เนื้อหาของงานทัศนศิลป์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วิจิตรศิลป์" (Fine Arts) คือ ภาพวาด ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานปั้น หรืองานแกะสลักต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากฝีมือมนุษย์ที่ผ่านการฝึกฝนจนเชี่ยวชาญเพื่อให้เกิดความงาม ความสุนทรีย์ต่อผู้พบเห็น ศิลปะจึงเกิดขึ้นเนื่องจากเรานิยมยินดีที่จะเข้าใกล้สิ่งสวยงาม หรือแม้แต่ของสิ่งเดียวกันหลาย ๆ ชิ้น เราก็มักจะเลือกอันที่สวยงามที่สุดมาเป็นเจ้าของ

ผลงานที่สร้างสรรค์นั้นจะขึ้นอยู่กับตัวศิลปินเอง ไม่ได้ทำเพื่อใคร หรือมีใครมาให้โจทย์ที่จะต้องทำตาม ศิลปินจะมีอิสระทางความคิดสูง และสามารถใส่ตัวตนและความรู้สึกลงไปในผลงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะสื่อสารอารมณ์ และบอกเล่าความรู้สึกออกมาเป็น "ภาษาภาพ" ให้คนได้มองและรับรู้ผ่านทางตา

ทัศนศิลป์มีกี่สาขาวิชา

การเรียนสาขาทัศนศิลป์จะเน้นหนักในด้านการฝึกทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เช่น การวาดเส้น ระบายสี ปั้น แกะสลัก และทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงกระบวนการในการออกแบบผลงาน ในที่นี้จะขอแบ่งเป็น 4 สาขาตามหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาศตร์ จุฬาฯ

คอร์สวาดเส้นและศิลปะของมานะสตูดิโอ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสอบเข้าภาควิชาทัศนศิลป์ จุฬาฯ โดยเฉพาะนะคะ คลิกดูรายละเอียดคอร์สวาดเส้นและศิลปะที่นี่ค่ะ

1. จิตรกรรม (Painting)

คือผลงานศิลปะต่าง ๆ ที่เป็นรูปแบบ 2 มิติโดยใช้กรรมวิธี เช่น การเขียน การวาด หรือการระบายสี ลงบนวัสดุ เช่น กระดาษ ผ้า กำแพง ฯลฯ เพื่อให้เกิดความงามและสามารถสื่อสารแนวความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของศิลปินออกมาได้ โดยสามารถใช้ตัวกลางหรือสื่อกลาง(medium)ต่าง ๆ มาเป็นตัวจัดการกับผลงานให้ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น สีน้ำ สีฝุ่น สีน้ำมัน สีอะคริลิก หรือแม้กระทั่งสีสเปรย์

2. ประติมากรรม (Sculpture)

คือผลงานศิลปะในรูปแบบ 3 มิติ ที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการปั้น การประกอบเชื่อมต่อ และการแกะสลัก โดยมีวัสดุหลากหลาย เช่น ดิน ปูน หิน เหล็ก ไม้ ฯลฯ โดยศิลปินผู้สร้างสรรค์มักจะต้องกำหนดแนวความคิด เพื่อตีความหมายออกมา แล้วนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้วัสดุ และกรรมวิธีในการสร้างสรรค์

งานประติมากรรมมีทั้งขนาดเล็กวางตั้งไว้ในบ้าน หรือบนโต๊ะได้ ไปจนกระทั่งขนาดใหญ่อย่างเช่น อนุเสาวรีย์ต่าง ๆ ประติมากรรมเป็นผลงานศิลปะที่มีความยากในการสร้างสรรค์มากกว่าสาขาอื่น ๆ เพราะผู้สร้างสรรค์จะต้องมีความแม่นยำและเชี่ยวชาญ เพราะเมื่อมองจากทุกด้านแล้วต้องมีความสวยงามเท่าเทียมกัน ต่างจากจิตรกรรมที่มองให้สวยเพียงด้านเดียวก็เพียงพอ

3. ภาพพิมพ์ (Printmaking)

ส่วนภาพพิมพ์จะเป็นงานศิลปะที่มีขั้นตอนและกระบวนการในการสร้างสรรค์มากที่สุด เหมาะกับคนที่มีสมาธิ และละเอียดอ่อนในการทำงาน เรามักจะเห็นกระบวนการภาพพิมพ์เข้าไปอยู่ในระบบอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก เพราะข้อดีของกระบวนการภาพพิมพ์คือสามารถผลิตผลงานออกมาได้จำนวนมากเช่น โรงพิมพ์หนังสือ โรงสกรีนลายเสื้อ และอื่น ๆ โดยภาพพิมพ์นั้นประกอบด้วยตัวแม่พิมพ์ เช่น ตัวปั้ม ตัวอักษรในเครื่องพิมพ์ดีดแบบโบราณหรือ ผ้าไหม เหล็ก หมึกพิมพ์ ก็จะมีหลายแบบ เช่น เป็นกระป๋อง เป็นตลับ หรือเป็นแถบผ้าหมึก และวัสดุที่จะรองรับการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า พลาสติก โลหะและอีกมากมาย โดยจะแบ่งกรรมวิธีออกเป็น 4 รูปแบบคือ

ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) จะใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการแกะสลักแผ่นไม้ ให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ แล้วจึงใช้หมึกทาลงบนแผ่นไม้ และนำมาประกบลงบนกระดาษหรือผ้า เพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ได้สร้างสรรค์ไว้ อาจมีแม่พิมพ์หลายชิ้น แม่พิมพ์ 1 ชิ้นต่อ 1 สี เพื่อให้ได้ผลงานที่มีสีสันหลากหลาย

ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (Silksreen) ยกตัวอย่าง เช่น ลายสกรีนบนเสื้อยืด บนปกหนังสือหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระบวนการในการสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากเช่นเดียวกัน

ภาพพิมพ์หิน (Lithography) เพื่อให้เข้าใจได้โดยง่ายจะใช้การยกตัวอย่าง เช่น ลายสกรีนบนเสื้อยืด บนปกหนังสือหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ กระบวนการในการสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถผลิตผลงานออกมาได้มากเช่นเดียวกัน

ภาพพิมพ์โลหะ (Etching) เป็นกระบวนการพิมพ์แบบร่องลึกนั่นคือการทำให้ผืนผิวของแม่พิมพ์ซึ่งเป็นทองแดง เกิดเป็นร่องลึกเข้าไปเพื่อจะได้นำสีหมึกอัดเข้าไปในร่อง แล้วนำเข้าเครื่องพิมพ์ เพื่อกดสีที่อยู่ตามร่องให้ออกมาติดบนกระดาษ เทคนิคนี้ส่วนใหญ่จะได้ภาพที่ละเอียด เห็นลายเส้นคมชัด ตัวอย่างเช่น ธนบัตร ตราสัญลักษณ์องค์กร และอื่น ๆ

4. สื่อผสม หรือ สื่อใหม่ (New Media)

จะเป็นสาขาวิชาที่ค่อนข้างหนักไปทางใช้ความคิดเพื่อสื่อสาร แนวความคิด (Conceptual Art) ของศิลปินให้ออกมาเป็นภาพ หรือ การแสดง อาจเป็นได้ทั้งภาพนิ่ง (Photo Art) หรือ ภาพเคลื่อนไหว (VDO Art) และการแสดง (Performance) หรือแม่กระทั้งสร้างขึ้นมาเองจากคอมพิวเตอร์ (Digital art/Animation) ภาพและการแสดงที่ออกมาบางครั้งอาจไม่สวยงามเหมือนทั่ว ๆ ไป แต่จะสามารถสะเทือนอารมณ์ และทำให้ผู้ชมตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งที่ศิลปินพยายามสื่อสารออกมาได้

ทำงานอะไร เรียนต่ออะไร

ตามความจริงก็คือเป็นสาขาที่ค่อนข้างมีสายอาชีพแคบ มีโอกาสหางานทำที่ได้เป็นรายเดือนลำบาก แต่โดยทั่วไปแล้ว คนที่เรียนจบออกมาในสาขาวิชานี้ จะมีความรัก ความชอบในการวาดรูป ชอบความเป็นอิสระ ส่วนใหญ่จึงมักประกอบอาชีพเป็นศิลปิน วาดภาพขาย แบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. ศิลปิน คือคนที่มีฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ จะแสดงงานตามหอศิลป์ที่มีชื่อเสียง มีคนติดตามผลงานและสะสมผลงาน ซื้อขายกันในระบบของหอศิลป์ ทั้งในไทยและต่างประเทศ หรือบางคนอาจผลักดันตัวเอง นำผลงานลงในเวบและซื้อขายเองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

2. ช่างฝีมือ คือคนที่มีความสามารถทักษะสูง วาดภาพเหมือนได้ วาดวิวทิวทัศน์ได้ ลอกผลงานของศิลปินอื่นตามที่ลูกค้าสั่งได้ ภาพเหล่านี้จะเหมาะกับแต่งบ้าน โรงแรม สถานที่ต่าง ๆ มากกว่าจะอยู่ในหอศิลป์

ศิลปินส่วนใหญ่ถ้ามีความสามารถสูงก็มักจะได้เป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยและโรงเรียน บางคนก็อาจไปทำงานออกแบบต่าง ๆ ทั้งเรขศิลป์ แฟชั่น วาดภาพประกอบ ฝ่ายศิลป์ (Art Director) ฯลฯ

สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนจบทางทัศนศิลป์ก็สามารถไปเรียนทางทัศศิลป์ได้โดยตรงหรือบางคนอาจจะขยับไปเรียนทางด้านการออกแบบเช่น ไปเรียนกราฟิก แฟชั่น เพิ่มเติมได้

การเตรียมตัวสอบทัศนศิลป์

ทักษะแรกที่ต้องมีคือทักษะการวาดเส้น เพราะเป็นพื้นฐานสำหรับการสอบเข้าทัศนศิลป์ทุกสาขา ต่อไปคือทักษะการจัดองค์ประกอบ ซึ่งรวมไปถึงการใช้สีประเภทต่าง ๆ เช่น สีโปสเตอร์ สีน้ำ สีอะครีลิค ฯลฯ

โดยปกติน้องจะต้องมีเวลาเตรียมตัวอย่างน้อยประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับคณะที่น้องต้องการสอบด้วย เช่น ถ้าเลือกสอบจิตรกรรม ศิลปากร การแข่งขันสูงก็ต้องมีเวลาเตรียมตัวที่นานขึ้น แต่ถ้าเลือกม.เอกชน อาจจะไม่ต้องสอบแต่ยื่นพอร์ตเข้าได้โดยตรง

ลักษณะเนื้อหาของงานทัศนศิลป์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ทัศนศิลป์ (อังกฤษ: visual arts) เป็นรูปแบบของศิลปะ เช่น จิตรกรรม, การวาดภาพ, ภาพพิมพ์, ประติมากรรม, เซรามิกส์, ภาพถ่าย, วิดีโอ, ภาพยนตร์, การออกแบบ, งานหัตถกรรม และสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ทัศน์ศิลป์ยังรวมถึงศิลปะประยุกต์ เช่น การออกแบบอุตสาหกรรม, การออกแบบกราฟิก, การออกแบบแฟชั่น, การออกแบบภายใน และมัณฑศิลป์

เนื้อหาของผลงานทัศนศิลป์มี 2 ลักษณะได้แก่อะไรบ้าง

งานทัศนศิลป์ที่ปรากฏให้เห็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ทัศนศิลป์ 2 มิติ ได้แก่ ผลงานการเขียนภาพระบายสี 2. ทัศนศิลป์ 3 มิติ ได้แก่ ผลงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม zatz ทัศนศิลป์แบ่งตามประเภท การวาดเส้น จิตรกรรม บางครั้งจะแบ่งตามขบวนการทางศิลปะ เช่น Renaissance, Impres.

ทัศนศิลป์มีงานศิลปะประเภทใดบ้าง

1. ทัศนศิลป์ (visual art) เป็นศิลปะที่รับรู้ด้วยสายตาทั้ง 2 มิติได้แก่จิตรกรรมและภาพพิมพ์และ งาน 3 มิติได้แก่ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม งานศิลปกรรมที่สามารถจับ ต้องใช้สอยได้มีผู้เรียกว่า "ทัศนะ-ผัสสะศิลป์(visuo-tactual art)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ