สังเกต คนเป็นโรค ซึม เศร้า Pantip

โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นเรื่องที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในสังคมปัจจุบัน สังเกตได้จากการที่เราใช้คำว่า “แพนิค” กันมากขึ้น เช่น เวลาพูดกับเพื่อนที่กำลังตกใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มักพูดว่า “อย่าแพนิค มีสติเข้าไว้” เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเราอาจไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้วอาการต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคแพนิคนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้วมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง เราควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการดังกล่าวหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นได้อีกหรือไม่ ลองอ่านบทความนี้และทำแบบทดสอบเพื่อประเมินเบื้องต้นกันดู

สารบัญ

โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ?

โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ผู้ที่เป็นมักมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก

การประเมินโรคแพนิคเบื้องต้น จากอาการดังต่อไปนี้

ท่านสามารถประเมินตนเองเบื้องต้นได้จากแบบทดสอบนี้ ว่ามีความกลัววิตกกังวลหรือความอึดอัดไม่สบายใจอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีอาการในหัวข้อต่อไปนี้ ตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการในหัวข้อดังกล่าว

  1. ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก 
  2. เหงื่อแตก 
  3. ตัวสั่น มือเท้าสั่น
  4. หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจขัด 
  5. รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน 
  6. เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก 
  7. คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน 
  8. วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือเป็นลม 
  9. ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ เหมือนจะเป็นไข้
  10. รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ (paresthesia)
  11. รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป (derealization หรือ depersonalization)
  12. กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
  13. กลัวว่าตนเองกำลังจะตาย

สาเหตุของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคแพนิคเกิดขึ้นได้ในคนทั่ว ไป  เกิดจากได้หลายสาเหตุ  ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง

สาเหตุทางกาย  ได้แก่

  • ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ
  • ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง  อาจทำให้สารเคมีในสมองเสียสมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป เกิดเป็นโรคแพนิคได้

สาเหตุทางจิตใจ

  • ความเครียด  ความวิตกกังวล พฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้  เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือเป็นเวลานาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน เป็นต้น
  • ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง  เช่น  การสูญเสีย  ผิดหวังรุนแรง

อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีอะไรบ้าง และอาการร่วมกับโรคอื่นมีอะไรบ้าง ?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะมีอาการที่เรียกว่า “panic attack” นั่นก็คือกลุ่มอาการตามที่ปรากฎอยู่ในแบบทดสอบข้างต้นตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องจากอาการเหล่านั้น เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้

  1. กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา

  2. กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น)

  3. พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้าใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่เคยทำเป็นประจำ

เนื่องจากการเกิดอาการอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นได้หลายอย่าง เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการนั้น ๆ ก่อน เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ แม้ว่าผลการตรวจร่างกายปกติดี ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) เนื่องจากว่ายังมีโรคทางจิตเวชอื่นๆ สามารถเกิดอาการ panic attack ได้เช่นกัน ได้แก่

  • โรคกลัวที่ชุมชน หรือ Agoraphobia

กังวลต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจหลีกเลี่ยงได้ลำบาก หรืออาจไม่ได้รับการช่วยเหลือ เช่น การออกนอกบ้านตามลำพัง การอยู่ท่ามกลางหมู่คนหรือยืนต่อแถว การอยู่บนสะพาน และการเดินทางโดยรถเมล์ รถไฟ หรือรถยนต์

  • โรคกลัวเฉพาะอย่าง หรือ Specific Phobia: กังวลหรือหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อการอยู่ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือมีอาการต่อสถานการณ์เพียงไม่กี่สถานการณ์เท่านั้น  เช่น การขึ้นลิฟท์

  • โรคกลัวสังคม หรือ Social Phobia: กังวลต่อการพบปะผู้คน อาจรู้สึกประหม่าหากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกว่ามีคนจับจ้องมาที่ตนเอง เช่น การพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก

  • โรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder) เช่น บางคนหลีกเลี่ยงสิ่งสกปรกเนื่องจากหมกมุ่นกับการกลัวติดเชื้อโรค

    โรคเครียดภายหลังจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Posttraumatic Stress Disorder) เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับความกดดันที่รุนแรงนั้น หรือ

    โรควิตกกังวลจากการพรากจาก (Separation Anxiety Disorder) เช่น หลีกเลี่ยงการห่างจากบ้านหรือญาติ  รวมทั้งโรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า ก็สามารถเกิด panic attack ได้เช่นกัน

หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?

โรคแพนิค (Panic disorder) ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หรือทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ที่เป็น และต้องรักษาหากกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 

การรักษาด้วยยา

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยา เพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้

การรักษาทางใจ

คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  • ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง

  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต

  • การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ

  • การฝึกสมาธิ

  • การฝึกคิดในทางบวก

การรักษาโรคแพนิคนั้นควรต้องรักษาทั้งสองด้านควบคู่กันไป  โดยการศึกษาวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจ เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

โรคแพนิค ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางง่ายๆ ผ่าน PR9 Telemedicine

Telemedicine คือ บริการปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาผนวกกับการบริการด้านสุขภาพ โดยให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพแบบ real-time ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยโดยที่ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล 

“Health Care You Can Trust

เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา”

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ยังคงน่าเป็นห่วง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะทางจิตใจ เช่น โรคแพนิค จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ซึ่งทางโรงพยาบาลพระรามเก้า คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ

โดยมีช่องทางบริการในการรักษาด้วย “PR9 Telemedicine ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนก็ปรึกษาหมอได้” ผ่านทาง Line Official Account โดยที่ผู้รับบริการสามารถปรึกษาปัญหาทางสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผ่าน video call ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการเบื้องต้น พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการรักษา ตลอดจนการจัดส่งยาให้แก่ผู้รับบริการถึงบ้าน 

“PR9 Telemedicine” จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ชีวิตยุค new normal ให้ผู้รับบริการอุ่นใจ มั่นใจ ปลอดภัยจาก COVID-19 และมีสุขภาพที่ดีได้แม้ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล

รพ.พระรามเก้า พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทุกปัญหาสุขภาพ สามารถทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ ผ่านช่องทางการติดต่อ ✅ Line Official Account ผ่าน video call คลิก link //lin.ee/euA1bAc หรือโทร 1270

✅ เปิดให้บริการเวลา 8.00 น. ถึง 16.00 น. ของทุกวัน…เพราะคุณคือคนสำคัญ 

สรุป

ในยุคปัจจุบันที่เราอาจใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบ และ ต้องเผชิญความเครียดหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บีบคั้นเรามากขึ้น อาจจะนำไปสู่ความเครียดสะสมที่ส่งผลกระทบกับจิตใจของเราได้อย่างไม่รู้ตัว

ทำให้บางคนมีอาการต่าง ๆ เช่น ใจสั่น ใจเต้นแรง ซึ่งมักทำให้ยิ่งตกใจมากขึ้น สิ่งที่จะช่วยเราได้อย่างแรกคือตั้งสติให้ได้มากที่สุด และเมื่ออาการดังกล่าวหมดไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาสาเหตุ เพื่อให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และไม่ต้องกังวลใจกับอาการนั้น ๆ อีก 

บทความล่าสุด

ทำหมันแล้วอยากมีลูกได้ไหม? ต้องอ่านการต่อหมันชายแบบเจาะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์​

อ่านเพิ่มเติม

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม

อ่านเพิ่มเติม

High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !

อ่านเพิ่มเติม

ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V

  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พรทิพย์ ศรีโสภิต

Mind Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

Mind Center

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ทำหมันแล้วอยากมีลูกได้ไหม? ต้องอ่านการต่อหมันชายแบบเจาะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์​

การทำหมันชายถือเป็นการคุมกำเนิดถาวร แต่ก็สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ 100% การทำผ่าตั

อ่านเพิ่มเติม

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม

การคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ช่วยให้เราสังเกตเห็นสัญญาณผิดปกติของมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก ๆ วิธีการคลำเต้านมทำง่ายๆได้ด้วยตัวเองดังนี้

อ่านเพิ่มเติม

High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !

นักท่องเที่ยวหรือนักปีนเขาที่ต้องปีนขึ้นที่สูง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะแพ้ที่สูง (High altitude illness) ซึ่งส่งผลให้ขาดออกซิเจน รวมถึงการบาดเจ็บจากความเย็น ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย lmyour แปลภาษา ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง แปลภาษาเวียดนามเป็นไทยทั้งประโยค Google Translate การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 หยน อาจารย์ ตจต เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ app แปลภาษาไทยเป็นเวียดนาม การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 บบบย ศัพท์ทหารบก แปลภาษาจีน การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ขุนแผนหลวงปู่ทิม มีกี่รุ่น ชขภใ ตม.เชียงใหม่ เซ็นทรัลเฟสติวัล พจนานุกรมศัพท์ทหาร รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล รหัสประจำจังหวัด 77 จังหวัด สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม หนังสือราชการ ตัวอย่าง ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด อเวนเจอร์ส ทั้งหมด แปลภาษา มาเลเซีย ไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค ่้แปลภาษา Egp G no Reconguista Google map ขุนแผนหลวงปู่ทิมรุ่นแรก ข้อสอบภาษาไทยพร้อมเฉลย ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ค้นหา ประวัติ นามสกุล จองคิว ตม เชียงใหม่ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ดีแม็กมือสองราคาไม่เกิน350000 ตัวอย่างรายงานการประชุมสั้นๆ