N+1 /2 จากสูตรทางสถิติเบื้องต้นทำให้ได้ค่าใด

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น

 

     ความหมายของคำต่างๆที่จะช่วยให้เข้าใจวิธีการทางสถิติมากขึ้น   มีดังนี้

     กลุ่มประชากร   หมายถึง  กลุ่มที่มีลักษณะที่เราสนใจ   หรือกลุ่มที่เราต้องการจะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง   เปรียบเหมือนเอกภพสัมพัทธ์ในเรื่องเซต
     กลุ่มตัวอย่าง   หมายถึง   ส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรที่เราสนใจ   ในกรณีที่กลุ่มประชากรที่จะศึกษานั้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่   เกินความสามารถหรือความจำเป็นที่ต้องการ  หรือเพื่อประหยัดในด้านงบประมาณและเวลา   สามารถศึกษาข้อมูลเพียงบางส่วนของกลุ่มประชากรได้
    ค่าพารามิเตอร์  หมายถึง  ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มประชากร  จะถือเป็นค่าคงตัว  กล่าวคือ   คำนวณกี่ครั้งๆก็จะไม่เปลี่ยนแปลง
    ค่าสถิติ  หมายถึง   ค่าต่างๆที่คำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง   จะเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงได้ตจามกลุ่มตัวอย่างที่เลือกสุ่มมา   จึงถือว่าเป็นค่าตัวแปรสุ่ม
    ตัวแปร   ในทางสถิติ  หมายถึง   ลักษณะบางอย่างที่เราสนใจ  ค่าของตัวแปร  อาจอยู่ในรูปข้อความ   หรือตัวเลขก็ได้
    ค่าที่เป็นไปได้   หมายถึง   ค่าของตัวแปรที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง
    ค่าจากการสังเกต   หมายถึง   ค่าที่เก็บรวบรวมได้มาจริงๆ

การวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องใดๆ เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบลักษณะโดยรวมเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เช่น

1)            การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่ง ลักษณะโดยรวมของข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนที่ควรจะทราบคือ

จำนวนนักเรียนจำแนกตามชั้นเรียนที่เปิดสอน

จำนวนนักเรียนโดยเฉลี่ยต่อห้อง

จำนวนครูจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา

2)            การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องที่แห่งหนึ่ง ลักษณะโดยรวมของข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของประชาชนที่ควรจะทราบคือ

จำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ยของครอบครัว

จำนวนครอบครัวจำแนกตามอาชีพ

รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัว และการกระจายรายได้ในแต่ละครอบครัว

                ลักษณะโดยรวมของข้อมูลตามตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่ามาจากการวิเคราะห์ที่เกียวกับเรื่องต่างๆต่อไปนี้ทั้งสิ้น

                การแจกแจงความถี่ของข้อมูล

                การหาค่ากลางของข้อมูล

                การหาค่าการกระจายของข้อมูล

                กล่าวได้ว่า การสรุปหรืออธิบายและนำเสนอข้อมูลด้วยค่าสถิติชุดหนึ่ง บอกลักษณะบางประการที่เป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจข้อมูลชุดนั้นได้ รวมทั้งการนำไปใช้ในเชิงวิเคราะห์หรือช่วยในการตัดสินใจ ค่าสถิติที่สำคัญมากสองค่าคือค่าที่บอกแนวโน้มสู่ส่วนกลางของข้อมูล กับค่าที่บอกถึงการกระจายของค่าต่างๆจากค่ากลางในข้อมูลชุดนั้น

                การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพไปวิเคราะห์เพื่อไปสรุปลักษณะของประชากร ซึ่งผลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจต่อไปการวิเคราะห์สามารถแบ่งได้เป็น2ขั้นตอนคือ

                1.การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น หรือที่เรียกว่า สถิติพรรณนา(descriptive statistics)ได้แก่

                การแจกแจงความถี่

                การหาคาเฉลี่ย

                การหาค่าสัดสวน

                การหาค่าร้อยละ

                การวดแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง เป็นต้น

                2.การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง หรือที่เรียกว่า สถิติอนุมาน(inferential statistics)ไดแกj

                การประมาณค่า

                การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ

                การวิเคราะห์ความแปรปรวน เป็นต้น

      1.1การวัดค่ากลางของข้อมูล

                ค่ากลางของข้อมูล คือ ค่าสถิติหรือตัวเลขตัวหนึ่งที่ได้จากการวิเคราะห์  ค่าที่ได้นั้นเราถือเป็นตัวแทนของข้อมูล  และทำให้รู้สึกว่าค่ากลางของข้อมูลเป็นค่าที่อยู่ในตำแหน่งกลางๆของข้อมูล ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                หากผู้บริหารของโรงเรียนต้องการทราบผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4,5 และ6 หัวหน้าสาขาวิชาคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องรายงานผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคนให้ผู้บริหารทราบ แต่จะรายงานเพียงค่าเฉลี่ยหรือค่ากลางของคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละชั้นก็เพียงพอที่จะตัดสินใจได้โดยกว้างๆว่า ผลการเรียนของนักเรียนแต่ละชั้นเป็นอย่างไร

            ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น นอกจากจะทำโดยสร้างตารางแจกแจงความถี่แล้ว การหาค่ากลางของข้อมูลมาเป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมดจะทำให้สะดวกในการจดจำหรือสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆและจะช่วยทำให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องมากขึ้น

                การหาค่ากลางของข้อมูลมีวิธีหาหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสีย และมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลนั้นๆ

ตัวอย่าง จงพิจารณาว่าข้อมูลแต่ละชุดเหมาะที่จะใช้การวัดค่ากลางของข้อมูลชนิดใด (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต/มัธยฐาน/ฐานนิยม)

ข้อมูลชุด ก. ได้แก่ 159 , 163 , 165 , 166 , 183 , 185                   ตอบ มัธยฐาน

ข้อมูลชุด ข. ได้แก่ 15 , 16 , 15 , 18 , 17 , 14 , 16                        ตอบ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ข้อมูลชุด ค. ได้แก่ 3 , 3 , 4 , 4 , 5 , 6, 18                                     ตอบ ฐานนิยม

                1.1.1ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean)

หมายถึง การหารผลรวมของข้อมูลทั้งหมดด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตสามารถหาได้ 2 วิธี 

1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่  สามารถคำนวณได้จากสูตร

  เมื่อ 

  ตัวอย่าง จากการสอบถามอายุของนักเรียนกลุ่มหนึ่งเป็นดังนี้ 14 , 16 , 14 , 17 , 16 , 14 , 18 , 17

                1) จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอายุนักเรียนกลุ่มนี้

                2) ถ้ามีนักเรียนมาเพิ่มอีก 1 คน และมีอายุเป็น 17 ปี ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเป็นเท่าใด

                3) เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอายุนักเรียนกลุ่มนี้เป็นเท่า

3) วิธีทำเมื่อ 3 ปีที่แล้ว 11 13 11 14 13 11 15 14 อายุปัจจุบัน 14 16 14 17 16 14 18 17

ตั

       2.1 การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตข้อมูลที่แจกแจงความถี่ในกรณีที่ข้อมูลไม่เป็นอันตรภาคชั้น

ตัวอย่าง จากการสอบถามอายุของนักเรียนกลุ่มหนึ่งเป็นดังนี้ 14 , 16 , 14 , 17 , 16 , 14 , 18 , 17 จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของอายุนักเรียนกลุ่มนี้

วิธีทำ  สร้างตารางแจกแจกความถี่ข้อมูล

ค่าข้อมูล(

       ถ้าให้ W1 , W2 , W3 , … , WN  เป็นความสำคัญหรือน้ำหนักของค่าจากการสังเกต  

X1 , X2 , X3 , … , XN ตามลำดับเเล้ว

ตัวอย่าง จงหาเกรดเฉลี่ยของนางสาวดา เมื่อผลการเรียนของนางสาวดา แสดงดังตาราง

                1.1.2มัธยฐาน(Median)

                มัธยฐาน คือ ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียบเรียงข้อมูลจากต่าน้อยที่สุดไปหาค่าที่มากที่สุด หรือจากค่าที่มากที่สุดไปหาค่าที่น้อยที่สุด เราอาจใช้ตัวย่อ “Med” แทนค่ามัธยฐานของข้อมูล

                ค่ามัธยฐานอาจเป็นค่าใดค่าหนึ่งของข้อมูล หรืออาจเป็ฯค่าที่คำนวณขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่ตรงกับค่าของข้อมูลใดๆก็ได้ ค่ามัธยฐานนิยมใช้กับข้อมูล ซึ่งสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าอื่นมากๆ

1. การหาค่ามัธยฐานของข้อมูลที่ไม่แจกความถี่

เมื่อจัดเรียงข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งมี N ค่า ตำแหน่งของมัธยฐาน จะคำนวณได้จากสูตร

ตัวอย่าง จงหามัธยฐานของข้อมูลดังนี้ 5, 8, 3, 20, 100, 6

วิธีทำ      เรียงข้อมูลจากน้อยไปมากได้ดังนี้   3              5              6              8              20           100

ตำแหน่งของค่ามัธยฐาน คือ             =                             (6+1)/2 = 3.5

ดังนั้น ค่ามัธยฐาน คือ                  =  (6+8)/2       = 7          Ans 

2. การหาค่ามัธยฐานของข้อมูลที่แจกแจงความถี่แล้ว

ซึ่งสามารถหาค่ามัธยฐานได้จากสูตร

เมื่อจัดเรียงข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งมี N ค่า ตำแหน่งของมัธยฐาน จะคำนวณได้จากสูตร            

ตัวอย่าง จงหามัธยฐานของข้อมูลที่แจกแจงความถี่ ดังตาราง

ความสูง (ซม.)

จำนวน (คน)

ความถี่สะสม

143-147

2

2

148-152

5

7

153-157

7

14

158-162

11

25

*163-167

7

32

168-172

5

37

173-177

3

40

 วิธีทำ     ตำแหน่งของค่ามัธยฐาน = N/2   = 40/2   = 20

                                              L  = (157+198)/2  = 157.5

              แทนค่าในสูตร   Med     = 157.5 + [(20-14)/11]5

                                                  160.23

ดังนั้น ค่ามัธยฐานของความสูง คือ 160.23

ตัวอย่าง อายุเฉลี่ยของเด็กกลุ่มหนึ่งมีการแจกแจงความถี่ดังนี้  ถ้ามัธยฐานของเด็กกลุ่มนี้เท่ากับ 7 ปีจงหค่า x

อายุ (ปี)

จำนวนเด็ก(คน)

ความถี่สะสม

 1-3

3

3

 4-6

X

3+X

7-9 

6

9+X

10-12 

4

13+X

วิธีทำ      ตำแหน่งของมัธยฐานคือ  = N/2   = (13+X)/2

                                             L  = 6.5 

             แทนค่าในสูตร   Med   7 = 6.5 + [(13+X)/2 - (3+X)]5

                                               7 = (33/4)-(X/4)

                                               X = 5 

1.1.3ฐานนิยม (Mode)

                ฐานนิยมคือค่ากลางของข้อมูล ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีค่าของคะแนนที่ซ้ำกันมากที่สุด(มีความถี่สูงสุดของข้อมูลชุดนั้น) เช่น ข้อมูลที่เป็นขนาดรองเท้า ชนิดของน้ำมันที่ใช้กับรถยนต์ ยี่ห้อเครื่องดื่ม เป็นต้น เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลชุดหนึ่งๆด้วยค่าจากข้อมูลที่มีจำนวนซ้ำมากที่สุด

                การหาฐานนิยมของข้อมูลหาได้จากการดูว่าข้อมูลใดมีความถี่สูงสุดหรือปรากฏบ่อยครั้งที่สุด ข้อมูลนั้นจะเป็นฐานนิยมของข้อมูลชุดนั้นซึ่งบางชุดอาจมีจำนวนซ้ำสูงสุดเพียงค่าเดียว หรือจำนวนซ้ำหลายค่าหรือบางชุดอาจไม่มีจำนวนซ้ำเลยซึ่งจะไม่สามารถบอกค่าฐานนิยมได้

ข้อควรระวังในการหาฐานนิยม

1.ถ้าข้อมูลชุดหนึ่ง มีข้อมูลแต่ละตัวมีความถี่เท่ากันหมดจะถือว่าข้อมูลนั้นไม่มีฐานนิยม

2.ถ้าข้อมูลชุดหนึ่ง มีข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดเท่ากันมากกว่าหนึ่งข้อมูล ในที่นี่จะไม่พิจารณาหาฐานนิยม

การหาค่าฐานนิยมมี2วิธีได้แก่

                1)การหาฐานนิยมกรณีที่ข้อมูลมีการแจกแจงความถี่แบบเรียงคะแนนแต่ละจำนวน

                2)การหาฐานนิยมของข้อมูลที่จัดหมวดหมู่ ( Grouped Data )ในการหาฐานนิยมของข้อมูลที่จัดหมวดหมู่

                การพิจารณาเลือกใช้ค่ากลางของข้อมูลควรเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะไม่ให้การสรุปผลหรือการตัดสินใจผิดพลาดได้

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ข้อดี

ข้อเสีย

1)การคำนวณหาไม่ยุ่งยากและสามารถใช้เครื่องคิดเลขช่วยในการคำนวณได้

2)ใช้ข้อมูลทุกตัว

3)เป็นที่แพร่หลาย และส่วนใหญ่ใช้เป็นค่ากลางของข้อมูล

1)ต้องเป็นข้อมูลเชิงปริมาณเท่านั้น

2)ค่าที่คำนวณได้ไม่จำเป็นต้อ

เป็นค่าของข้อมูลตัวใดตัวหนึ่งเสมอไป

3)ถ้ามีข้อมูลชุดที่แตกต่างกับตัวอื่นมากจะมีผลต่อข้อมูลชุดนี้

มัธยฐาน

ข้อดี

ข้อเสีย

1)หาได้โดยนำข้อมูลทั้งหมดจัดลำดับจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย

2)จะเป็นค่าของข้อมูล ถ้ามีข้อมูลเป็นจำนวนคี่

1)ต้องเป็นข้อมูลเชิงปริมาณเท่านั้น

2)ถ้าข้อมูลมีจำนวนมาก การจัดเรียงทำได้ค่อนข้างลำบาก

3)จะไม่ใช่ค่าที่แท้จริง หากมีข้อมูลเป็นจำนวนคู่

ฐานนิยม

ข้อดี

ข้อเสีย

1)ใช้ได้กับข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

2)หาได้ไม่ยากโดยนับจำนวนที่เกิดขึ้นมากครั้งที่สุด

3)หาได้ง่ายจากตารางแจกแจงความถี่ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิรูปภาพ และแผนภูมิรูปวงกลม

1)ค่าที่ได้มักจะไม่ค่อยมีความหมาย ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย

2)อาจจะมีฐานนิยมมากกว่าหนึ่งค่า

3)ข้อมูลบางชุดอาจไม่มีฐานนิยม

**หมายเหตุ ข้อมูลเชิงปริมาณ คือข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณซึ่งวัดออกมาเป็นจำนวนที่แน่นอน สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ ในขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพไม่สามารถวัดได้โดยตรงแต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ