การปฏิบัติตนต่อพระภิกษุต้องทำอย่างไร

พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนให้เหมาะสม สงเคราะห์และบูชาพระภิกษุตามควรแก่กาลเทศะ ทั้งนี้เพราะพระภิกษุเป็นสาวกของพระบรมศาสนา ถือว่าผู้มีความประพฤติดีและปฏิบัติชอบ ทั้งต่อพระพุทธศาสนาและต่อสังคม การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา และระเบียบประเพณีที่เป็นแบบแผนสืบต่อกันมา รวมทั้งช่วยสิ่งเสริมพระภิกษุให้ประกอบกิจทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนนาน ในอันที่จะก่อประโยชน์ให้แก่สังคม และมนุษยชาติโดยรวมสืบต่อไป

1. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางใจ เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ด้วยความเคารพอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่า การคิดคำนึงด้วยใจ (มโนกรรม) เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าความคิดมีพลังมากก็จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมทางกายและวาจาได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมุ่งสอนให้คิดคำนึงในเรื่องที่ดีงาม ที่เป็นกุศล ไม่คิดในแง่ร้ายต่อใคร ดังนั้นเมื่อเราทราบว่าพระภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติถูกต้อง สมควรที่จะให้ความเคารพสักการะ เป็นผู้ที่มีคุณต่อพระพุทะศาสนาและศาสนิกชนอย่างมาก เป็นผู้สืบทอดและธำรงพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ยาวนานสืบไป เราจึงควรแสดงความเคารพท่านทางใจทางที่ดีที่สุดก็คือ การเคารพพระภิกษุด้วยใจที่บริสุทธิ์ ได้แก่ การระลึกถึงพระคุณของพระภิกษุแต่ในส่วนที่ดี ตั้งใจที่จะนำคำสอนของท่านไปปฏิบัติ รองลงมาได้แก่ การไม่คิดที่จะทำให้ท่านยุ่งยากเดือดร้อน คิดหาโอกาสที่จะสนับสนุนบำรุงท่านด้วยปัจจัยสี่ หรือคิดที่จะสร้างสรรค์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือท่านเท่าที่โอกาสจะอำนวย เป็นต้น

พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ให้ถูกต้อง ตามกาลเทศะต่างๆดังต่อไปนี้

๑ การปฏิบัติตนทางกาย คือ ด้านการเคลื่อนไหวอิริยาบถทั้งสี่
- การลุกขึ้นยืนต้อนรับ ยกมือไหว้ และนั่งลงเมื่อท่านนั่งแล้ว แต่ถ้าเรานั่งกับพื้นไม่ต้องยืน
- การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ เมื่อไม่มีที่ว่างให้นั่งให้ฆราวาสลุกให้พระสงฆ์นั่งแถวหน้า ถ้าต้องนั่งแถวเดียวกันให้นั่งแถวเดียวกับพระให้นั่งทางซ้ายมือท่าน ถ้าเป็นสตรีนั่งอาสนะยาวเดียวกันกับพระต้องมีบุรุษนั่งคั่นกลาง ถ้านั่งกับพื้นให้ปูอาสนะให้ท่านอีกชั้นหนึ่ง
- การรับรอง รับรองด้วยอัธยาศัยไมตรี นิมนต์ให้นั่งในที่สมควร ถวายของรับรอง เช่น น้ำดื่ม นั่งสนทนากับท่านโดย มีหลักห้าม ๖ อย่างคือ ไม่นั่งตรงหน้า ไม่นั่งไกลนัก ไม่นั่งสูงกว่า ไม่นั่งข้างหลัง ไม่นั่งใกล้นัก ไม่นั่งเหนือลม
- การตามส่งพระสงฆ์ ลุกขึ้นยืน เมื่อท่านเดินผ่านให้ไหว้ แต่ถ้านั่งพื้นไม่ต้องยืน เจ้าภาพเดินตามส่งจนพ้นบริเวณงาน ก่อนท่านจากไปให้ไหว้อีกครั้ง
- การให้ทางแก่พระสงฆ์ มีหลักต่างๆกันตามแต่กรณี ดังนี้
ถ้าพระสงฆ์เดินมาข้างหลังหรือเดินสวนทางกับพระสงฆ์ ให้หลีกชิดทางซ้ายมือของท่าน หันหน้ามาทางท่าน ยกมือไหว้จนกว่าท่านจะผ่านไป ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือพูดกับท่าน
ถ้าพระสงฆ์ยืนอยู่ ให้หยุดแล้วไหว้ท่าน หลีกไปทางซ้ายของพระ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือ
ถ้าพระสงฆ์นั่งอยู่ หยุดนั่งลงแล้วไหว้ หลีกไปทางซ้ายของพระ ถ้าท่านพูดด้วยให้ประนมมือ
ถ้าเดินตามพระสงฆ์ ให้เดินเยื้องไปทางซ้ายมือของท่าน ไว้ระยะห่างจากท่านประมาณ ๒-๓ก้าว เดินในอิริยาบทเรียบร้อย ไม่ทำความเคารพ ทักทายผู้อื่น
- การไปหาพระสงฆ์ ต้องแต่งกายเรียบร้อย ไม่นั่งอาสนะเสมอกับท่าน นั่งคุกเข่ากราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบสุภาพ เรียบร้อย ประนมมือพูดกับท่าน ไม่นำเรื่องส่วนตัวไปเล่า ไม่พูดล้อเล่น ไม่พูดคำหยาบคาย พระสงฆ์อยู่ชั้นล่างไม่ควรขึ้นไปชั้นบน สตรีระวังเครื่องนุ่งห่มและไม่ควรสนทนากับพระสองต่อสอง เมื่อเสร็จธุระให้รีบลากลับและกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง
- ไม่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอื่นๆ ต่อหน้าพระสงฆ์หรือพุทธสถาน เช่น ไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน เป็นต้น ช่วยบำรุงรักษาศาสนสมบัติทั้งหลาย

๒ การปฏิบัติตนทางวาจา ต้องพูดจาด้วยความเคารพ ถูกต้อง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ดังนี้
- ถ้าเป็นพระสังฆราชใช้คำพูดกับพระองค์ท่านดังนี้ แทนพระองค์ว่า ฝ่าบาท แทนผู้พูด(ช)ว่า เกล้ากระหม่อม (ญ)ว่า กระหม่อมฉัน รับพระดำรัส(ช)ว่า กระหม่อม (ญ)ว่า เพคะ
- ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสมเด็จ พระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่ ใช้คำพูดกับท่านดังนี้ แทนท่านว่า พระเดชพระคุณ แทนผู้พูด(ช)ว่า เกล้ากระผม (ญ)ว่า ดิฉัน รับคำพูด(ช)ว่า ครับผม (ญ) ว่า เจ้าค่ะ
- ถ้าเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญแทนท่านว่า ท่านเจ้าคุณ พระครูสัญญาบัตรและพระครูฐานาแทนท่านว่า ท่านพระครู พระมหาเปรียญแทนท่านว่า ท่านมหา พระธรรมดาทั่วไปแทนท่านว่า พระคุณเจ้า พระผู้เฒ่าใช้คำแทนท่านว่า หลวงตาหรือหลวงปู่ ถ้าพระสงฆ์นั้นเป็นญาติกับผู้พูดใช้แทนท่านตามที่เป็นญาติ เช่น หลวงลุง หลวงน้า แทนตัวผู้พูด(ช)ว่ากระผม (ญ)ว่าดิฉัน คำรับ(ช)ว่าครับ (ญ)ว่าค่ะ

๓ การปฏิบัติตนทางใจ ควรเคารพพระสงฆ์ ไม่คิดในแง่ร้ายเพราะพระสงฆ์เป็นผู้มีความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง ปฏิบัติชอบยิ่ง ธำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่ยาวนาน ควรเคารพทางใจโดย
- คิดถึงท่านด้วยเมตตาจิต คือปรารถนาดีต่อท่าน
- คิดหาโอกาสที่จะสนับสนุนบำรุงท่านด้วยปัจจัยสี่ หรือให้ความช่วยเหลือท่าน
ปฏิบัติได้เช่นนี้ย่อมเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี มีความเคารพต่อพระสงฆ์ทั้งกาย วาจา ใจ

พระภิกษุเป็นปูชนียบุคคลของชาวพุทธ  เราพึงปฏิบัติต่อท่านด้วยความเคารพและปฏิบัติตามคำสอนของท่าน  การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ  ที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติให้ถูกต้อง  คือ

1.            การไปหาพระภิกษุที่วัด เราควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมและรักษามารยาททั้งทางกาย  ทางวาจา และทางใจให้เรียบร้อย  เช่น  การแต่งกายควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ผู้ชาย  ควรสวมกางเกงขายาว ไม่ปล่อยชายเสื้อออกมานอกกางเกง  ผู้หญิง  ควรสวมกระโปรง  หรือกางเกงขายาวแบบสุภาพมีสีเรียบ

2.            การสนทนา  ในการสนทนากับพระภิกษุ  ต้องใช้คำที่สุภาพ และควรประนมมือขณะพูดกับท่าน


ข้อใดเป็นสิ่งที่ฆราวาสพึงปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์

หน้าที่ของฆราวาสที่พึงปฏิบัติ ต่อพระภิกษุ จะทําสิ่งใดต่อพระภิกษุก็ทําด้วยเมตตา ● จะพูดสิ่งใดกับพระภิกษุก็พูดด้วยเมตตา ● จะคิดสิ่งใดกับพระภิกษุก็คิดด้วยเมตตา เมื่อพระภิกษุมาถึงบ้านต้อนรับ ด้วยความเต็มใจ

เพราะเหตุใดพุทธศาสนิกชนจึงควรปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อพระภิกษุสงฆ์

เพราะพระภิกษุเป็น ผู้ที่ปฏิบัติตนตามคาสอนของ พระพุทธเจ้าและเผยแผ่ ศาสนา ซึ่งควรแก่การเคารพ บูชาและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ต่อท่านค่ะ Page 28 นักเรียนจะนาแนวทางการปฏิบัติตน ต่อพระภิกษุที่ได้จากการศึกษาไป ปรับใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่างไร เมื่อพบพระภิกษุหรือเมื่อมี โอกาสเข้าไปในพิธีกรรมทาง ศาสนาเพื่อเป็นพื้นฐานใน การปฏิบัติตน ...

การปฏิบัติตนในการให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ควรทำอย่างไร

ถ้านั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ให้นั่งเก้าอี้ด้านขวา ถ้าสตรีจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ ให้บุรุษนั่งคั่น เมื่อพระสงฆ์ขึ้นรถประจำทาง สตรีควรให้ที่นั่ง

เราควรปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ทางกายทางวาจาและทางใจอย่างไร

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางใจ เป็นการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ด้วยความเคารพอย่างแท้จริง ไม่ได้เกิดจากการเสแสร้งแกล้งทำ ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่า การคิดคำนึงด้วยใจ (มโนกรรม) เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าความคิดมีพลังมากก็จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมทางกายและวาจาได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงมุ่ง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ