มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน ฉบับปรับปรุง ปี 2562

  • Main

THE INTERNATIONAL PROFESSIONAL PRACTICES FRAMEWORE (IPPF)

มาตรฐานการปฏิบัติงาน ข้อแนะนำในการนำมาตรฐานไปใช้ในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ซึ่งผู้ตรวจสอบภายในควรทำความเข้าใจอย่างยิ่ง และในปี 2560 มาตรฐานสากลได้มีการปรับปรุงเนื้อหา เปลี่ยนแปลงมาตรฐาน หลักการปฏิบัติโดยใช้เป็น Implement Guidance (IG) แทน Practice Advisory (PA)

Product Detail

หนังสือกรอบโครงสร้างการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน

หนังสือมาตรฐานสากลฯ มีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ในปี 2560 ดังนั้น ทางสมาคมฯ 

จึงได้ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าว และเปลี่ยนมาใช้ชื่อเป็น
"หนังสือกรอบโครงสร้างการปฏิบัติงานวิชาชีพ การตรวจสอบภายใน" เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา

Practice Advisory (PA) นั้น ปัจจุบันเล่มปรับปรุง 2560 ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน
และหลักการปฏิบัติโดยใช้เป็น Implement Guidance (IG) แทน PA

ราคา 200 บาท
ราคาสมาชิกสมาคม 180 บาท
อัตราค่าส่ง 50 บาท/เล่ม

มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน (International Standards for the Professional Practice of Internal Auditing)

มาตรฐานด้านคุณสมบัติ (Attribute Standards)

1000       – วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ วัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของงานตรวจสอบภายใน  ควรกำหนดให้ชัดเจนไว้ในกฎบัตรของ งานตรวจสอบ ภายใน ทั้งนี้ควรสอดคล้องกับมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการขององค์กร

1000.A1  –  การตรวจสอบภายในที่มีลักษณะเป็นงานบริการให้ความเชื่อมั่นแก่องค์กรควรกำหนดไว้ในกฎบัตรของงานตรวจสอบภายใน และหากมีการให้บริการลักษณะนี้แก่บุคคลหรืองค์กรภายนอก  ก็ควรระบุไว้ในกฎบัตรเช่นเดียวกัน

1000.C1 –  การตรวจสอบภายในที่มีลักษณะเป็นงานบริการให้คำปรึกษา ควรระบุไว้ในกฎบัตรของงานตรวจสอบภายใน

1100      –  ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรม การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในควรมีความเป็นอิสระ และผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม

1110      –  ความเป็นอิสระภายในองค์กร หัวหน้าผู้บริหารงานตรวจสอบภายใน ควรขึ้นตรงต่อผู้บริหาร ในระดับที่เอื้ออำนวยให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสามารถดำเนินไปได้อย่างเต็มที่ ตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

1110.A1 – กิจกรรมการตรวจสอบภายในควรปลอดจากการแทรกแซงใด ๆ

1120      – ความเที่ยงธรรมของผู้ตรวจสอบผู้ตรวจสอบภายในควรมีทัศนคติที่เป็นกลาง ไม่ลำเอียง และไม่มีอคติ  และหลีกเลี่ยงในเรื่องของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflicts of Interest)

1130      – เหตุบั่นทอนความเป็นอิสระหรือความเที่ยงธรรม กรณีที่ความเป็นอิสระหรือความเที่ยงธรรมถูกบั่นทอนไม่ว่าจะโดยข้อเท็จจริง หรือโดยเหตุการณ์ที่ปรากฏ อันอาจ  ชักนำให้เข้าใจเช่นนั้น ควรเปิดเผยรายละเอียดของเหตุบั่นทอนดังกล่าวต่อผู้เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม โดยลักษณะของการเปิดเผยควรขึ้นอยู่กับเหตุบั่นทอนที่เกิดขึ้น

1130.A1 – ผู้ตรวจสอบภายในควรละเว้นการประเมินงานที่ตนเองเคยรับผิดชอบมาก่อน การที่ผู้ตรวจสอบภายในให้บริการให้ความเชื่อมั่นแก่กิจกรรมที่ผู้ตรวจสอบภายในเคยรับผิดชอบในรอบปีที่ผ่านมา อาจทำให้พิจารณาได้ว่าเป็นเหตุบั่นทอนความเที่ยงธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน

1130.A2 – ภารกิจให้ความเชื่อมั่นแก่กิจกรรมที่หัวหน้าผู้บริหารงานตรวจสอบรับผิดชอบ ควรควบคุมดูแลโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน

1130.C1 – ผู้ตรวจสอบภายในสามารถให้บริการให้คำปรึกษา ในงานที่ตนเองเคย  รับผิดชอบมาก่อนได้

1130.C2 – ถ้าผู้ตรวจสอบภายในพิจารณาว่าอาจมีเหตุบั่นทอนความเป็นอิสระหรือความเที่ยงธรรมในงานบริการให้คำปรึกษาใดๆ ผู้ตรวจสอบภายในควรเปิดเผยให้ผู้รับบริการได้รับทราบก่อนรับภารกิจนั้น

1200     –  ความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพภารกิจการตรวจสอบภายใน ควรกระทำด้วยความเชี่ยวชาญและความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ

1210     – ความเชี่ยวชาญเยี่ยงวิชาชีพผู้ตรวจสอบภายในควรมีความรู้ ทักษะ และความสามารถอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กิจกรรมตรวจสอบภายในควรดำเนินการโดย ผู้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถอื่นที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ ที่รับผิดชอบ

1210.A1 – หัวหน้าผู้บริหารงานตรวจสอบควรขอคำแนะนำและความช่วยเหลือจากภายนอก หากพนักงานในหน่วยงานตรวจสอบภายในขาดความรู้ ทักษะ และความสามารถอื่นที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของภารกิจ

1210.A2 – ผู้ตรวจสอบภายในควรมีความรู้เพียงพอที่สามารถระบุข้อบ่งชี้ของการทุจริต แต่ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเทียบเท่ากับผู้มีหน้าที่โดยตรง  ในการสืบสวนและสอบสวนการทุจริต

1210.A3 – ผู้ตรวจสอบภายในควรมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความเสี่ยง  การควบคุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และรู้เทคนิคการตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผู้ตรวจสอบภายในทุกคนต้องมีความเชี่ยวชาญเทียบเท่ากับผู้ตรวจสอบภายในที่รับผิดชอบงานตรวจสอบเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง

1210.C1 – หัวหน้าผู้บริหารงานตรวจสอบควรปฏิเสธการให้คำปรึกษา หรือควรขอคำแนะนำและความช่วยเหลือจากภายนอก หากพนักงานในหน่วยงานตรวจสอบภายใน ขาดความรู้ทักษะ และความสามารถอื่น ที่จำเป็นต่อการให้บริการให้คำปรึกษานั้น ไม่ว่าเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดของภารกิจ

1220      – ความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง และใช้ทักษะเยี่ยงผู้ตรวจสอบภายในที่มีความรู้ความสามารถและความรอบคอบอย่างสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น

1220.A1 – ผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ โดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

·                   การขยายขอบเขตของงานที่ตรวจสอบเท่าที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

·                   ความซับซ้อน ความมีนัยสำคัญ และความสำคัญของงานที่ให้ความเชื่อมั่น

·                   ความเพียงพอและประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง  การควบคุม และการกำกับดูแล

·                   ความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อผิดพลาด ความผิดปกติ หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ อย่างมีนัยสำคัญ

·                   ความคุ้มค่าของความเชื่อมั่นต่อผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดแก่องค์กร

1220.A2 – ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ ผู้ตรวจสอบภายในควรพิจารณาใช้คอมพิวเตอร์ และเทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลอื่นๆ  เป็นเครื่องมือช่วยในงานตรวจสอบ

1220.A3 – ผู้ตรวจสอบภายในควรตระหนักถึงความเสี่ยง ที่มีนัยสำคัญ  ที่อาจมีผลกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินงาน และทรัพยากร ขององค์กร อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ตรวจสอบภายในจะได้ใช้ความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพในกระบวนการให้ความเชื่อมั่นแล้ว ก็ไม่อาจเป็นหลักประกันว่า  จะสามารถบ่งชี้ ถึงความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญได้ทั้งหมด

1220.C1 – ผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติงานให้คำปรึกษาด้วยความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ โดยคำนึงถึง

·                  ความต้องการและความคาดหวัง ของผู้รับคำปรึกษา รวมทั้งลักษณะของงาน เวลา และการสื่อสารผลของภารกิจความซับซ้อน และขอบเขตของงานที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของภารกิจ

·                  ความคุ้มค่าของภารกิจการให้คำปรึกษา  ต่อผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดแก่องค์กร

1230      – การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องผู้ตรวจสอบภายในควรแสวงหาความรู้ ทักษะและความสามารถอื่น ๆ  เพิ่มเติม  เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ