ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน pantip

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ และระบบนิเวศป่าชายเลนในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กๆ จะได้ศึกษาธรรมชาติจากนอกห้องเรียน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แบบนิเวศทัศนา ได้เดิมชมต้นไม้ พรรณไม้ ศึกษาวิถีชีวิตสัตว์ในอ่าวคุ้งกระเบน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และยังสามารถแวะชมเหล่าปลาในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ และเล่นน้ำที่หาดแหลมเสด็จ ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร

* อ่าวคุ้งกระเบน มีลักษณะเป็นอ่าวแบบลากูน (Lagoon) คือเป็นแหล่งน้ำตื้นๆ แยกจากทะเลเข้าไปในแผ่นดิน ขนานกับชายฝั่ง ส่วนมากจะมีทางเปิดเชื่อมต่อสู่ทะเล ชื่อ "คุ้งกระเบน" มาจากลักษณะของอ่าว เมื่อมองจากที่สูง จะเห็นเป็นรูปร่างเว้าเข้ามาเหมือนปลากระเบน จึงเรียกตามลักษณะทางภูมิประเทศ ว่า "อ่าวคุ้งกระเบน" ซึ่งเป็นบริเวณที่ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลโดยรอบประมาณ 2,000 ไร่ เป็นบริเวณที่เป็นป่าชายเลน ได้รับการดูแลจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ตามโครงการพระราชดำริ


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ตั้งอยู่แหลมเสด็จ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นเส้นทางเดียวกันกับไปหาดแหลมเสด็จ และอยู่ก่อนถึงสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติประมาณ 200 เมตร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน เป็นหน่วยงานที่สนองงานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2524 และทรงดำริว่า "ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสม จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมง และการเกษตร ในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี" จากนั้นจึงได้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน ในพื้นที่ประมาณ 1,100 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติคุ้งกระเบน และป่าอ่าวแขมหนู ครอบคลุมพื้นที่ในตำบลกระแจะ ตำบลสนามชัย อำเภอนายายอาม และตำบลรำพัน ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อทำเป็นศูนย์ทดลอง ค้นคว้าวิจัย และนำข้อมูลความรู้ มาฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศทางธรรมชาติริมชายฝั่งทะเลให้เหมาะสม และได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

การทำงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นแบบบูรณาการ ครอบคลุมจากยอดเขาสู่ท้องทะเล มีการจำลองพื้นที่จริง ในการศึกษาค้นคว้า มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่งเสริมการทำประมงอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุล นอกจากนี้ยังเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจเรื่องของระบบนิเวศป่าชายเลนให้กับประชาชน เยาวชน คนทั่วไป ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติริมชายฝั่ง และรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจธรรมชาติป่าชายเลนได้อย่างชัดเจน คือการแสดงให้เห็นจากตัวอย่างจริง จึงจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ให้ได้เดินเข้าไปเรียนรู้ ได้เห็น สัมผัส และทำความเข้าใจระบบนิเวศชายฝั่งทะเลจากพื้นที่จริงๆ

ลักษณะของเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จัดทำขึ้นนั้น มีระยะทาง 1.6 กิโลเมตร เป็นสะพานไม้ระแนง ทอดยาวเข้าไปในดงป่าชายเลน ที่มีพรรณไม้หลากหลายชนิด เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โปรงแดง ป่าสักดอกแดง ป่าสักดอกขาว ลำพูทะเล แสมทะเล เป็นต้น ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีป้ายบอกชื่อ ลักษณะ และสรรพคุณของไม้นั้นๆ ไว้ด้วย

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติตั้งแต่จุดแรก จนถึงจุดสิ้นสุดของเส้นทาง มีศาลาต่างๆ เป็นจุดให้ข้อมูลความรู้เชิงวิชาการ อธิบายสิ่งต่างๆ ที่จะได้พบเห็นได้ในป่าชายเลน ตามเส้นทาง ได้แก่

ศาลา 1 กำเนิดอ่าวคุ้งกระเบน เป็นการอธิบายการเกิดป่าชายเลนในอ่าวคุ้งกระเบน

ศาลา 2 ไม้เบิกนำ ไม้เบิกนำ เป็นเรื่องของต้นไม้ที่เป็นเหมือนทัพหน้า ได้แก่ ไม้แสม และไม้ลำพู เป็นพืชตัวเบิกทางที่ขึ้นมาก่อนพืชชนิดอื่น เป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับต้นไม้อื่นๆ เพื่อให้เกิดการสะสมตะกอน ดินเลน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับต้นโกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ และพืชชนิดอื่นๆ ที่จะขึ้นตามมา

ศาลา 3 ดงฝาด เป็นเรื่องระบบการสืบพันธุ์ และระบบรากของต้นไม้ในป่าชายเลน พืชที่อาศัยอยู่ในดินที่มีน้ำขังตลอด ออกซิเจนในดินน้อย ทำให้ต้องมีการปรับตัว โดยมีลักษณะรากพิเศษในแบบต่างๆ เช่น
- รากค้ำยัน (Stilt Roots) มีรากโผล่พ้นดิน ลักษณะคล้ายสะพานโค้ง เช่น ไม้โกงกาง
- รากหายใจ (Pneumatophores) มีลักษณะเป็นแท่งแหลมๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน ลักษณะคล้ายดินสอปักอยู่ เช่น ไม้แสม ลำพู
- รากหายใจรูปร่างคล้ายเข่า (Knee Roots) มีลักษณะเป็นก้อนๆ ปุ่มๆ โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ เช่น ต้นฝาด โปรง
- รากพูพอน (Buttress Roots) มีลักษณะกางออกมาในแนวตั้ง เหมือนปีกของต้นไม้ อยู่บริเวณโคนต้น เช่นรากตะบูน ตะบัน

ศาลา 4 ป่าปลูก เป็นเรื่องการปลูกต้นไม้ป่าชายเลน ห่วงโซ่อาหาร และระบบการพึ่งพาในธรรมชาติของป่าชายเลน

ศาลา 5 ปู่แสม - ต้นไม้ผู้สร้างแผ่นดิน เป็นจุดที่มีต้นแสมขาว อายุนับร้อยปี (จึงเรียกว่า "ปู่") และได้เห็นเรื่องวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน และการหาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในบริเวณป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน

ศาลา 6 โกงกาง เป็นเรื่องประโยชน์และความสำคัญของไม้โกงกาง ที่นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้ว ยังใช้ทำถ่านที่มีคุณภาพสูง เพราะให้ความร้อนสูง ติดไฟง่าย ไม่แตกปะทุ ควันไฟน้อย คุเป็นถ่านไฟได้นาน จึงได้ราคาสูงกว่าถ่านไม้อื่น

ศาลา 7 ป่าไม้ - ประมง เป็นเรื่องการปลูกป่าชายเลนควบคู่กับการเลี้ยงปลากระพงขาว

ศาลา 8 ลำพู เป็นเรื่องของไม้ในวงศ์ลำพู และความสัมพันธ์กับหิ่งห้อย

ศาลา 9 ประมง เป็นการอธิบายการเลี้ยงกุ้งแบบรักษาสภาพแวดล้อม การบำบัดนำ้เสียโดยวิธีธรรมชาติ และระบบชลประทานน้ำเค็ม

ศาลา 10 เชิงทรง เป็นเรื่องของระบบนิเวศวิทยา พื้นที่รอยต่อระหว่างป่าบกกับป่าชายเลน เช่น ต้นเตยทะเล

นอกจาก ศาลาทั้ง 10 ที่ให้ความรู้ในเรื่องของธรรมชาติป่าชายเลนแล้ว ยังมีจุดอื่นๆ ให้แวะศึกษา พักผ่อน อีกหลายแห่งเช่น
- ศาลาชมวิว เป็นศาลาที่สร้างยื่นไปในอ่าว ให้สามารถมองเห็นแนวป่าชายเลน วิถีชีวิตชาวบ้าน และชาวประมงที่อยู่ในบริเวณอ่าว

- ศาลาเรือคายัค เป็นท่าจอดเรือคายัค สำหรับผู้ที่มาเที่ยวศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้พายเรือชมป่าชายเลน

- ศาลาพะยูน เป็นจุดที่มีอนุสรณ์ "จ้าวแห่งคุ้งกระเบน" ได้แก่ หมูดุด* หรือ พะยูน (Dugong dugon) ซึ่ง
ในอดีตที่อ่าวคุ้งกระเบน เคยมีพะยูนอาศัยอยู่ เพราะเป็นบริเวณที่มี "หญ้าทะเล**" ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของพะยูน ต่อมาหญ้าทะเลหมดไป ทำให้พะยูนก็หายไปด้วย พะยูนตัวสุดท้ายที่พบบริเวณอ่าวคุ้งกระเบนคือเมื่อปี พ.ศ. 2533 จากนั้นก็ไม่มีพะยูนให้เห็นอีก จนกระทั่งทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนได้มีการปลูกหญ้าทะเล ที่เป็นอาหารหลักของพะยูน ได้แก่หญ้าผมนาง และหญ้าชะเงาใบขาว (หรือว่านน้ำ) เพื่อให้พะยูนหวนกลับมาที่อ่าวคุ้งกระเบนอีกครั้ง

* หมูดุด เป็นภาษาพื้นบ้านที่เรียกพะยูน เพราะมีลักษณะคล้ายสัตว์บก เวลากินอาหารคล้ายวัวเล็มหญ้า (เรียกว่าดุด) บางคนอาจเรียก หมูน้ำ หรือ วัวทะเล (Sea Cow) พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เราจึงไม่ควรเรียกว่า ปลาพะยูน แต่ควรเรียกว่า พะยูน

พะยูน เป็นสัตว์ป่าสงวนที่เป็นสัตว์น้ำ มีลักษณะคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ ตัวอ้วนกลมเทอะทะ มีครีบด้านหน้าที่พัฒนามาจากขาหน้า ไม่มีครีบหลัง ตาเล็ก ตัวเมียมีเต้านม 2 เต้า อยู่ถัดลงมาจากขาหน้า มีหางคล้ายโลมา พะยูนหายใจด้วยปอด จึงต้องขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ และสามารถกลั้นหายใจอยู่ใต้น้ำนานราว 20 นาที

** หญ้าทะเล เป็นพืชที่เคยอยู่บนบก แต่มีวิวัฒนาการให้มีชีวิตอยู่ในน้ำทะเลได้ ในอดีต อ่าวคุ้งกระเบน เป็นบริเวณที่เคยมีหญ้าทะเลอยู่มาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีสภาพพื้นที่เหมาะสมกับการขึ้นของหญ้าทะเล คือ พื้นเป็นดินทราย มีแร่ธาตุในที่เหมาะกับการขึ้นของสาหร่าย และหญ้าทะเล หญ้าที่เป็นอาหารของพะยูน ที่มีอยู่ 2 ชนิดคือ หญ้าชะเงา (มีลักษณะใบรีๆ ยาวๆ ขึ้นแล้วเลื้อยไปตามพื้นดิน) และหญ้าผมนาง (ขึ้นมาเป็นเส้นๆ เหมือนเส้นผม) นอกจากจะเป็นอาหารของพะยูนแล้ว หญ้าทะเลยังเป็นแหล่งพักพิง ที่หลบภัย และที่วางไข่ สำหรับสัตว์น้ำบางชนิด เช่น ปลาหมึก เป็นต้น


- หอดูเรือนยอดไม้ เป็นหอที่ทำด้วยไม้ มีความสูงประมาณ 15 เมตร มีบันไดขึ้นลงเป็นแบบบันไดเวียน มีจุดพักในแต่ละชั้น และมีระเบียงทำเป็นที่นั่งพัก ชั้นบนสุดมีลักษณะเป็นระเบียงห้าเหลี่ยม มีที่นั่ง สำหรับชมวิวอ่าวคุ้งกระเบน วิวป่าชายเลนจากมุมสูง และถ้าโชคดีอาจได้เห็นนกที่อาศัยอยู่ในแถบอ่าวคุ้งกระเบนที่มีมากกว่า 120 ชนิด เช่น นกยางเปียง นกยางเหนียว นกจาบคาเล็ก นกกินเบี้ยว

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมี
- สวนสมุนไพรป่าชายเลน
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เขาคุ้งกระเบน
- การเพาะพ่อ-แม่พันธุ์ปลา หอยนางรม หอยตะโกรม ในกระชังบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน

ข้อแนะนำ
- การเดินเที่ยวชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เหมาะกับการเที่ยวในช่วงบ่าย อากาศจะไม่ค่อยร้อนมาก
- เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เป็นทางที่ไม่มีรั้วกั้น ควรเดินด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรวิ่งเล่น หยอกล้อกันบนสะพานทางเดิน
- ไม่ควรส่งเสียงดัง เพราะอาจจะรบกวนสัตว์ที่อยู่ในระบบนิเวศป่าชายเลน หากเดินชมธรรมชาติแบบเงียบๆ อาจได้เห็นนกบางชนิดปูเสฉวน ปูก้ามดาบ ปลาตีน หรือได้ยินเสียงธรรมชาติของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้
- ไม่ทิ้งขยะ หรือสร้างมลภาวะให้แก่บริเวณศูนย์ศึกษาฯ​
- ไม่นำยานพาหนะทุกชนิดเข้าไปในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
- ไม่นำอาหาร และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์เข้าไป
- ไม่เล่นการพนันทุกชนิด หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการเสื่อมเสียศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
- ไม่นำอาวุธทุกชนิดเข้าไป
- ไม่ก่อไฟ ขีดเขียน ทำลายพันธุ์ไม้ และทรัพย์สินของทางราชการ
- หากต้องการเที่ยวชมเป็นหมู่คณะ หรือต้องการวิทยากร ควรติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่
- ทางศูนย์ฯ​ มีบริการห้องพัก และกิจกรรมอื่นๆ บริการ (ควรติดต่อล่วงหน้า)

เปิดให้เข้าชมฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

สถานที่น่าสนใจบริเวณใกล้เคียง
- หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน เป็นสถานที่เพาะเลี้ยง และดูแลสัตว์น้ำในกระชังในอ่าวคุ้งกระเบน มีปลาฉลาม เต่าทะเล ปลาเก๋า เป็นต้น สามารถให้อาหารปลาฉลามได้ นอกจากนี้ยังมีธนาคารปูไข่ และตัวอย่างการเลี้ยงหอยนางรม การเดินทางไปยังหน่วยสาธิตฯ จากหน้าศูนย์ศึกษาฯ ​ให้ตรงไปเรื่อยๆ จนสุดทาง จากนั้นเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 800 เมตร จะเห็น หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน อยู่ทางขวามือ (ห่างจากศูนย์ศึกษาฯ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร)
- หาดแหลมเสด็จ อยู่บริเวณหน้าสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ สามารถเล่นน้ำได้
- สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติฯ (ห่างไปประมาณ 200 เมตร)
- หาดเจ้าหลาว

การเดินทาง
ห่างจากสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติฯ 200 เมตร
ห่างจากหาดเจ้าหลาว 6 กิโลเมตร
ห่างจากจุดชมวิวเนินนางพญา (อ่าวคุ้งวิมาน) 15 กิโลเมตร
ห่างจากตัวเมืองจันทบุรี 35 กิโลเมตร

การเดินทางไปยัง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อยู่ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรี โดยให้มุ่งไปทางหาดคุ้งวิมาน จากนั้นจึงแยกไปทางแหลมเสด็จ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ