แหล่งข้อมูลของการ ลงทุน ที่ สามารถ หาข้อมูลข่าวสาร ได้

การจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ
เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม

“การลงทุน” ก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะเริ่มลงทุนในอะไรก็ตาม
ควรเริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวเองให้พร้อม

โดยต้องรู้จัก 3 ต. คือ
เตรียมตัว เตรียมสตางค์
และเตรียมใจ
กันก่อน

1 เตรียมตัว

เพื่อจะเป็นผู้ลงทุนที่ดีโดยการกำหนด “เป้าหมายการลงทุน” ที่ชัดเจน เป้าหมายการลงทุนถือเป็นหัวใจสำคัญในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จเพราะเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรากำหนดแนวทางการลงทุน ได้ง่ายขึ้น ยิ่งปัจจุบันทางเลือกในการลงทุนมีมากมาย การลงทุนแบบไร้ทิศทาง ลงทุนตามข่าวสารตามกระแส อาจทำให้พลาดโอกาสดีๆ ที่เหมาะกับตัวเราไปอย่างน่าเสียดาย

เบื้องต้นเราจึงควรกำหนดเป้าหมายการลงทุนให้ชัดเจนว่า ต้องการลงทุนเพื่ออะไร? ต้องการใช้เงินประมาณเท่าไหร่? และต้องการจะบรรลุเป้าหมายนั้นเมื่อใด? ซึ่งอาจเป็นการลงทุนในระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ระยะกลาง (1–5 ปี) หรือ ระยะยาว (ตั้งแต่ 5 ปี ข้ึนไป) ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล

บางคนอาจลงทุนระยะสั้นเพื่อเตรียมเงินไว้สำหรับดาวน์รถยนต์คันใหม่ บางคนอาจลงทุนระยะกลางเพื่อเตรียมเงินไปศึกษาต่อต่างประเทศ หรือบางคนอาจต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ ฯลฯ

จากนั้นค่อยพิจารณา “เงื่อนไข” ในการลงทุนว่าคุณรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ต้องการผลตอบแทนแบบไหน อัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ หรือมีเงินลงทุนมากน้อยเพียงใด เพราะสิ่งเหล่านี่แหละที่จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่า... ทางเลือกการลงทุนแบบไหนที่จะเหมาะกับคุณมากที่สุด

นอกจากนี้ต้องเพิ่มความรู้ให้กับตัวเอง โดยศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกที่คิดจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะความเสี่ยงและผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่จะลงทุนนั้น

ต้องการลงทุนเพื่ออะไร? ต้องการใช้เงินประมาณเท่าไหร่?
และต้องการจะบรรลุเป้าหมายนั้นเมื่อใด?

2 เตรียมสตางค์

หรือเตรียมเงินลงทุนในจำนวนที่เหมาะสม ซึ่งคุณควรพิจารณา “แผนการออมและแผนการใช้จ่าย” ประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสถานะทางการเงินหากผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน

เมื่อกำหนดเงินลงทุนเริ่มต้นได้แล้ว ก็ต้องพิจารณา “สินทรัพย์ลงทุน” เช่น หุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม อนุพันธ์ ฯลฯ อย่างรอบคอบเสียก่อน

แล้วจึง “แบ่งเงิน” ไปลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนหลายๆ
ประเภท หรือที่เรียกว่า “การจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน” (Asset allocation) เพื่อให้เกิดการกระจายความเสี่ยง
อย่างเหมาะสม

มีข้อมูลทางวิชาการและสถิติมากมายระบุว่าการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนอย่างเหมาะสม สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ดีกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะราคาของสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภทจะตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน รวมทั้ง ใช้เวลาในการปรับขึ้นลงของราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภทจึงช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจำนวนมากในคราวเดียวได้เป็นอย่างดี

การลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท
ช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจำนวนมาก
ในคราวเดียว

3 เตรียมใจ

สุดท้ายคือ... “เตรียมใจ” ให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุน ถือเป็นเคล็ดลับในการลงทุนอย่างมีความสุข เพราะผู้ลงทุนส่วนใหญ่ “ขาดความอดทน” และ “ไม่มีวินัย” ในการลงทุนที่ดีพอ จึงมักจะลงทุนไปตามสิ่งเร้าหรือตามกระแส ไม่ได้พิจารณาการลงทุนด้วยความรอบคอบ

เมื่อกำหนดเงินลงทุนเริ่มต้นได้แล้วก็ต้องพิจารณา “สินทรัพย์ลงทุน” เช่น หุ้น ตราสารหนี้กองทุนรวม อนุพันธ์ ฯลฯ อย่างรอบคอบเสียก่อน

เมื่อมีปัจจัย หรือเหตุการณ์ใดที่อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนเกิดขึ้นก็เกิดความกังวล หวาดวิตก กลัวความเสียหายจะเกิดขึ้นกับการลงทุนของตน ทำให้เกิดความกดดันและความเครียด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนโดยรวมและต่อสุขภาพจิตของตนเอง ตรงกันข้าม... หากเราพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ มีความอดทน และมีวินัยในการลงทุน เราก็จะพบว่าความผันผวนของตลาดในระยะสั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของเรามากนัก

ลงทุนอย่างรอบคอบ อดทน
และมีวินัย

หากจะบอกว่า... ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด
ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวในการลงทุน
เห็นทีจะหนีไม่พ้น การที่นักลงทุน “ไม่รู้จักตัวเอง”
บางคนไม่รู้เลยว่าตัวเองมีสไตล์การลงทุนแบบไหน เช่น คิดว่าตัวเอง
เป็นคนใจเย็น รับความเสี่ยงได้ต่ำ ไม่ชอบซื้อมาขายไปในระยะสั้นๆ
แต่เวลาลงทุนจริงกลับลงทุนตามเพื่อน ซื้อเช้า ขายบ่าย

ดังนั้น ก่อนเริ่มลงทุน นักลงทุนควรสำรวจสไตล์การลงทุนของตัวเองก่อนว่าเป็นอย่างไร
เพราะถ้ารู้จักสไตล์การลงทุนก็จะสามารถเลือกหุ้นและกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างเหมาะสม

ยกตัวอย่างงานวิจัยของ Bailard, Biehl & Kaiser (BB&K) บริษัทจัดการลงทุนของสหรัฐอเมริกา
ที่ได้วิเคราะห์และทำการแบ่งนักลงทุนออกเป็น 5 แบบ ตามระดับ “ความมั่นใจ” และ “ความวิตกกังวล”
ต่อการลงทุน ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นสไตล์การลงทุนได้เป็นอย่างดี

สไตล์เดินหน้าบุกอย่างเดียว (Adventurer)

นักลงทุนสไตล์นี้จะมีความมั่นใจตัวเองสูงมาก ใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน
อาจจะ
ไม่กี่นาทีก็เลือกหุ้น และเข้าไปลงทุนได้ นอกจากนี้ ยังชื่นชอบและมองหา
ความท้าทาย
ใหม่ๆ เสมอ เช่น ถ้ามีสินทรัพย์เพื่อการลงทุนใหม่ๆ หรือมี
ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา รับรอง
จะเห็นนักลงทุนกลุ่มนี้กระโดดเข้าไปเป็นกลุ่มแรก
ด้วยเหตุนี้จึงรับความเสี่ยงได้สูงมาก รับความผันผวนได้ทุกรูปแบบ ที่สำคัญ
พวกเขา เชื่อว่า... เวลาลงทุนจะสำเร็จมากกว่าล้มเหลว

สไตล์มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง (Individualist)

นักลงทุนกลุ่มนี้จะมีความเชื่อมั่นตัวเองสูงไม่ต่างไปจากกลุ่มแรก
จะแตกต่างกันตรงที่กลุ่มนี้จะไม่ด่วนตัดสินใจ พูดง่ายๆ ไม่ผลีผลามหรือ
วู่วาม ค่อยๆ ศึกษา
หาข้อมูล อ่านบทวิเคราะห์ด้วยตัวเอง
และเมื่อมั่นใจ
ว่าสิ่งที่ได้ศึกษา
มานั้นถูกต้องแม่นยำจะลงทุนทันที และส่วนใหญ่จะมีสไตล์

ลงทุนแบบเชิงรุก (Active Investment)

สไตล์เฮไหนเฮนั่น (Celebrity)

นักลงทุนกลุ่มนี้จะเน้นตามกระแสเพื่อนหรือ
คนรอบข้างบอกอะไรก็ลงทุนตามนั้นโดยไม่สนใจ
ศึกษาหาข้อมูล เป็นกลุ่มที่กลัวตกขบวนรถไฟ
จึงมักตัดสินใจเร็วโดยไม่ค่อยระมัดระวัง

สไตล์ช้าแต่ชัวร์ (Guardian)

เป็นนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำมาก รับความผันผวน แทบไม่ได้เลย ไม่ต้องการเห็นเงินต้นเสียหาย มีความระมัดระวัง รอบคอบ และมีความวิตกกังวลสูง ดังนั้น นักลงทุนสไตล์นี้ จึงเป็นกลุ่มที่เน้นลงทุนเพื่อรับเงินปันผล เน้นลงทุนหุ้นที่มีความปลอดภัยสูง ถ้าไม่ลงทุนด้วยเองก็มักจะลงทุน ผ่านกองทุนรวม

สไตล์ไม่ยึดติด (Straight Arrow)

นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะรู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง และไม่สามารถบอก ได้ว่ามีสไตล์แบบไหน เพราะบางจังหวะก็พร้อมจะแปลงร่างกลายเป็นนักลงทุนสไตล์เชิงรุก พร้อมบุกได้ทุกเมื่อ เสี่ยงเป็นเสี่ยงกัน แต่เมื่อ สถานการณ์บีบบังคับให้ใจเย็นๆ พวกเขาจะมีสติขึ้นมาทันที และพร้อมมองหาหุ้นลงทุน เน้นชัวร์ เพราะกลัวเจ็บ

ปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวกําหนดในการลงทุน

3 ปัจจัยที่คุณต้องพิจารณา ก่อนลงทุน.
เงินทุน หรือเงินต้นที่ใช้ในการลงทุน.
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน.
ระยะเวลาที่ใช้ในการลงทุน.

ตัวกําหนดการลงทุน มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องนำมาพิจารณาในการเลือกการลงทุน ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ดังนี้ 1. อุปนิสัยของผู้ลงทุน 4. ระดับความเสี่ยงในการลงทุน 2. ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน 5. สภาพคล่องของเงินลงทุน 3. ผลตอบแทนจากการลงทุน 6. การกระจายเงินลงทุน

การลงทุนของผู้ประกอบการมีลักษณะอย่างไรบ้าง

การลงทุนประกอบธุรกิจ หมายถึง การนำเงินมาลงทุนเพื่อประกอบการให้เกิดผลผลิตเป็นสินค้า หรือบริการและอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ผู้ที่ลงทุนก็จะได้รับรายได้คือกำไรจากการขายสินค้าหรือ บริการ

การลงทุน มีความสําคัญอย่างไร

การลงทุนถือเป็นการเพิ่มค่าของเงิน ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้ผู้ลงทุนเองมีรายได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล รายได้จากค่าเช่า นอกจากนี้การลงทุนยังเป็นการรักษาอำนาจซื้อของตนจากภาวะเงินเฟ้อ คือถึงแม้จะเกิดเงินเฟ้อขึ้น แต่อำนาจเงินในมือเรา ก็ยังคงอยู่ ไม่ลดลง เนื่องจากเราได้นำต้นไปลงทุนจนเกิดผล ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ