์

หลังศึกษารายละเอียดในบทเรียน ตอนที่ 4.2 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยคอมพิวเตอร์ จบแล้ว นักศึกษา สามารถ

(1) เขียนตอบ คำถามจากแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ได้ถูกต้อง

(2) ออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณา สิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ และสิ่งพิมพ์รณรงค์ สิ่งพิมพ์ละ 1 ชิ้นงาน พร้อมนำเสนอ และอธิบาย หลักการ แนวคิด เหตุผล การออกแบบ ข้อความ ภาพประกอบ พื้นหลัง ทั้งนี้ ตามหลักองค์ประกอบศิลป์ และจรรยาบรรณสื่อ

กิจกรรม

(1) ศึกษาจากเอกสารประกอบการเรียน บทที่ 4 ตอนที่ 4.2 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยคอมพิวเตอร์

(2) ทำแบบฝึกหัด ท้ายบทเรียน

(3) ให้ไปศึกษา กิจกรรมขององค์กรใดๆ แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม (information) วิเคราะห์ (data analysis) สังเคราะห์ (message process) และออกแบบจัดทำ สื่อสิ่งพิมพ์ (print media) เพื่องานโฆษณา งานประชาสัมพันธ์ และงานรณรงค์ งานละ 1 สื่อ รวม 3 ชิ้นงาน



ให้นักศึกษาอ่านรายละเอียด ตอนที่ 4.2 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ด้วยคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้ว ทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

4.2.1 แนวคิดการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ (printed media)

บทบาทของสิ่งพิมพ์

สิ่งพิมพ์ นับเป็นเทคโนโลยีในการสื่อข้อมูลขาวสารที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน คู่กับมนุษยชาติมาตั้งแต่ต้น และได้รับการพัฒนาไปตามเทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น แม้ว่าปัจจุบัน จะมีสื่อประเภทอื่นๆ ให้มนุษย์ได้เสพ สื่อสารกัน แต่สิ่งพิมพ์ ถือว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารพื้นฐานที่สุด ที่มนุษย์ยังจำเป็นต้องใช้ เพราะมีความเป็นรูปธรรม ชัดเจนกว่าสื่อประเภทอื่น ทำให้สิ่งพิมพ์ มีบทบาทมากต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

(1) บทบาทต่อการดำเนินงานของรัฐ รัฐจำเป็นต้องสร้าง พยานหลักฐาน ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และสื่อซ้ำได้หลายครั้ง ในการออกกฎหมาย ระเบียบคำสั่ง แผนงานโครงการ วางแผนเพื่อพัฒนาชาติ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ต่อประชาชน ซึ่งสิ่งพิมพ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ครอบคลุม กว้างขาง ชัดเจน

(2) บทบาทต่อการดำเนินธุรกิจ ตัวฉลากผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เอกสารประกอบ คู่มือ รายการสินค้า ตลอดจนแผ่นโฆษณา จำเป็นต้องใช้สิ่งพิมพ์

(3) บทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา สังคมโลกปัจจุบัน เป็นสังคมสื่อข่าวสารแบบไร้พรมแดน (Globalization) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้เข้าไปมีบทบาทในระดับชุมชน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้แก่ประชาชน ได้รับรู้ข่าวสารทุกด้าน เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของแต่ละสังคมของคนในชาติ

การพัฒนาการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้สื่อการเรียนการสอนได้ใช้สื่อสิ่งพิมพ์หรือหนังสือเรียนเป็นสื่อหลักที่มีราคาถูก สะดวกต่อการใช้ ถึงแม้ว่าจะใช้สื่อเสริมประกอบการสอนอื่นๆเช่น เทปเพลง สไลด์ วีดิทัศน์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ก็ตาม

องค์ประกอบของภาพ (composition)

หลักพื้นฐาน ของการจัดองค์ประกอบของภาพ (composition) ทั้งภาพ 2 มิติ (ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว) และ ภาพที่เกิดจากรูปทรง 3 มิติ คือ การสร้างเอกภาพ และ การสร้างจุดเด่น ในการสื่อความหมาย การรับรู้ และความรู้สึก วิธีสร้างเอกภาพ มีหลักเกณฑ์สำคัญ 3 ประการ คือ (1) สร้างหมวดหมู่ หรือ กลุ่ม ให้แก่องค์ประกอบต่างๆ ในภาพ (2) การจัดองค์ประกอบให้เกิดการทำซ้ำ ซึ่งอาจจะเป็นเส้น จุด สี หรือรูปลักษณะอื่นๆ ให้รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน (3) การสร้างความต่อเนื่อง ด้วยเส้น ทิศทาง ให้แก่องค์ประกอบต่างๆ ในภาพ เกิดความต่อเนื่องของเรื่องราว หรือ เป็นชุดของเรื่องเล่า

ส่วนวิธีสร้างจุดเด่น หรือจุดสนใจให้แก่ภาพ ทำได้ 3 วิธี คือ (1) วางสิ่งที่เราให้ความสำคัญไว้ในตำแหน่งที่สำคัญ (2) สร้างความแตกต่างให้แก่องค์ประกอบต่างๆ ในภาพ เช่น มิติของตำแหน่งที่แสดง ขนาด รูปทรง สัดส่วน ท่าทาง สี เวลา (3) วางองค์ประกอบให้โดดเด่น ตามลำดับความสำคัญ ลำดับการแสดงก่อนหลัง ลำดับขนาดรูปทรง และพื้นที่ว่าง

นอกจากนี้ การจัดองค์ประกอบของภาพ ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะนั้น จะละทิ้งหลักการสำคัญ อีก 2 ประการ ไปไม่ได้เลย คือ ความสมดุลย์ และ จังหวะ การสร้างความสมดุลขององค์ประกอบภาพทั้งสองข้าง และ การจัดวาง ตำแหน่งของจังหวะในภาพ ก็คือ การจัดองค์ประกอบต่างๆ ซ้ำไปซ้ำมา และสม่ำเสมอ เพื่อช่วยสื่อความหมาย และความน่าสนใจ

หลักการจัดองค์ประกอบของภาพ ควรคำนึงถึง

(1) รูปทรง (form) รูปทรงในที่นี้หมายถึง มิติที่เกี่ยวกับ ความลึก ความกว้าง และความยาว

(2) รูปร่าง (shape) เป็นการคำนึงถึงลักษณะโครงร่างของภาพ โดยเฉพาะส่วนที่แสดงออกถึงจินตนาการของผู้ถ่ายภาพ

(3) น้ำหนักของสี (tone) ความเข้มจาง หรือ เงา ของวัตถุที่จะถ่าย เป็นสิ่งที่กำหนดความรู้สึก และอารมณ์ได้เป็นอย่างดี

(4) พื้นผิว (texture) พื้นผิวของวัตถุ จัดเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ที่สามารถบรรยายถึง คุณลักษณะต่างๆ ของวัตถุที่นำเสนอได้เป็นอย่างดี เพราะสื่อให้เข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ เช่น ผิวหน้า หยดเหงื่อ รอยเหี่ยวย่น เปลือกผลไม้ เป็นต้น

(5) รูปแบบ (pattern) ได้แก่ การใช้องค์ประกอบของภาพแบบเดียวกันซ้ำๆ กัน เพื่อช่วยในการย้ำความรู้สึก หรือช่วยเน้นให้ภาพดูหนักแน่นขึ้น

(6) เส้น (line) เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่แสดงออกถึงความรู้สึกได้หลายๆ แบบ ลักษณะของเส้น เส้นตรง เส้นโค้ง เส้นซิกแซก เป็นต้น

การเน้นจุดสนใจ (point of interest) คือ การวางตำแหน่งของวัตถุในภาพ ตามหลักกฏสามส่วน (rule of third) การวางวัตถุที่ฉากหน้า และฉากหลัง (foreground and background) เป็นการสร้างองค์ประกอบภาพให้น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง จะช่วยเน้นให้วัตถุในภาพ ดูหน้าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การสร้างกรอบภาพเพื่อเน้นจุดเด่น (frame) ก็เป็นวิธีการจัดองค์ประกอบวิธีหนึ่ง ด้วยการนำวัตถุมาวางด้านหน้าของภาพ (foreground)

สี (color) และ จิตวิทยาแห่งสี (psychology of colors)

สีจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) สี ที่เกิดจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เช่น สีของแสง สีผิวของวัตถุตามธรรมชาติ และ (2) สี ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น สีของแสงไฟฟ้า สีของพลุ สีที่ใช้เขียนภาพ และย้อมสีวัสดุต่างๆ

สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย

สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์.
ทิศทางและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement).
เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony) 2.1 เลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ ... .
การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด 3.1 ความสมดุล (Balance) ... .
สัดส่วน (Proportion) 4.1 ความแตกต่าง (Contrast) ... .
จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition).

กระบวนการจัดพิมพ์มีกี่แบบ อะไรบ้าง

10. กระบวนการจัดพิมพ์มีกี่แบบ อะไรบ้าง ก. 2 ระบบ การเรียงพิมพ์ด้วยมือ และเรียงด้วยแสง ข. 3 ระบบ การเรียงพิมพ์ด้วยมือ เรียงด้วยแสง และเรียงด้วยเครื่องจักร ค. 2 ระบบ การเรียงพิมพ์ด้วยมือ และเรียงด้วยเครื่องจักร ง. 3 ระบบ การเรียงพิมพ์ด้วยมือ เรียงด้วยเครื่องจักร และเรียงด้วยสมองกล

ประเภทของการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

สื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ประเภท สามารถจำแนกออกได้เป็นกี่กลุ่ม.
โดยทั่วไปแล้วสื่อสิ่งพิมพ์จะมีทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้.
1. สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ.
2. สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร.
3. สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์.
4. สื่อสิ่งพิมพ์มีค่า.
5. สื่อสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ.
6. สื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์.

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึงอะไร

กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ คือ ขั้นตอนและกรรมวิธีในการผลิต สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นามบัตร โบรชัวร์ หนังสือ วารสาร กล่องบรรจุภัณฑ์ หรือเอกสารสำาคัญๆ ต่างๆ เพื่อให้ได้รูปแบบและปริมาณตามความต้อง การของลูกค้า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ