แบบฟอร์ม ทะเบียนสมรส ค ร 2

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสและ/หรือคำนำหน้าชื่อหลังสมรส

หญิงไทยสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส เช่น โดยการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก “นางสาว” เป็น “นาง” และ/หรือขอเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรสได้ดังนี้

ก. การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและนามสกุลหลังการสมรสชั่วคราวในหนังสือเดินทาง

การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือนามสกุลหลังสมรสชั่วคราวทำได้แต่ในหนังสือเดินทางรูปแบบเก่าเท่านั้น
ในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ไม่สามารถขอแจ้งเปลี่ยนได้แต่อย่างใด

  1. นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag)
    ไปรับรองที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องในแต่ละรัฐ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่
    "หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน")
    และหากท่านจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศอื่น เช่น เดนมาร์ก ต้องนำทะเบียนสมรสดังกล่าว ไปรับรองที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศของเดนมาร์ก และที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน ตามลำดับ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่
    "การรับรองทะเบียนสมรสเดนมาร์ก")

    โปรดทราบ

    "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้
  2. นำใบทะเบียนสมรสที่รับรองมาแล้ว (สำเนา 1 ชุด) มายื่นคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ และ/หรือ ขอเปลี่ยนนามสกุลที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ โดยยื่นเอกสารประกอบต่อไปนี้
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4.25 ยูโร (หากยื่นทางไปรษณีย์)
  • ค่าธรรมเนียม 3 ยูโร (ส่งเป็นเงินสดเท่านั้น)

ข. การแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวและเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

  1. นำทะเบียนสมรสที่รับรองแล้วไปให้นักแปลภาษาไทยที่มีใบอนุญาตจากศาลเยอรมัน4 แปลเป็นภาษาไทย และมอบสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านให้ล่ามด้วย 1 ชุด เพื่อให้ล่ามแปลชื่อ-นามสกุลของท่านให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ล่ามต้องเย็บคำแปลภาษาไทยและต้นฉบับภาษาเยอรมันเข้าด้วยกัน เป็น 1 ชุด พร้อมประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองการแปลด้วย
  2. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 1) มารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ (ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร) (ดูข้อมูลการรับรองทะเบียนสมรสที่ "การรับรองเอกสาร")
  3. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 2) ที่รับรองมาจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ ไปรับรองครั้งสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ ฯ 10210 โทร. 02-575-1056-59, แฟกซ์ 02-575-1054
  4. นำทะเบียนสมรสและคำแปลที่รับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ (เอกสารจากข้อ 3) ไปแจ้งนายทะเบียนที่เขต/อำเภอในประเทศไทยที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส
  5. (คร. 22)
    และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านภายหลังการสมรสตามสามีต่อไป หลังจากนั้นจึงนำทะเบียนบ้านไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนนี้ ต้องไปทำด้วยตัวเองที่ประเทศไทยเท่านั้น

!!โปรดทราบ!!

ข้อมูลใหม่: สำหรับท่านที่ใช้นามสกุลของสามีเป็นนามสกุลหลังสมรส เวลาไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุล ต้องยื่นหนังสือยินยอมของสามีประกอบด้วย โดยใช้แบบฟอร์ม "หนังสือยินยอมของคู่สมรส" ที่ทางสถานกงสุลใหญ่ ฯ จัดเตรียมไว้ให้ และต้องให้สถานกงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อนนำไปยื่นที่ประเทศไทย โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมรับรองจำนวน 15 ยูโร

หมายเหตุ

โดยปกติแล้ว หากชายและหญิงใช้นามสกุลของคู่สมรสเป็นนามสกุลหลังสมรส ชายและหญิงต้องแจ้งเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสในทะเบียนบ้านไทย ภายใน 90 วัน หลังจากสมรส สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยไปดำเนินการเปลี่ยนนามสกุล ท่านสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะ เช่น ญาติ พี่น้อง ไปดำเนินการแทนได้ โดยท่านต้องมายื่นคำร้องมอบอำนาจด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ ดูข้อมูลการทำมอบอำนาจที่

"มอบอำนาจและหนังสือยินยอม"

การเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสมีความสำคัญและจำเป็นมาก เช่น เมื่อท่านยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ท่านต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่เปลี่ยนเป็นนามสกุลหลังสมรสสมบูรณ์แล้ว นามสกุลหลังสมรสที่สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ฯ เปลี่ยนให้ท่านในหนังสือเดินทาง ไม่ใช่การเปลี่ยนนามสกุลแบบสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ท่านต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยเท่านั้น

การจดทะเบียนสมรส

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนทั่วไป

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส
    - ชายหรือหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้ 
    - ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
    - ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
    - ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
    - ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
    - หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
              * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
              * สมรสกับคู่สมรสเดิม
              * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
              * ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
              * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
    - ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
    - บัตรประจำตัวประชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวตามกฎหมาย
    - สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
    - หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
    - สำเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส
    - การจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของ คู่สมรส
    - คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส
    - คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม
    - พยานบุคคลจำนวน 2 คน
    - คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย เป็นคนต่างด้าว ต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพบุคคล  จากสถานทูตหรือกงสุลสัญชาติที่ตนสังกัด หนังสือรับรองนั้น ต้องแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรอง การแปลถูกต้อง ยื่นพร้อมคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต

ค่าธรรมเนียม
    การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ต้องเสียค่าธรรมเนียน 200 บาท  พร้อมจัดยานพาหนะ รับ - ส่ง นายทะเบียน การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างใกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท

การจดทะเบียนสมรส
    1.รับเรื่อง
    - ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อนายทะเบียน โดยลงชื่อในคำร้องตามแบบคร.1 ที่นายทะเบียนเป็นผู้บันทึกข้อความ และจัดพิมพ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้
              * กฏกระทรวงฯ พ.ศ. 2478 ข้อ 3 *ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 6,8

    2. ตรวจสอบหลักฐานหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
    2.1 นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการอกให้สำหรับบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
    2.3 หนังสือให้ความยินยอม (กรณีผู้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้มีอำนาจให้ความยินยอมไม่ได้มาด้วย
    2.4 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม (กรณีผุ้ร้องขอยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีอำนาจให้ความยินยอมมาด้วยตนเอง
    2.5 ผู้ร้องขอเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากหย่าแล้วต้องตรวจ สอบหลักฐานการหย่า หรือคู่สมรสตาย ให้ตรวจสอบหลักฐานการตาย
    2.6 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่ให้จดทะเบียน (กรณีมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล)
    2.7 พยานอย่างน้อย 2 คน
              * ป.พ.พ. ม.1436,1448,1453,1454,1455,1456
              * พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 ม.4, 11,12
              * ระเบียบ มท. ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ 2541 ข้อ 8,13 (1)

    3. นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร้องทั้งสองฝ่าย ดังนี้
    3.1 ชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์
    3.2 ชายหญิงไม่เป็นคนวิกลจริตฯ
    3.3 ชายหญิงไม่เป็นญาติสืบสายโลหิต
    3.4 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
    3.5 ชายหรือหญิงจะสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสกันไม่ได้
    3.6 หญิงหม้าย (ที่เข้าเงื่อนไข)
    3.7 ชายหญิงยินยอมป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย
              * ป.พ.พ. ม.1448 - 1458 ดังนี้
              * ระเบียน มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 13 (2)

    4.ผู้มีอำนาจในการจะทะเบียน
    - นายทะเบียน (นายอำเภอ/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ/อำนวยการเขต/หรือผู้รักษาราชการแทน)
              * พ.ร.บ.จดทะเบียนครองครัว พ.ศ.2478 ม.3
              * กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2499) ข้อ 2
              * นส.ด่วนมากที่ มท.ช 0402/ว 1411 ลว.3 ธ.ค.30

    5.ลงรายการในทะเบียนด้วยวิธีการ ดังนี้
    5.1 พิมพ์ข้อความ ลงในทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) หากผู้ร้องทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้บันทึก ข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเรื่องอื่นให้นายทเบียนพิมพ์รายละเอียดนั้นไว้ในช่องบันทึก
    5.2 เมื่อพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที่ก่อนการสั่งพิมพ์ กรณีไม่มีการแก้ไขและ ได้สั่งพิมพ์แล้วจะไม่สามารถเรียกกลับมาแก้ไขได้อีกจะเป็นการป้องกันการแก้ไขหรือลบข้อมูลโดยมิชอบ
    5.3 เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้สั่งพิมพ์ทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3)เพื่อให้ผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยานลงลายมือชื่อในทะเบียนสมรส (คร.2) และนายทะเบียนลงลายมือชื่อในใบสำคัญการสมรส (คร.3)
    5.4 มอบใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้แก่คู่สมรสฝ่ายละหนึ่งฉบับ
              * ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2541 ข้อ 13 (3)

    6.เมื่อได้รับจดทะเบียนหรือบันทึกไว้แล้ว ให้นายทะเบียนเก็บรักษา
    ทะเบียนไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยการจัดเก็บเข้าแฟ้มเรียงลำดับตามเลขที่ทะเบียนโดยมิให้ทำลาย เพราะ เป็นเอกสารสำคัญทางกฎหมาย ซึ่งใช้ รับรองสิทธิต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
              * ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 43,44

    7. การขอแก้ไขเพิ่มเติมในทะเบียน (คร.2) ให้นายทะเบียนบันทึกใน
    ช่องบันทึกทะเบียน โดยมีรายละเอียดให้ทราบว่าใครเป็นผู้ร้องขอให้บันทึกเรื่องใด และให้ผู้ร้องและนายทะเบียน ลงชื่อไว้โดยไม่ต้อง แก้ไขรายการในทะเบียนเดิมให้ถือปฏิบัติตามระบบเดิม คือการบันทึกข้อความต่าง ๆ โดยการเขียน ด้วยมือในคำร้อง (คร.1) และทะเบียนสมรส (คร.2) แต่ต้องนำมาจัดเก็บข้อมูลการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวไว้ด้วยระบบ คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนี่งในภายหลัง
              * กฎกระทรวง พ.ศ.2478 ข้อ 9 ระเบียบ มท.ว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2541 ข้อ 38

    8. การใช้นามสกุลของคู่สมรส
    ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างคู่สมรสให้ทางทะเบียนท้องที่บันทึกข้อตกลงของคู่สมรสว่าจะใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดโดยให้บันทึกต่อท้ายในแบบ คร.2

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ