ขาดส่งประกันสังคม มาตรา 40 3เดือน

ประกันสังคม เป็นเงินช่วยชีวิตก้อนสำคัญก้อนหนึ่งของพนักงานบริษัทหรือมนุษย์ที่ทำงานได้เงินเดือนเข้าบัญชีประจำเลยทีเดียว ประโยชน์อย่างแรกที่เห็นชัดคือ ค่ารักษาพยาบาล เมื่อไหร่ไม่สบาย หาหมอ นอนโรงพยาบาล สิทธิประกันสังคม จะรองรับค่าใช้จ่ายไว้ให้ตามโรงพยาบาลที่อยู่ในสังกัดของเรา ถ้าฉุกเฉินก็เข้าโรงพยาบาลไหนก็ได้ เป็นเงินชดเชยให้กับทายาทหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันกับผู้ประกันตน และที่สำคัญ เป็นเงินออมช่วงเกษียณอายุให้เราอีกต่างหาก

แล้วถ้าเกิดจู่ๆ ผู้ประกันตนเกิดมีปัญหาเงินช็อต เงินขาด หรือว่างงานชั่วคราวเลยลืมจ่าย จนกลายเป็นสถานะว่า ขาดส่งประกันสังคม จะต้องทำอย่างไร ขาดส่งกี่เดือนถึงจะถูกตัดสิทธิ มาหาคำตอบกันค่ะ

รู้จักก่อนว่าตัวเองเป็น ผู้ประกันตนประเภทไหน ?

ผู้ประกันตนกองทุนประกันสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. พนักงานเอกชนทั่วไป เรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี ผู้ประกันมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน

2. เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก และต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมต่อไป เรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ ต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

3. ทำอาชีพอิสระ เรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัท และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ผู้ประกันตนมาตรา 40 สมัครเลือกสิทธิประโยชน์ได้ 2 แบบ

ความคุ้มครอง 3 กรณี – จ่าย 100 บาท ต่อเดือน (จ่ายเอง 70 บาท รัฐบาลสมทบ 30 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต (ไม่มีเงินออมตอนเกษียณ)

ความคุ้มครอง 4 กรณี – จ่าย 150 บาท ต่อเดือน (จ่ายเอง 100 บาท รัฐบาลสมทบ 50 บาท) ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ

ขาดส่งประกันสังคมทำไงดี?

ขาดส่งประกันสังคม กี่เดือนถึงถูกตัดสิทธิ์?

ขึ้นอยู่กับว่า คุณเป็นผู้ประกันตนตามมาตราไหน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะถูกตัดสิทธิ หรือหมดสิทธิความเป็นผู้ประกันตนทันที ก็ต่อเมื่อขาดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งเงินไม่ครบถึง 9 เดือน ในระยะเวลา 12 เดือน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สามารถตรวจสอบสิทธิเพื่อคืนสภาพ ก่อนกลับมาจ่ายเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ตั้งแต่ 20 เม.ย. 2561 จนถึง 19 เม.ย. 2562 เท่านั้น

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หากลาออกจากบริษัทที่ทำงานอยู่ จะถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองอีก 6 เดือน ภายใน 6 เดือนนี้ ผู้ประกันตนต้องมายื่นขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของการสมัครงานใหม่ หรือตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นบุคคลประกอบอาชีพอิสระ

ส่วน ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครองถ้าขาดส่งเงินประกันสังคม หากช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ส่งเงินสมทบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 3 เดือน หากหลุดจากเงื่อนไขนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะไม่ได้รับความคุ้มครองอีก ถ้าต้องการกลับมาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพียงแค่ส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและงวดต่อไป ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ โดยเมื่อส่งเงินสมทบประกันสังคม ก็จะสามารถกลับมาใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้ทันที

จำไว้ว่าทุกเดือนเงินได้หลักร้อยไม่เกินพัน ต้องเข้าประกันสังคมสม่ำเสมอนะ

คลิกอ่านเรื่องนี้ต่อ

“บัตรแมงมุม” แจกฟรี 2 แสนใบ ใช้จ่ายอะไร ที่ไหน 

5 กลเม็ดผ่อนบ้าน ให้ปลดหนี้เร็วขึ้นเป็นสิบปี! 

Got a parenting concern? Read articles or ask away and get instant answers on our app. Download theAsianparent Community on iOS or Android now!

สำนักงานประกันสังคม เตือนผู้ประกันตน ม.40 ส่งเงินสมทบ ก่อนถูกตัดสิทธิ์ เช็กเงื่อนไข ช่องทางการชำระเงิน

วันที่ 26 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งเตือนผู้ประกันตน มาตรา 40 หรือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ให้ส่งเงินสมทบก่อนถูกตัดสิทธิ์์ โดยเงื่อนไขที่จะสามารถใช้สิทธิ์ตามมาตรา 40 ได้ มีดังนี้

  • ดีลบางจาก 55,500 ล้าน ปิดตำนาน เอสโซ่ สะเทือนถึง ปตท.
  • เปิดวิบากกรรมการเมือง ยงยุทธ วิชัยดิษฐ เคยร้องไห้กับ “ยิ่งลักษณ์”
  • สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 17 มกราคม ย้อนหลัง 10 ปี

กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วยฃ

กรณีทุพพลภาพ

กรณ๊นี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน

กรณีตาย

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต โดยผู้จัดการศพจะได้รับค่าทำศพ

ช่องทางชำระเงินสมทบ ม.40

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (เซเว่น-อีเลฟเว่น)
  • แอปพลิเคชัน ShopeePay
  • ตู้บุญเติม
  • เซ็นเพย์ พาวเวอร์ by บุญเติม
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • เคาน์เตอร์โลตัส
  • เคาน์เตอร์บิ๊กซี

Advertisement

ม.40 ปรับลดเงินสมทบ 6 เดือน

ผู้ประกันตน มาตรา 40 หรือ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย ฟรีแลนซ์ การสมัครเข้าร่วมเป็นผู้ประกันตนจะไม่กระทบกับสิทธิ์บัตรทอง หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และปรับลดเงินสมทบให้ผู้ประกันตน 3 ทางเลือก ดังนี้

1. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน (ลดเหลือ 42 บาท/เดือน) คุ้มครอง 3 กรณี

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )
  • รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
  • กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท

2. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน (ลดเหลือ 60 บาท/ เดือน) คุ้มครอง 4 กรณี

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับความคุ้มครอง ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง )
  • รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี (ขึ้นกับระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ)
  • กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 25,000 บาท
  • กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 50 บาท/เดือน

3. ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน (ลดเหลือ 180 บาท/เดือน) คุ้มครอง 5 กรณี

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้
  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) มีใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง วันละ 200 บาท
  • รับสิทธิผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกันไม่เกิน 90 วัน/ปี
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาท ตลอดชีวิต
  • กรณีตาย ได้รับเงินค่าทำศพ 50,000บาท
  • กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล (จากเงินออมสะสม ตามจำนวนงวดที่จ่ายเงินสมทบ) 150 บาท/เดือน
  • กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิด ถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ เดือนละ 200 บาท/คน คราวละไม่เกิน 2 คน

ทั้งนี้ การจ่ายสิทธิประโยชน์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ สามารถติดต่อขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ไม่ได้ส่งประกันสังคมกี่เดือนขาด ม.40

โฆษกสำนักงานประกันสังคม เน้นย้ำว่า กรณีสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ไว้ และไม่ได้จ่ายเงินสมทบอีกเลย สถานะยังคงเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 อยู่ แต่ขาดสิทธิรับเงินกรณีต่างๆ กรณีเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องส่งย้อนหลัง แต่สามารถส่งเงินสมทบล่วงหน้าได้ 12 เดือน ส่วนวิธีป้องกันการลืมจ่ายเงินสมทบสามารถดำเนินการขอหักบัญชีธนาคารที่เข้าร่วม ...

ส่งประกันสังคมมาตรา 40 ย้อนหลังได้ไหม

ทั้งนี้ ในการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง และจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้

ขาดส่งประกันสังคมกี่เดือนถึงจะโดนตัด

📌ไม่อยากสิ้นสภาพ อย่าพลาด ขาดส่ง ขาดสิทธิ์! เพราะหากขาดส่ง เงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือส่งไม่ครบ 9 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน (1ปี) ก็หมดสิทธิ์ในการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ทันที

เงินคืนประกันสังคม มาตรา 40 ได้เท่าไร

ทางเลือกที่ 1 ปกตินำส่งเดือนละ 70 บาท ลดเหลือ 42 บาท ยอดเงินคืน 28 บาท ทางเลือกที่ 2 ปกตินำส่งเดือนละ 100 บาท ลดเหลือ 60 บาท ยอดเงินคืน 40 บาท ทางเลือกที่ 3 ปกตินำส่งเดือนละ 300 บาท ลดเหลือ 180 บาท ยอดเงินคืน 120 บาท

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ