นิติกรรมผู้เยาว์ สามารถ ทําได้เอง

BaanBaan ประกาศขาย-เช่า โครงการ โปรโมชั่นบ้าน บทความ คำนวณสินเชื่อ เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

อายุเท่าไหร่ทำ นิติกรรม-สัญญา อสังหาริมทรัพย์ได้นะ ?

เผยแพร่: 9 พ.ค. 2565

|

หมวด:

กฎหมาย

Tags:

นิติกรรม

ความรู้เรื่องบ้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผู้เยาว์ (อังกฤษ: minor) หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หลายประเทศมักไม่นิยามคำว่า "ผู้เยาว์" ไว้อย่างเด็ดขาด อายุสำหรับความรับผิดทางอาญา อายุอย่างต่ำที่จะให้ความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ อายุที่จะต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับ อายุที่สามารถทำนิติกรรมด้วยตนเองได้ เป็นต้น อาจแตกต่างกันไป

ในหลายประเทศรวมถึงออสเตรเลีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ บราซิล โครเอเชียและโคลัมเบีย ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนในสหรัฐอเมริกาซึ่งกำหนดอายุบรรลุนิติภาวะไว้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ผู้เยาว์มักหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ในบางรัฐอาจหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 21 ปีในบางกรณี (เช่นการพนัน การเป็นเจ้าของปืน และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ในทางอาญาคำว่าผู้เยาว์มักกำหนดไว้แตกต่างกันไป ผู้เยาว์อาจถูกดำเนินคดีและได้รับโทษในฐานะเป็นเยาวชน หรืออาจได้รับโทษเหมือนผู้ใหญ่ในความผิดร้ายแรงอย่างยิ่งเช่นฆาตกรรม

ในญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเกาหลีใต้ ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี กฎหมายนิวซีแลนด์ก็กำหนดอายุของผู้บรรลุนิติภาวะไว้ 20 ปีเช่นกันแต่ผู้เยาว์ในนิวซีแลนด์สามารถใช้สิทธิส่วนใหญ่ได้ก่อนหน้าที่จะบรรลุนิติภาวะ เช่นเข้าทำสัญญาและทำพินัยกรรมได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี

กฎหมายไทย[แก้]

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ไม่ได้นิยามคำว่าผู้เยาว์ไว้ อย่างไรก็ตาม มาตรา 19 และ 20 ได้กำหนดเหตุพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะไว้ดังนี้

"มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์"

"มาตรา ๒๐ ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา ๑๔๔๘"

ดังนั้น บุคคลจึงบรรลุนิติภาวะและไม่เป็นผู้เยาว์ได้เมื่ออายุครบยี่สิบปี หรือสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมาย

ผู้เยาว์จะถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ไว้ โดยหากผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นโดยปกติก็คือบิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง ส่วนปู่ย่าตายาย ญาติ หรือผู้ปกครองตามความเป็นจริงนั้นไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมและไม่มีอำนาจให้ความยินยอมผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม เว้นแต่บิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองและศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ปู่ย่าตายาย ญาติ หรือบุคคลอื่นเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย

นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ หมายถึงนิติกรรมนั้นสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือโดยตัวผู้เยาว์เองเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว และเมื่อถูกบอกล้างแล้วจะถือว่านิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรกโดยให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการทำนิติกรรมดังกล่าวมาก่อนเลย

อย่างไรก็ตาม ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมบางอย่างได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอม และไม่ตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ

  • ก. ทำนิติกรรมเพียงเพื่อจะได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณต่อผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น รับการให้โดยสเน่หา
  • ข. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น สมรส
  • ค. ทำนิติกรรมซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ซื้อขายอาหารที่โรงอาหารในโรงเรียน
  • ง. ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
  • จ. จำหน่ายทรัพย์สินตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาต
  • ฉ. กระทำการใด ๆ อันเกี่ยวพันกับประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน ตามที่ผู้แทนโดยชอบธรรมยินยอม

ข้อจำกัดข้างต้นเป็นข้อจำกัดเฉพาะกรณีการทำนิติกรรมเท่านั้น ส่วนนิติเหตุนั้นไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด ดังนั้นผู้เยาว์จึงมีหนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุ เช่น กระทำละเมิดได้ แต่กฎหมายก็กำหนดให้บิดามารดาของผู้เยาว์ต้องร่วมรับผิดด้วย

ในทางอาญา กฎหมายก็ได้จำกัดความสามารถในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาไว้ กล่าวคือผู้เยาว์จะไม่สามารถเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้เองไม่ว่าจะได้รับความยินยอมหรือไม่ และจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ไม่ได้ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมจะต้องเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนหรือดำเนินคดีแทนผู้เยาว์ทั้งหมด แต่ข้อจำกัดนี้ไม่รวมถึงการร้องทุกข์หรือการถอนคำร้องทุกข์ ที่ผู้เยาว์ในฐานะผู้เสียหายสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้

ทั้งนี้ คำว่า "ผู้เยาว์" จะแตกต่างจากคำว่า "เด็ก" และ "เยาวชน" ซึ่งแต่ละกฎหมายก็กำหนดไว้แตกต่างกันไป เช่นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก กำหนดนิยามคำว่าเด็กไว้ว่าบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี ในขณะที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กลับนิยามคำว่าเด็กไว้ว่าบุคคลที่ยังอายุไม่เกินสิบห้าปี ส่วนเยาวชนคือบุคคลที่อายุเกินสิบห้าปีแล้วแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี

การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

ความสามารถในการทำนิติกรรม

ความสามารถในที่นี้เราหมายถึง ความสามารถในการทำนิติกรรมของ บุคคลธรรมดา

      บุคคลธรรมดาสามารถมีสิทธิต่าง ๆ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้มีได้ แต่การใช้สิทธิของบุคคลธรรมดาบางประเภทนั้นอาจจะใช้ได้ไม่เต็มตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การใช้สิทธิในการทำนิติกรรมต่างๆ หากเป็นบุคคลซึ่งด้อยสิทธิด้วยภาวะทางกฎหมายแห่งสภาพบุคคลของคนเหล่านั้นเขาก็ไม่อาจใช้สิทธิได้เต็มที่ เราเรียกคนเหล่านั้นว่า ผู้หย่อนความสามารถ กล่าวคือ ความสามารถในการทำนิติกรรมนั้นหย่อนไปไม่เต็มที่นั่นเอง ซึ่งคนเราจะไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มที่เนื่องมาจาก

  1. สภาพธรรมชาติ เช่น เด็กไร้เดียงสา
  2. โดยกฎหมายจำกัดอำนาจ เช่น ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ (เหล่านี้เรียกว่าผู้หย่อนความสามารถทั้งสิ้น)

     เหตุที่กฎหมายต้องจำกัดอำนาจบุคคลเช่นนั้นเนื่องจากบุคคลผู้หย่อนความสามารถนั้นไม่อาจใช้สามัญสำนึกเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเองได้ตามมาตรฐานของบุคคลทั่วไป กฎหมายเกรงว่าบุคคลเหล่านั้นจะถูกผู้อื่นเอาเปรียบหรือทำการอย่างใดให้ตนเองเสียเปรียบบุคคลอื่นได้นั่นเอง

ผู้เยาว์คือใคร

บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ซึ่งมีสภาวะแห่งชีวิตสมบูรณ์เป็นบุคคลแล้วสภาวะบุคคลนั้นดำเนินมาจนครบ 20 ปี

     อีกกรณีหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ซึ่งอายุไม่ครบ 20 ปี ได้ทำการสมรสและการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ การสมรสจะเริ่มกระทำได้โดยถือว่าชอบด้วยกฎหมายคืออายุ 17 ปี บริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองก่อน ซึ่งให้นำความในมาตรา 1436 มาใช้โดยอนุโลม หากผู้เยาว์ต้องการสมรสแต่อายุยังไม่ถึง 17 ปี แม้ผู้แทนฯ จะให้การอนุญาตก็ไม่อาจสมรสได้ ต้องร้องขอต่อศาลแต่เพียงประการเดียว โดยศาลจะพิจารณาถึงความจำเป็น เช่น ญ กำลังมีครรภ์ ศาลจึงจะอนุญาตให้สมรสได้ เมื่อมีการสมรสที่ชอบแล้ว ช และ ญ นั้นก็จะพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์ทันทีสามารถทำนิติกรรมได้ตามปกติ เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเช่นนี้ เพราะว่า ช ญ ที่สมรสแล้วต้องดูแลครอบครัวตนต่อไป จึงต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในทางกฎหมาย เช่น หากชายอายุ 16 ปี แต่มีบุตร เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสเขาจะบรรลุนิติภาวะ สามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ เช่น ต้องการจะยกที่ดินของตนเองให้แก่บุตรของตน หากกฎหมายไม่ให้เขาบรรลุนิติภาวะแล้วเขาไม่อาจกระทำได้ หรือการส่งลูกตนเข้าโรงเรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินฐานานุรูปก็ไม่อาจกระทำได้ กฎหมายจึงต้องให้เขาบรรลุนิติภาวะเสีย

การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

     ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนฯ หมายถึง ผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หรือ บุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อปกครองผู้เยาว์การใด (นิติกรรม) ที่ผู้เยาว์กระทำลงไปโดยลำพังไม่ได้ขอความยินยอมจากผู้แทนฯ การนั้นจะเป็นโมฆียะ คำว่า“โมฆียะ” หมายความว่า ไม่บริบูรณ์ อาจให้สัตยาบรรณหรืออาจบอกล้างได้ กล่าวคือสมบูรณ์อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้าง

โดย ทนายสถิตย์  อินตา

083-568-1148

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้มีอะไรบ้าง

ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น ผู้เยาว์เป็นนักเรียนต้องซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน ต้องซื้อเสื้อผ้า รองเท้าเพื่อใส่ไปโรงเรียน การซื้อเช่นนี้เป็นการสมแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์ และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร แต่ถ้าผู้เยาว์ต้องการซื้อรถยนต์ ...

ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมได้ไหม

มาตรา๒๑“ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ต้อง ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อน การใด ๆ ทีผู้เยาว์ได้ทําลงปราศจากความ ยินยอมเช่นว่านันเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอืน” Page 9 9 ผู้เยาว์ทํานิติกรรมได้ ๒ ทาง (๑) ทําด้วยตนเองโดยได้รับความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (๒) ทําโดยผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นผู้ทําแทน

ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใด ๆ จะมีผลอย่างไร

มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

ผู้เยาว์สามารถทํานิติกรรมด้วยตัวเองได้หรือไม่ และ มีกี่กรณี

ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ผู้แทนฯ หมายถึง ผู้ซึ่งอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ได้ เช่น บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ