กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ประเทศชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้

1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา

4.   กฎหมายอาญา

5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม

6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ


7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ  อ่านเพิ่มเติม

เขียนโดย Unknown ที่ 22:31

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

        กฎหมาย คือข้อบังคับ กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้     
        กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด  
        กฎหมายอาญา จึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย 

กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล

        บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย 
สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็นทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตาม คำสั่งของศาล  
        การสาบสูญ คือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้
บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  
        1. บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด  
ส่วนประกอบของสภาพบุคคล  
                1. ชื่อตัว – ชื่อสกุล  
                2. สัญชาติ ได้มาโดยการเกิด การสมรส การแปลงชาติ  
                3. ภูมิลำเนา คือถิ่นที่อยู่ประจำและแน่นอนของบุคคล  
                4. สถานะ คือ ฐานะของบุคคลตามกฎหมายซึ่งทำให้เกิดสิทธิ เช่น โสด สมรส หย่า  
        2. นิติบุคคล หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ  เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น

ทรัพย์และทรัพย์สิน

        ทรัพย์ หมายถึง วัตถุ หรือสิ่งที่มีรูปร่าง  
        ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ (ทรัพย์สินทางปัญญา)  
        ประเภทของทรัพย์สิน  
                1. อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้  
                2. สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้

นิติกรรม

        นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์  หลักการทำนิติกรรม  
        1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย  
        2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ  
        3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย  

        นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ  
        1. นิติกรรมที่เป็น โมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย  
        2. นิติกรรมที่เป็น โมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ


สัญญาต่างๆ และประเภทของสัญญา

        สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ  
        1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย  
        2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย  
        3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว  

        สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ  
        1. สัญญาซื้อขายเงินสด คือ สัญญาที่ผู้ซื้อตกลงชำระราคาสินค้าเป็นเงินสดทันที เมื่อมีการซื้อขายกัน  
        2. สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง คือ สัญญาการซื้อขายที่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อแล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ชำระราคา อาจตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ  
        3. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายที่ผู้ขายฝากต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ จึงนำทรัพย์สินมาโอนให้กับผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินกับคืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ หากครบกำหนดไถ่คืนแล้ว ผู้ขายฝากไม่มาไถ่คืน ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด  
        4. การขายทอดตลาด คือ การซื้อขายที่ประกาศให้ประชาชนมาประมูลซื้อสู้ราคากันโดยเปิดเผย ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ  
                – ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้  
                – ผู้ทอดตลาด  
                – ผู้สู้ราคา  
                – ผู้ซื้อ

        สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น  
        1. สัญญาเช่าทรัพย์  
                – ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ 
                – ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ  
        2. สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำหนังสือลงลายมือชื่อในสัญญาทั้งสองฝ่าย

        สัญญากู้ยืมเงิน  
      เป็นสัญญาที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ได้ตกลงกันในการยืมเงินและจะคืนเงินให้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยมีการเสียดอกเบี้ย  การกู้ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานลงลายมือชื่อผู้กู้ไว้เป็นสำคัญ

กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว

        การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชายและหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง  
        การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต  
        ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น  
                1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส  
                2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส  
        การสิ้นสุดการสมรส  
                1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ  
                2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม  
                3. การหย่า  

        – สิทธิและหน้าที่ของบิดาและมารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร  
        – สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทน

กฎหมายเรื่องมรดก

        มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย  
        ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท  
                1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท  
                2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้  
        พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์

กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

        1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
                สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
                เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา
                หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
        2. กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
        3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์  
                – เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน  
                – เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.  
                – เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
        4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน  
                – บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุ ตั้งแต่   7 ปี จนถึงอายุ 70 ปี และนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (7 เมษายน) นั้น ล่าสุด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน ตามที่วุฒิสภาแก้ไขด้วยคะแนนเสียง 304 ต่อ 2 
                – การเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วั น  
                – บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน  
                – บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ ข้าราชการ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป
        5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร  
                – ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน  
                – เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการตามกำหนดนัด  
                *บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
        6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
                – พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น  
                – พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
                – พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522

ขอบคุณที่มา: ศิวะดล นิลสุข www.gotoknow.org/posts/502873

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองมีอะไรบ้าง

❖ กฏหมายที่เกี่ยวกับตนเองกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัว กฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง ▪1. พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2534 ➢ การแจ้งเกิด ภายใน 15 – 30 วัน ➢ การแจ้งตาย ภายใน 24 ชั่วโมง ➢ การย้ายที่อยู่ ภายใน15 วัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัวมีกฎหมายอะไรบ้าง พร้อมกับยกตัวอย่างมา 2 เรื่อง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์ซึ่งกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นเอกสารที่คนไทยต้องมีเพื่อใช้แสดงตน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวที่กำหนดเรื่องของการหมั้น การสมรส และการรับรองบุตรไว้

เหตุใดจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองครอบครัวชุมชนและประเทศชาติ

รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้กฎหมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน ที่จะได้ทราบถึงของเขตของสิทธิ และหน้าที่ของตน ตลอดจนข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อรู้กฎหมายก็จะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย และไม่ถูกผู้อื่นเอารัดเอาเปรียบโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ

กฎหมายครอบครัวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องใด

กฎหมายครอบครัว, กฎหมายเกี่ยวกับการสมรส หรือ กฎหมายความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เป็นขอบเขตของกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องครอบครัวและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ