ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ human relation theory

1

ววิ ฒั นาการทฤษฎีการบรหิ ารยคุ มนษุ ยสัมพนั ธ์
(Human Relation Era)

เสนอ
ดร.ละมุล รอดขวญั

จัดทาโดย

นางสาวอลศิ รา เพช็ รอาวุธ เลขท่ี 11

พนั จ่าเอกสบุ นิ รักการ เลขท่ี 18

นายภวู รินทร์ บญุ ตา เลขท่ี 21

นายจริ ายุ เวชศาสตร์ เลขที่ 24

นางสาวณฐั ธยาน์ สนี วลแกว้ เลขที่ 33

รายงานน้ีเปน็ สว่ นหนงึ่ ของวชิ า หลกั การบริหารการศึกษา
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ าการบรหิ ารการศกึ ษา

วทิ ยาลัยเทคโนโลยภี าคใต้

2

คำนำ

รายงานฉบับน้ีเป็นส่วนหนึ่งของวิชา EAD 611 หลักการบริหารการศึกษา ซ่ึงได้รวบรวมเน้ือหาเกี่ยวกับ
ความเป็นมาของวิวัฒนาการทฤษฎีการบริหารยุคมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Era) แนวความคิดของบุคคล
สาคัญ ประกอบไปด้วย แนวความคิดของ Elton Mayo แนวความคิดของ Robert Owen แนวความคิดของ
Andrew Ureแนวความคดิ ตามหลักพระพทุ ธศาสนา แนวความคิดของ Abraham H. Maslow แนวความคิดทฤษฎี
ลงิ 3 ตัว ตามหลักขงจือ้ แนวความคิดของ Hugo Munsterberg ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร (Human
Relations of Organization) การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร (Human Relation in Organization) และมิติของ
การสรา้ ง มนุษยสัมพนั ธ์ในองคก์ ร

คณะผู้จัดทาหวังเป็นอย่างย่ิงว่ารายงานฉบับน้ีคงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ท่ีมีความสนใจ ศึกษาเรียนรู้เพ่ือนาไป
ปรับใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร หรือประดับความรู้บ้างไม่มากก็น้อย และหากมีข้อความส่วนหนึ่งส่วนใดท่ี
ผดิ พลาดทางคณะผจู้ ัดทาตอ้ งขออภัย ไว้ ณ โอกาสน้ี

คณะผจู้ ดั ทำ
นกั ศกึ ษำหลักสูตรบรหิ ำรกำรศกึ ษำ

วิทยำลยั เทคโนโลยภี ำคใต้

สารบญั 3

เนื้อหา หนา้
ความเปน็ มาของววิ ฒั นาการทฤษฎีการบริหารยุคมนุษยสมั พันธ์ (Human Relation Era) 1
แนวความคิดของบุคคลสาคัญ
2
แนวความคดิ ของ Elton Mayo 3
แนวความคิดของ Robert Owen 5
แนวความคิดของ Andrew Ure 5
แนวความคิดตามหลักพระพทุ ธศาสนา 7
แนวความคิดของ Abraham H. Maslow 8
แนวความคดิ ทฤษฎลี ิง 3 ตัว ตามหลกั ขงจ้ือ 8
แนวความคดิ ของ Hugo Munsterberg 9
ความหมายของมนุษยสัมพันธใ์ นองค์กร (Human Relations of Organization) 11
การสร้างมนุษยสัมพันธใ์ นองคก์ ร (Human Relation in Organization) 14
มติ ขิ องการสร้างมนษุ ยสัมพันธ์ในองค์กร
อา้ งองิ

4

ววิ ฒั นำกำรทฤษฎีกำรบรหิ ำรในแตล่ ะยุค
ระยะท่ี 2 ยคุ มนุษยสมั พนั ธ์ (Human Relation Era)

ควำมเป็นมำของววิ ฒั นำกำรทฤษฎกี ำรบรหิ ำรยคุ มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Era)

แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดท่ีขัดแย้งกับ
แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทางาน และมองข้ามความสาคัญของคน เห็นว่า
มนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมา
เป็นตัวกาหนด และควบคุม ใหม้ นุษย์ทางานให้บรรลุผลสาเร็จ ซ่ึงยุคมนุษย์สัมพันธ์น้ันเป็นแนวคิดท่ีอยู่ในช่วงระหว่าง
ปี ค.ศ 1930 –1950 เนือ่ งจากเลง็ เห็นวา่ การจดั การใด ๆ จะบรรลผุ ลสาเร็จไดน้ ัน้ จะต้องอาศยั คนเปน็ หลกั ดังน้ัน
แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสาคัญในเร่ืองราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Relations )
จึงทาให้เร่ืองราวของมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) กลับมามีบทบาทสาคัญมากข้ึนนักวิชาการสาคัญที่ให้การ
สนับสนุนและศึกษาแนวคิดน้ีคือ Greorge Elton Mayo ได้ทาการทดลองวิจัยที่เรียกว่า “ Hawthorne
Experiment” เมือ่ ปี ค.ศ. 1924 –1927 ณ Western Electric Companyในเมอื งชิคาโก มลรฐั อลิ ลินอยส์ ซึ่ง
จุดประสงค์ก็คือต้องการเข้าใจพฤติกรรมของคนในหน้าที่งานท่ีจัดไว้ให้ ปรากฏว่าคนทางานมิใช่ทางานเพ่ือหวัง
ผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทางานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่ม ท่ีเกิดข้ึนอย่างไม่เป็นทางการ ที่
เป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกันการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาทดลอง
ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies) ได้ทาการทดลองเก่ียวกับการ
เปล่ียนแปลงของแสงสว่างภายในห้องทางาน เพ่ือสังเกตประสิทธิของการท างานว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2. การศกึ ษาโดยการสัมภาษณ์ ( Interviewing Studies ) การทดลองน้กี ็เพื่อค้นหาความเปล่ียนแปลงในการท างาน
เก่ียวกบั สภาวะแวดลอ้ มของการท างานและการบังคับบัญชา 3. การศกึ ษาโดยการสงั เกต ( Observation Studies )
เป็นการสังเกตการท างานของคนและปัจจัยอื่นๆจากการทดลองน้ีได้ประโยชน์หลายประการคือ 3.1 คนมิใช่วัตถุ
สงิ่ ของ คนมีชวี ิตจติ ใจ จะซ้ือด้วยเงนิ อย่างเดียวมิได้ 3.2 การแบ่งงานกนั ทาตามลักษณะเฉพาะตวั มิใชม่ ปี ระสิทธภิ าพ
สูงสุดเสมอ 3.3 เจา้ หน้าทรี่ ะดับสูง การจงู ใจดว้ ยจติ ใจมคี วามสาคัญ และมีความหมายมากกวา่ การจูงใจด้วยเงินตรา
3.4 ประสทิ ธภิ าพการทางานหาได้ขนึ้ อย่กู ับสภาพแวดล้อมเพียงอยา่ งเดยี วไม่ยังขนึ้ อยู่กบั ความสมั พนั ธ์ภายในองค์การ
ด้วยจากการศึกษาแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ ทาให้ได้มีการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ทางการจัดการมากข้ึนโดยนาเอา
หลักการจัดการมาผสมผสานกับพฤติกรรมของมนุษยใ์ นองคก์ าร ทาใหไ้ ด้ความร้ทู หี่ ลากหลายมากข้นึ เช่น นกั วิชาการ
Abram Maslow ได้ศึกษาการแสวงหาความต้องการของมนุษย์ ว่ามนุษย์เราแสวงหาอะไร โดยเขาได้เสนอ ทฤษฎี
ลาดบั ข้ันของความต้องการ( Hierachy of Need ) ส่วน Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบของการจงู ใจโดย
ไดเ้ สนอ ทฤษฎี Two Factor Theory Of Motivation เปน็ ตน้

ประเด็นนำ่ สนใจ
ประเด็นท่ี 1 Elton Mayo ได้รับการยกย่องวา่ เป็น “บดิ าแห่งการจดั การแบบมนุษยสมั พันธ์” ซึ่งเขาช้ใี หเ้ ห็น

ว่ามนุษย์ไม่ได้เท่ากับเคร่ืองจักร และควรใส่ใจแรงงานมากกว่าใส่ใจผลผลิต เพราะนี่คือปัจจัยสาคัญท่ีจะทาให้ระบบ
การผลติ มศี กั ยภาพ

ประเด็นที่ 2 หลักธรรม “สงั คหวัตถุ 4” ในพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมทีส่ ืบทอดมานับพันปี และยังคงใช้ได้ดี
ในยคุ ปจั จบุ นั ซึ่งหลักธรรมนสี้ อดคลอ้ งกบั เรื่องการสร้างมนุษยสัมพนั ธ์เป็นอย่างมาก

ประเด็นท่ี 3 บคุ คลในองค์กรทมี่ ีส่วนสาคัญอย่างมากในการทจ่ี ะกระต้นุ การสร้างมนุษยสัมพันธ์กลุ่มให้เกิดข้ึน
อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ตลอดจนควบคุมดูแลไม่ให้เกดิ ปญั หา กค็ ือ “หวั หนา้ ” ในแต่ละกลุม่ นน่ั เอง

5

แนวควำมคดิ ของบคุ คลสำคญั
มนุษยสัมพันธ์เป็นส่ิงสาคัญต่อการอยู่ร่วมกนั ของทุกสังคม มนุษยสัมพันธ์นั้นเป็นท้ังศาสตร์และศิลป์ท่ีช่วยให้

มนษุ ยอ์ ยรู่ ่วมกนั ได้อย่างปกติสุข ถึงแมว้ ่ามนุษยสมั พันธ์นัน้ จะเกดิ ข้ึนมาบนโลกน้โี ดยธรรมชาติพร้อมกบั การกาเนิดของ
มนุษย์ แต่ศาสตร์แห่งมนุษยสัมพันธ์ท่ีมีการศึกษาและเรียนรู้อย่างจริงจังนั้นก็เพ่ิงเกิดขึ้นเมื่อไม่ก่ีร้อยปีมาน้ีนี่เอง
ปัจจุบันแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์เกิดขึ้นมากมายบนโลกต้ังแต่แนวคิดด้ังเดิมมาจนถึงแนวคิดสมัยใหม่ แต่อย่างไรก็ดี
แนวคิดเหล่านกี้ ็มีแก่นคล้ายๆ กันน่ันก็คือการให้ความสาคญั กับทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง แนวคดิ ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่มี
ความโดดเดน่ นนั้ ประกอบไปดว้ ย

1. แนวควำมคดิ ของ Elton Mayo

หากพูดถึงแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์จะไม่พูดถึง Elton Mayo เลยไม่ได้ เพราะเขาคนนี้ได้รับ
การยกย่องว่าเป็น “บิดาแหง่ การจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์” ที่ทั่วโลกรจู้ ักกนั เปน็ อย่างดีทเี ดียว ผลงานท่ีโดดเดน่ ของ
เขาน้ันก็คือการทางานกับคณะวิจัยพนักงานท่ีโรงงาน Hawthorne Plant ของบริษัท Western Electric ในชิคาโก
รัฐอิลินอยด์ สหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1927-1932 ซึ่งเน้นไปที่การวิจัย 3 เร่ืองใหญ่ได้แก้ ศึกษาสภาพห้องทางาน
(Room Studies), การสัมภาษณ์ (Interview Studies) และ การสังเกตการณ์ (Observation Studies) จนเกิดเป็น
กรณีศึกษาสาคัญอย่าง Hawthorne Effect ที่เป็นต้นแบบการศึกษาเร่ือง Employee Motivation หรือ Theory of
Motivation น่ันเอง รวมถึงการเป็นต้นแนวคิดท่ีว่ามนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร และน่ีคือตัวแปรให้ระบบอุตสาหกรรมเกิด
ประสิทธิภาพได้มากน้อยเพยี งไรนนั่ เอง

การกาเนิดศาสตร์แห่งมนุษยสัมพันธ์ Elton Mayo นั้นเป็นนักสังคมวิทยาแห่งฝ่ายวิจัยด้านอุตสาหกรรมของ
ฮาร์วาร์ด (The Department of Industrial Research at Harvard) หลังจากท่ีการศึกษาวิจัย Hawthorne Effect
ประสบความสาเร็จและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ในปี ค.ศ.1936 เขาก็ได้เปิดสอนวิชา “มนุษยสัมพันธ์ (Human
Relation)” อย่างเป็นทางการข้นึ เป็นครง้ั แรกของโลกในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดนนั่ เอง

6

การวจิ ัยหรอื การทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ท่ี เมโย (Mayo) กับคณะทาการวจิ ัยเรมิ่ ที่
ขอ้ สมมติฐานวา่ ส่งิ แวดลอ้ มมผี ลต่อประสิทธิภาพการทางานของคนงาน มีการคน้ พบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่ม
แบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทาให้เกิดแนวความคิดใหม่ท่ีว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสาคัญมาก ซึ่งผล
การศกึ ษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปไดด้ งั น้ี

1. คนเปน็ สง่ิ มชี ีวิต จิตใจ ขวัญ กาลงั ใจ และความพงึ พอใจเปน็ เรอื่ งสาคัญในการทางาน
2. เงินไม่ใช่ ส่ิงล่อใจที่สาคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทางานไม่น้อย
กวา่ เงิน
3. การทางานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับท่ีอยู่ได้คบั ใจอยู่
อยาก
2.แนวควำมคดิ ของ Robert Owen

ว่ากนั ว่า Robert Owen นค้ี ือผทู้ มี่ บี ทบาทสาคัญในการปรับปรงุ การทางานทเ่ี กี่ยวขอ้ งกบั มนยุ
สัมพันธ์อย่างเป็นจริงเป็นจังเป็นคนแรกๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นปฐมบิดาแห่งการปรับปรุง
สิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรมเลยทีเดียว ซ่ึงเขาเองเป็นเจ้าของโรงงานสิ่งทอขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่เมือง New Lanark
ในสก็อตแลนด์ โดยเม่ือราวปี ค.ศ.1800 เขาได้เร่ิมให้ความสาคัญกับแรงงาน และนบั เป็นนายจ้างคนแรกๆ ท่ียอมรับ
ฟังความคิดเห็นตลอดจนความต้องการในด้านมนุษยธรรมของลูกจ้าง รวมไปถึงปรับปรุงสิ่งแวดล้อมท่ีดีในการทางาน
ให้ดีข้ึน และการดูแลสวัดิภาพของแรงงาน เป็นต้น ถึงแม้ว่าการกระทาของ Robert Owen จะไม่ได้เป็นการมุ่งสร้าง
มนุษยสัมพันธ์โดยตรงนัก แต่เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกในด้านมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรเป็นคนแรกๆ ของ
โลกเลยก็ว่าได้ ท้ังบางทีก็ยังได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคลเลยทีเดียว ซึ่งนี่ถือเป็นหลักฐานของ
ศาสตร์ด้านมนุษยสมั พันธน์ ้ีทีเ่ กิดขึ้นในยุคแรกๆ ของโลก

หลักการทางาน 8 ชั่วโมงต่อวันกลายมาเป็นบรรทัดฐานปกติของระบบการทางานในองค์กรส่วนใหญ่ไปแล้ว
แต่เช่ือหรือไม่ว่าแนวคิดการทางาน 8 ช่ัวโมงต่อวันน้ีเกิดขึ้นมาต้ังแต่สมัยปี ค.ศ.1810 โน่นเลยล่ะ โดยผู้ที่เป็นตัวตั้ง
ตัวตีในการกาหนดหลักการนี้ก็คือ Robert Owen นี่ล่ะ โดยเขาได้ต้ังสโลแกนในการดาเนินชีวิตที่มีคุณภาพไว้ว่า
“Eight hours labour, Eight hours recreation, Eight hours rest – ทางาน 8 ชั่วโมง, สันทนาการ 8 ชั่วโมง,
พกั ผ่อน 8 ช่ัวโมง” ซ่ึงมันกลายมาเป็นมาตรฐานของการสรา้ งสมดุลให้กบั ชีวติ ตลอดจนการแบ่งเวลาในการทางานมา
จนถงึ ปจั จบุ นั

7

8

3. แนวควำมคดิ ของ Andrew Ure

อีกหน่ึงในแนวความคิดดั้งเดิมท่ีเกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งมนุษย สัมพันธ์ท่ีได้รับการบันทึกไว้ก็คือ
แนวความคิดของ Andrew Ure ซ่ึงในปี ค.ศ.1853 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “ปรัชญาแห่งระบบอุตสาหกรรม (The
Philosophy of Manufactures)” ออกเผยแพร่ในกรุงลอนดอน โดยมหี ัวใจสาคญั ก็คือการต้องคานึงถึงส่วนประกอบ
สาคัญของระบบการผลิตซ่ึงมี 3 ประการน่ันก็คือ เครื่องจักร, การค้าพาณิชย์ และมนุษย์ โดยเฉพาะปัจจัยด้าน
มนุษยธรรมท่ีเขาให้ความสาคัญมากท่ีสุด ตั้งแต่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทางาน, มีเวลาพักผ่อนช่วงส้ันๆ ให้
ระหว่างการทางาน, บริการด้านการแพทย์เม่ือยามเจ็บป่วย, มีสนามและอุปกรกีฬาให้แรงงานได้พกั ผ่อน เป็นต้น ซ่ึงนี่
ถอื เปน็ ตน้ แบบการวางระบบบรหิ ารงานบคุ คลเชงิ มนษุ ยสมั พันธอ์ ย่างเป็นจริงเป็นจังคร้งั แรกเลยกว็ า่ ได้

4. แนวควำมคดิ ตำมหลกั พระพทุ ธศำสนำ
หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่มากมาย แต่หลักธรรมคาสอนท่ีนิยมนามาใช้กับเรื่องมนุษย

สัมพันธ์มากที่สุดนั้นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” ท่ีพูดถึงหลักธรรมในความสามัคคีน่ันเอง สังคหวัตถุ หมายถึง ธรรมที่เป็น
เคร่ืองยดึ เหน่ียวใจบุคคลและประสานหมู่ชนไวใ้ นความสามัคคี อา้ งอิงจาก : พจนานกุ รม ฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ.
2554

สังคหวตั ถุ 4 ก็คือหลกั ธรรม 4 ประการทเี่ ป็นเครื่องยดึ เหน่ียวใจบุคคลและประสานหมชู่ นไวใ้ นความสามัคคี
หลักธรรมน้ีถึงแม้ว่าจะมีอายุหลายพันปีแล้วแต่ก็เป็นหลักธรรมที่ยังคงถูกนามาใช้และใช้ได้ดีในยุคปัจจุบัน เมื่อพูดถึง
แนวความคิดมนุษยสัมพันธ์ก็เช่นเดียวกัน สังคหวัตถุ 4 มักถูกนามาอ้างอิงในเรื่องนี้อยู่เสมอ เพราะหลักธรรมนี้มี
ประโยชนต์ ่อมนษุ ยสัมพนั ธ์ในองคก์ รเปน็ อยา่ งยง่ิ ซึ่งหลักธรรมทงั้ 4 ประการน้ันไดแ้ ก่

1.ทำน หมายถงึ การให้
ซึ่งการใหใ้ นทน่ี ้คี วรอยู่บนพนื้ ฐานการใหด้ ว้ ยใจบริสทุ ธ์ิ ยินดที ่จี ะให้ ไมท่ ุกข์ใจท่ีจะให้

การเอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่ การใหค้ วามช่วยเหลือ การเสียสละ การให้อภัย หรอื แมแ้ ต่การใหส้ ิง่ ของท่เี ปน็ ประโยชนก์ ับผอู้ ื่น ก็
รวมอยูใ่ นขอบข่ายการให้ทั้งสน้ิ

2.ปยิ วำจำ หมายถงึ วาจาอนั เป็นท่ีรกั
วาจาน้ันหมายรวมถงึ การส่อื สารซงึ่ เปน็ พนื้ ฐานสาคญั ของการปฎสิ ัมพันธก์ ัน การพดู ด้วย

ไมตรี การมอบวาจาที่ดีให้แก่กัน มีความหวังดี ไม่ประสงค์ร้าย เปดิ เผย ไม่นินทา พดู ด้วยความจริงใจ ไม่เสแสร้งโกหก
ย่อมทาให้เป็นทีร่ กั ของคนอืน่ ได้

3.อตั ถจรยิ ำ หมายถึง การประพฤติประโยชน์
ในที่นี้หมายถงึ การกระทาใดๆ ก็ตามท่กี อ่ ให้เกดิ ประโยชน์กับทัง้ ตนเองและผอู้ ื่น ไมท่ าให้

ผ้อู ื่นเดือดร้อนหรือเป็นทกุ ข์ ไม่เบยี ดเบียนเอาเปรยี บกัน หรอื ไมก่ ระทาอันใดทที่ าใหก้ ่อให้เกิดความเสยี หาย
4.สมำนัตตตำ หมายถึง ความมตี นสม่าเสมอ, การทาตนเสมอตน้ เสมอปลาย

9

หลกั ธรรมข้อนี้เป็นส่ิงสาคัญท่สี ุดที่มกั ไม่คอ่ ยเห็นใครพดู ถึงนัก ความเสมอตน้ เสมอปลายนนั้
จะบ่งบอกพฤตกิ รรมของคนคนน้ันไดด้ ี แสดงถึงความมีวินัย ไม่เป็นคนโลเล ยดึ เหน่ียวส่ิงทีต่ นยึดถืออย่างซ่ือสัตย์ การ
ทางานที่มีการใส่ใจอย่างเสมอต้นเสมอปลายนี้ย่อมทาให้งานราบรื่น ไม่มีปัญหา และมีโอกาสสาเร็จย่ิงๆ ข้ึนไป การมี
นิสัยที่ดีแบบเสมอต้นเสมอปลายต่อกันก็ย่อมทาให้มนุษยสัมพันธ์ระหว่างกันดีได้ด้วย ทาให้เกิดความไว้วางใจ
น่าเช่ือถือ ไม่กลับกลอก และเป็นมิตรที่ดีต่อกันมากกว่าศัตรู ความหมายอ้างอิงจากพจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ.2554

ยังมีแนวคิดมนุษยสัมพันธ์เกิดข้ึนบนโลกน้ีอีกมากมาย ตลอดจนมีการนาเอาปรัชญายุคโบราณหลายๆ อย่าง
นาเข้ามาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเร่ืองนี้อีกด้วย ซ่ึงทุกอย่างน้ันล้วนแล้วแต่มีหลักการสร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างกันให้เกิดขึ้น ลดการแตกแยก เมื่อมีการร่วมกันทางานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว องค์กรย่อมประสบ
ความสาเร็จอย่างงดงามในทสี่ ุด

10

5. แนวควำมคดิ ของ Abraham H. Maslow

แนวความคิดในเรื่องมนุษย์สมั พันธ์ทโี่ ดดเด่นมากและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจนถึงยุคปัจจุบันนี้กค็ ือแนวความคิด
ของ Maslow ที่เรารู้จักกนั ดีนั่นเอง ซึ่งนักทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์น้ีได้นาเสนอทฤษฎี Hierachy of Needs หรือ ทฤษฎี
ลาดับชั้นของความต้องการ หรือที่คนยุคน้ีอาจเรียกติดปากกันในชื่อ “ทฤษฎีมาสโลว์ (Maslow Theory)” ท่ีสร้าง
แผนภมู ปิ ิรามิดแสดงลาดบั ขั้นความสาคัญของความตอ้ งการของมนุษย์ไว้อยา่ งยอดเยี่ยมทีเดียว โดยมีรายละเอยี ดดงั นี้

1. ความตอ้ งการทางร่างกาย (physiological needs)
2. ความตอ้ งการความปลอดภัยและมนั่ คง (security or safety needs)
3. ความตอ้ งการความรกั และความเป็นเจ้าของ (belongingness and love needs)
4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs)
5. ความต้องการความสาเรจ็ ในชวี ติ (self-actualization)

11

6.แนวควำมคิดทฤษฎีลิง 3 ตัว ตำมหลักขงจ้อื

ทฤษฎีลิง 3 ตัว ของขงจื้อนั้นเกิดขึ้นก่อนศาสตร์มนุษยสัมพันธ์เป็นเวลานับพันปีเลยทีเดียว แต่
ทฤษฎีโบราณน้ีกย็ ังคงเป็นอมตะมาจึงถึงยุคปจั จุบัน ถงึ แม้ว่าทฤษฎีลิง 3 ตัว จะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เปน็ แนวคิด
ของศาสตร์มนษุ ยสัมพันธ์โดยตรง แต่ปรัชญาจีนน้ีกส็ อดคลอ้ งกับเร่ืองนเี้ ป็นอยา่ งมากจนทาให้ทฤษฎีลิง 3 ตัวนี้มักถูก
หยิบยกขึ้นมาอ้างอิงเสมอเมื่อมีการพูดถึงแนวคิดมนุษยสัมพันธ์ในยุคปัจจุบัน ทฤษฎีลิง 3 ตัวนั้นเป็นลิงปิดทวารท้ัง
สามอันได้แก่ ลิงตัวท่ี 1 ปิดหู ลิงตัวที่ 2 ปดิ ตา และลิงตัวที่ 3 ปิดปาก ทฤษฎนี้มีการตีความเชิงลกึ ไปมากมายแต่กอ็ ยู่
ในกรอบเดียวกัน กล่าวโดยสรุปก็คอื มนษุ ย์ควรควบคุมการรับหรือสง่ สารตัวเองให้เหมาะสม บางครั้งก็ต้องควรงดวาจา
ปิดตาไม่รู้ไม่เห็น ตลอดจนปิดหูไม่รู้ไม่ฟัง ในเร่ืองท่ีจะทาให้เกิดความทุกข์ หรือสร้างความยุ่งยากใจต่อกัน การท่ีจะมี
ความสัมพนั ธ์กับคนอน่ื ไดด้ นี นั้ ต้องรู้จักวา่ อะไรควรฟัง ไม่ควรฟัง อะไรควรพดู ไมค่ วรพูด อะไรควรรับรู้ ไมค่ วรรับรู้ ทุก
อยา่ งตอ้ งให้เหมาะสมกบั กาละเทศะ

7. แนวควำมคิดของ Hugo Münsterberg

นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน-อเมริกันท่ีเป็นหน่ึงในผู้บุกเบิกด้านจิตวิทยาประยุกต์ เขาเป็นผู้ริเริ่มเรื่องจิตวิทยา
อุตสาหกรรมที่ศึกษาวทิ ยาศาสตร์เก่ียวกับการบริหารงานบุคคลเพ่ือนามาปรับปรงุ ให้ได้ผลผลิตมากท่ีสุด เขาได้นาเอา
แนวคิด Psychology and Industrial Efficiency น้ีมาใช้กับระบบโรงงาน โดยได้ผสมผสานทฤษฎีของเขาเข้ากับ
ทฤษฎีการจัดการตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ของ Frederic Winslow Taylor โดยเน้นการใช้พลังงานคนให้เป็น
ประโยชน์กบั ความก้าวหนา้ ทางอตุ สาหกรรมและเศรษฐกิจ ตดั ทอนเวลาทางานใหน้ อ้ ยลง แต่ไดง้ านเพมิ่ มากขึ้น และมี
ความเป็นอยทู่ ี่ดีขึน้ ได้

12

ควำมหมำยของมนษุ ยสัมพันธใ์ นองคก์ ร (Human Relations of Organization)

มนุษยสมั พันธ์ในองค์กรมาจากการผสานสองความหมายสาคญั จากคาว่า “มนุษยสมั พันธ์” กับ “องค์กร” ซึ่ง
หมายถึงความสัมพันธ์ของบคุ ลากรทอี่ ยู่ร่วมกนั ในองคก์ รนั้นๆ ซ่งึ มีไมตรตี ลอดจนความผูกพันตอ่ กันตั้งแต่เร่ืองสว่ นตัว
ไปจนถึงเรื่องที่เกี่ยวกับงาน ความสัมพันธ์จะเป็นปัจจัยยึดเหน่ียวให้ทุกคนทางานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เกิดความ
สามัคคี ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทางานได้ และทาให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ใน
ท่สี ุด
ปัจจยั สำคัญทสี่ ่งผลตอ่ มนษุ ยสัมพันธใ์ นองคก์ ร

สง่ิ ท่สี ่งผลตอ่ การเกดิ มนษุ ยสัมพนั ธใ์ นองค์กรได้น้นั มีมากมาย แตม่ ีปจั จยั สาคัญต่อมนษุ ยสมั พันธ์
ทค่ี วรใสใ่ จดงั นี้

1.ปจั เจกบุคคล (Individual) : หน่วยบคุ คลนั้นถือเป็นหน่วยเล็กท่ีสุดสาหรับองค์กรและเป็นหน่วยท่ีสาคัญ
ทสี่ ุดเชน่ กัน ก่อนที่จะสร้างความสมั พันธ์ระหว่างกันน้ันจะต้องเข้าใจและเคารพความเปน็ ปัจเจกบุคคลของกันและกัน
ก่อน เพราะทุกคนมีความเฉพาะตัวของตัวเอง ในขณะเดียวกันทุกคนก็ต้องเปิดใจยอมรับความแตกต่างของผู้อื่นด้วย
เช่นกัน หากหน่วยบุคคลเกิดปัญหาแน่นอนว่าย่อมกระทบกับมนุษยสัมพันธ์องค์รวมขององค์กรไม่มากก็น้อย ดังน้ัน
องค์กรควรใส่ใจไม่ใช่แค่เฉพาะในระดับกลุ่มแต่ควรให้ความสาคัญในระดับบุคคลด้วยเช่นกัน ในทางตรงกันข้ามหาก
หน่วยบคุ คลนี้เข้าใจตัวเองและยอมรับผู้อื่นก็เปน็ เร่ืองงา่ ยทจ่ี ะสรา้ งความสัมพันธอ์ นั ดีระหว่างกัน และเปน็ พลังสาคญั ท่ี
จะทาใหอ้ งค์กรประสบความสาเรจ็ เลยทเี ดยี ว

13

2.กำรทำงำนรว่ มกนั (Work Group) : การทางานร่วมกันเปน็ กลไกสาคัญของการขบั เคลอ่ื นองค์กร และสิ่ง
ที่เป็นเสมือนขุมพลังท่ีจะทาให้การขับเคลื่อนไปได้ดีและราบรื่นนั้นก็คือมนุษยสัมพันธ์นี่เอง หากบุคลากรมีมนุษย
สัมพันธ์ต่อกันที่ดกี ็ย่อมทาให้การทางานร่วมกันไม่เกิดปญั หา งานมีประสิทธิภาพ หากเกิดปัญหาเรื่องความสมั พันธ์ใน
การทางานกันขนึ้ ก็ยอ่ มส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการทางานในองค์กรได้เช่นกัน และหากพนักงานในองคก์ รมี
ความเป็นปัจเจกบุคคลสูง ไม่สนใจการทางานร่วมกับผู้อ่ืน ก็อาจทาให้องค์กรนั้นไร้ทิศทางท่ีชัดเจน หรือทิศทาง
สะเปะสะปะ การขับเคลื่อนองค์กรก็ย่อมมีปัญหาได้ การท่ีจะทางานร่วมกันได้ดีนั้นองค์กรก็ต้องมอบหมายบทบาท
และหน้าที่ท่ีชัดเจนให้กับพนักงานแต่ละคนด้วย และการสร้างทัศนคติที่ดีร่วมกันก็เป็นสิ่งสาคัญที่จะก่อให้เกิดมนุษย
สมั พนั ธใ์ นการทางาน และเปน็ พลังผลักดันใหอ้ งค์กรบรรลเุ ปา้ หมายไดอ้ ยา่ งยอดเยี่ยมทเี ดียว

3.สภำพแวดลอ้ มในกำรทำงำน (Work Environment) : หากสังเกตุแนวความคิดด้านมนษุ ยสมั พันธต์ ั้งแต่
ยุคดั้งเดิมจะพบว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยซ่ึงผู้นาความคิดทุกคนใส่ใจและให้ความสาคัญเหมือนๆ กันก็คือเร่ือง
สภาพแวดล้อมในการทางานนี่เอง โดยเฉพาะยุคปัจจุบนั น้ีท่ีแทบทุกองค์กรหันมาใสใ่ จเรื่องนี้กนั อยา่ งจริงจงั ตง้ั แต่เรื่อง
สถานที่, การตกแต่ง, ไปจนถึงการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีให้เกิดสภาพแวดล้อมด้านบุคคลท่ีดีในการทางาน ซึ่งส่ิง
เหลา่ นี้องคก์ รสามารถสรา้ งข้ึนได้ และสร้างความรว่ มมอื ใหร้ ่วมกันสรา้ งสภาพแวดล้อมในการทางานท่ีดีได้เชน่ กัน

4.ผู้นำ (Leader) : หน่วยบุคคลท่ีมีบทบาทสาคัญในการท่ีจะช่วยให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนใน
องค์กร ตลอดจนเป็นผู้ที่จะควบคุมให้เป็นไปในทิศทางท่ีดีได้นั้นก็คือผู้นานั่นเอง ผู้นาเปรียบเสมือนแม่ทัพท่ีจะบริหาร
ควบคุม ตลอดจนกระตุ้นให้พนักงานทุกคนสามารถทางานร่วมกันไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนบรรลุเป้าหมายที่
องค์กรต้ังไว้ได้ ในอีกมุมหนึ่งผู้นาต้องเป็นผู้สนับสนุนท่ีดีด้วย คอยสอดส่อง รวมถึงช่วยแก้ไขวิกฤตต่างๆ ให้กาลังใจ
ปลอบประโลมเม่ือท้อและผิดพลาด ซ่ึงผู้นานี้แหละท่ีเป็นตัวแปรสาคัญท่ีจะทาให้การทางานเป็นทีมในองค์กรประสบ
ความสาเรจ็ ได้มากนอ้ ยเพยี งไร

บทสรปุ

มนุษยสัมพันธ์น้ันจาเป็นกับทุกสังคม แม้แต่ในองค์กรเองก็ตามก็ถือเป็นหน่วยสังคมหน่ึงท่ีต้องใช้มนุษย
สัมพันธม์ าเชื่อมตอ่ บุคลากรเขา้ ไวด้ ้วยกนั เพอ่ื ใหเ้ กดิ การทางานอย่างมีประสทิ ธภิ าพและทาใหอ้ งค์กรบรรลุเปา้ หมายใน
ที่สุด มนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นท้ังศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรู้และสามารถประยุกต์นาไปปฎิบัติให้เกิดผลได้ ท้ายท่ีสุด
แล้วมนุษยสัมพันธ์จะสร้างพลังสามัคคีที่ไม่ทาให้สังคมใดก็ตามแตกแยก ซ่ึงน่ีแหละคือพลังสาคัญท่ีเป็นเคล็ดลับ
ความสาเร็จท่ีมคี ุณคา่ มากทีเดยี ว

14

กำรสรำ้ งมนุษยสมั พันธ์ในองคก์ ร (Human Relation in Organization)

มนุษย์ถือเป็นสัตว์สังคมท่ีมีความต้องการพ้ืนฐานในการอยู่ร่วมกัน สังคมการทางานก็ถือเป็นอีกหน่ึงหน่วย
สังคมของมนุษย์ที่มีความสาคัญต่อการดารงชีวิตไม่แพ้สังคมอ่ืนๆ ส่ิงหน่ึงท่ีจะทาให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขก็
คือการมี “มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)” ท่ีดีระหว่างกัน สังคมในการทางานก็เช่นกันไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดก็
ตามต่างย่อมต้องการส่งเสริมให้ทุกคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะน่ันหมายถึงความรักใคร่ปรองดอง ความร่วม
แรงร่วมใจ ช่วยเหลือเก้ือกูล สามัคคี และร่วมหัวจมท้ายกันเผชิญกับทุกสถานการณ์ เพื่อให้การทางานประสบ
ความสาเร็จ ท้ายที่สุดแล้วองค์กรท่ีมีทีมทางานที่ทุกคนมีมนุษยสัมพันธ์ท่ีดีต่อกันย่อมทาให้องค์กรสามารถบรรลุ
เปา้ หมายทีว่ างไว้ไดด้ กี ว่าองคก์ รทบี่ คุ ลากรมีมนษุ ยสัมพันธท์ แี่ ยต่ ่อกันแน่นอน

องค์กรส่วนใหญ่ไม่ใช่ระบบการทางานแบบคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันทางานหลายคน ตลอดจนหลาย
ภาคส่วน เม่ือมีคนอยู่รวมกันเป็นจานวนมากแนน่ อนว่าย่อมเกิดปัญหาตามมามากมาย เพราะบคุ คลแต่ละคนนัน้ ตา่ งก็
มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่องค์กรควรจะทาอย่างไรให้ความแตกต่างนั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว การสร้างมนุษย์
สมั พันธ์ทีด่ ใี นองค์กรน้ันจึงเปรยี บเสมือนกาวท่ีจะเชื่อมประสานใหท้ ุกคนทางานรว่ มกันไดอ้ ย่างดี มีความเข้าใจอันดตี ่อ
กันตามความหมายของคานี้ ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ มากกว่าที่จะส่งเสริมความแตกต่างให้เกิดความ
แตกแยก ศาสตรแ์ ละศิลปใ์ นการสร้างมนษุ ยสมั พันธ์ที่ดนี ีจ้ ึงเป็นส่งิ ท่ที ุกองคก์ รควรใส่ใจและให้ความสาคญั ท่สี ุด

องคป์ ระกอบสำคญั ของมนษุ ยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์ที่ดีเป็นบ่อเกิดของการทางานที่มีประสิทธิภาพท่ีทาให้องค์กรประสบความสาเร็จ การที่มนุษย
สัมพันธ์จะเกดิ ขึ้นได้น้นั ต้องมอี งคป์ ระกอบหลกั ๆ 3 ประการด้วยกัน นั่นคอื

1.เข้ำใจตนเอง : ทุกคนต้องรู้จักตัวเราเองให้มากที่สุด รู้ว่าอะไรคือจุดอ่อน จุดแข็ง ควรจะปรับแก้จุดอ่อน
อย่างไรให้ดีขึ้น ควรจะใช้จุดแข็งของตนให้เปน็ ประโยชนอ์ ย่างไร ข้อดี ข้อเสีย ของตนเองคืออะไร อะไรทจี่ ะทาให้การ
ทางานไม่เกดิ ปัญหา อะไรท่ีเราโดดเด่นท่ีจะช่วยเพมิ่ ความสาเร็จของงานได้ดี เมอ่ื เราร้จู ักตนเองดอี ย่างถอ่ งแท้แล้ว เรา
ก็จะสามารถประเมินสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมว่าอะไรควรหรือไม่ควรทา อะไรท่ีเกิดประโยชน์ อะไรที่ทา
แลว้ จะสรา้ งผลกระทบ เป็นต้น

15

2.เข้ำใจผู้อื่น : เมื่อเรารู้จักตนเองอย่างดีแล้วเราก็ควรท่ีจะเรียนรู้การรู้จักผู้อื่นด้วยเช่นกัน การเรียนรู้น้ียัง
หมายถึงการใส่ใจ ให้ความสาคญั ระหว่างกัน รวมไปถงึ การเคารพซงึ่ กันและกันดว้ ย การร้จู กั ความสามารถ จดุ ออ่ น จุด
แข็งของผู้อ่ืน ทาใหเ้ ราสามารถปรบั ตัวในการทางานรว่ มกันได้ดี หรือช่วยสนับสนุนเก้ือกูลกันได้ ชว่ ยอุดชอ่ งโหว่ให้แก่
กนั ตลอดจนรูข้ ้อบกพรอ่ งทีน่ าไปสกู่ ารช่วยกนั แก้ปัญหาได้ดี เป็นตน้

3.ยอมรับควำมแตกต่ำงระหวำ่ งบุคคล : เมอื่ รู้เขารู้เราแล้ว ก็ควรที่จะเรยี นรู้ความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคล ไม่
มีใครในโลกน้ีท่ีเหมือนกัน ทุกคนย่อมมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ทุกคนก็ต้องเรียนรู้ท่ีจะฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
และยอมรับในความแตกต่างระหว่างกนั การยอมรับความแตกต่างไม่ใช่การท่ีจะตอ้ งปรับความคิดใหเ้ หมือนกันหรือไป
ในทิศทางเดียวกันเสียหมด การเห็นต่างน้ันไม่ใช่สิ่งผิด แต่การยอมรับฟังจะทาให้เราสามารถเห็นข้อมลู ได้รอบด้านขึ้น
วิเคราะห์ได้หลายมิติข้ึน และอาจได้หนทางการแก้ปัญหาท่ีดีที่สุดก็ได้ แล้วก็ต้องเข้าใจว่าความแตกต่างไม่ใช่การแบ่ง
พวก แบง่ ฝกั แบ่งฝ่าย แตเ่ ป็นการแสดงความคิดเห็นที่มีเหตุผลคนละรปู แบบ เห็นต่างได้ แตก่ ต็ อ้ งยอมรบั ความเหน็ ต่าง
ระหวา่ งกัน และท้ายทีส่ ดุ ต้องยอมรบั ข้อสรุปสุดท้ายรว่ มกนั ให้ได้ เพือ่ ท่จี ะดาเนินรว่ มกันในทศิ ทางเดยี วกัน

เคล็ดลบั กำรสร้ำงมนุษยสัมพนั ธ์ในองค์กร

การทางานในองค์กรหรือหน่วยงานใดก็ตามจะดาเนินไปอย่างราบร่ืนได้น้ันบุคลากรในองค์กรจะต้องมีมนุษย
สัมพันธ์ท่ีดีต่อกัน การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นทาให้เกิดความเข้าใจระหว่างกัน ช่วยเหลือเก้ือกูล เกิดความสามัคคีใน
การทางาน และเกดิ ความสาเร็จในการทางานในที่สุด เคลด็ ลบั ในการสร้างมนษุ ยสมั พนั ธใ์ นองค์กรใหเ้ กิดขนึ้ ได้นนั้ อาจ
เริ่มตน้ ดงั น้ี

1.พดู จำไพเรำะ ทกั ทำยดว้ ยไมตรี
ใครๆ ก็อยากให้ทุกคนพูดดีๆ กับตนเอง นี่เป็นเคล็ดลับแรกสุดทงี่ ่ายที่สดุ ที่จะสร้างมนษุ ยสมั พันธ์อนั ดีระหวา่ ง
กัน ควรพูดจาไพเราะ พูดจาดี และสื่อสารกันอย่างเป็นมิตร กล่าวทักไทยด้วยไมตรี หรือแม้แต่เพียงแค่มอบรอยยิ้ม
ให้แก่กัน เมื่อเรามอบสิ่งดีๆ ต่อกันด้วยคาพูดที่ดีก็ย่อมเป็นการเร่ิมต้นสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ซึ่งการส่ือสารกันด้วย
คาพดู นน้ั กถ็ ือวา่ เปน็ หวั ใจสาคญั ของมนุษยสัมพันธ์เลยทีเดียว
2.จรงิ ใจตอ่ กนั
การมอบความจริงใจต่อกันเป็นส่ิงท่ีควรทาอย่างย่ิง ไม่ใช่ต่อหน้าทาอีกอย่าง ลับหลังทาอีกอย่าง การซ่ือสัตย์
ตอ่ การกระทานั้นจะทาให้เกิดความไว้เน้ือเช่ือใจ การมอบความจริงใจให้แก่กันจะทาให้เกิดความไว้วางใจกัน และเป็น
บอ่ เกิดมนษุ ยสมั พันธท์ แี่ น่นแฟน้ ได้
3.ไมน่ นิ ทำว่ำร้ำย
การนินทาว่ารา้ ยอาจเปน็ การกระทาท่ีตรงกนั ขา้ มกบั ความจรงิ ใจต่อกัน เราไม่ควรนินทาเพื่อนรว่ มงาน หากมี
อะไรเปิดอกพูดคุยหรือเคลียร์ปัญหากันได้ก็ควรทา การพูดจานินทาว่าร้ายกันหากอีกฝ่ายรู้ก็อาจทาให้เกิดความไม่
พอใจ นาไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และอาจทาให้เกิดผลเสียกับการทางานได้ในท่ีสุด และสร้างรอย
ร้าวระหว่างกนั จะทาให้มนษุ ยสัมพันธแ์ ยล่ ง

16

4.ใหค้ วำมร่วมมือ
หลักการทางานร่วมกันท่ีดีก็คือการให้ความร่วมมือกันในการทางาน ไม่เก่ียงงานกันทา ร่วมแรงร่วมใจ
รับผิดชอบในส่ิงที่ตัวเองทาให้ดีท่ีสุด เม่ือมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้วก็ย่อมทาให้เกิดความร่วมมือในการทางานที่ดี
ด้วย ในขณะเดียวกันการให้ความร่วมมือท่ีดีในการทางานก็ส่งผลให้สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นได้ด้วย และ
นาไปสู่ความสาเร็จร่วมกัน
5.ชว่ ยเหลอื ซึง่ กันและกนั
เมื่อทุกคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันย่อมทาให้อยากช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน โดยเฉพาะยามท่ีอีกฝ่ายเกิด
ปญั หาอีกฝ่ายก็สามารถให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มใจได้ หรือยามไม่เกิดปัญหาใดๆ การช่วยเหลือซ่ึงกันและกันก็อาจ
เป็นการชว่ ยกันอุดรอยร่ัวขอ้ บกพร่องของแต่ละฝ่ายได้ ทาให้การทางานสาเร็จไดด้ ้วยดี
6.กลำ่ วคำชมเชยเม่ือสำเรจ็ ปลอบประโลมเมอ่ื ลม้ เหลว
มนุษย์มักชอบถูกชมเชย ในองค์กรน้ันหากเกดิ การทาดี สร้างผลสาเร็จ ก็ควรชมเชยซึ่งกันและกัน ให้กาลังใจ
ซ่งึ กนั และกัน รวมถึงสร้างแรงจงู ใจในการทางานไดด้ ้วย การชมเชยนั้นไม่ใช่การยกยอปอปน้ั จนเกดิ เหตุ ไม่ชมเชยโดย
ไม่มีเหตุผล ไมช่ มเชยโดยขัดจากความเปน็ จรงิ ควรชมเชยตามเน้อื ผา้ ท่ีดี และไม่ชมเชยในแบบประชด ควรชมเชยจาก
การยินดีด้วยใจบริสุทธ์ิ คาชมเชยน้ันก็เปรียบได้กับน้าท่ีรดต้นไม้ให้เติบโต ทาให้เพื่อนร่วมงานมีกาลังใจในการทางาน
ต่อไป ในขณะเดียวกันหากเกิดความล้มเหลว ผู้ร่วมงานท่ีดีก็ไม่ควรอยู่เฉย ต้องรู้จักกันพูดคุย ปลอบประโลม หรือให้
กาลงั ใจใหเ้ ขาลกุ ขึน้ สูต้ ่อไดด้ ว้ ย
7.ใหค้ ำปรึกษำช่วยเหลอื เมื่อยำมแย่
เม่ือยามเกิดปัญหา นอกจากการพูดคุยเพ่ือให้กาลังใจแล้ว การท่ีผู้ร่วมงานสามารถให้คาปรึกษาในการแก้ไข
ปญั หาได้ย่อมทาให้เกิดความประทับใจระหวา่ งกนั และนามาซงึ่ ความสมั พนั ธ์ทแ่ี น่นแฟ้นข้ึนได้ การใหค้ าปรึกษาที่ดีจะ
ทาให้เพอื่ นรว่ มงานเกิดความไว้วางใจ และก้าวข้ามผา่ นปญั หาได้โดยไม่เกดิ ความทกุ ข์
8.รบั ฟังควำมคดิ เห็น
ในขณะเดียวกันก็ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอ่ืนให้เป็น เป็นผู้ฟังที่ดี บางสถานการณ์การเป็นผู้ฟังที่ดีอาจ
ดีกว่าการเป็นผู้พูดที่ดีก็ได้ การรับฟังปัญหาให้ถ้วนถี่อาจนามาซ่ึงการหาวิธีแก้ปัญหาได้รอบคอบและถูกต้องมากขึ้น
อย่างท่ีบอกไปแล้วว่าองค์กรท่ีประกอบด้วยคนหลายคนย่อมมีความเห็นท่ีหลากหลายและแตกต่าง เราต้องรู้จักฟังไป
จนถึงยอมรับความคดิ เห็นของผอู้ นื่ ด้วย ไม่เอาตนเองเปน็ ใหญ่ เมื่อเกิดการรับฟังระหว่างกันยอ่ มสร้างความสัมพันธท์ ่ีดี
ได้อกี ดว้ ย
9.มีควำมรบั ผดิ ชอบ
ความรับผิดชอบเป็นส่ิงสาคัญที่สุดอย่างหน่ึงในการทางาน หากเป็นคนที่พูดดี คิดดี ทาดี มีสัมพันธ์ที่ดีกับ
เพื่อนฝูง แต่ขาดความรบั ผิดชอบในการทางาน ทา้ ยท่ีสุดแลว้ กท็ าใหง้ านไม่เสร็จ ภาระกิจไมส่ าเรจ็ และกอ่ ให้เกิดความ
เสียหายกับองค์กรได้ในท่ีสุด แล้วก็เป็นบ่อเกิดของความสัมพันธ์ที่แย่ตามมาได้ ฉะน้ันการมีความรับผิดชอบในทุกๆ
เรอื่ งจงึ เปน็ คณุ สมบตั ิสาคัญของทกุ คน เพราะการมีความรบั ผิดชอบที่ดีจะไมก่ ่อใหเ้ กิดความเสียหายกับผอู้ น่ื
10.รจู้ กั กำรให้อภัย
ทุกคนย่อมมีโอกาสที่จะทาอะไรผิดพลาด แล้วทุกคนก็ย่อมจะมีโอกาสในการแก้ตัวได้เช่นกัน หากเราไม่ให้
โอกาส ไม่ให้อภัยในข้อผิดผลาดในอดีต ไม่รู้จักมองข้ามส่ิงที่แย่ท่ีแก้ไขแล้ว การเช่ือมต่อความสัมพันธ์ก็ย่อมไม่เป็นผล
หากเรารู้จักที่จะให้อภัย มองข้ามบางเหตุผลไปได้ เพ่ือรักษาผลท่ีดีซ่ึงมีมากกว่าไว้ ก็จะเป็นการดีสาหรับการทางาน
ร่วมกันตลอดจนความสัมพันธ์ร่วมกันด้วย เรื่องที่ดีเหมือนง่ายแต่ก็ทาไม่ได้ง่ายน้ีก็สามารถส ร้างและทาลาย
ความสมั พนั ธท์ ่ดี ีไดใ้ นคราวเดียวกนั เหมือนกนั

17

มิตขิ องกำรสร้ำงมนุษยสมั พันธใ์ นองค์กร

มติ ิมนุษยสัมพันธก์ บั ผู้บงั คับบญั ชำ
การสร้างมนุษยสัมพันกับผู้บังคับบัญชาน้ันอาจต่างจากการสร้างความสัมพันธ์กับเพ่ือนร่วมงานในระดับ
เดียวกัน เราควรให้ความสาคัญในการใช้ภาษาให้ไพเราะ ถูกกาละเทศ การให้ความเป็นกันเองระหว่างเจ้านายและ
ลูกน้องนั้นมีผลดีต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ก็ต้องดูให้ดีด้วยว่าควรมีความเป็นกันเองระดับไหน เพราะ
เจ้านายแต่ละคนก็ซีเรียสเร่ืองนี้ไม่เหมือนกัน หากเจ้านายท่ีไม่ต้องการสร้างความเป็นกันเองมากนัก เราก็อาจต้องให้
ความเคารพมากเป็นพิเศษ การรู้จักกาละเทศะที่ดีย่อมสร้างมนุษยสัมพันธ์ท่ีดีกับผู้บังคับบัญชาได้ดีกว่าการไม่รู้
กาละเทศะ

มติ มิ นุษยสัมพันธก์ บั เพอื่ นรว่ มงำน
สาหรับผทู้ ี่ทางานในระดับเดียวกนั การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างกันน้ันตอ้ งอยู่บนพ้ืนฐานมอบความจริงใจ
ให้แก่กัน และสร้างความไว้เนื้อเช่ือใจกัน ช่วยเหลือเก้ือกูลกัน ไม่เอาเปรียบซ่ึงกันและกัน เป็นท่ีปรึกษาให้กับและกัน
และสรา้ งความสนิทสนมใหม้ ากท่ีสุด
มิตมิ นุษยสมั พนั ธก์ ับผู้ใต้บังคับบญั ชำ
การบรหิ ารผใู้ ต้บังคบั บญั ชาอาจเป็นเทคนคิ ของแตล่ ะคนทีไ่ มเ่ หมือนกนั แต่การสรา้ งความสมั พันธ์กับคนที่อยู่
ใต้การบังคับบัญชาน้ันผทู้ ี่บังคับบัญชาควรจะต้องสร้างความไว้เน้ือเชอ่ื ใจกันให้ได้ แลว้ ก็ต้องรู้จักการบรหิ ารคนให้เป็น
ผู้บังคับบัญชาท่ีดีจะต้องรู้จักการส่ังการ ควบคุมการทางาน ผู้ใต้บังคับบัญชาส่วนใหญ่มักต้องการผู้บังคับบัญชาที่เก่ง
เข้าใจงาน เขา้ ใจลกู น้อง สง่ั งานเป็น ตรวจงานได้ และใหค้ วามเป็นธรรมในทุกๆ เรอื่ ง ส่อื สารกันให้เข้าใจ

18

ขอ้ ดขี องกำรมมี นุษยสัมพนั ธ์ในองค์กร

เมื่อองค์กรสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีให้กับบุคลากรได้สาเร็จ องค์กรนั้นก็มักจะทางานได้ราบร่ืน
ไม่ประสบปัญหาใดๆ หรือเม่ือเจอปัญหาก็สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ และทาให้องค์กร
ประสบความสาเรจ็ ในที่สดุ ซง่ึ การมมี นษุ ยสมั พันธท์ ่ีดีนัน้ กอ่ ใหเ้ กิดผลดกี บั องค์กรดังนี้

1.เกดิ ควำมสำมัคคใี นองค์กร
เมื่อทุกคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ย่อมทาให้เกิดความสามัคคีข้ึนในองค์กรได้ง่าย เมื่อองค์กรไหนที่ทางาน
ด้วยความสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่นแล้วย่อมก่อพลังให้เกิดการทางานที่ประสบความสาเร็จได้ดีเช่นกัน และความ
สามัคคีน้ีเองก็ถือเป็นปัจจัยสาคัญท่ีสุดอย่างหนึ่งของการทางานในระบบทีม ตลอดจนการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไป
ข้างหน้าด้วยเชน่ กนั
2.องคก์ รทำงำนอย่ำงมีประสิทธิภำพ
การทางานอย่างราบร่ืนไม่เกิดปัญหาน้ันย่อมทาให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพได้สูง หากความสัมพันธ์ของ
พนักงานองค์กรไม่ดีแม้จุดใดจุดหน่ึงก็ตามก็ย่อมส่งผลต่อการทางานไม่มากก็น้อย ก็เหมือนกับเฟืองของเคร่ืองจักรท่ี
หากมีเฟืองไหนหักไปแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทาให้เคร่ืองจักรน้ันเดินมีปัญหาหรือหยุดเดินได้ในท่ีสุด เมื่อการทางานมี
ประสทิ ธิภาพแนน่ อนว่าย่อมทาให้องคก์ รบรรลเุ ป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างงดงามดว้ ย
3.บุคลำกรเกิดกำรพัฒนำ
เม่ือองค์กรไม่ต้องมาน่ังปวดหัวแก้ปญั หาเร่ืองความสัมพันธ์ก็ทาใหอ้ งค์กรตลอดจนบุคลากรมเี วลาท่ีจะพัฒนา
ตนเองได้ดียิ่งข้ึน และเม่ือทกุ คนให้ความช่วยเหลือกัน ย่อมทาให้ทุกคนช่วยกันพัฒนาระหว่างกันไปด้วย เมื่อทกุ คนมุ่ง
ผลสาเรจ็ ของงานร่วมกัน ก็ยอ่ มทาใหเ้ กิดศกั ยภาพในการทางานที่เพ่ิมขึน้ เร่อื ยๆ เกิดการพฒั นาทไี่ ม่หยดุ ยงั้
4.องคก์ รประหยัดงบประมำณ มีผลประกอบกำรที่ดีขน้ึ
หากเกิดปญั หาความสัมพนั ธร์ ะหว่างบคุ ลากรในองคก์ รหลายคนอาจไมค่ าดคิดว่าปัญหาเพียบเลก็ ๆ น้อยๆ นี้ก็
สร้างความเสียหายใหญ่หลวงได้เช่นกัน ตัวอย่างง่ายๆ หากบุคลากรมีปัญหาความสัมพันธ์กันจนทาให้เกิดการลาออก
บริษัทก็จะต้องจัดหาพนักงานใหม่ คัดสรรพนักงานใหม่ สอนงานใหม่ และอีกมากมายหลายอย่างเพ่ือมาทดแทนคน
เดิมให้ได้ ซึ่งนั่นหมายถึงงบประมาณที่งอกมามากมายอย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว หรือการมีปัญหาระหว่างกันทาให้การ
ทางานเสีย แน่นอนว่าย่อมส่งผลมหาศาลต่อองค์กร สร้างความเสียหายได้เช่นกัน หากองค์กรใดที่สามารถจัดการ
ปัญหาตา่ งๆ เหล่านี้ได้ กย็ ่อมทาให้ประหยัดงบประมาณได้เชน่ กัน และทาให้ผลประกอบการดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่ออีก
ดว้ ย
5.พนักงำนเกิดควำมภักดีในองค์กร
มากคนยิ่งมากความ ประโยคนี้เป็นจริงเสมอ และเป็นจริงกับการทางานทุกองค์กร ฉะนั้นพนักงานทุกคน
อยากทางานในที่ท่ีมีปญั หาเรื่องคนนอ้ ยที่สุด เพราะปัญหาเร่ืองงานนั้นจัดการไดไ้ ม่ยาก แตป่ ัญหาเร่ืองคนนน้ั อาจสรา้ ง
ผลกระทบได้อย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว และปัญหาน้ีก็เป็นปัญหาหลักอันดับต้นๆ ที่ทาให้เกิดการลาออก เปล่ียนงาน ได้
มากที่สุดด้วย การที่องค์กรสร้างความสัมพันธ์ที่ดใี นการทางานได้จะทาให้บุคลากรรักใคร่กลมเกลียวกัน ไม่เกิดปัญหา

19

เรื่องบุคคล ทางานองค์กรได้ยาวนานขึ้น และมีความจงรักภักดีกับองค์กรขึ้นได้ ทุ่มเทการทางานให้กับองค์กรข้ึนได้
และชว่ ยเพ่มิ ศกั ยภาพใหก้ ับองค์กรได้เชน่ กัน

6.เกดิ กำรถำ่ ยทอดวัฒนธรรมทีด่ รี ะหวำ่ งกนั
เม่ือองค์กรใดมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและแข็งแกร่ง น้ันย่อมเป็นเสมือนสมบัติล้าค่าที่ทุกคนในองค์กรมักหวง
แหนและฟูมฟักรกั ษาอยา่ งดี ในขณะเดยี วกันกร็ ่วมกันท่ีจะรักษารวมถึงถ่ายทอดวัฒนธรรมองค์กรท่ีดีให้กบั คนรุ่นต่อๆ
ไป เมื่อสืบทอดส่ิงดีๆ แล้วย่อมทาให้องค์กรแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเร่ือยๆ และทาให้ช่ือเสียงขององค์กรดี องค์กรมีความ
นา่ เชอ่ื ถอื ทั้งทางธรุ กจิ และด้านอ่นื ๆ รวมถึงทาใหผ้ คู้ นนอกองคก์ รอยากท่ีจะเขา้ มาร่วมงานกบั องค์กรที่ดีอกี ดว้ ย
7.เปน็ เครอื่ งดึงดูดใจให้คนเก่งและดอี ย่ำงมำร่วมงำนกบั องคก์ ร
คนเก่งและดีสว่ นใหญ่ไม่ได้ตดั สินมาร่วมงานกับองค์กรใดองค์กรหน่ึงด้วยเรื่องเงินเพียงอย่างเดียวเท่าน้ัน และ
มีหลายปัจจัยที่เงินไม่สามารถซื้อได้ แต่ใจสามารถซื้อคนได้ดีกว่า องค์กรที่อาจให้ความสาคัญในการสร้างองค์กรในมิติ
อน่ื ๆ ให้ดีข้ึน โดยเฉพาะมิติมนุษยสัมพันธ์นั่นยอ่ มทาให้ใครหลายคนอยากมาร่วมงานกับองคก์ รท่ีมีแต่ความสุข ไม่คอ่ ย
มีปญั หาเร่ืองคนระหวา่ งกัน ท้ังยังใหค้ วามชว่ ยเหลือในการทางานกันอย่างดีอีก หากเป็นเช่นน้ีใครๆ ก็อยากมารว่ มงาน
ด้วย และทาให้องค์กรมตี ัวเลือกของพนักงานทม่ี ีคุณภาพมากขนึ้ อกี ดว้ ย และแน่นอนว่าเม่ือองค์กรได้คนท่เี กง่ และดีมา
ร่วมงานแลว้ ก็ยอ่ มจะทาให้องคก์ รมโี อกาสประสบความสาเรจ็ ได้สงู เชน่ กัน

บทสรปุ

องคก์ รกส็ ังคมรูปแบบหนึง่ ของมนษุ ย์ การท่มี นษุ ย์จะอยู่ในสังคมนัน้ ได้อย่างมีความสขุ กต็ ้องอาศยั การมีมนุษย
สมั พันธ์ท่ดี ีระหวา่ งกันด้วย องค์กรในยุคปจั จุบันจงึ หันมาให้ความสาคัญและใส่ใจในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทดี่ ีมากข้ึน
เร่ือยๆ ถึงแม้ว่าส่ิงเหล่าน้ีจะไม่ได้เก่ียวข้องโดยตรงอะไรกับการทางาน แต่มนุษยสัมพันธ์ท่ีดีน้ีกลับกลายเป็นตัวช่วย
สาคญั ที่สามารถทาใหอ้ งคก์ รประสบความสาเร็จได้งดงามอย่างไมน่ ่าเช่ือทเี ดียว และทายท่ีสุดองคก์ รที่ประกอบไปดว้ ย
คนท่มี ีมนษุ ยสัมพันธ์ดมี าทางานร่วมกันยอ่ มทาใหส้ ังคมการทางานน้ันๆ เกิดความสุข เม่ือคนมคี วามสุขกย็ ่อมทาให้เกิด
ประสิทธภิ าพในการทางานทด่ี ีขึ้น สรา้ งผลผลิตท่มี ีประสิทธิผลข้ึน และทาให้องคก์ รมีศักยภาพเพ่ิมข้ึนด้วย เมอ่ื องค์กร
มศี ักยภาพแล้วก็ยอ่ มทาใหบ้ ุคลากรเกิดความภักดีตอ่ งานและองค์กร ในขณะเดียวกนั ก็เป็นเสมือนแม่เหล็กดึงดูดคนที่
มศี ักยภาพใหอ้ ยากมารว่ มงานกับองค์กรเพ่มิ มากขึน้ ได้อีกด้วย

20

อ้างอิง

//silo.tips/download/771
//th.hrnote.asia/orgdevelopment/190419-management-concept/
//th.hrnote.asia/orgdevelopment/190524-human-relation-concept/


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ