โครงงานปลูกผักลอยฟ้าไร้สารพิษ

บทที่ 1

บทนำ

  1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมาตั้งแต่อดีต การปลูกพืชในสมัยก่อน   จะใช้วิธีการปลูกพืชในดิน ซึ่งการปลูกพืชในดินก็เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ แต่ก็พบปัญหามากเช่นกัน เช่น ปัญหาสภาพอากาศ มีพื้นที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้เห็นว่า มีวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือ การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ มีประโยชน์หลัก 2 ประการ คือ สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ประการที่สอง คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และในบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์  จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรมากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดินจึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช ไม่ต้องจัดการดิน และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้

ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดทำโครงการจึงเห็นว่าการปลูกผักแบบไร้ดิน เป็นนวัตกรรมใหม่  ที่จะทำให้การเกษตรของบ้านเราสามารถก้าวไกลไปได้อีก อีกทั้งยังสามรถทำได้โดยไม่ต้องมีพื้นที่     ที่กว้างขวางมากนัก และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้สนใจที่จะทำการเกษตรในแนวนี้ เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษกันมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย ดังนั้นทางผู้จัดทำจึงได้มีวัตถุประสงค์ในทำการเผยแพร่ความรู้ และวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์  Word Press ในรูปแบบเว็บบล็อกเพื่อหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้คนยุคใหม่ได้สนใจ

  1. วัตถุประสงค์
    • เพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
    • เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้คน และเกษตรกรหันมาลดการใช้สารเคมี ซึ่งส่งผลดีต่อผู้บริโภคได้ และเพื่อให้ได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ
    • เสริมทักษะการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต
  1. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

3.1  ศึกษาวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

3.2  ศึกษาการใช้โปรแกรม Word Press ในการพัฒนาเว็บไซต์

ระยะเวลาการดำเนินงานครั้งนี้ใช้ระยะเวลาตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ.2561

  1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

4.1  มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ วิธีการและขั้นตอน การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
4.2  มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Word Press
4.3  สามารถนำวิธีการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ไปปฏิบัติไว้บริโภคในครัวเรือน และสามารถ                             จัดจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว                                                                                4.4 สามารถสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้คนหันมาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มากขึ้น และลดการใช้                      สารเคมี ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคเอง

บทที่ 2

เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง  การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ความหมายสื่อเพื่อการศึกษา การเรียนรู้

1.1 ความหมายของพืชไฮโดรโปนิกส์

1.2 ประโยชน์ของไฮโดรโปนิกส์

2. การพัฒนาเว็บบล็อก

2.1  ความหมายของเว็บบล็อก

2.2  ประเภทของเว็บบล็อก

3. โปรแกรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

3.1  โปรแกรม WordPress

3.2  โปรแกรม Microsoft Word

3.3  โปรแกรม Power Point

1.1 ประวัติความเป็นมาของไฮโดรโปนิกส์

การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีก่อน โดยใน ค.ศ. ๑๖๐๐ แจน แบบติสตา แวน เฮลมอนต์ (Jan Baptista Van Helmont) นักวิทยาศาสตร์    ชาวเบลเยียม ได้ทดลองปลูกต้นวิลโลในดินที่บรรจุไว้ในท่อที่รดด้วยน้ำฝน เป็นเวลานานถึง ๕ ปี        ผลปรากฏว่า ต้นวิลโลมีน้ำหนัก เพิ่มจาก ๕ ปอนด์ เป็น ๑๖๙ ปอนด์ ในขณะที่ดินปลูกมีน้ำหนักหายไปเพียงเล็กน้อย เขาสรุปว่าพืชได้รับอาหารจากน้ำในการเจริญเติบโต ต่อมาใน ค.ศ. ๑๖๙๙ จอห์น วูดวาร์ด (John Woodward) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ทดลองปลูกพืชในน้ำ โดยอาศัยธาตุอาหารจากดินในแหล่งต่างๆนำมาละลายลงในน้ำ ใน ค.ศ. ๑๘๐๔ นิโคลาส เทโอดอร์ เดอ โซซูร์ (Nicolas Theo dore de Saussure) นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกล่าวถึงความต้องการธาตุอาหารของพืชเพื่อ ใช้ในการเจริญเติบโต ต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ฌ็อง บัปติสต์ บูแซงโกลต์ (Jean Baptiste Bousingault) นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรั่งเศสได้แนะนำการปลูกพืชในทรายโดยใช้สารละลายธาตุอาหารพืช แต่การวิจัยในสมัยนั้นยังไม่รู้จักการใช้ธาตุอาหารเสริมอย่างปัจจุบัน และก็มีการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์เฉพาะในห้องปฏิบัติการเท่านั้น และใน ค.ศ. ๑๘๖๐ จูเลียส ฟอน ซัคส์ (Julius von Sachs) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันนับเป็นคนแรกที่ได้คิดค้นสารละลายธาตุอาหารมาตรฐานขึ้น

หลังจากนั้นจึงได้มีการคิดค้นสารละลายธาตุอาหารสูตรต่างๆขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิลเฮลม์ คน็อป (Wilhelm Knop) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ซึ่งสูตรสาร ละลายธาตุอาหารที่เขาคิดค้นขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๖๕ ก็ยังนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน  เพียงแต่ เพิ่มธาตุอาหารเสริมเข้าไป จนกระทั่ง ค.ศ. ๑๙๒๕ ศาสตราจารย์วิลเลียม เอฟ. เกอริก ชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ก็ได้พัฒนาเทคนิค การเติมอากาศ/ลมลงในน้ำ และ/หรือสาร ละลายธาตุอาหารพืช จนสามารถนำการปลูก พืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์ไปใช้ในเชิงธุรกิจได้ ทำให้ศาสตราจารย์ผู้นี้ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งเทคโนโลยีไฮโดรโปนิกส์สมัยใหม่  ในทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่นำเทคโนโลยีการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มาใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มต้นหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง กองทัพของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปยึดครองประเทศญี่ปุ่นได้นำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ปลูกผักอนามัยเลี้ยงทหารใน ค.ศ. ๑๙๔๖ ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๙๖๐ สถานีวิจัยพืชสวนกระทรวงเกษตรและป่าไม้ของญี่ปุ่น ได้พัฒนาเทคนิคการปลูกพืชด้วยกรวด (gravel culture) ขึ้นซึ่งเป็นระบบไฮโดรพอนิกส์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น สำหรับการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในประเทศไทยนั้นได้เริ่มมีการวิจัย การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                     ไฮโดรโปนิกส์ มีประโยชน์หลัก 2 ประการด้วยกัน ประการแรก คือ ช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืช  แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมาก  ประการที่สอง คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และในบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อม การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรมากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดินจึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช ไม่ต้องจัดการดิน  และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้  ด้วยเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิมขณะที่ใช้พื้นที่จำกัด ด้วยคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้จัดทำโครงการจึงเห็นว่า “การปลูกผักแบบไร้ดิน” เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การเกษตรของบ้านเราสามารถก้าวไกลไปได้อีก อีกทั้งยังสามรถทำได้โดยไม่ต้องมีพื้นที่ที่กว้างขวางมากนัก และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้สนใจที่จะทำการเกษตรในแนวนี้ ทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภคในอีกทางหนึ่งด้วย เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษกันมาขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

2. เว็บบล็อก (WebBlog)

            2.1  ความหมายของเว็บบล็อก

เว็บบล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า “บล็อก” ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า “บล็อกเกอร์” บล็อก เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้นเพื่อ เสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

  • ประเภทของเว็บบล็อก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

2.1.1 แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อก

2.1.1.1 Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรกๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า “บล็อก” ที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี

2.1.1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ เลยครับ

2.1.1.3 Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie

2.2.1 แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่

2.2.1.1 บล็อกส่วนตัว (Personal Blog) คือ นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก

2.2.1.2 บล็อกข่าว (News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก

2.2.1.3 บล็อกกลุ่ม (Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น     blognone.com

2.2.1.4 บล็อกการเมือง (Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วนๆ

2.1.1.5 มีเดียบล็อก (MediaBlog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น  oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น

2.1.1.6 บล็อกเพื่อการศึกษา (Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน

  1. โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

3.1  โปรแกรม WordPress

WordPress คือ โปรแกรมสำเร็จรูปตัวหนึ่งที่เอาไว้สำหรับสร้าง บล็อก หรือ เว็บไซต์ สามารถใช้งานได้ฟรี ถูกจัดอยู่ในประเภท CMS (Contents Management System) ซึ่งหมายถึง โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้สำหรับสร้างและบริหารจัดการเนื้อหา และข้อมูลบนเว็บไซต์

3.2  โปรแกรม Microsoft Word

โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด ซึ่งเป็นโปรแกรมประมวลผลคำแบบพิเศษ ช่วยให้สร้างเอกสารแบบมืออาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด เช่น เหมาะกับงานด้านการพิมพ์เอกสารทุกชนิด สามารถพิมพ์เอกสารออกมาเป็นชุดๆ ซึ่งเอกสารอาจเป็นจดหมาย บันทึกข้อความ รายงาน บทความ ประวัติย่อ และยังสามารถตรวจสอบ ทบทวน แก้ไข ปรับปรุงความถูกต้องในการพิมพ์เอกสารได้อย่างง่ายดาย สามารถตรวจสอบ สะกดคำ และหลักไวยากรณ์ เพิ่มตาราง เพิ่มกราฟิก     ในเอกสารได้อย่างง่ายดาย หรือเพิ่มเติมข้อมูลได้ตลอดเวลา สามารถใช้ลักษณะของการจัดพิมพ์             ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) เพื่อสร้างโบชัวร์ ด้านสื่อโฆษณา (Advertisements) และจดหมายข่าว (Newsletters) ได้ด้วยโปรแกรมประมวลผลคำ (word Processor)

3.3  โปรแกรม PowerPoint

เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะสำหรับการจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) หลักการทำงานของ Presentation ที่สร้างจาก PowerPoint  จะสร้างออกเป็น slide ย่อยๆ แต่ละ slide สามารถใส่ข้อมูล รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เพื่อสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอ เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทำ Slide สื่อการสอน การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น

บทที่ 3

วิธีดำเนินการ

         ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผู้จัดทำมีวิธีดำเนินงานโครงงานตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

3.1 เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติขั้นต่ำดังนี้

3.1.1.1 หน่วยประมวลผล (CPU; มีความเร็ว 2 GHz หรือมากกว่านั้น (2 gigahertz (GHz) or faster)

3.1.1.2 หน่วยความจำแรม (RAM; มีไม่น้อยกว่า 4 GB (4 GB)

3.1.1.3 เนื้อที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ (Harddisk; มีพื้นที่คงเหลือสำหรับติดตั้งไม่น้อยกว่า 2 GB (Hard disk space: 2 GB)

3.1.1.4 จอภาพ (Graphics card; ขนาดจอ 1280 X 720 resolution หรือสูงกว่าและมีปริมาณสีที่ 16 บิต

3.1.1.5 ระบบปฏิบัติการ Windows8.1

3.1.1.6 เว็บบราวเซอร์ (Google Chrome เวอร์ชั่น 40.0 หรือสูงกว่า) พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3.1.2 เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น //www.facebook.com

3.1.3 โปรแกรมสำหรับพิมพ์งาน เผยแพร่ข้อมูลพร้อมทั้งการนำเสนอโครงงาน คือ

Microsoft Word , WordPress , PowerPoint

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงานโครงงาน

3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน

3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือ การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์

เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป

3.2.3 ศึกษาการทำงานของเว็บไซต์ WordPress จากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนำเสนอโครงงาน

เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบของเว็บบล็อก

3.2.4 จัดทำเค้าโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ เพื่อเสนอครูที่ปรึกษา โดยนำข้อมูลไฟล์

ฝากไว้ที่เว็บไซต์ ClassStart
3.2.5 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะผ่านเว็บไซต์ ClassStart  โดยแจ้งครูที่ปรึกษา

โครงงานเข้าตรวจสอบความก้าวหน้าเป็นระยะๆ ซึ่งครูให้คำเสนอแนะต่างๆในการ

จัดทำเนื้อหาและการนำเสนองานที่น่าสนใจ
3.2.6 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยนำเสนอรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ และ

ส่งข้อมูลไปที่ ClassStart

3.2.7 ปฏิบัติการจัดการสื่อ โดยการสร้างบล็อกผ่านโปรแกรม WordPress

3.2.8 ปฏิบัติการเผยแพร่ข้อมูลโดยการสมัครใช้งานเว็บไซต์ //wordpress.com

จากนั้นออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ และนำข้อมูลทั้งหมดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์

WordPress

3.2.9 ประเมินผลงาน โดยการนำข้อมูลทั้งหมด อัพโหลดเข้า ClassStart  แล้วให้ครู

ที่ปรึกษาโครงงานประเมินผลงงาน
3.9.10 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นรูปเล่ม พร้อมทั้งนำเสนอ

แสดงผลงานโครงงานคอมพิวเตอร์ แล้วให้ครูที่ปรึกษาโครงงานประเมินผลงาน

  • วัสดุ และอุปกรณ์ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

3.3.1 เมล็ดผักบุ้งและผักกาดขาว อย่างละ 1 ซอง

3.3.2 แผ่นฟองน้ำสำเร็จรูปแบบตัด

3.3.3 ขวดน้ำพลาสติก

3.3.4 กล่องพลาสติก

3.3.5 ปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์ A และ B

  • ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

3.4.1 ทำการเพาะเมล็ดโดยนำเมล็ดผักกาดไปเพาะในกระดาษทิชชู่ที่ชุบน้ำ ส่วนเมล็ดผักบุ้งนำไปแช่น้ำ เนื่องจากมีเมล็ดที่ใหญ่ จึงใช้เวลาในการงอกของรากนาน

3.4.2 ผ่านไป 3-4 วัน รากจะเริ่มงอกออกมา จึงทำการย้ายเมล็ดไปเพาะบนฟองน้ำ โดยใช้ฟองน้ำ 1×1 นิ้ว ชุบน้ำให้ชุ่ม แล้วปล่อยทิ้งไว้ อย่าให้โดนแดด

3.4.3 เมื่อเมล็ดโตในระดับนึงแล้ว ทำการตัดขวดพลาสติก แล้วนำเมล็ดที่เพาะในฟองน้ำไป   ไว้ในขวดน้ำ โดยขั้นตอนนี้ต้องระวังรากของพืชให้ดี

3.4.4 ผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ ใบจะเริ่มแตกออก ช่วงนี้สามารถโดนแดดได้ แต่ต้องเป็นแดดอ่อนๆ และต้องนำกระดาษมาปิดขวดน้ำเพื่อป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ

3.4.5 ทำการผสมปุ๋ย A (สีแดงเข้ม) และปุ๋ย B (สีเขียวอ่อน) ผสมกับน้ำ 1 ลิตร 9 ต่อ 500 ซีซี โดยทำการผสมปุ๋ย A กับน้ำก่อน หลังจากนั้นผ่านไป 4 ชั่วโมง ค่อยทำการผสมปุ๋ย B เพื่อปกป้องการเกิดการตกตะกอนของปุ๋ย

3.4.6 ผ่านไปประมาณ 2 -3 สัปดาห์ รากของเราก็จะเริ่มยาว

3.4.7 หลังจากนั้นก็ต้องหมั่นดูแลอย่างสม่ำเสมอ รอวันเติบโต

3.5  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2561  โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 720 คน จำนวน 16 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องจัดนักเรียนคละกัน

กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/13 จำนวน 20  คน โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย อำเภอเมือง
จังหวัดศรีสะเกษ  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

     3.6 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน

ลำดับที่ รายละเอียด เดือนสิงหาคม เดือนกันยายน
1 2 3 4 1 2 3 4
1 ศึกษาข้อมูลเรื่องการปลูกผัก           ไฮโดโปรนิกส์                
2 ออกแบบรายละเอียดของเว็บไซต์                
3 ศึกษาการเขียนเว็บไซต์ WordPress                
4 ออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์                
5 พัฒนาเว็บไซต์ Word Press                
6 ทดสอบและแก้ไขเว็บไซต์                
7 จัดทำรายงาน  และคู่มือการใช้งานเว็บไซต์                

  3.7  การศึกษาความพึงพอใจ
เครื่องมือที่ใช้ประเมินค่าความพึงพอใจ คือ แบบสอบถามและเกณฑ์การประเมินค่าระดับความ พึงพอใจ เกณฑ์การประเมินค่าความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน          ศรีสะเกษวิทยาลัย ที่มีต่อโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นแบบมาตรส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การตรวจให้คะแนนใช้เกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด. 2553 : 82-83)

มากที่สุด          หมายถึง         5 คะแนน
มาก               หมายถึง           4 คะแนน
ปานกลาง        หมายถึง          3 คะแนน
น้อย              หมายถึง            2 คะแนน
น้อยที่สุด         หมายถึง          1 คะแนน

นำคะแนนที่ได้มาแปลความหมาย โดยนำไปเทียบกับเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้ เกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้

ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00       หมายถึง          มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50       หมายถึง          มีความเหมาะสมในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50       หมายถึง          มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50       หมายถึง          มีความเหมาะสมในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50       หมายถึง          มีความเหมาะสมในระดับน้อยที่สุด

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ยเลข (Mean) สามารถคำนวณได้จากสูตร
เมื่อ            คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
คือ ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
คือ จำนวนคะแนนในกลุ่ม
2. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยคำนวณจากสูตร

เมื่อ  S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Xi    คือ คะแนนแต่ละส่วน
X   คือ จำนวนคะแนนในกลุ่ม
n   คือ จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

บทที่ 4

ผลการศึกษา

จากการศึกษาการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ผ่านเว็บไซต์ WordPress ในรูปแบบของเว็บบล็อก
ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้

ผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้และได้สร้างสื่อที่อธิบายการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในรูปแบบเว็บบล็อกตามที่คาดหวังไว้ และได้จัดทำและแจกจ่ายแบบสอบถามความพึงพอใจให้กับกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมที่ 4/13 ได้ผลดังนี้

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ
ชาย 10 50
หญิง 10 50
รวม 20 100

จากตารางที่ 1 พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 20 คน                    ผลปรากฏว่า เพศชาย จำนวน  10 คน คิดเป็นร้อยละ 50 เพศ หญิง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 50

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจ

หัวข้อประเมิน S.D. แปลค่าความพึงพอใจ
1. ความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา 3.8 0.89 พึงพอใจมาก
2. ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา 3.75 0.91 พึงพอใจมาก
3. การเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย 3.85 0.75 พึงพอใจมาก
4. เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงงาน 4.3 0.73 พึงพอใจมาก
5. เนื้อหามีสาระและประโยชน์ สามารถนำไป

ประยุกต์ใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน

4.55 0.60 พึงพอใจมาก
รวม 4.05 0.13 พึงพอใจมาก

จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Word Press ในรูปแบบของเว็บบล็อก มีค่าเฉลี่ย (  ) รวมเท่ากับ 4.05 ความพึงพอใจอยู่
ในระดับมาก และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่า ( S.D ) เท่ากับ 0.13

บทที่ 5

สรุปผลและข้อเสนอแนะ

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ กลุ่มของข้าพเจ้าได้สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ดังนี้

  1. สรุปผลการศึกษา

จากการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ พบว่าระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมที่ 4/13 ที่มีต่อโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มีค่าเฉลี่ย (  ) มากที่สุด คือ 4.05 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) มากที่สุด คือ 0.13

  1. ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
  1. มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการ วิธีการและขั้นตอน การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
  2. มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถพัฒนาเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม WordPress ได้
    สามารถนำวิธีการปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ไปปฏิบัติไว้บริโภคในครัวเรือน และสามารถ
  3. จัดจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมในครอบครัว
  4. สามารถสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้คนหันมาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มากขึ้น และลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคเอง
  1. ข้อเสนอแนะ

ควรเพิ่มเนื้อหาบางส่วนของบทที่ 2 ให้มากกว่านี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ